ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนราชวินิต มัธยม

พิกัด: 13°45′35″N 100°31′04″E / 13.759760°N 100.517770°E / 13.759760; 100.517770
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนราชวินิต มัธยม
Rajavinit Mathayom School

ตราพระมหาพิชัยมงกุฎ ร.๙
ตราประจำโรงเรียนราชวินิต มัธยม
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นร.น.ม. (R.N.M.)
ประเภทรัฐบาล
คำขวัญศึกษาดี มีวินัย ใฝ่กิจกรรม
สถาปนา4 เมษายน พ.ศ. 2521
ผู้ก่อตั้งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
หน่วยงานกำกับสพฐ.
ผู้อำนวยการดร.เทพฤทธิ์ ยอดใส
ระดับปีที่จัดการศึกษาม.1 – ม.6
สีขาว กรมท่า   
เพลงมาร์ชราชวินิต มัธยม
ต้นไม้ชมพูพันธ์ทิพย์
เว็บไซต์http://www.rnm.ac.th
ราชวินิต มัธยมตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
ราชวินิต มัธยม
ราชวินิต มัธยม
ราชวินิต มัธยม (กรุงเทพมหานคร)

โรงเรียนราชวินิต มัธยม เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2521 เป็นโรงเรียนสหศึกษา มีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ประวัติ

[แก้]

โรงเรียนราชวินิต มัธยม ถือกำเนิดขึ้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นที่ดินจำนวน 6 ไร่ 3 งาน 34 ตารางวา ใกล้กับสนามม้านางเลิ้ง (ปัจจุบันแปรสภาพเป็นอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร) ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของกรมอัศวราชในสมัยรัชกาลที่ 6 ให้กรมสามัญศึกษาจัดตั้งเป็นโรงเรียนมัธยม โดยมีจุดประสงค์ในการรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนราชวินิต รวมทั้งบุตรหลานข้าราชบริพารให้เข้าศึกษา พระราชทานนามโรงเรียนว่า "ราชวินิต มัธยม" หมายถึง สถานที่อบรมกุลบุตรกุลธิดาในระดับมัธยมศึกษาให้เป็นคนดี แห่งพระบารมีปกเกล้า ใช้ชื่อย่อว่า ร.น.ม. และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระมหามงกุฏเปล่งรัศมีมีเลขลำดับรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นตราประจำโรงเรียน และทำเป็นเข็มประดับหน้าอกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย[1] มีนักฟุตซอลในตำนานอย่าง นํ้ามนต์ วงศ์สารสิน ฉายา นํ้ามนต์ สิกีบีดี้ ด็อบ

กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งโรงเรียนราชวินิต มัธยม เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2521 กรมสามัญศึกษาโดย ดร.ก่อ สวัสดิพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นเป็นผู้ลงนามืและให้คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ ผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิต (ประถม) รักษาการในตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนราชวินิต มัธยม อีกตำแหน่งหนึ่ง

ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 กระทรวงศึกษาธิการประกาศยุบเลิกการสอนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนราชวินิต (ประถม) และให้โอนนักเรียนมัธยมศึกษาระดับ ม.ศ.2 จำนวน 4 ห้องเรียนมาให้โรงเรียนราชวินิต มัธยม[1]

กรมสามัญศึกษา ได้มีคำสั่งให้นางสมจินตนา ภักดิ์ศรีวงศ์ (คุณหญิงสมจินตนา ภักดิ์ศรีวงศ์) อาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดประยูรวงศาวาส มาดำรงตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนราชวินิต มัธยม

  • ปีการศึกษา 2521 อาศัยสถานที่โรงเรียนราชวินิต (ประถม) เป็นที่เรียนชั่วคราว
  • ปีการศึกษา 2522 ได้รับงบประมาณ 4,280,000.00 บาท สร้างอาคารเรียนถาวร หน่วยที่ 1 อาคารเรียนชั่วคราว ห้องน้ำ ห้องส้วม 2 หลัง เสาธงถาวร 1 ที่ ณ บริเวณกรมอัศวราช (ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนราชวินิต มัธยม ใรปัจจุบัน)
  • ปีการศึกษา 2523 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนหน่วยที่ 2 ด้วยงบประมาณ 4,000,000.00 บาท และงบประมาณผูกพันในปีการศึกษา 2524 อีก 7,600,000.00 บาท
    • 1 เมษายน 2523 ได้ย้ายสถานที่เรียนจากโรงเรียนราชวินิต (ประถม) มาเรียนที่อาคารเรียนของโรงเรียนราชวินิต มัธยม และปรับปรุงโรงเก็บรถม้าพระที่นั่งเป็นอาคารเรียนอีกส่วนหนึ่ง ในปีนี้มีนักเรียนทั้งหมด 1,029 คน ครู - อาจารย์ 54 คน นักการภารโรง 4 คน และมีการสอน เฉพาะมัธยมศึกษาตอนต้น และในปีนี้ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสมาคมผู้ปกครองและครูขึ้นตามหนังสือจดทะเบียนสมาคม เลขลำดับที่ จ1700 ลงวันที่ 24 เมษายน 2523 มีพันเอกวีระ วิชิตะกุล เป็นนายกสมาคมฯ คนแรก
  • ปีการศึกษา 2524 ได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรปี 2518 (ม.ศ.4) จำนวน 2 ห้องเรียน และหลักสูตรปี 2524 (ม.4) จำนวน 2 ห้องเรียน
  • ปีการศึกษา 2527 ได้เปิดการสอนการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จระดับ 3, 4, 5 ขึ้น ตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ตามหนังสือ รล 0007/1045 ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2527 เพื่อให้ข้าราชการทหารและพลเรือนได้รับการศึกษาเพิ่มเติม[1]

กิจกรรมดีเด่น

[แก้]

วงโยธวาทิตโรงเรียนราชวินิต มัธยม

[แก้]

วงดนตรีไทยโรงเรียนราชวินิต มัธยม

[แก้]
  • รางวัลชนะเลิศ การประกวดวงเครื่อสายดนตรีไทย ถ้วยรางวัลพระราชทานพระบาทสมเด็จกระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ คณะกรรมการจัดงาน 5 ธันวามหาราช ครั้งนี้ 22 ประจำปี 2541
  • สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานรางวัลชนะเลิศการประกวดประเภทวงปี่พาทย์ไม้นวม ประจำปี 2549 จัดโดย สมาคมศิษย์เก่าชุมพลทหารเรือร่วมกับบ้านดนตรีไทยศรีผ่อง
  • สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานรางวัลชนะเลิศการประกวดประเภทวงปี่พาทย์ไม้นวม ประจำปี 2551 จัดโดย มูลนิธิเพื่อการพัฒนาและสันติร่วมกับบ้านดนตรีไทยศรีผ่อง
  • พระราชทานรางวัลชนะเลิศ การประกวดบรรเลงดนตรีไทย "ศรทอง" ประเภทขลุ่ยเพียงออ ระดับมัธยมศึกษา จัดโดยมูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
  • ถ้วยพระราชทานระดับเหรียญเงิน การประกวดดนตรีไทยเเละดนตรีพื้นบ้านเพื่อความมั่นคงของชาติ ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จกระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ จัดโดย กระทรวงวัฒนธรรม
  • ประกาศเกียรติคุณ โรงเรียนราชวินิต มัธยม ได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษาดีเด่นทางวัฒนธรรมด้านดนตรีไทยเเละดนตรีพื้นบ้าน ประจำปี 2559 โดย กระทรวงวัฒนธรรม
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดเยาวชนดนตรีไทยในสถานศึกษา ประเภท "ขลุ่ย" ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561

คณะสีของโรงเรียนราชวินิต มัธยม

[แก้]
  • คณะบุษราคัม-สีเหลือง
  • คณะเพทาย-สีชมพู
  • คณะมรกต-สีเขียว
  • คณะโกเมน-สีแดง
  • คณะไพลิน-สีฟ้า

ผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิต มัธยม

[แก้]
ลำดับ รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง[2]
1 คุณหญิงพวงรัตน์ วิเวกานนท์ 26 พฤษภาคม 2521 – 29 กันยายน 2521 (รักษาการ)
2 คุณหญิงสมจินตนา ภักดิ์ศรีวงศ์ 29 กันยายน 2521 – 30 พฤศจิกายน 2535
3 นางสาวสุวรรณา เอมประดิษฐ์ 29 ตุลาคม 2535 – 13 พฤศจิกายน 2540
4 นางสาวสุกัญญา สันติพัฒนาชัย 3 ธันวาคม 2540 – 5 ตุลาคม 2547
5 นางสาวจริมศรี เพ็ชรกุล 8 ตุลาคม 2547 – 30 กันยายน 2551
6 นายไพรัช กรบงกชมาศ 29 ตุลาคม 2551 – 30 กันยายน 2553
นายธรรมิก ธรรมสโรช

(รักษาการในตำแหน่ง)

1 ตุลาคม 2553 – 16 พฤศจิกายน 2554
7 ดร.บุญธรรม พิมพาภรณ์ 17 พฤศจิกายน 2554 – 30 กันยายน 2557
8 นายณรงค์ คงสมปราชญ์ 7 พฤศจิกายน 2557 – 25 มกราคม 2560
9 ดร.เทพฤทธิ์ ยอดใส 25 มกราคม 2560 – ปัจจุบัน

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

[แก้]

สถานศึกษาใกล้เคียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "ประวัติโรงเรียนราชวินิต มัธยม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-02. สืบค้นเมื่อ 2013-02-21.
  2. "ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิต มัธยม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-02. สืบค้นเมื่อ 2013-02-21.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°45′35″N 100°31′04″E / 13.759760°N 100.517770°E / 13.759760; 100.517770