ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนชลราษฎรอำรุง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนชลราษฎรอำรุงคอนแวนต์ จังหวัดชลบุรี
Chonradsadornumrung Convent School
ตราประจำโรงเรียนชลราษฎรอำรุง
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นช.ร.อ./ CRU
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ โรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรี
คำขวัญปญฺญาวุโธ ผู้มีปัญญาเป็นอาวุธ
สถาปนาโรงเรียนบุรพการ พ.ศ. 2441-2457
โรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2457-2474
โรงเรียนชลราษฎรอำรุง ตั้งแต่ 24 พฤศจิกายน 2474 (92 ปี 316 วัน)
ผู้ก่อตั้งหลวงวรพินิจบุรพการ
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1012200102
ผู้อำนวยการดร.รุ่งทิพย์ พรหมศิริ[1]
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1-6
จำนวนนักเรียน3,342 คน
สี  ส้ม
  ฟ้า
เพลง[ https://www.youtube.com/watch?v=ILgHtzv4_2Q มาร์ชชลราษฎรอำรุง] ส้ม-ฟ้า สามัคคี , ส้ม-ฟ้า เรามาชิงชัย
เว็บไซต์http://www.cru.ac.th

โรงเรียนชลราษฎรอำรุง เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ และ เป็นโรงเรียนชายล้วนประจำจังหวัดชลบุรี โดยมีผู้อำนวยการชื่อ ดร.รุ่งทิพย์ พรหมศิริ โดยมีชื่อที่เรียกกันติดปากของชาวชลบุรีว่า “ชลชาย” โรงเรียนชลราษฎรอำรุง ตั้งอยู่เลขที่ 215 หมู่ที่ 3 ถนนพระยาสัจจา ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี[2] สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีเนื้อที่ 67 ไร่ 2 งาน 69.7 ตารางวา เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (มัธยมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3) เฉพาะนักเรียนชาย และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ 4 - มัธยมศึกษาปีที่ 6) เปิดสอนแบบสหศึกษา

ประวัติ

[แก้]

เมื่อ พ.ศ. 2457 โรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรี(บุรพการ) และโรงเรียนอุดมพิทยากรรวมเป็นโรงเรียนเดียวกัน เรียกว่า โรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรี เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาที่บุรพการ และระดับประถมศึกษาที่อุดมพิทยากร ต่อมาชาวชลบุรีได้ร่วมกันบริจาคสมทบทุนสร้างโรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรีที่โรงเรียนอนุบาลชลบุรีในปัจจุบัน แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2460 ได้ย้ายนักเรียนทั้งสองโรงเรียนมาเรียนรวมกันเป็นเอกเทศ เปิดการเรียนการสอนแบบสหศึกษา โรงเรียนได้พัฒนาทั้งทางด้านการจัดการศึกษา ปริมาณนักเรียนและอาคารสถานที่ตลอดมาจนกระทั่งทางราชการสั่งให้แยกนักเรียนเป็นชายและหญิง เมื่อ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2474 สหศึกษาจึงเลิกไป แต่โรงเรียนสตรียังไม่มีสถานที่จึงอาศัยเรียนร่วมกันไปก่อน และแยกออกไปเป็น โรงเรียนชลกันยานุกูล เมื่อ วันที่ 10 กันยายน 2479 โรงเรียนได้เติบโตมาโดยตลอดโดยเฉพาะด้านปริมาณนักเรียนสถานที่โรงเรียนคับแคบไป จึงย้ายโรงเรียนไปตั้งที่ใหม่บริเวณศูนย์การค้าวรพรต

วันที่ 3 มิถุนายน 2484 เป็นวันแรกที่ย้ายโรงเรียนจากสถานที่เดิมมาตั้งใหม่ที่บริเวณถนนสุขุมวิท บนเนื้อที่ประมาณ 13 ไร่ ของวัดอรัญญิกาวาส เพื่อขยายโรงเรียนให้กว้างขึ้น หลังจากนั้นโรงเรียนได้พัฒนาการสอนโดยเปิดสอนระดับเตรียมอุดมศึกษาและเปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่เป็น โรงเรียนชลราษฎรอำรุง ในปัจจุบัน ชาวส้ม-ฟ้า จึงถือว่า วันที่ 3 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียน[2]

เมื่อ พ.ศ. 2501 โรงเรียนชลราษฎรอำรุงเข้าโครงการโรงเรียนมัธยมแบบประสมรุ่นที่ 4 กรมวิสามัญได้ส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจโรงเรียน เพื่อดำเนินการสร้างอาคารเรียนและอารารประกอบ แต่ไม่สามารถขยายโรงเรียนได้ตามโครงการได้ นายนารถ มนตเสวี ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีในสมัยนั้น ได้มองเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการศึกษา ได้พิจารณาจัดสรรที่ดินของกองทัพอากาศไทยประมาณ 70 ไร่บริเวณสี่แยกบ้านสวนริมถนนสุขุมวิทติดกับถนนวิรัชศิลป์ และแยกวิรัชศิลป์ริมถนนวิรัชศิลป์กับถนนพระยาสัจจา ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน

ประวัติ

[แก้]

โรงเรียนชลราษฎรอำรุง ถือกำเนิดโดย หลวงวรพินิจบุรพการได้อุทิศเรือนหลังหนึ่งสร้างเป็นโรงเรียนขึ้นที่วัดต้นสนเมื่อปี พ.ศ. 2441 ชื่อโรงเรียนบุรพการ ต่อมาได้ยกฐานะเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรีเมื่อปี พ.ศ. 2443

เมื่อ พ.ศ. 2457 โรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรี(บุรพการ) และโรงเรียนอุดมพิทยากรรวมเป็นโรงเรียนเดียวกัน เรียกว่า โรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรี เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาที่บุรพการ และระดับประถมศึกษาที่อุดมพิทยากร ต่อมาชาวชลบุรีได้ร่วมกันบริจาคสมทบทุนสร้างโรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรีที่โรงเรียนอนุบาลชลบุรีในปัจจุบัน แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2460 ได้ย้ายนักเรียนทั้งสองโรงเรียนมาเรียนรวมกันเป็นเอกเทศ เปิดการเรียนการสอนแบบสหศึกษา โรงเรียนได้พัฒนาทั้งทางด้านการจัดการศึกษา ปริมาณนักเรียนและอาคารสถานที่ตลอดมาจนกระทั่งทางราชการสั่งให้แยกนักเรียนเป็นชายและหญิง เมื่อ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2474 สหศึกษาจึงเลิกไป แต่โรงเรียนสตรียังไม่มีสถานที่จึงอาศัยเรียนร่วมกันไปก่อน และแยกออกไปเป็น โรงเรียนชลกันยานุกูล เมื่อ วันที่ 10 กันยายน 2479 โรงเรียนได้เติบโตมาโดยตลอดโดยเฉพาะด้านปริมาณนักเรียนสถานที่โรงเรียนคับแคบไป จึงย้ายโรงเรียนไปตั้งที่ใหม่บริเวณศูนย์การค้าวรพรต

วันที่ 3 มิถุนายน 2484 เป็นวันแรกที่ย้ายโรงเรียนจากสถานที่เดิมมาตั้งใหม่ที่บริเวณถนนสุขุมวิท บนเนื้อที่ประมาณ 13 ไร่ ของวัดอรัญญิกาวาส เพื่อขยายโรงเรียนให้กว้างขึ้น หลังจากนั้นโรงเรียนได้พัฒนาการสอนโดยเปิดสอนระดับเตรียมอุดมศึกษาและเปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่เป็น โรงเรียนชลราษฎรอำรุง ในปัจจุบัน ชาวส้ม-ฟ้า จึงถือว่า วันที่ 3 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียน[3]

เมื่อ พ.ศ. 2501 โรงเรียนชลราษฎรอำรุงเข้าโครงการโรงเรียนมัธยมแบบประสมรุ่นที่ 4 กรมวิสามัญได้ส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจโรงเรียน เพื่อดำเนินการสร้างอาคารเรียนและอารารประกอบ แต่ไม่สามารถขยายโรงเรียนได้ตามโครงการได้ นายนารถ มนตเสวี ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีในสมัยนั้น ได้มองเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการศึกษา ได้พิจารณาจัดสรรที่ดินของกองทัพอากาศไทยประมาณ 70 ไร่บริเวณสี่แยกบ้านสวนริมถนนสุขุมวิทติดกับถนนวิรัชศิลป์ และแยกวิรัชศิลป์ริมถนนวิรัชศิลป์กับถนนพระยาสัจจา ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน

ทำเนียบผู้บริหาร[3]

[แก้]
อันดับ รายนาม วาระดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.)
1 ร.บ. ชม ชมสุนทร ป.ช. , ป.ม. 2458-2463
2 เรืออากาศตรีพันช์ุ อนันตสมบูรณ์ ป.ช. , ป.ม. 2464-2468
3 ร.บ. ไว อุดมวงษ์ 2468
4 เรืออากาศตรีชัน เชาวพันธ์จรัส ป.ม. , ท.ช. 2468-2471
5 นายสงวน โกเศศย์รัตน์ ป.ช. , ป.ม. 2472-2474
6 เรืออากาศตรีย้อย วรสินธุ์ ป.ม. , ท.ช. 2474-2476
7 นายเสงี่ยม เจริญฮวด (เสงี่ยม วัฒนธรรม) 2476
(รักษาการ)
8 นายเกื้อ สุวณิชย์ ป.ม. , ท.ช. 2476-2486
9 นายเทพ เวชพงศ์ ป.ม. , ท.ช. 2486-2491
10 นายเรวัติ ชื่นสำราญ ป.ม. , ท.ช. 2491-2495
11 นายบุญเชียร ศุภจิตรา ป.ม., ท.ช. 2495-2498
12 นายมานะ เอี่ยมสกุล ป.ม., ท.ช. ,กศ.บ. 2498-2402
13 นายสมนึก บำรุง ป.ช. ,ป.ม. ,กศ.บ. 2502
14 นายรวย แก้วจินดา พ.ป. 2502-2503
(รักษาการ)
15 นายสมนึก บำรุง ป.ช. ,ป.ม. , กศ.บ. 2503-2507
16 นายปรีดา แก้วจินดา ป.ช. , ป.ม. , กศ.บ. 2507-2508
(รักษาการ)
17 นายสมนึก บำรุง ป.ช. ,ป.ม. , กศ.บ. 2508-2512
18 นายสนอง มณีภาค ป.ม. , ท.ช. , อ.บ. 2512-2517
19 นายสพัสติ์ พูนผล ป.ช. , ป.ม. , ว.ท. , พ.ม. , ธ.บ. 2517-2522
20 นายทวีวัฒน์ อยู่ทวี กศ.บ. 2522-2526
21 นายเจริญ ลัดดาพงศ์ พ.ป. , กศ.บ. 2526-2530
22 นายสมศักดิ์ ศรีสุวรรณ กศ.บ. (เกียรตินิยม), พ.ม. 2530-2535
23 นายชะนะ กมลานนท์ กศ.บ. 2535-2540
24 นายสมศักดิ์ ศรีสุวรรณ กศ.บ. (เกียรตินิยม), พ.ม. 2540-2544
25 นายภุชงค์ บุญยรัตนสุนทร กศ.ม. 2544-2551
26 นายอภิสิทธิ์ รื่นจิตร์ ป.ช. , ป.ม. กศ.ม. 2551-2554
27 นายอุทัย สิงห์โตทอง ป.ช. , ป.ม. 2554-2561
28 นายอัมพร อิสสรารักษ์ ป.ช. , ป.ม. 2561-2562
29 ดร.รุ่งทิพย์ พรหมศิริ ป.ม. 2562-ปัจจุบัน

แผนผังโรงเรียน

[แก้]
  • อาคาร 1 หลวงวรพินิจบุรพาการ มี 3 ชั้น ชั้นที่1 เป็นอาคารสำนักงาน ประกอบด้วย ห้องผู้อำนวยการ ห้องฝ่ายบริหารงานบุคคลการเงินและสินทรัพย์ ห้องฝ่ายบริหารงานวิชาการ ห้องธุรการ ห้องนโยบายและแผน ห้องฝ่ายสนับสนุนการศึกษา ส่วนชั้นที่ 2 - 3 เป็นห้องเรียนและห้องพักครูของกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ
  • อาคาร 2 ราษฎรร่วมจิต มี 4 ชั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้น 1,2 และ 3 โดยมีสะพานเชื่อมต่อกับ อาคาร 5 ชั้นล่างเป็นห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยชั้นที่ 2 มีห้องศูนย์การเรียนรู้อาเซียน ส่วนชั้นที่ 3 มีห้องจริยศึกษา และชั้นที่ 4 มีห้องภูมิปัญญา
  • อาคาร 3 นารถ มนตเสวี มี 3 ชั้น เป็นห้องเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ด้านล่างเป็นอ่างกักเก็บน้ำ
  • อาคาร 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราช เป็นอาคารที่ระเบียงมี 6 ชั้น และดาดฟ้า (ปิด) ที่ชั้นสองมีห้องประชุมผกากรองและทองอุไร ชั้น 3 - 5เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และ ชั้น6โครงการ English program
  • อาคาร 5 ชมสุนทร มี 4 ชั้น ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 เป็นของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ส่วนชั้นที่ 3 และชั้นที่ 4 เป็นของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
  • อาคาร 6 สมาคมศิษย์ชลราษฎรอำรุง และงานแนะแนว มี 2 ชั้น ชั้นที่ 1 เป็นห้องเรียน ห้องพักครูและให้คำปรึกษางานแนะแนว ชั้นที่ 2 เป็นห้องเรียนและห้องสมาคมศิษย์เก่าชลราษฎรอำรุง
  • อาคาร 7 อบจ. อุทิศ (กลุ่มอาคารศูนย์กีฬาและนันทนาการ)

มี 2 ชั้น ชั้นที่ 1 เป็นห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นที่ 2 เป็นห้องประชุมสารภี

  • อาคาร 8 พระยาสัจจาภิรมย์ มี 3 ชั้น โดยประกอบด้วย หอประชุมยูงทอง ชั้น 3 ,โรงอาหาร ชั้น 1 ,ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก ชั้น 2 , ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ชั้น 2 และห้องพักครูภาษาอังกฤษ ชั้น 2
  • อาคาร 9 เป็นอาคารเรียนขนาด 7 ชั้น ชั้น 1 เป็นห้องประชุมดร.เสนาะ อุนากูล และที่ทำการห้องเรียนสีขาวและฝ่ายบริหารทั่วไป
  • ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก ตั้งอยู่บนอาคาร 8 พระยาสัจจาภิรมย์ เป็นห้องสมุดขนาดกลางมีหนังสือมากกว่า 200,000 เล่ม ภายในจัดในลักษณะตามแบบมาตรฐานมีสื่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูล โต๊ะหมู่บูชา และ ของสะสมที่หายากจำพวกเหรียญกษาปณ์ ธนบัตร หรือ หนังสือจดหมายเหตุ
  • หอพระพุทธมงคลชลประชานาถ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2528 เป็นศาลาทรงจตุรมุข ย่อมุมไม้สิบสอง ภายในประดิษฐาน พระพุทธมงคลชลประชานาถ ซึ่งประดิษฐานบนฐานชุกชี 2 ชั้น และมีตู้หนังสือธรรมะ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของนักเรียน บุคลากร เป็นห้องเรียนพระพุทธศาสนาอีกด้วย
  • ศาลเจ้าพระยาสุรสีห์ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2543 อยู่บริเวณลานธรรม เยื้องกับหอพระฯ โดยศาลหลักปัจจุบันเป็นหลักที่สองตั้งเมื่อ พ.ศ. 2558 ภายในประดิษฐาน เจว็ดจารึกนามเจ้าพระยาสุรสีห์ที่บริจาคโดยนักเรียนชั้น ม.5/13 ปี 2558 บริเวณศาลมีตุ๊กตาช้างม้า ตุ๊กตาคนรับใช้ ตุ๊กตาละครรำ จำนวนหลายร้อยตัว เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของนักเรียน บุคลากร
  • สำนักงานกลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าโรงเรียน ฝั่งประตูพระยาสัจจา
  • ห้องประชาสัมพันธ์ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าโรงเรียน ตรงข้ามสำนักงานบริหารงานกิจการนักเรียน ฝั่งประตูพระยาสัจจา
  • ลานรวมใจส้ม-ฟ้าใช้เป็นลานเอนกประสงค์และใช้เข้าแถวหรือประกอบพิธีทางศาสนา พิธีถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา หรือพิธีสำคัญในวาระต่าง ๆ
  • ลานธรรม ลานใต้ต้นไม้ร่มรื่น อยู่บริเวณหลังธนาคารโรงเรียน
  • ธนาคารโรงเรียน ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2550

และยังมีอาคารและพื้นที่อื่นๆอีก ได้แก่ อนามัยโรงเรียน ,โรงฝึกงาน 1-4 ,อาคารเกษตร ,โรงยิมเนเซียม ,สนามบาสเกตบอล ,สนามฟุตซอล ,ศาลาจตุรมุข ,สนามฟุตบอล, โดมพละศึกษา และเขตบ้านพักครู-บุคลากร

กลุ่มงานภายใน

[แก้]
  • สำนักผู้อำนวยการ ดร.รุ่งทิพย์ พรหมศิริ เป็นผู้อำนวยการ
  • กลุ่มบริหารงานวิชาการ นางสาวเดือนเพ็ญ ตันเงิน เป็นรองผู้อำนวยการ
  • กลุ่มบริหารทั่วไป นางศรันย์กร ชัยพิพัฒน์ เป็นรองผู้อำนวยการ
  • กลุ่มบริหารงานบุคคล การเงิน และสินทรัพย์ นางสาววิราภรณ์ ส่งแสง เป็นรองผู้อำนวยการ
  • กลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน นายพีรเดช พัชรปัญญาพร เป็นรองผู้อำนวยการ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นางสาวรุ่งนภา มั่งคั่ง เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นายรณชัย พลอยเพ็ชร เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายธนายุต จันทราเขต เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม นางวสิชา พ้นภัยพาล เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ นางนภาลักษณ์ ตั้งอรุณศิลป์ เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ นางเสาวรัตน์ สายถิ่น เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ นายสุรศักดิ์ ดิษฐปาน เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา นายศานิต โหนแหย็ม เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
  • กลุ่มงานคอมพิวเตอร์ นางสาววรนุช แสงจันทร์ เป็นหัวหน้ากลุ่มงาน
  • กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตร นายจิตบุณย์ กุลสุวรรณ เป็นหัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาหลักสูตร
  • กลุ่มงานพัฒนาระบบเครือข่าย ฯ นางปัณณภัสส์ มีวรรณ เป็นหัวหน้ากลุ่มงาน
  • งานประกันคุณภาพการศึกษา นางกุหลาบ สำราญสุข เป็นหัวหน้างาน
  • งานนโยบายและแผน นางสาววันดี แนบเชย เป็นหัวหน้างาน
  • งาน English Program นางสาวเรวดี มีสุข เป็นหัวหน้างาน
  • งานแนะแนว นางสาววิมพ์วิภา ศรีวิชชุทัศนีย์ เป็นหัวหน้างานแนะแนว
  • งานห้องสมุด นางสาวกฤติยาภรณ์ สุริยะ และ นางสาวจารุวรรณ เลี่ยมเปี่ยม เป็นครูบรรณารักษ์ประจำห้องสมุด
  • งานธนาคารโรงเรียน นางกรรณิการ์ หงษ์เจ็ด ร่วมกับ นางวาสนา ดีมิศรี เป็นหัวหน้างาน
  • งานอนามัยโรงเรียน นางสาวพิชชาภรณ์ พรหมศิริ เป็นครูพยาบาลประจำห้องอนามัย

หลักสูตรที่เปิดสอน

[แก้]

โรงเรียนชลราษฏรอำรุงเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตามที่กรมสามัญศึกษากำหนด และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตอนปลายสายสามัญ โดยแบ่งตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เน้นดังนี้

  • วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
    • โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (SMTE) ห้องที่ 3 (จำนวน 1 ห้องเรียน)
    • วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ห้องเรียนพิเศษ (MEP) ห้องที่ 1 (จำนวน 1 ห้องเรียน)
    • วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ห้องเรียนพิเศษเตรียมอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ห้องที่ 4 (จำนวน 1 ห้องเรียน)
    • วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ห้องเรียนพิเศษเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ห้องที่ 5 (จำนวน 1 ห้องเรียน)
    • วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ทั่วไป ห้องที่ 11-16 (จำนวน 6 ห้องเรียน)
  • ภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์
    • ห้องเรียนพิเศษ (MEP) ภาษา(จีน-ญี่ปุ่น-เกาหลี)-คณิตศาสตร์ ห้องที่ 2 (จำนวน 1 ห้องเรียน)
    • ภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์ ทั่วไป ห้องที่ 6-10 (จำนวน 5 ห้องเรียน)

คณะกรรมการสภานักเรียน

[แก้]

โรงเรียนชลราษฎรอำรุง มีการจัดการเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียนขึ้นเป็นการทั่วไปในทุกปีการศึกษา เพื่อดำเนินกิจกรรมนโยบายต่าง ๆ ตามที่หาเสียงไว้และสนองนโยบายจากท่านผู้อำนวยการและคณะครูตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งพรรคที่ดำรงตำแหน่งในตอนนี้คือ NEW WAVE

วันสำคัญเกี่ยวกับโรงเรียน

[แก้]

วันสถาปนาโรงเรียน ตรงกับวันที่ 3 มิถุนายนของทุกปี โดยเป็นวันที่ย้ายโรงเรียนมาตั้งที่บริเวณริมถนนสุขุมวิท ซึ่งเป็นที่ของวัดอรัญญิกาวาส โดยจะมีพิธีสักการะพระพุทธรูปประจำโรงเรียน ศาลเจ้าพระยาสุรสีห์ และสิ่งศักดิสิทธิ์ทั่วไปและเหล่าบุรพจารย์ที่บริเวณลานกลางแจ้ง และมีพิธีทำบุญโรงเรียนอุทิศแก่เหล่าบุรพจารย์ผู้ก่อตั้ง

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. แสดงข้อมูลความก้าวหน้าการดำเนินกิจกรรม
  2. 2.0 2.1 โรงเรียนชลราษฎรอํารุง. 2565. โรงเรียนชลราษฎรอํารุงสืบค้นเมื่อ 29/7/2566
  3. 3.0 3.1 โรงเรียนชลราษฎรอํารุง. 2565. โรงเรียนชลราษฎรอํารุงสืบค้นเมื่อ 29/7/2566
  4. สมเด็จพระวันรัต (นิรันดร์ นิรนฺตโร ป.ธ.๙).sangkhatikan.com.สืบค้นเมื่อ 29/7/2566
  5. นายเสนาะ อูนากูล เก็บถาวร 2023-07-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.ธนาคารแห่งประเทศไทย.สืบค้นเมื่อ 29/7/2566
  6. โยธิน ณ บางช้าง. กรณีศึกษา ภาวะผู้นำ อุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา. สถาบันพระปกเกล้า.สืบค้นเมื่อ 29/7/2566
  7. นิวส์มอนิเตอร์. 2561. ถ้าวันนี้ยังมีเขาอยู่ "ชาตรี ศรีชล" ลูกทุ่งอัจฉริยะจะมีอายุครบ 69 ปี (ชมมิวสิควิดีโอหาดูยาก). ข่าวสด.สืบค้นเมื่อ 29/7/2566
  8. ทีมข่าวอาชญากรรม. 2548. “ปราจีน ทรงเผ่า” เสียชีวิตแล้ว. ผู้จัดการออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 29/7/2566
  9. PR CRU. 2555. สด จิตรลดา แชมปฺโลกมวยสากล ศิษย์เก่าชลชาย. สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนชลราษฎรอำรุง.สืบค้นเมื่อ 29/7/2566
  10. 2564. เปิดประวัติ “อ้วน รังสิต”.ทีวีพูล.สืบค้นเมื่อ 29/7/2566

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]