โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย Bunyawat Witthayalai School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | บ.ว. / BWS |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
คำขวัญ | สมฺมา วายเมเถว ปุริโส (เป็นคนพึงทำดีร่ำไป) |
สถาปนา | 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 (126 ปี 9 วัน) |
ผู้ก่อตั้ง | เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง |
เขตการศึกษา | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 |
รหัส | 1052500513 |
ผู้อำนวยการ | นายนิรันดร หมื่นสุข |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 1- มัธยมศึกษาปีที่ 6 |
เพศ | สหศึกษา |
จำนวนนักเรียน | 4,006 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564)[1] |
สี | แดง (Carnelian) - ขาว |
เพลง | สดุดีบุญวาทย์ (มาร์ชบุญวาทย์วิทยาลัย) |
สังกัด | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
ศิษย์เก่า | สมาคมนักเรียนเก่าบุญวาทย์วิทยาลัย |
เว็บไซต์ | https://www.bunyawat.ac.th |
โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย (อักษรย่อ: บ.ว.; อังกฤษ: Bunyawat Witthayalai School) ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี[2]เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดลำปาง และ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษแบบสหศึกษา เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 (ลำปาง-ลำพูน) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 230 ถนนพหลโยธิน ตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ปัจจุบันโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย มีพื้นที่ 44 ไร่ 3 งาน 54 ตารางวา
ประวัติ
[แก้]เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย สร้างโรงเรียนขึ้นข้างคุ้มหลวงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ ต่อมา พ.ศ. ๒๔๔๘ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสมณฑลพายัพ ในการนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด และ พระราชทานโรงเรียนนี้ว่า โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๘
ครั้นต่อมาสภาพของอาคารของโรงเรียนชำรุดทรุดโทรมลง เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตจึงซื้ออาคารและที่ดินของห้างกิมเซ่งหลี ตำบลน้ำล้อม อำเภอเมือง เป็นจำนวนเงิน ๑๓,๐๐๐ บาท ด้านหน้าและด้านข้างเป็นสวนดอกไม้ ด้านหลังเป็นสนาม ชั้นล่างเป็นตึกก่ออิฐถือปูน ชั้นบนทำด้วยไม้สัก หลังคามุงกระเบื้อง และ จ่ายค่าซ่อมอาคารเป็นเงิน ๔๓๒ บาท โรงเรียนแห่งใหม่นี้เปิดทำการเรียนการสอน เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ และมอบเงินซื้ออุปกรณ์การเรียนอีกจำนวน ๒๐๐ บาท หลังจากนั้น เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตมอบโรงเรียนแห่งนี้เป็นสมบัติของรัฐบาล
ต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๔ อาคารสถานที่ของโรงเรียนคับแคบลงไม่พอกับจำนวนนักเรียนที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น จึงมีการย้ายโรงเรียนออกไปตั้งในสถานที่แห่งใหม่ ซึ่งเป็นสนามเสือป่านครลำปาง (คือที่ตั้งปัจจุบัน) ในเนื้อที่ ๔๐ ไร่ ๑ งาน ครั้นต่อมามีการขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก ปัจจุบันมีเนื้อที่ ๔๔ ไร่ ๓ งาน ๕๔ ตารางวา เป็นโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดลำปาง เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ แบบสหศึกษา จำนวนนักเรียนเกือบสี่พันคน ด้วยสำนึกในความเมตตากรุณาของเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ทางโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จึงจัดสร้างอนุสาวรีย์เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตขึ้น เปิดเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๑ เพื่อไว้สักการบูชา
อาคาร / สถานที่สำคัญในโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
[แก้]- อนุสาวรีย์เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ผู้ประทานก่อตั้งโรงเรียน ได้มีการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2521 โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ทรงพระกรุณาเป็นประธานเททองหล่อ ศ.นพ.บุญสม มาร์ติน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ฐานอนุสาวรีย์และอัญเชิญอนุสาวรีย์ ขึ้นประดิษฐาน เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 กระทำพิธีการเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521
- ศาลาพระพุทธ ประดิษฐานพระพุทธเกษมมิ่งมงคล พระพุทธปฏิมาประจำโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย โดยครูบาเจ้าเกษม เขมโกกรุณามอบให้แก่โรงเรียน สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง เป็นรูปแบบวิหารเปลือยแบบล้านนา จำลองแบบจากพระวิหารเจ้าแม่จามเทวี วัดปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
- ศาลเจ้าพ่อกว้าน เจ้าคู่บ้านคู่เมืองลำปาง ประดิษฐานบริเวณประตูทางเข้าโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
- เจ้ากว้าน เจ้าพ่อศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ความสำคัญของเจ้ากว้านคงพอๆ กับเจ้าพ่อหลักเมือง ทั้งนี้สันนิษฐานจากการเซ่นสังเวยทุกครั้งที่มีการสังเวยเจ้าพ่อหลักเมือง จะต้องแบ่งครึ่งหนึ่งของเซ่นไปสังเวยเจ้าพ่อกว้านอยู่เสมอ เมื่อเกิดศึกสงครามทหารจะออกรบ หรือเมื่อตำรวจตามจับผู้ร้ายสำคัญ จะต้องไปบวงสรวงเจ้ากว้านเสียก่อน ความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อนั้น เป็นที่นับถือตั้งแต่เจ้าผู้ครองนครมาจนถึงราษฏรสามัญ ทุกๆปีจะมีการบวงสรวงเซ่นไหว้ประจำปีในเดือน ๙ เหนือ แรม ๕ค่ำ ไม่มีการเชิญเข้าทรงและฟ้อนผี ดังเช่นปัจจุบัน
- อาคาร 1 - คุณากร เป็นอาคารอำนวยการของโรงเรียน
- ชั้น 1 ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบริหาร ฝ่ายธุรการ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายทะเบียน ฝ่ายแนะแนว ฝ่ายบัญชี ห้องพักครูธุรกิจศึกษา ห้องผู้อำนวยการ
- ชั้น 2 ห้องเรียนวิชาธุรกิจ ห้องแผนงาน-สารสนเทศ ห้องศูนย์ควบคุมระบบอินเทอร์เน็ต ห้องพิมพ์ดีด ห้องเรียนนักเรียนโครงการคณิตศาสตร์ (Gifted Math) ระดับชั้นม.1-3 และห้องเรียนร่วม
- อาคาร 2 - บวรวิทย์ เป็นอาคารวิทยาศาสตร์
- ชั้น 1 ห้องพักครูกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ห้องเรียนวิชาชีววิทยา ห้องเรียนวิชาเคมี ห้องประชุมเหมันต์อนุสรณ์ ห้องเกียรติยศ
- ชั้น 2 ห้องเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมต้น ห้องเรียนวิชาฟิสิกส์ ห้องเรียนวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ และห้องพักครู
- ชั้น 3 ห้องเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมต้น ห้องเรียนวิชาฟิสิกส์ ห้องเรียนวิชาชีวเคมี (Biochem หรือ BC)
- อาคาร 3 - พิสิฐเมธี เป็นอาคารเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1,2,3
- ชั้น 1 ห้องพักครูกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ห้องศูนย์สังคมศึกษาฯ ห้องเรียนนักเรียนระดับชั้นม. 3
- ชั้น 2 ห้องอาเซียน(ศูนย์สังคม 2 ) ห้องเรียนนักเรียนระดับชั้นม. 1 และห้องเรียนชั้น ม. 2
- ชั้น 3 ห้องเศรษฐกิจพอเพียง ห้องเรียนนักเรียนระดับชั้นม. 1
- ชั้น 4 ห้องจริยธรรม ห้องเรียนนักเรียนระดับชั้นม.1
- อาคารกีรติคุณ เป็นอาคารดนตรีและนาฏศิลป์
- ชั้น 1 ห้องเรียนวิชาดนตรี ห้องเรียนวิชานาฏศิลป์ ห้องพักครูวิชาดนตรี นาฏศิลป์
- อาคารวิบุลพล 1 เป็นอาคารสนามวอลเล่ย์บอล
- อาคารวิบุลพล 2 เป็นอาคารวิชาศิลปะ,ห้องพักครูวิชาศิลปะ และห้องกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
- อาคารกุศลเกษม เป็นอาคารวิชาคหกรรมและห้องพักครู
- อาคารเปรมประชา (เก่า) เดิมเป็นอาคารที่อยู่เคียงข้างกันกับอาคารกุศลเกษม ปัจจุบันได้ทุบทิ้งไปแล้ว
- อาคารสิวาลัย เป็นอาคารเรียนวิชาเกษตร และห้องพักครู อยู่ที่บริเวณหัวมุมห้าแยกประตูชัย ใกล้กับสนามฟุตบอล
- อาคาร 6 - ไวทยพิชญ์ เป็นอาคารเรียนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3
- ชั้น 1 ห้องประชุมเกษมชัย ห้องประชุมเกษมโชค ห้องพัสดุ ห้องโรเนียว ห้องงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
- ชั้น 2 ห้องพักครูกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ห้องศูนย์คณิตศาสตร์
- ชั้น 3 ห้องเรียนนักเรียนระดับชั้นม. 3 ห้องศูนย์คณิตศาสตร์ ห้องเรียนนักเรียนโครงการคณิตศาสตร์ (Gifted Math) ระดับชั้นม.4-6
- ชั้น 4 ห้องเรียนนักเรียนระดับชั้นม. 3 และห้องศูนย์คณิตศาสตร์
- อาคาร 7 - จิตรภัสสร์ เป็นอาคารเรียนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 , 3
- ชั้น 1 ห้องประชุมเสือป่า และใต้ถุนโล่ง
- ชั้น 2 ห้องพักครูกลุ่มสาระภาษาไทย ห้องศูนย์ภาษาไทย ห้องเรียนนักเรียนระดับชั้นม. 3
- ชั้น 3 ห้องเรียนนักเรียนระดับชั้นม. 2
- ชั้น 4 ห้องเรียนนักเรียนระดับชั้นม. 2
- อาคารสมรรถเกียรติ เป็นอาคารโรงอาหารและหอประชุม
- ชั้น 1 โรงอาหาร
- ชั้น 2 หอประชุมสมรรถเกียรติ
- อาคาร 8 - สมานฉันท์รังสฤษฎ์ เป็นอาคารเรียนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
- ชั้น 1 ห้องพักครูกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ข ,ห้องพยาบาล และใต้ถุนโล่ง
- ชั้น 2 ห้องพักครูกลุ่มภาษาต่างประเทศ ก ห้องเรียนนักเรียนระดับชั้นม. 4 ห้องศูนย์ภาษาอังกฤษ และ English Corner
- ชั้น 3 ห้องเรียนนักเรียนระดับชั้นม. 4 ห้องเรียนนักเรียนโครงการภาษาอังกฤษ (English Program)
- ชั้น 4 ห้องเรียนนักเรียนระดับชั้นม. 4 ห้องเรียนนักเรียนโครงการภาษาอังกฤษ (English Program)
- อาคาร 9 - มานิตธำรง เป็นอาคารเรียนแบบพิเศษ 4 ชั้น รูปตัวแอล (L)
- ชั้น 1 ห้องพักครูกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานช่างอุตสาหกรรม) และใต้ถุนโล่ง
- ชั้น 2 ห้องพักครูกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานห้องสมุด) ห้องเรียนทั่วไป และห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก
- ชั้น 3 ห้องเรียนทั่วไป ห้องเรียนนักเรียนโครงการวิทยาศาสตร์ (Smart Science) และ ห้องเรียนนักเรียนโครงการห้องเรียนคอมพิวเตอร์ (Gifted Com)
- ชั้น 4 ห้องพักครูกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์ ห้องเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ และห้องเรียนทั่วไป และห้องศูนย์ภาษาจีน ศูนย์ญี่ปุ่น)
- อาคารบุญชู ตรีทอง เป็นอาคารหอประชุม สร้างขึ้นโดยได้รับเงินบริจาคจากนายบุญชู ตรีทอง อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ศิษย์เก่าโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
- ชั้น 1 สมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ห้องดนตรีสากล ห้องเรียนลีลาศ
- ชั้น 2 ห้องประชุมใหญ่สิรินตรีทอง
- อาคารศูนย์กีฬา - เปรมประชา เป็นอาคารเรียนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
- ชั้น 1 ห้องเรียนวิชาสุขศึกษาระดับชั้นม. 1 , 2 , 3 , 6 สนามปิงปอง เวทีมวย
- ชั้น 2 ห้องเรียนวิชาสุขศึกษาระดับชั้นม. 4 , 5 สนามบาสเก็ตบอล / ฟุตซอล ห้องพักครูกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา
- สวนป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราฯ เป็นสวนป่าที่พักผ่อนของนักเรียน ตั้งบริเวณอาคารสิวาลัย
- สวนป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ เป็นสวนป่าที่พักผ่อนของนักเรียน ตั้งบริเวณอาคารกุศลเกษม
- พลับพลา เคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีคราวเสด็จพระราชดำเนินยังจ.ลำปาง และเป็นพลับพลาที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 คราวเสด็จเป็นประธานงานฤดูหนาวจ.ลำปาง เมื่อครั้งยังจัดที่สนามกีฬาโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย (ปัจจุบัน พลับพลาได้ถูกรื้อลงแล้ว เนื่องจากเกิดการผุพังของไม้ที่ใช้ในการก่อสร้าง และมูลค้างคาวที่ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น และได้สร้างพลับพลาหลังใหม่ขึ้นเสร็จในปี 2554 )
- สหกรณ์โรงเรียน ตั้งอยู่ติดกับอาคารกุศลเกษม และเยื้องกับอาคารบวรวิทย์ ขายของกินเล่นและเครื่องหมายที่ประดับชุดนักเรียน และลูกเสือ-ยุวะกาชาด-เนตรนารี (หากจะซื้อสมุดให้ไปซื้อที่ห้องพักครูธุรกิจศึกษา
รายนามผู้อำนวยการโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
[แก้]ลำดับ | รูป | ชื่อผู้บริหารโรงเรียน | วาระดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
— | เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต (ผู้ก่อตั้งโรงเรียน) |
- |
| |
1 | ครูใหญ่ ครูเปลี่ยน |
พ.ศ. 2441 - 2448 | - | |
2 | ครูใหญ่ พระยาวิทยาศรัย (หวาน วิทยาศรัย) |
พ.ศ. 2448 - 2450 | - | |
3 | ครูใหญ่ ขุนประพุทธนิติสาร (เสริม จันทร์เรือง) |
พ.ศ. 2450 - 2455 | - | |
4 | ครูใหญ่ หลวงสุนทรเลข (ระไว อรุณศรี) |
พ.ศ. 2455 - 2460 | - | |
5 | ครูใหญ่ นายถนอม จิราพันธ์ |
พ.ศ. 2460 | - | |
6 | ครูใหญ่ ขุนอักษรสิทธิ์ (ทองอยู่) |
พ.ศ. 2460 - 2465 | - | |
7 | ครูใหญ่ นายขุน มีนะนันท์ |
พ.ศ. 2465 - 2470 |
| |
8 | ครูใหญ่ ขุนวิชากิจพิสันท์ (ถนอม วิเศษสุมน) |
พ.ศ. 2470 - 2474 | - | |
9 | ครูใหญ่ นายจรัล สุขเกษม |
พ.ศ. 2474 - 2478 |
| |
10 | ครูใหญ่ นายพันธ์ รัติกนก |
พ.ศ. 2478 - 2480 |
| |
11 | ครูใหญ่ นายวัน บุญฤทธิ์ |
พ.ศ. 2480 - 2486 |
| |
12 | ครูใหญ่ นายระบิล สีตะสุวรรณ |
พ.ศ. 2486 - 2487 |
| |
13 | ครูใหญ่ นายเสนาะ ธรรมครองอาตม์[4] |
พ.ศ. 2487 - 2491 |
| |
14 | ครูใหญ่ นายโชติ สุวรรณชิน |
พ.ศ. 2491 - 2495 |
| |
15 | อาจารย์ใหญ่ นายถิ่น รัติกนก |
พ.ศ. 2495 - 2499 |
| |
16 | อาจารย์ใหญ่ นายเฟ้อ พิริยพันธ์ |
พ.ศ. 2499 - 2505 |
| |
17 | อาจารย์ใหญ่ นายสุเชฏฐ์ วิชชวุต |
พ.ศ. 2505 - 2516 |
| |
18 | อาจารย์ใหญ่ นายเจือ หมายเจริญ[5] |
พ.ศ. 2516 - 2517 |
| |
19 | ผู้อำนวยการ นายสมชาย นพเจริญกุล |
พ.ศ. 2517 - 2522 |
| |
20 | ผู้อำนวยการ นายศรีสมมารถ ไชยเนตร |
พ.ศ. 2522 - 2532 |
| |
21 | ผู้อำนวยการ นายประสิทธิ์ แสนไชย |
พ.ศ. 2532 - 2534 |
| |
22 | ผู้อำนวยการ นางสาวสายสมร เจริญจันทร์แดง |
พ.ศ. 2534 - 2536 |
| |
23 | ผู้อำนวยการ นายสาหร่าย แสงทอง |
พ.ศ. 2536 - 2541 |
| |
24 | ผู้อำนวยการ นายประดิษฐ์ จันทร์แสนตอ |
พ.ศ. 2541 - 2547 |
| |
25 | ผู้อำนวยการ นายวีรยุทธ จงสถาพรพงศ์ |
พ.ศ. 2547 - 2549 |
| |
26 | ผู้อำนวยการ นางเบญจวรรณ ไกรวุฒินันท์ |
พ.ศ. 2549 - 2555 |
| |
27 | ผู้อำนวยการ ดร.สาโรจน์ แก้วอรุณ |
พ.ศ. 2555 - 2559 |
| |
28 | ผู้อำนวยการ นายสกล ทะแกล้วพันธุ์ |
พ.ศ. 2559 - 2562 |
| |
29 | ผู้อำนวยการ นายพูลศักดิ์ จิตสว่าง |
พ.ศ. 2562 - 2564 |
| |
30 | ผู้อำนวยการ นายนิรันดร หมื่นสุข |
พ.ศ. 2565 - |
|
เกียรติยศและความภาคภูมิใจ
[แก้]เกียรติยศ รางวัลของสถานศึกษา
[แก้]โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ได้รับรางวัล และเกียรติยศ ในระดับประเทศ ได้แก่
- พ.ศ. 2448 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้เสด็จต่างพระเนตรพระกรรณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมชนกนาถ ประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือและพระราชทานนามโรงเรียนเป็น "บุญวาทย์วิทยาลัย"
- พ.ศ. 2524 ได้รับการดัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการเป็นโรงเรียนดีเด่นได้รับรางวัลพระราชทานระดับมัธยมศึกษา ครั้งที่ 1
- พ.ศ. 2535 ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ครั้งที่ 2
- พ.ศ. 2538 ได้รับประกาศเกียรติคุณในฐานะโรงเรียนที่มีสิ่งแวดล้อมดีเด่นระดับ มาตรฐานเหรียญเงิน
- พ.ศ. 2542 ได้รับรางวัลโรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมวิทยาศาสตร์ดีเด่นประเภทโรงเรียนขนาดใหญ่ ปี พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2543 จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2546 ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ครั้งที่ 3
- พ.ศ. 2556
- ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองอันดับ 1 สถานศึกษายอดเยี่ยม ประเภทมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ด้านการบริหารจัดการ จากสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBEC AWARDS
- ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองอันดับ 1 สถานศึกษายอดเยี่ยม ประเภทมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ด้านวิชาการ จากสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBEC AWARDS
- พ.ศ. 2557 ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองอันดับ 1 สถานศึกษายอดเยี่ยม ประเภทมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน จากสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBEC AWARDS
- พ.ศ. 2560 ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่และนักเรียนพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2560 [7]
เกียรติยศ รางวัลของนักเรียน
[แก้]นักเรียนของโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ได้รับรางวัลต่างๆ ในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ ได้แก่
- พ.ศ. 2542 นายวรัตม์ ยิ่งเสรี ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยเพื่อแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิก ณ ประเทศตุรกี ผลการแข่งขันได้เหรียญทองแดงคอมพิวเตอร์โอลิมปิก
- พ.ศ. 2545 นายอดิศร ไชยบาง ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยเพื่อแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระหว่างประเทศ ณ ประเทศลัตเวีย ผลการแข่งขันได้เหรียญทองชีววิทยาโอลิมปิก (ขณะนั้นศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5)
- พ.ศ. 2546 นายอดิศร ไชยบาง ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยเพื่อแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระหว่างประเทศ ณ ประเทศเบลารุส ผลการแข่งขันได้เหรียญทองชีววิทยาโอลิมปิก
- พ.ศ. 2556 นายปัฐพงศ์ ไชยแสนวัง และนายวิชญะ สิทธิรักษ์ เป็นตัวแทนโครงงานประเทศไทยเข้าแข่งระดับโลกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับรางวัล the International Sustainable World เหรียญทองแดง ในหัวข้อ The Magic of Leonardite: the Absorbent Agent to Clean Wastewater
- พ.ศ. 2558 ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 17 (YSC 2015) เพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการประกวดในงาน Intel ISEF ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
- 1.โครงงานการดูดซับตะกั่วในน้ำโดยใช้เปลือกแก้วมังกร (Adsorption of Lead from Water Using Dragon Fruit Peel) ในสาขา เคมี
- 2.โครงงานคลื่นเสียงกับการเจริญเติบโตของต้นเมล็ดทานตะวัน (Sound waves with the growth of sunflower seeds) ในสาขา ฟิสิกส์และดาราศาสตร์
- 3.โครงงานการศึกษาสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างดินเบา บิสกิต ปูนซีเมนต์และทรายในการผลิตอิฐซิเมนต์ (The Study of the Proper Proportion of Light Soil, Biscuit, Cement, and Sand in Cement Brick Production) ในสาขา วิศวกรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2560 นางสาวนุชวรา มูลแก้ว และนางสาวจิตรานุช ไชยราช ได้รับรางวัลที่ 4 สาขาสัตวศาสตร์ จากโครงงาน “การย่อยสลายโฟมโดยตัวอ่อนแมลงปีกแข็งชนิด Zophobasmorio (หนอนนกยักษ์)” จากเวทีการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมระดับโลก The Intel International Science and Engineering Fair 2017 (Intel ISEF) ที่นครลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา[8]
- พ.ศ. 2561 นายธนดล ชมภูจันทร์ ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยเพื่อแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ณ ณ เมืองทสึคุบะ จังหวัดอิบารากิ ประเทศญี่ปุ่น ผลการแข่งขันได้รางวัลเหรียญทองแดง [9]
ศิษย์เก่าโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยที่มีชื่อเสียง
[แก้]รายนาม | รูป | เกียรติประวัติ/ผลงาน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
ส. ธรรมยศ |
|
นักเขียน | |
ทองย้อย กลิ่นทอง | นักการเมือง ข้าราชการ นักบริหาร | ||
บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ |
| ||
บุญสม มาร์ติน |
| ||
สอาด ปิยวรรณ |
| ||
บุญชู ตรีทอง |
| ||
คำรณ ณ ลำพูน |
| ||
วุฒิ วิทิตานนท์ |
| ||
ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน |
| ||
ชาย พานิชพรพันธุ์ |
| ||
สมโภช สายเทพ | |||
สกล ทะแกล้วพันธุ์ |
| ||
นิรุฒ มณีพันธ์ |
| ||
ณภัสวรรณ หย่างไพบูลย์ |
|
นักกีฬา | |
นิลาวัลย์ เตชะสืบ |
| ||
ชยธร เศรษฐจินดา |
|
พิธีกร นักร้อง นักแสดง | |
ศิรพันธ์ วัฒนจินดา |
| ||
เรณุภา พิจอมบุตร |
| ||
วัทนพร พึ่งเพียร |
| ||
กฤช พงษ์พันธุ์ |
| ||
เชิงชาย หว่างอุ่น |
| ||
สุรวิชญ์ เรืองยศ |
| ||
กุลชา สุคนธเสนี |
| ||
เจนศักดิ์ดา จาระณะ |
| ||
ปาณิสรา มณฑารัตน์ |
| ||
สหภาพ วงศ์ราษฎร์ |
| ||
กชพร ลีละทีป |
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-10. สืบค้นเมื่อ 2021-10-10.
- ↑ โรงเรียนเครือข่ายสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-09-25. สืบค้นเมื่อ 2022-07-28.
- ↑ https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php
- ↑ วิศิษฎ์ ดวงสงค์. “นายเจือ หมายเจริญ.” ใน ประวัติครู. พิมพ์ครั้งที่ 1 (คุรุสภาจัดพิมพ์เนื่องในวันครู 16 มกราคม พ.ศ. 2551) กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา, 2551.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-28. สืบค้นเมื่อ 2022-07-28.
- ↑ https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/817206/
- ↑ https://www.matichon.co.th/education/news_562760
- ↑ http://www.focusnews.in.th/1461
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย เก็บถาวร 2008-09-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน