เจเคเอ็น 18
ประเทศ | ไทย |
---|---|
เครือข่าย | ช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ |
สำนักงานใหญ่ | 818 ซอยแบริ่ง 19 หมู่ที่ 2 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 10270 |
แบบรายการ | |
ระบบภาพ | 576ไอ (16:9 คมชัดปกติ) |
ความเป็นเจ้าของ | |
บุคลากรหลัก | จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป ฉัตรชัย ภู่โคกหวาย กรรมการผู้จัดการบริษัท ท็อปนิวส์ ดิจิตัล มีเดีย จำกัด |
ประวัติ | |
เริ่มออกอากาศ | ระบบดาวเทียม: 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน: 1 เมษายน พ.ศ. 2557 ระบบดาวเทียมเคเบิลทีวีและดิจิทัล: 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 |
ออกอากาศ | |
ภาคพื้นดิน | |
ดิจิทัล | ช่อง 18 (มักซ์#4 ไทยพีบีเอส) |
เคเบิลทีวี | |
ช่อง 18 | |
ทีวีดาวเทียม | |
พีเอสไอ | ช่อง 18 |
จีเอ็มเอ็มแซท | ช่อง 18 |
ไทยคม 6 C-Band | 4009 H 15000 |
ไทยคม 8 KU-Band | 11560 H 30000 |
ทรูวิชั่นส์ | ช่อง 18 |
กู๊ด ทีวี | ช่อง 18 |
เจเคเอ็น 18 (อังกฤษ: JKN18) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ หมวดหมู่ข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน ปัจจุบันดำเนินการโดย บริษัท เจเคเอ็น เบสท์ ไลฟ์ จำกัด ในเครือเจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป ในรูปแบบของการให้เช่าเวลาผลิตรายการโดยบริษัท ท็อปนิวส์ ดิจิตัล มีเดีย จำกัด (สำนักข่าวท็อปนิวส์)
เดิมใช้ชื่อว่า เดลินิวส์ ทีวี เป็นสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมในเครือหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น นิวทีวี และ นิว 18 หลังจากเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิทัล และเน้นการนำเสนอสารคดีต่าง ๆ โดยเฉพาะสารคดีชุดสำรวจโลก ของบริษัท เนกซ์สเตป จำกัด และรายการข่าวจากเดลินิวส์ แต่ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564 เจเคเอ็นได้เข้ามาควบคุมการออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง และรายการข่าวที่เคยออกอากาศอยู่เดิมถูกย้ายไปออกอากาศในช่องทางออนไลน์ทั้งหมด และในวันที่ 9 เมษายน เจเคเอ็นได้เข้าซื้อกิจการช่องนิว 18 จากนั้นได้ปรับปรุงผังรายการของช่องใหม่ ก่อนจะเริ่มออกอากาศรายการในผังใหม่เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม และเปลี่ยนชื่อสถานีอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม แต่ต่อมาเนื่องจากปัญหาหุ้นกู้ของเจเคเอ็น จึงได้ให้บริษัท ท็อปนิวส์ ดิจิตัล มีเดีย จำกัด นำเนื้อหาจากช่องท็อปนิวส์มาออกอากาศทางช่องเจเคเอ็น 18 ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2566 จนถึงปัจจุบัน
ประวัติ
[แก้]เดลินิวส์ทีวี
[แก้]บริษัท เดลินิวส์ทีวี จำกัด (ปัจจุบันคือ บริษัท นิวช้อป จำกัด) เป็นผู้ที่เริ่มประกอบกิจการโทรทัศน์ของเครือเดลินิวส์ครั้งแรก โดยจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554[1] และทดลองออกอากาศสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมชื่อว่า เดลินิวส์ ทีวี (อังกฤษ: Daily News TV) ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม[2]โดยมีกำหนดเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555[3]แต่เนื่องจากเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ภายในประเทศ ซึ่งบริเวณถนนวิภาวดีรังสิตช่วงหน้าอาคารที่ทำการหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ซึ่งเป็นที่ตั้งของเดลินิวส์ ทีวี ในขณะนั้น ก็เป็นพื้นที่ประสบอุทกภัยดังกล่าวด้วยเช่นกัน จึงส่งผลกระทบให้เดลินิวส์ทีวีต้องเลื่อนการออกอากาศปฐมฤกษ์มาเป็นวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555[4]
นิวทีวี
[แก้]หลังจากเข้าประมูลช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทธุรกิจระดับชาติจาก กสทช. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งเครือเดลินิวส์ได้ส่ง บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสต์ จำกัด เข้าประมูล และได้ช่องหมายเลข 18 เดลินิวส์ทีวีจึงได้โอนกรรมสิทธิ์การประกอบกิจการโทรทัศน์ไปยังดีเอ็น บรอดคาสต์ และเปลี่ยนชื่อช่องเป็น นิวทีวี (อังกฤษ: new)tv) ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป[5]
ในระยะแรก นิวทีวีออกอากาศรายการสารคดีตลอดทั้งวันสลับกับข่าวต้นชั่วโมง ต่อมาในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ที่ประเทศบราซิล ฝ่ายข่าวกีฬาเดลินิวส์ได้จัดรายการพิเศษเพื่อรายงานข่าวความเคลื่อนไหวของฟุตบอลโลก โดยช่วงนั้นนิวทีวียังไม่มีการออกอากาศรายการข่าว นอกเหนือจากสารคดีสลับกับข่าวต้นชั่วโมงซึ่งออกอากาศอย่างต่อเนื่อง จนกลางปีเดียวกัน นิวทีวีจึงกลับมาออกอากาศรายการข่าวเต็มรูปแบบอีกครั้ง
ต่อมาในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559 นิวทีวีได้ย้ายที่ตั้งของสถานีจากอาคารที่ทำการหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ไปยังอาคารแห่งใหม่ที่เลขที่ 818 ซอยแบริ่ง 19 หมู่ที่ 2 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 10270 โดยได้เปิดการใช้งานการเชื่อมต่อระบบออกอากาศอย่างเป็นทางการในเวลา 00:01 น. ของวันเดียวกัน[6]
นิว 18
[แก้]และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 นิวทีวีได้ปรับโฉมสถานีใหม่ทั้งหมด และเปลี่ยนชื่อช่องเป็น นิว 18 (อังกฤษ: NEW 18)[7]ซึ่งได้มีการเปิดตัวชื่อนี้ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 และในปี พ.ศ. 2561 ได้มีการปรับโครงสร้างของบริษัทและนโยบายของช่องใหม่ เพื่อเน้นการออกอากาศสารคดี โดยเฉพาะสารคดีชุดสำรวจโลกของบริษัท เนกซ์สเตป จำกัด โดยยังมีรายการข่าวเป็นองค์ประกอบเสริม จึงมีการปลดพนักงานฝ่ายข่าวออกบางส่วน[8]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2563 ได้มีการออกอากาศรายการข่าวจากช่องฟ้าวันใหม่คู่ขนานไปด้วย โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม และได้นำรายการสารคดีออกไปเกือบทั้งหมด[9] แต่ออกอากาศได้เพียง 5 เดือน นิว 18 ก็กลับมาออกอากาศสารคดีตามปกติ
ในวันที่ 1 มิถุนายน ปีเดียวกัน นิว 18 ได้ย้ายโครงข่ายโทรทัศน์จาก MUX#5 ของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 ไปยัง MUX#4 ของไทยพีบีเอส[10]
ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนเดียวกัน มีข่าวว่า สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม และกลุ่มผู้ประกาศข่าวที่ลาออกจากเนชั่นทีวี โดยกลุ่มผู้ประกาศข่าวดังกล่าวมีอุดมการณ์ทางการเมืองชัดเจน และพยายามนำเสนอข่าวสารด้วยความจริงที่ข่าวสื่ออื่นมักไม่นำเสนอ ทำให้กลุ่มผู้ประกาศข่าวดังกล่าวถูกฝ่ายความเห็นตรงข้ามกล่าวหาว่าเสนอข่าวสารเพื่อด้อยค่าและทำลายฝ่ายตรงข้าม จะเข้ามาจัดรายการทางช่องนิว 18 และเริ่มงานในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563[11]แต่สุดท้ายผังรายการในเดือนธันวาคมของนิว 18 ก็ยังคงเป็นรูปแบบเดิม[12]ต่อมากนกชี้แจงว่าวันดังกล่าวกลุ่มของตนยังไม่ได้เริ่มงาน[13]อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 8 ธันวาคม ก็มีข่าวอีกว่า ผู้บริหารของดีเอ็น บรอดคาสต์ ได้เจรจาขายใบอนุญาตของช่องนิว 18 ให้กลุ่มของสนธิญาณไปบริหารต่อ โดยมีชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ เป็นคนกลางในการเจรจา โดยสนธิญาณได้สั่งซื้อโฆษณาระยะยาวจากบริษัท 6-7 บริษัท ซึ่งจะทำรายได้ให้สถานีรวมกว่า 800 ล้านบาท และเชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินกิจกรรมของผู้บริโภค แม้การนำบุคลากรจากกลุ่มเนชั่นเดิม มาร่วมงานกับนิว 18 อาจมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมของผู้บริโภคเพื่อให้ผู้สนับสนุนโฆษณาเหล่านี้เลิกให้การสนับสนุน (ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วกับช่องเนชั่นทีวีในช่วงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม ปีเดียวกัน)[14]แต่ต่อมา เสริมสุข กษิติประดิษฐ์ บรรณาธิการบริหารข่าวของนิว 18 ในขณะนั้นได้ปฏิเสธข่าวลือดังกล่าว และในวันที่ 21 ธันวาคม ที่ข่าวระบุว่ากลุ่มสนธิญาณจะเข้าไปบริหาร ยังคงเป็นผังเดิม และกราฟิกโปรโมทไม่ได้จัดทำขึ้นโดยทีมของนิว 18[15]ต่อมา อัญชะลี ไพรีรัก หนึ่งในผู้ประกาศข่าวในกลุ่มของสนธิญาณจะปฏิเสธข่าวดังกล่าวอีกครั้ง และเลื่อนการเปิดตัวทีมข่าวของตนออกไป[16] ปัจจุบันกลุ่มนี้ได้ก่อตั้งท็อปนิวส์เพื่อทำรายการข่าวออกอากาศทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมและสื่อสังคมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และไม่สามารถตกลงในรายละเอียดกับนิว 18 ได้[17]
จากผลกระทบที่เกิดขึ้นถึง 2 ครั้ง ทำให้นิว 18 มีรายได้ลดลงอย่างมากเนื่องจากมีการดำเนินกิจกรรมของผู้บริโภคจนมีผู้สนับสนุนถอนตัวออกจากนิว 18 ไปเป็นจำนวนมาก ทำให้นิว 18 ต้องปรับผังรายการใหม่เพื่อสร้างรายได้[18]โดยทำสัญญาควบคุมการออกอากาศกับบริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) ของจักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ตลอดเวลาออกอากาศเป็นระยะเวลาเบื้องต้น 2 เดือน (รวมถึงออกอากาศคู่ขนานบางรายการจากเจเคเอ็นทีวี) เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 00:01 น. ส่วนรายการประจำที่มีอยู่เดิมจะย้ายไปออกอากาศในช่องทางออนไลน์ทั้งหมด[17] โดยเจเคเอ็นได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าเป็นการทำข้อตกลงให้บริษัท เจเคเอ็น นิวส์ จำกัด เช่าเวลาไม่เกิน 40% เพื่อออกอากาศรายการข่าว และที่เหลือเป็นการร่วมผลิตรายการ โดยกระบวนการเป็นไปตามกฎระเบียบของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทุกประการ[19] และเป็นการปฏิเสธข่าวลือในช่วงแรกของการเข้าควบคุมการออกอากาศของเจเคเอ็นที่ กสทช. ได้ให้เจ้าพนักงานร้องขอข้อมูลไปยังนิว 18 เพื่อตรวจสอบข่าวการให้เช่าเวลาออกอากาศทั้งสถานี[20]
เจเคเอ็น 18
[แก้]วันที่ 9 เมษายน จักรพงษ์ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 2 เมษายน ให้เจเคเอ็นเข้าซื้อกิจการและหุ้นสามัญจดทะเบียนของดีเอ็น บรอดคาสต์ ผู้รับใบอนุญาตของช่องนิว 18 รวมถึงอาคารสำนักงานของช่องและอุปกรณ์การออกอากาศทั้งหมด จากกลุ่มผู้บริหารของเดลินิวส์ คิดเป็นมูลค่า 1,060,000,000 บาท[21]และจ่ายอีก 150,000,000 บาท ให้แก่ กสทช. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม เพื่อเข้าบริหารทีวีดิจิทัลภายใต้ใบอนุญาตใบเดิมจาก กสทช.[22]รวมทั้งสิ้น 1,210,000,000 บาท ทำให้ดีเอ็น บรอดคาสต์ กลายเป็นบริษัทย่อยของเจเคเอ็น และเจเคเอ็นมีสิทธิ์ในการบริหารผังรายการของช่องนิว 18 ได้อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการแข่งขันให้แก่ธุรกิจการพาณิชย์ และสร้างรายได้ให้เจเคเอ็นมากขึ้น[21]โดยจะมีการเปลี่ยนชื่อบริษัทผู้รับใบอนุญาต และจะมีการเปลี่ยนชื่อสถานีเป็น เจเคเอ็น 18 (อังกฤษ: JKN18) โดยไม่มีการปลดพนักงานเดิมออก โดยแอนได้ถ่ายทอดสดแถลงผ่านทางเฟซบุ๊กของตัวเองเมื่อช่วงค่ำของวันเดียวกัน[23]
วันที่ 19 เมษายน เจเคเอ็นได้ประกาศแผนการตลาดของตนในรูปแบบใหม่เป็น "Content Commerce Company" โดยดึงเนื้อหาที่ตรงกับกลุ่มผู้บริโภคมาต่อยอดสู่ธุรกิจเชิงพาณิชย์ และใช้ช่องเจเคเอ็น 18 เป็นช่องทางสนับสนุนเพิ่มเติม[24]รวมถึงจะมีการปรับปรุงต่อเติมอาคารสำนักงานเดิมของช่องนิว 18 ที่ซอยแบริ่ง 19 และตั้งชื่อใหม่ว่า "เจเคเอ็น เอ็มไพร์" ทั้งนี้ ทีมงานฝ่ายข่าวซึ่งอยู่ภายใต้ เจเคเอ็น นิวส์ ได้ย้ายไปทำงานที่เจเคเอ็น เอ็มไพร์ ทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน ส่วนอาคารหลังเดิมที่ศาลายาจะยังใช้ถ่ายทำรายการบางส่วน จากนั้นในวันที่ 26 เมษายน เจเคเอ็นได้แจ้งเปลี่ยนชื่อบริษัทผู้รับใบอนุญาตของช่องนิว 18 จากดีเอ็น บรอดคาสต์ เป็น บริษัท เจเคเอ็น เบสท์ ไลฟ์ จำกัด และปรับรูปแบบการประกอบธุรกิจแบ่งเป็น 2 แผนก แผนกหนึ่งคือการประกอบกิจการทีวีดิจิทัลช่องเจเคเอ็น 18 และอีกแผนกหนึ่งเป็นแผนกของการจำหน่ายสินค้า[25] และ เจเคเอ็นทีวี ได้ยุติการออกอากาศในวันที่ 30 เมษายน เพื่อควบรวมเนื้อหาเข้ากับช่องเจเคเอ็น 18[26]
วันที่ 5 พฤษภาคม ได้เริ่มออกอากาศรายการในผังใหม่ของเจเคเอ็น 18 อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเน้นไปที่รายการข่าวจำนวน 55% ตามกฎ กสทช.[27]และวันนั้นตั้งแต่ 00:01 น. ได้เริ่มเปลี่ยนมาใช้ Interlude ของเจเคเอ็น 18[28][29][30][31]และหลังจาก กสทช. มีมติอนุมัติการเปลี่ยนชื่อช่องในการประชุมครั้งที่ 10/2564 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคมแล้ว[32]วันรุ่งขึ้นคือวันที่ 26 พฤษภาคม ทางสถานีจึงได้เปลี่ยนชื่อสถานีเป็น เจเคเอ็น 18 อย่างเป็นทางการ โดยการเปลี่ยนโลโก้ทางมุมบนขวาของจอโทรทัศน์ตั้งแต่เวลา 00:01 น.[33][34][35]
วันที่ 18 ตุลาคม จักรพงษ์ได้ประกาศแต่งตั้ง องอาจ สิงห์ลำพอง ซึ่งลาออกจากช่อง 8 ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของเจเคเอ็น เบสท์ ไลฟ์ และผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์เจเคเอ็น 18[36] หลังจากนั้นวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เจเคเอ็น เมตาเวิร์ส ในเครือเจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป ได้เข้าซื้อองค์กรนางงามจักรวาล ทำให้เจเคเอ็น 18 ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ของเจเคเอ็นเอง ได้สิทธิ์ในการถ่ายทอดสดการประกวดนางงามจักรวาลให้กับผู้รับชมในประเทศไทยไปโดยปริยาย โดยเริ่มตั้งแต่นางงามจักรวาล 2022 เป็นต้นไป[37]
ท็อปนิวส์ ทาง เจเคเอ็น 18
[แก้]เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป ได้ออกหนังสือแจ้งตลาดหลักทรัพย์ถึงการจ่ายหนี้หุ้นกู้บริษัทซึ่งครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 ให้เฉพาะผู้ถือหุ้นบางส่วน ด้วยสาเหตุว่ากระแสเงินสดของบริษัทไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ทำให้ในวันเดียวกัน มูลค่าหุ้นของบริษัทปรับลดตัวลงถึง 24% และลดต่ำลงเรื่อย ๆ นับตั้งแต่วันนั้น กระทั่งวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2566 มีกระแสข่าวว่า บริษัท ท็อปนิวส์ ดิจิตัล มีเดีย จำกัด เจ้าของสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมท็อปนิวส์ ได้เจรจากับจักรพงษ์เพื่อเข้าซื้อกิจการสถานีโทรทัศน์เจเคเอ็น 18 ซึ่งเป็นช่องเดียวกับที่เคยมีกระแสข่าวว่ากลุ่มบุคลากรของท็อปนิวส์จะย้ายมาทำงานในช่วงปลายปี พ.ศ. 2563 โดยเข้าซื้อกิจการด้วยมูลค่าประมาณ 500,000,000 บาท ซึ่งหากสำเร็จจะใช้ชื่อช่องว่า ท็อปนิวส์ 18[38]และปรากฏหลักฐานว่าจักรพงษ์ได้จำหน่ายหุ้นในบริษัท เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ออกไปโดยไม่ปรากฏผู้ซื้อ ก่อนรับกลับเข้ามาถือหุ้นตามเดิม
ความสับสนในกรณีดังกล่าวทำให้ข่าวลือมีน้ำหนักมากขึ้น แต่แล้วจักรพงษ์ได้ปฏิเสธผ่านการแจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 11 กันยายน ว่าการเจรจาดังกล่าวเป็นการทำข้อตกลงในการผลิตรายการข่าวร่วมกันระหว่างเจเคเอ็น 18 กับท็อปนิวส์เท่านั้น โดยท็อปนิวส์จะเช่าช่วงเวลาในฐานะผู้เช่าตามสัดส่วนที่ กสทช. กำหนดเป็นระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน ไปจนกว่าใบอนุญาตของเจเคเอ็นจะหมดอายุ ในขณะที่เจเคเอ็นจะยังคงสถานะการเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์เจเคเอ็น 18 และยังคงทำรายการปกิณกะเพื่อออกอากาศในสถานีต่อไปตามเดิม ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกฎหมายของ กสทช. และประเด็นเรื่องการเปลี่ยนเจ้าของบริษัท[39]ส่วนการแสดงตราสัญลักษณ์บนจอโทรทัศน์นั้นแสดงทั้ง 2 สัญลักษณ์ คือสัญลักษณ์ของช่องเจเคเอ็น 18 อยู่มุมบนขวา และสัญลักษณ์ของท็อปนิวส์อยู่มุมบนซ้าย
(ทั้งนี้ ตั้งแต่เที่ยงคืนวันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 สถานีฯ ได้อัญเชิญตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 มาประดับไว้ที่มุมบนซ้าย ส่งผลให้ต้องวางแสดงสัญลักษณ์ของช่องไว้ที่มุมล่างขวา ในขณะเดียวกันก็วางสัญลักษณ์ท็อปนิวส์ไว้ที่มุมล่างขวาเช่นกัน โดยวางไว้ด้านซ้ายมือติดกับสัญลักษณ์ของช่อง ทั้งนี้มีกำหนดแสดงไปจนสิ้นสุดห้วงการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ยกเว้นมีเหตุเปลี่ยนแปลง)
ต่อมาเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 มีกระแสข่าวว่าจักรพงษ์กำลังเจรจาดีลลับเพื่อยกเลิกสัญญาให้เช่าเวลาแก่ท็อปนิวส์ของเจเคเอ็น 18 โดยเปลี่ยนเป็นการขายช่องเจเคเอ็น 18 ให้กับกลุ่มของคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ในราคาประมาณ 200 ล้านบาท[40]
ฝ่ายข่าว
[แก้]ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564 รายการข่าวของนิว 18 ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกให้เจเคเอ็น นิวส์ เช่าเวลาออกอากาศรายการข่าวทางทีวีดิจิทัล และอีกส่วนหนึ่งคือรายการข่าวที่ฝ่ายข่าวเดิมของนิว 18 ผลิตเอง ออกอากาศทางเฟซบุ๊ก ยูทูบ และติ๊กต็อกของนิว 18 ซึ่งส่วนนี้ออกอากาศครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564 และตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน ผู้ประกาศข่าวเดิมของนิว 18 ทั้งหมด และพนักงานฝ่ายข่าวบางส่วนได้ถูกควบรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเจเคเอ็น นิวส์ ส่วนฝ่ายข่าวอีกส่วนหนึ่งได้ก่อตั้งสำนักข่าวออนไลน์ในชื่อ "นิวออนไลน์"
ภายหลังเสร็จสิ้นกระบวนการทำข้อตกลงในการผลิตรายการข่าวร่วมกันระหว่างเจเคเอ็น 18 กับท็อปนิวส์ และท็อปนิวส์ย้ายรายการทั้งหมดไปออกอากาศทางช่องเจเคเอ็น 18 ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2566 เจเคเอ็น 18 จึงประกาศเลิกจ้างพนักงานฝ่ายข่าวเดิม รวมถึงฝ่ายข่าวเจเคเอ็น-ซีเอ็นบีซีทั้งหมด เพื่อเคลียร์สล็อตเวลาให้กับท็อปนิวส์
ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวในปัจจุบันที่มีชื่อเสียง
[แก้]- กนก รัตน์วงศ์สกุล
- ธีระ ธัญไพบูลย์
- สันติสุข มะโรงศรี
- สถาพร เกื้อสกุล
- นิธิตรา เชาว์พยัคฆ์
- อุบลรัตน์ เถาว์น้อย
- วรเทพ สุวัฒนพิมพ์
- วิทเยนทร์ มุตตามระ
- เถกิง สมทรัพย์
- สำราญ รอดเพชร
- รุ่งราตรี สุหงษา
- วุฒินันท์ นาฮิม
- ชนุตรา เพชรมูล
- ศิรวิฑย์ ชัยเกษม
- อมร แต้อุดมกุล
- ชยธร ธนวรเจต
- สายัณห์ กรมสาคร
- จิรัฏฐ์วัฒน์ ศิริบุตร
- ศิศศิญา วิสุทธิปราณี
- จารุณี เดส์แน็ช
- อารยา สาริกะกูติ
- อุดร แสงอรุณ
- ณรงค สุทธิรักษ์
- บัวขาว บัญชาเมฆ
- นราวิชญ์ จิตรบรรจง
- ธราวุฒิ ฤทธิอักษร
ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวในอดีต
[แก้]- สุรพงศ์ ทวี (ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2561)
- ชิบ จิตนิยม (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
- ชัยรัตน์ ถมยา (ปัจจุบันอยู่เอ็นเอชเคเวิลด์เจแปน)
- ธีระ ธัญญอนันต์ผล (ปัจจุบันอยู่ช่อง 8)
- ณพล พรมสุวรรณ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- จตุพร เอี่ยมสะอาด (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- อัญชลีพร กุสุมภ์ (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ และจัดรายการที่ MCOT News FM. 100.5)
- ปนัดดา วงศ์ผู้ดี (ปัจจุบันอยู่ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดีและช่องเวิร์คพอยท์)
- บุญยอด สุขถิ่นไทย (ปัจจุบันอยู่แนวหน้าออนไลน์)
- เบญจลักษณ์ เจริญศักดิ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- วรรณศิริ ศิริวรรณ (ปัจจุบันอยู่ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี)
- สุชาดา แก้วนาง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- อุษา หงส์ขาว (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ชมะนันทน์ วรรณวินเวศร์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ฌาณวิทย์ ไชยศิริวงศ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ดาราวรรณ ขันติวงษ์ (ปัจจุบันอยู่อมรินทร์ทีวี)
- ปวีณา ปทุมานนท์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ภาคภูมิ เตมะสิริ (ปัจจุบันอยู่ไทยไทแชนแนล)
- อรรฆพันธ์ อภิรักษ์พงศ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ภควัต โฉมศรี (ปัจจุบันอยู่ไทยพีบีเอส)
- อติ บุญเสริม (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ประจักษ์ มะวงศ์สา (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ และจัดรายการที่ FM 96.5 คลื่นความคิด)
- มนตรี จอมพันธ์ (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ และจัดรายการที่ FM 96.5 คลื่นความคิด)
- ศตคุณ ดำเกลี้ยง (ปัจจุบันอยู่เอ็นบีที 2 เอชดี)
- ดารินทร์ หอวัฒนกุล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ดนยกฤตย์ แดงหวานปีสีห์ (ปัจจุบันอยู่ช่องเวิร์คพอยท์)
- ณัชชานันท์ พีระณรงค์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- นนทกฤช กลมกล่อม (ปัจจุบันอยู่โมโน 29)
- วรรณวณิช ภัสสรธนาพิชัย (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
- ชุมานันท์ วิเชียรศรี (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ปวัน สิริอิสสระนันท์ (ปัจจุบันอยู่พีพีทีวี)
- สุภัชชา อินทรฤทธิ์ (ปัจจุบันอยู่ไทยพีบีเอส)
- จิรัฐิติ ขันติพะโล (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
- อภิรักษ์ หาญพิชิตวณิชย์ (ปัจจุบันอยู่ไทยพีบีเอส และจัดรายการที่ FM 96.5 คลื่นความคิด)
- ปารดา ธนาศรีชัย (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ศรัณภัสร์ ตั้งไพศาลธนกุล (ปัจจุบันอยู่ช่องวัน 31 และจีเอ็มเอ็ม 25 ในนามสำนักข่าววันนิวส์)
- วรารัตน ไชยภัทรคุณเจริญ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ศิรประภา ชัยเจริญ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- พรทิวา กันธิยาใจ (ปัจจุบันอยู่เอ็นบีที 2 เอชดี)
- ตะวันรุ่ง เตี๋ยประดิษฐ์ (ชื่อเดิม: ปริสุทธิธรรม) (ปัจจุบันอยู่โมโน 29)
- โบกัส ซุปตาร์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ยุคล วิเศษสังข์ (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี)
- เสริมสุข กษิติประดิษฐ์ (ปัจจุบันจัดรายการที่ FM 105 Smile Thailand)
- มนุชา เจอมูล (ปัจจุบันอยู่ทีสปอร์ต 7 ในนามสำนักข่าวเมนสแตนด์)
- สุภาพร วงษ์ถ้วยทอง (ปัจจุบันเป็นนักแสดงและพิธีกรอิสระ)
- ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ (ปัจจุบันอยู่ช่องเวิร์คพอยท์และช่อง 8 และเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีการอาหารไทยและนานาชาติ TIFTEC)
- พงศธร ลอตระกูล (ปัจจุบันอยู่พีพีทีวี)
- จิรภัทร อุดมสิริวัฒน์ (ชื่อเดิม: ฐิติวัชร) (ปัจจุบันอยู่เอ็นบีที 2 เอชดี)
- ชลลดา สิริสันต์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- กิจมาโนชญ์ โรจนทรัพย์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- รัฐภูมิ โตคงทรัพย์ (ปัจจุบันเป็นนักการเมืองอิสระ)
- ภัคจีรา วรรณสุทธิ์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- นิภาภรณ์ ฐิติธนการ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- รัศมีแข ฟ้าเกื้อล้น (ปัจจุบันอยู่ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี)
- ธนากร ชินกูล (ปัจจุบันจัดรายการที่กรีนเวฟ 106.5 เอฟเอ็ม)
- กีรติ ศุภดิเรกกุล (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- ไดอาน่า จงจินตนาการ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- พล นพวิชัย (ปัจจุบันเป็นนักแสดงอิสระ)
- ดารณีนุช ปสุตนาวิน (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- พรหมพร ยูวะเวส (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- เมทนี บุรณศิริ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- เอกชัย เอื้อสังคมเศรษฐ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- ภัณฑิลา ฟูกลิ่น (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- เตชินท์ พลอยเพชร (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- ศัลย์ อิทธิสุขนันท์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- อนันต์ เสมาทอง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ญาณี จงวิสุทธิ์ (ปัจจุบันเป็นนักแสดงอิสระ)
- สุวัจนี ไชยมุสิก (ปัจจุบันเป็นนักแสดงอิสระ)
- สมพล ปิยะพงศ์สิริ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- สโรชา พรอุดมศักดิ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- นันทิยา จิตตโสภาวดี (ปัจจุบันอยู่ไทยไทแชนแนลและเอ็นบีที 2 เอชดี)
- จิตกร บุษบา (ปัจจุบันอยู่ไทยไทแชนแนลและแนวหน้าออนไลน์)
- กฤษณพงศ์ เกียรติศักดิ์ (ปัจจุบันอยู่ไทยไทแชนแนลและแนวหน้าออนไลน์)
- นฤมล พุกยม (ปัจจุบันอยู่ไทยไทแชนแนลและแนวหน้าออนไลน์)
- เชาวรัตน์ ยงจิระนันท์ (ปัจจุบันอยู่CGTN)
- กรุณพล เทียนสุวรรณ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ธัญญาเรศ เองตระกูล (ปัจจุบันเป็นนักแสดงและพิธีกรอิสระ)
- ภูวนาท คุนผลิน (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ และจัดรายการที่กรีนเวฟ 106.5 เอฟเอ็ม)
- เฉลิมพร ตันติกาญจนากุล (ปัจจุบันอยู่ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี ในนามมันนี่แอนด์แบงก์กิ้งแชนแนล)
- จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ของเจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป)
- พัฐดลย์ โสภาจิตต์วัฒนะ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ชาญชัย กายสิทธิ์ (ปัจจุบันอยู่ททบ.5 เอชดี)
- ณัฏฐ์ บุณยสิริยานนท์ (ปัจจุบันจัดรายการที่สถานีวิทยุมิติข่าว 90.5)
- นภัส ธีรดิษฐากุล (ปัจจุบันอยู่ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี)
- อัครพล ทองธราดล (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- ร่มเกล้า อมาตยกุล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- สุชาทิพ มั่นสินธร (สกุลเดิม: จิรายุนนท์) (ปัจจุบันอยู่ททบ.5 เอชดี)
- พิชชาพัทธ อาจพงษา (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- กนกนวล จรัสกุณโฮง (ปัจจุบันอยู่เอ็นบีที 2 เอชดี)
- รุ่งนภา สุหงษา (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- อรรทิตย์ฌาณ คูหาเรืองรอง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- อัญชะลี ไพรีรัก (ปัจจุบันอยู่แนวหน้าออนไลน์)
- สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
- กรสุดา วีระทัต (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- เวทิน ชาติกุล (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
- บุญระดม จิตรดอน (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
- ประชา หริรักษาพิทักษ์ (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
- เกริก เกิดกลาง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ศลิลนา ภู่เอี่ยม (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- กิตติมา ธารารัตนกุล (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- สุพรทิพย์ เทพจันตา (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- พรสวรรค์ จารุพันธ์ (ปัจจุบันอยู่ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี)
รายการออกอากาศ
[แก้]รายการข่าวประจำวัน
[แก้]รายการข่าว | ผู้ประกาศข่าว |
---|---|
ข่าวมีคม วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 06:10 – 08:10 น. |
สันติสุข มะโรงศรี (วันอังคาร – วันศุกร์) รุ่งราตรี สุหงษา อุดร แสงอรุณ (วันจันทร์) |
เช้าข่าวเข้ม วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08:20 – 10:00 น. |
กนก รัตน์วงศ์สกุล ธีระ ธัญไพบูลย์ |
TOP ข่าวเที่ยง วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 11:20 – 12:05 น. (ช่วงที่ 1) เวลา 12:15 – 14:35 น. (ช่วงที่ 2) |
นิธิตรา เชาว์พยัคฆ์ สถาพร เกื้อสกุล (ผ่าประเด็นโลก, ข่าวหลัก) อุบลรัตน์ เถาว์น้อย ณรงค สุทธิรักษ์ (ลึกจริงเศรษฐกิจ TOP Biz Insight) |
เรื่องลับมาก วันจันทร์ – วันอังคาร เวลา 14:45 – 15:45 น. |
รองศาสตราจารย์เสรี วงษ์มณฑา วุฒินันท์ นาฮิม |
TOP Talk เรื่องนี้ต้องเคลียร์ วันพุธ – วันศุกร์ เวลา 14:45 – 15:45 น. |
วรเทพ สุวัฒนพิมพ์ |
ข่าวเป็นข่าว วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 17:25 – 19:15 น. |
สันติสุข มะโรงศรี อุบลรัตน์ เถาว์น้อย |
เล่าข่าวข้น วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 19:25 – 21:20 น. |
กนก รัตน์วงศ์สกุล ธีระ ธัญไพบูลย์ |
ข่าวในพระราชสำนัก วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 20:00 – 20:15 น. วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 20:00 – 20:10 น. |
ดึงสัญญาณจากช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี |
TOP Talk เรื่องนี้ต้องเคลียร์ แต่เช้า วันเสาร์ เวลา 08:55 – 09:40 น. |
วรเทพ สุวัฒนพิมพ์ |
TOP ข่าวเที่ยง เสาร์–อาทิตย์ วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 12:05 – 13:40 น. |
อมร แต้อุดมกุล ศิรวิฑย์ ชัยเกษม (วันเสาร์) ธราวุฒิ ฤทธิอักษร (วันอาทิตย์) |
TOP HEADLINE วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 15:05 – 16:05 น. |
อุดร แสงอรุณ จักรภพ เพ็ญแข (วันเสาร์) สำราญ รอดเพชร (วันอาทิตย์) |
ผ่าประเด็นโลก สุดสัปดาห์ วันเสาร์ เวลา 16:05 – 16:35 น. |
สถาพร เกื้อสกุล |
เล่าข่าวข้น เสาร์–อาทิตย์ วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 19:00 – 20:00 น. |
อมร แต้อุดมกุล ศิรวิฑย์ ชัยเกษม |
TOP 10 News วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 21:10 – 21:20 น. |
|
ถอดรหัสการเมือง วันอาทิตย์ เวลา 17:00 – 17:30 น. |
อุบลรัตน์ เถาว์น้อย |
รู้ทันคดีโกง วันอาทิตย์ เวลา 17:30 – 18:00 น. |
สันติสุข มะโรงศรี |
หมายเหตุ ตัวเอียง หมายถึง รายการที่ออกอากาศคู่ขนานทางสถานีวิทยุกรมการพลังงานทหาร เอฟเอ็ม 90.5 เมกะเฮิรตซ์
รายการซอฟต์นิวส์, วาไรตี้ และปกิณกะ, สารคดี
[แก้]รายการ | พิธีกร |
---|---|
หน้าต่างโลก วันจันทร์ – วันอาทิตย์ เวลา 02:30 – 04:30 น. |
|
อัศจรรย์บันลือโลก วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 10:10 – 10:55 น. |
|
ซื้อสุขใจเพื่อชุมชน ณ ครับ Selected วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 12:05 – 12:15 น. |
วุฒินันท์ นาฮิม ชนุตรา เพชรมูล ศิรวิฑย์ ชัยเกษม ศิศศิญา วิสุทธิปราณี |
TOP Health Story สุขภาพแบบท็อปๆ วันจันทร์ – วันพฤหัสบดี เวลา 15:45 – 16:05 น. |
อารยา สาริกะภูติ จารุณี เดส์แน็ช |
Anne Show วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 21:30 – 23:00 น. |
จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ |
The Animal Kingdom อาณาจักรสัตว์โลก วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 06:10 – 07:10 น. |
|
Kids D วิถีไทย 4 ภาค วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 07:10 – 07:30 น. |
|
วัยรุ่น 90 วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 07:30 – 07:50 น. |
ชยธร ธนวรเจต สายัณห์ กรมสาคร |
เรื่องดีทั่วไทย วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 08:10 – 08:55 น. |
ชนุตรา เพชรมูล วุฒินันท์ นาฮิม |
Camp Safari วิถีคนแคมป์ วันอาทิตย์ เวลา 08:55 – 09:40 น. |
ปรมินทร์ นิลพันธุ์ |
แสงสว่างในหัวใจ วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 10:05 – 10:25 น. |
ศิรวิฑย์ ชัยเกษม |
TOP of the World วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 10:25 – 10:55 น. |
เถกิง สมทรัพย์ วิทเยนทร์ มุตตามระ |
อยากเล่าให้ฟัง วันเสาร์ เวลา 10:55 – 11:25 น. |
รองศาสตราจารย์เสรี วงษ์มณฑา วุฒินันท์ นาฮิม |
ลูบคมข่าว วันเสาร์ เวลา 13:40 – 14:10 น. |
รองศาสตราจารย์เสรี วงษ์มณฑา จิรัฏฐ์วัฒน์ ศิริบุตร |
สารคดีโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเพื่อประชาชน วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 14:20 – 14:40 น. |
|
ณ ครับ วันเสาร์ เวลา 20:10 – 21:10 น. |
กนก รัตน์วงศ์สกุล ธีระ ธัญไพบูลย์ สันติสุข มะโรงศรี |
สู้เพื่อรอด วันอาทิตย์ เวลา 10:55 – 11:25 น. |
|
Follow Me ถ้าชอบก็ตามมา วันอาทิตย์ เวลา 11:25 – 11:55 น. |
บัวขาว บัญชาเมฆ นราวิชญ์ จิตรบรรจง |
เรื่องนี้มีดราม่า วันอาทิตย์ เวลา 13:40 – 14:10 น. |
รองศาสตราจารย์เสรี วงษ์มณฑา วุฒินันท์ นาฮิม |
Japan อร่อยสุดๆ วันอาทิตย์ เวลา 16:05 – 16:35 น. รีรัน วันเสาร์ เวลา 11:25 – 11:55 น. |
|
TOP People บันทึกคนสำคัญ วันอาทิตย์ เวลา 18:10 – 19:00 น. |
ธีระ ธัญไพบูลย์ |
ลายกนกยกสยาม วันอาทิตย์ เวลา 20:10 – 21:10 น. |
กนก รัตน์วงศ์สกุล อุบลรัตน์ เถาว์น้อย นิธิตรา เชาว์พยัคฆ์ รุ่งราตรี สุหงษา |
ซีรีส์
[แก้]เวลา | ชื่อเรื่อง |
---|---|
วันจันทร์ – วันศุกร์ | |
16:05 – 17:25 น. | มหากาลี เทวีพิทักษ์โลก |
23:00 – 00:00 น. | เล่ห์รักกลลวง |
00:00 – 01:10 น. | รานีลักษมี วีรสตรีโลกไม่ลืม |
01:20 – 02:30 น. | กรงรักกับดักหัวใจ |
วันเสาร์ – วันอาทิตย์ | |
21:30 – 23:50 น. | ซาลิมและอนาร์กาลี ตำนานรักก้องโลก |
00:00 – 01:10 น. | รานีลักษมี วีรสตรีโลกไม่ลืม |
01:20 – 02:30 น. | กรงรักกับดักหัวใจ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ข้อมูล บริษัท นิวช้อป จำกัด". thaicorporates.com. สืบค้นเมื่อ 2023-12-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ คอลัมน์ มองผ่านเลนส์คม โดย แคน สาริกา ตอน ทีวีหนังสือพิมพ์[ลิงก์เสีย] จากคมชัดลึกออนไลน์ เก็บถาวร 2011-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ข่าว: ทีวีดาวเทียม 'ช่องข่าว' บูม[ลิงก์เสีย], 20 ธันวาคม 2554, จากกรุงเทพธุรกิจออนไลน์
- ↑ คอลัมน์วาไรตี้ ตอน เดลินิวส์สู่ปีที่ 49 พร้อมเดินหน้าสร้างสรรค์สื่อทีวี 28 มีนาคม 2555, จากเดลินิวส์ออนไลน์
- ↑ เดลินิวส์ ทีวี เปลี่ยนเป็น NEW TV, เดลินิวส์ทีวี,1 มีนาคม 2557.
- ↑ "New TV เปิดการใช้งานระบบริหารนาทีโฆษณาที่เชื่อมต่อกับระบบออกอากาศอย่างเป็นทางการ". BMS. April 28, 2016. สืบค้นเมื่อ December 8, 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "นิวอรุณสวัสดิ์ | ช่วงที่ 1 | 1 ม.ค. 61 | NEW18". ยูทูบ. January 1, 2018. สืบค้นเมื่อ December 8, 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'นิวทีวี' ปลดพนง.ฝ่ายข่าว 37 คน ปรับโครงสร้างองค์กร-มุ่งสู่ช่องสารคดี เต็มรูปแบบ". สำนักข่าวอิศรา. February 21, 2018. สืบค้นเมื่อ December 8, 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "30 มีนาคมนี้ ปฐมฤกษ์ New18 ผนึกกำลังกับ "ฟ้าวันใหม่"". เฟซบุ๊ก. March 17, 2020. สืบค้นเมื่อ December 8, 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "NEW 18 ย้ายโครงข่ายโทรทัศน์ดิจิตอลภาคพื้นดิน". นิว 18. May 28, 2020. สืบค้นเมื่อ December 24, 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เจ๊ปอง อัดแรง! ผู้บริหารเนชั่น โต้กลับลั่น ฉันไม่เคยบิดเบือน!! ด้านพิธีกรดัง ขยี้เสริม". ข่าวสด. 2020-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-03-06.
- ↑ "ผังใหม่ NEW18 ไร้ "กนก-อัญชะลี" สะพัด "สนธิญาณ" คุยกับ "คุณแดง" ยังไม่ลงตัว". ผู้จัดการออนไลน์. 2020-11-26. สืบค้นเมื่อ 2021-03-06.
- ↑ ""กนก" แจง 1 ธ.ค.ยังไม่ได้ออกรายการ ชี้บางช่องติดต่อมากำลังเจรจา". ผู้จัดการออนไลน์. 2020-11-27. สืบค้นเมื่อ 2021-03-06.
- ↑ "สะพัด! สนธิญาณ ซื้อ นิวทีวี 800 ล้าน ใบอนุญาต 8 ปี". ประชาชาติธุรกิจ. 2020-12-08. สืบค้นเมื่อ 2021-03-06.
- ↑ "ยังไม่จบดีล! พิธีกรทีมสนธิญาณ ยังไม่อยู่ในผังรายการนิวทีวี". ประชาชาติธุรกิจ. 2020-12-10. สืบค้นเมื่อ 2021-03-06.
- ↑ "อะไรยังไง! 'ปอง อัญชะลี' โพสต์ไม่มีแถลงข่าว ไม่ต้องตามหา มกราคมเจอกัน". มติชน. December 15, 2020. สืบค้นเมื่อ December 24, 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 17.0 17.1 "สะท้านจอทีวี "แอน จักรพงษ์" ทุ่มเงินเช่าเวลาช่อง NEW18 ยกสถานีเบื้องต้น 2 เดือน". ผู้จัดการออนไลน์. 2021-03-08. สืบค้นเมื่อ 2021-03-09.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "กสทช. เตือน New 18 กรณี JKN พร้อมเข้มงวดรายการ Tie In สินค้า". TV Digital Watch. 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 2021-05-05.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ชี้แจงข่าวหรือข้อมูลตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ สอบถาม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2021-04-04.
- ↑ "งานเข้า! "นิว 18" กสทช.สอบให้ JKN เช่า 24 ชม. หากละเมิดโทษถึงพักใบอนุญาต". ฐานเศรษฐกิจ. 2021-03-09. สืบค้นเมื่อ 2021-03-09.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 21.0 21.1 "JKN ทุ่มงบ 1,000 ล้าน ซื้อช่อง NEW18". ประชาชาติธุรกิจ. 2021-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-04-09.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'แอน จักรพงษ์' โพสต์ หลักฐาน จ่ายเงิน กสทช. กว่า 100 ล้านซื้อช่อง NEW18 สู่ช่อง JKN18". มติชน. 2021-05-20. สืบค้นเมื่อ 2021-05-26.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ จักราจุฑาธิบดิ์, จักรพงษ์ (2021-04-09), Anne Show Special Episode (ตอนพิเศษ), สืบค้นเมื่อ 2021-04-09
- ↑ "แอน จักรพงษ์ กางแผนปั้น JKN18 ชู Content Commerce ตั้งเป้า 5,000 ล้านบาท". ฐานเศรษฐกิจ. 2021-04-19. สืบค้นเมื่อ 2021-04-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 4/2564" (PDF). เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย. 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2021-06-05.
- ↑ ""JKN TV" แจ้งยุติการออกอากาศ". ทวิตเตอร์. 2021-04-25. สืบค้นเมื่อ 2021-04-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "JKN เปิดผังรายการ JKN18 เตรียมออกอากาศ 5 พ.ค.นี้". สำนักข่าวอินโฟเควสท์. 2021-04-27. สืบค้นเมื่อ 2021-05-05.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Ident ช่อง JKN18 (พ.ศ. 2564)". เฟซบุ๊ก. 2021-05-05. สืบค้นเมื่อ 2021-05-09.
- ↑ "JKN 18 Ident แบบที่ 1 (เริ่มใช้ 5 พฤษภาคม 2564)". ยูทูบ. 2021-05-09. สืบค้นเมื่อ 2021-05-09.
- ↑ "JKN 18 Ident แบบที่ 2 (เริ่มใช้ 5 พฤษภาคม 2564)". ยูทูบ. 2021-05-09. สืบค้นเมื่อ 2021-05-09.
- ↑ "JKN 18 Ident แบบที่ 3 (เริ่มใช้ 5 พฤษภาคม 2564)". ยูทูบ. 2021-05-09. สืบค้นเมื่อ 2021-05-09.
- ↑ "รายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๔". คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. 2021-06-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
- ↑ "JKN 18 by Anne J." เฟซบุ๊ก. 2021-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-05-26.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "00.01 น. (26 พฤษภาคม 2564) ช่อง #NEW18 เปลี่ยนโลโก้มุมจอเป็น #JKN18 อย่างเป็นทางการ ปิดตำนานชื่อ "NEW18" บนทีวีดิจิทัล แต่แบรนด์ "New Online" นั้นยังคงมีอยู่ต่อไป". ทวิตเตอร์. 2021-05-26. สืบค้นเมื่อ 2021-05-26.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "วินาทีเปลี่ยนโลโก้ NEW18 สู่ JKN18". ยูทูบ. 2021-05-26. สืบค้นเมื่อ 2021-05-27.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อJKN18Director
- ↑ "'แอน-จักรพงษ์' ถือครองกิจการ 'องค์กรนางงามจักรวาล' เป็นความภูมิใจของคนไทย". เดลินิวส์.
- ↑ "สะพัดท็อปนิวส์ดีลซื้อช่อง JKN 18 รุกผลิตข่าว-ขายสินค้า". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-09-09. สืบค้นเมื่อ 2023-09-09.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""แอน–จักรพงษ์" แจง ตลท.ไม่ได้ขายสถานีช่อง JKN18 ให้กับ TOP NEWS แค่จับมือผลิตรายการข่าว". สยามรัฐรายวัน. 11 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ร้อง 'กลต.- ดีเอสไอ' สอบ JKN ดีลลับขาย 'จักรวาล'". สเปซบาร์. 10 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)