โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร
Pathumthep Witthayakarn School
Pathumthep Witthayakarn School Logo.png
ที่ตั้ง
ถนนมิตรภาพ ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
ข้อมูล
ชื่ออื่นป.ท.ค.,P.T.K
ประเภทโรงเรียนรัฐบาลประจำจังหวัด
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
คำขวัญมารยาทดี มีปัญญา กีฬาเด่น เน้นวินัย เป็นหัวใจของปทุมเทพวิทยาคาร
สถาปนาพ.ศ. 2457 (โรงเรียนหญิงล้วน)

4 พฤษภาคม พ.ศ. 2510
(รวมโรงเรียนชายล้วนและโรงเรียนหญิงล้วน)

(56 ปี 30 วัน)
ผู้ก่อตั้งกรมสามัญศึกษา
เขตการศึกษาหนองคาย
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21
ผู้อำนวยการนายธวัช บรรเลงรมย์
จำนวนนักเรียน3,925 คน
ภาษาภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
เยอรมนี ภาษาเยอรมัน
ลาว ภาษาลาว
ฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศส
สเปน ภาษาสเปน
เกาหลีใต้ ภาษาเกาหลี
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
เวียดนาม ภาษาเวียดนาม
สี   ชมพู-น้ำเงิน
เพลงเพลงมาร์ชปทุมเทพวิทยาคาร
เว็บไซต์http://www.schoolptk.ac.th (เว็บไซต์โรงเรียน) http://www.schoolptk.ac.th/ep/index.php (เว็บไซต์ห้องหลักสูตรภาษาอังกฤษ ห้องEP)

โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร (อักษรย่อ: ป.ท.ค.) เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดหนองคายและเป็นโรงเรียนประเภทโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ ปัจจุบันจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษารูปแบบสหศึกษา โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคารในปัจจุบันยังได้รับการปรับปรุงจนเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลสู่อาเซียน

ประวัติโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร[แก้]

เดิมจังหวัดหนองคายมีโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัด 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนประจำจังหวัดชาย “หนองคายวิทยาคาร” และโรงเรียนสตรีหนองคาย “ปทุมเทพรังสรรค์” มีประวัติความเป็นมาพอสังเขป ดังนี้

  • พ.ศ. 2457 โรงเรียนหนองคายวิทยาคาร เปิดทำการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยอาศัยศาลาโรงธรรมวัดศรีสุมังค์ ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย เป็นสถานที่เล่าเรียน มีนายน้อย บุญชัยศรี เป็นครูใหญ่ และนายสำราญ ภักดีนวล เป็นครูน้อย
  • พ.ศ. 2458 ขุนวรสิษฐดรุณเวทย์ (นารถ อินทุสมิต) ได้รับแต่งตั้งให้มารับตำแหน่งครูใหญ่ ได้ย้ายโรงเรียนมาอาศัย ศาลาโรงธรรมวัดศรีคุณเมือง เป็นที่เล่าเรียน
  • พ.ศ. 2460 ย้ายโรงเรียนมาอาศัยศาลาโรงธรรมวัดศีรษะเกษ เป็นสถานที่เล่าเรียน และจัดการศึกษาถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
  • พ.ศ. 2463 – 2464 กระทรวงศึกษาธิการ จัดสรรงบประมาณให้สร้างอาคารเรียนแบบชั่วคราวขึ้นที่บริเวณสนามกีฬาจังหวัดหนองคาย จึงย้ายมาทำการสอนที่อาคารหลังใหม่ จัดการศึกษาถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
  • พ.ศ. 2465 ย้ายสถานที่เล่าเรียนไปอยู่ที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ปัจจุบันเป็นเรือนไม้ทรงปั้นหยาชั้นเดียว
  • พ.ศ. 2467 ได้รับงบประมาณมาสร้างอาคารเรียนถาวรขึ้นที่บริเวณสนามกีฬาอนุสาวรีย์ปราบฮ่อจึงได้ย้ายสถานที่มาเรียนที่ตึกใหม่นี้ตลอดมา
  • พ.ศ. 2472 นายอำไพ พลศักดิ์ ได้รับการแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ และได้เริ่มจัดการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ขึ้น ต่อมาได้ขยายการจัดการศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามลำดับ
  • พ.ศ. 2503 นายสุชาติ สุขากันยา ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่และ ได้เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญแผนกวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ขึ้น
  • ในปี พ.ศ. 2505 มีนักเรียนชั้นประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5) เป็นรุ่นแรก
  • พ.ศ. 2505 กระทรวงศึกษาธิการ ขยายพื้นที่ของสถานศึกษาให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นจึงได้จัดสร้างอาคารเรียนขึ้นในพื้นที่สาธารณะ ถนนมิตรภาพ ตำบลโพธิ์ชัย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของสนามบินหนองคาย แล้วให้ย้ายโรงเรียนหนองคายวิทยาคารมาอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้
  • โรงเรียนสตรีหนองคาย “ปทุมเทพรังสรรค์” จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2473 โดยอำมาตย์เอก พระปทุมเทวาภิบาล ข้าหลวงประจำจังหวัดหนองคายเป็นผู้ดำริให้จัดตั้งขึ้น และเปิดทำการสอนในระดับประถมศึกษา (ประถมศึกษา 1 – ประถมศึกษา 3) เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2473 ใช้อาคารที่ว่าการอำเภอเมืองหนองคาย ซึ่งเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวทรงปั้นหยา ตั้งอยู่บริเวณสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองคายปัจจุบันเป็นอาคารเรียน มีนักเรียน 119 คน นายจันทร์ แสนคำศรี รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ มีครูน้อย 2 คน คือ น.ส.อนงค์ สิริคันธานนท์ และ น.ส.เฉลิม นาทะทัต
  • พ.ศ. 2473 - 2474 นางมณี กมลสุทธิ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
  • พ.ศ. 2474 นางลมโชย นาครทรรพ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่และเริ่มเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา
  • พ.ศ. 2484 เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
  • พ.ศ. 2481 – 2490 นางสุดใจ ณ ลำปาง ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
  • พ.ศ. 2490 – 2490 นายอินทร์ ศิริมาศ ได้รับแต่งตั้งให้รักษาการครูใหญ่
  • พ.ศ. 2490 – 2505 นางอติพร แสงสิงแก้ว ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
  • พ.ศ. 2505 – 2507 นางสมร ท้วมชุมพร ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
  • พ.ศ. 2507 นางสวาท รัตนวราห ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ จนถึงปี พ.ศ. 2510
  • ต่อมาเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 กระทรวงศึกษาธิการประกาศรวมโรงเรียนชายหนองคายวิทยาคาร และโรงเรียนสตรี ปทุมเทพรังสรรค์ เข้าด้วยกัน จัดการศึกษาเป็นแบบสหศึกษา และให้ชื่อใหม่ว่า “โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร” แล้วย้ายมาอยู่ ณ บริเวณปัจจุบัน ซึ่งมีเนื้อที่ 45 ไร่ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

รายนามผู้บริหารโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร[แก้]

Pathumthep Witthayakarn School Logo.png
รายนามผู้บริหารโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร
ลำดับ นาม วาระ หมายเหตุ
โรงเรียนปทุมเทพรังสรรค์
(พ.ศ. 2457 – 2510)
ตำแหน่งครูใหญ่
นายน้อย บุญชัยศรี พ.ศ. 2457 – 2458
(1 ปี)
โรงเรียนหนองคายวิทยาคาร เปิดทำการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยอาศัยศาลาโรงธรรมวัดศรีสุมังค์ ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย เป็นสถานที่เล่าเรียน มีนายน้อย บุญชัยศรี เป็นครูใหญ่ และนายสำราญ ภักดีนวล เป็นครูน้อย
ขุนวรสิษฐดรุณเวทย์
(นารถ อินทุสมิต)
พ.ศ. 2458 – 2472
(10 ปี)
พ.ศ. 2458 ขุนวรสิษฐดรุณเวทย์ (นารถ อินทุสมิต) ได้รับแต่งตั้งให้มารับตำแหน่งครูใหญ่ ได้ย้ายโรงเรียนมาอาศัย ศาลาโรงธรรมวัดศรีคุณเมือง เป็นที่เล่าเรียน
พ.ศ. 2460 ย้ายโรงเรียนมาอาศัยศาลาโรงธรรมวัดศีรษะเกษ เป็นสถานที่เล่าเรียน และจัดการศึกษาถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
พ.ศ. 2463 – 2464 กระทรวงศึกษาธิการ จัดสรรงบประมาณให้สร้างอาคารเรียนแบบชั่วคราวขึ้นที่บริเวณสนามกีฬาจังหวัดหนองคาย จึงย้ายมาทำการสอนที่อาคารหลังใหม่ จัดการศึกษาถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
พ.ศ. 2465 ย้ายสถานที่เล่าเรียนไปอยู่ที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ปัจจุบันเป็นเรือนไม้ทรงปั้นหยาชั้นเดียว
พ.ศ. 2467 ได้รับงบประมาณมาสร้างอาคารเรียนถาวรขึ้นที่บริเวณสนามกีฬาอนุสาวรีย์ปราบฮ่อจึงได้ย้ายสถานที่มาเรียนที่ตึกใหม่นี้ตลอดมา
นายอำไพ พลศักดิ์ พ.ศ. 2472 – 2473
(1 ปี)
นายอำไพ พลศักดิ์ ได้รับการแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ และได้เริ่มจัดการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ขึ้น ต่อมาได้ขยายการจัดการศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามลำดับ
นายจันทร์ แสนคำศรี พ.ศ. 2473 – 2473
(น้อยกว่า 1 ปี) (รักษาการ)
โรงเรียนสตรีหนองคาย “ปทุมเทพรังสรรค์” จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2473 โดยอำมาตย์เอก พระปทุมเทวาภิบาล ข้าหลวงประจำจังหวัดหนองคายเป็นผู้ดำริให้จัดตั้งขึ้น และเปิดทำการสอนในระดับประถมศึกษา (ประถมศึกษา 1 – ประถมศึกษา 3) เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2473 ใช้อาคารที่ว่าการอำเภอเมืองหนองคาย ซึ่งเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวทรงปั้นหยา ตั้งอยู่บริเวณสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองคายปัจจุบันเป็นอาคารเรียน มีนักเรียน 119 คน นายจันทร์ แสนคำศรี รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ มีครูน้อย 2 คน คือ น.ส.อนงค์ สิริคันธานนท์ และ น.ส.เฉลิม นาทะทัต
นางมณี กมลสุทธิ พ.ศ. 2473 – 2474
(1 ปี)
นางลมโชย นาครทรรพ พ.ศ. 2474 – 2481
(7 ปี)
เริ่มเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา
นางสุดใจ ณ ลำปาง พ.ศ. 2481 – 2490
(9 ปี)
นายอินทร์ ศิริมาศ พ.ศ. 2490 – 2490
(น้อยกว่า 1 ปี)
นางอติพร แสงสิงแก้ว พ.ศ. 2490 – 2505
(15 ปี)
นางสมร ท้วมชุมพร พ.ศ. 2505 – 2507
(2 ปี)
นางสวาท รัตนวราห พ.ศ. 2507 – 2510
(3 ปี)
โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร
(4 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 – ปัจจุบัน)
ตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
1 นายเงิน รัตนจันท พ.ศ. 2510 – 2514
(4 ปี)
เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 กระทรวงศึกษาธิการประกาศรวมโรงเรียนชายหนองคายวิทยาคาร และโรงเรียนสตรี ปทุมเทพรังสรรค์ เข้าด้วยกัน จัดการศึกษาเป็นแบบสหศึกษา และให้ชื่อใหม่ว่า “โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร” แล้วย้ายมาอยู่ ณ บริเวณปัจจุบัน ซึ่งมีเนื้อที่ 45 ไร่ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
นายวิเชียร ชูประยูร พ.ศ. 2514 – 2515
(1 ปี) (รักษาการ)
2 นายมงคล สุวรรณพงศ์ พ.ศ. 2515 – 2516
(1 ปี)
3 นายล้วน วรนุช พ.ศ. 2516 – 2527
(11 ปี)
ตำแหน่งผู้อำนวยการ
4 นายวิลาศ วีระสุโข พ.ศ. 2527 – 2530
(3 ปี)
5 นายวิเชียร ชูประยูร พ.ศ. 2530 – 2535
(5 ปี)
6 นายพิน ศรีอาจ พ.ศ. 2535 – 2538
(3 ปี)
7 นายนิกร จันทระ พ.ศ. 2539 – 2546
(7 ปี)
8 ดร.ชัยรัตน์ หลายวัชระกุล พ.ศ. 2546 – 2561
(15 ปี)
9 นายสมพงษ์ โสภิณ พ.ศ. 2561 – 2562
(1 ปี)
10 นายธวัช บรรเลงรมณ์ พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน
(4 ปี+)

อ้างอิง[แก้]