โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนคณะราษฏรบำรุง จังหวัดยะลา Kanarasdornbumroong Yala School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
125 ถนนพิพิธภักดี ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา 95000 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ค.บ. |
ประเภท | รัฐบาล |
คำขวัญ | ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก |
สถาปนา | 22 มิถุนายน พ.ศ. 2452 |
หน่วยงานกำกับ | กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1002950101 |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษา |
วิทยาเขต | โรงเรียนคณะราษฏรบำรุง ๒ |
สี | เขียว เหลือง |
เพลง | มาร์ชคณะราษฎร์ |
เว็บไซต์ | www.kbyala.ac.th |
โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดยะลา ประเภทสหศึกษา เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงการศึกษาธิการ
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
[แก้]- สีประจำโรงเรียน : "เขียว-เหลือง"
- สีเขียว หมายถึง ความรัก ความผูกพันระหว่างกันของบุคลากรคณะราษฎร์
- สีเหลือง หมายถึง ความรุ่งโรจน์ของสถาบัน อันเนื่องมาจากความมีคุณภาพ
- ตราประจำโรงเรียน : รูปเชิงเทียนพญานาคสองเศียร มีเทียนปักอยู่ตรงกลาง เปลวไฟกำลังเปล่งแสงสว่างโชติช่วงเปลวไฟที่กำลังส่องสว่าง เป็นสัญลักษณ์บอกให้ทราบว่า "โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา เป็นสถาบันที่ให้ความสว่างทางปัญญาแก่นักเรียนให้ออกไปเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไปในอนาคต"
ประวัติโรงเรียน
[แก้]โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา โรงเรียนที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดยะลา แรกเริ่มโรงเรียนนี้ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3 บ้านลิมุดตำบลท่าสาป เมื่อ พ.ศ. 2452 เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยมีอาคารเรียนเป็นอาคารโรงจาก ฝาไม้ไผ่ และขยายชั้นเรียนในปีต่อ ๆ มาจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยมี รองอำมาตย์ตรี สด สุขหุต เป็นครูใหญ่คนแรก ประมาณ พ.ศ. 2455 พระยาณรงค์ฤทธิ์ศรีประเทศเศษวังษา เจ้าเมืองยะลาในสมัยนั้น ได้มอบเงินจำนวนหนึ่งให้สร้างโรงเรียนใหม่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำปัตตานี ซึ่งเป็นฝั่งเดียวกับที่ตั้งศาลากลาง จังหวัดยะลา ในสมัยนั้น คือ หมู่บ้านสะเตง และย้าย โรงเรียนมาจาก บ้านลิมุด ในปี พ.ศ. 2456 และ ขนานนามโรงเรียนว่า "โรงเรียนณรงค์ฤทธิ์ยะลาราษฎร์บำรุง" และขยายชั้นเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2456 ถึง พ.ศ. 2478 จัดสอนเป็น 2 ระดับคือ ระดับประถมศึกษา มีชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระดับชั้นมัธยมศึกษามีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ปี พ.ศ. 2479 โรงเรียนมีชั้นเรียน 8 ชั้น เป็นชั้นประถมศึกษา 4 ชั้น คือชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 และชั้น มัธยมศึกษา 4 ชั้น คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวนนักเรียนมีมากจนสถานที่เรียนไม่เพียงพอ และคับแคบ เมื่อได้รับงบประมาณแผ่นดิน จำนวน 6,000 บาท และเงินสบทบของ"สาขาสมาคมคณะราษฎร์จังหวัดยะลา" อีก 2,000 บาท จึงมาสร้างโรงเรียนใหม่ที่หมู่บ้านนิบง ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา คือ ที่ตั้งโรงเรียนปัจจุบัน สร้างอาคารเรียนถาวรเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น มี 6 ห้องเรียน และห้องมุขขนาดใหญ่ใช้เป็นห้องเรียนได้อีก 2 ห้อง สิ้นเงินงบก่อนสร้าง 8,000 บาท แล้วได้ย้ายโรงเรียนมาใน ปี พ.ศ. 2480 ทำพิธีเปิดป้ายชื่อโรงเรียน เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2480 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่ว่า "โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง " เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตั้งแต่ชั้นมัธยมปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2496 กรมวิสามัญศึกษา ได้ประกาศปรับปรุงชื่อโรงเรียนเสียใหม่ทั่วประเทศ เพื่อความเหมาะสม จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา"
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน
[แก้]นับตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนจนถึงปัจจุบัน โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา มีผู้บริหารทั้งหมด 28 คน ดังต่อไปนี้
รายนาม | ตำแหน่ง | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 รองอำมาตย์ตรี สด สุขหุต | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2452-2456 |
2 นายเจริญ วัชรวิทย์ | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2456-2456 |
3 นายช้อย รัตนดากุล | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2456-2475 |
4 นายเล็ก คุปตาสา | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2475-2479 |
5 นายถ่อง แก้วนิตย์ | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2479-2484 |
6 นายทองเติม นิลโมจน์ | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2484-2490 |
7 พันเอกรุก นาควิโรจน์ | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2490-2493 |
8 นายธวัช รัตนาภิชาติ | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2493-2496 |
9 นายศรีพัท มีนะกนิษฐ์ | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2496-2498 |
10 นายสมบูรณ์ ศรีสุทธิ์ | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ. 2498-2517 |
11 นายเสรี ลาชโรจน์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2517-2522 |
12 นายนำชัย บุญมา | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2522-2524 |
13 นายธีรชัย สืบประดิษฐ์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2524-2527 |
14 นายวิรัช บุญนำ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2527-2529 |
15 นายมาโนชญ์ บุญญานุวัตร | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2529-2532 |
16 นายล้อม จุลรัตน์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2532-2533 |
17 นายพะยงค์ อุบลขาว | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2533-2537 |
18 นายสถิต อุทัย | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2537-2538 |
19 นายชุมพล แก้วตาทิพย์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2538-2540 |
20 นายคำนึง นกแก้ว | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2540-2541 |
21 นายสุพจน์ ทองปรีชา | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2541-2545 |
22 นายชิตพล พรหมจันทร์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2545-2547 |
23 นายอำไพ จันทรสกุล | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2547-2550 |
24 นายสมรักษ์ สินสมรส | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2550-2552 |
25 นายวิชาญ สุขรักษ์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2552-2554 |
26 นายวิษณุ จันทร์แจ้ง | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2554-2560 |
27 ดร.เสาวนิตย์ ทวีสันทนีนุกูล | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2560-2563 |
28.นายนพปฎล มุณีรัตน์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน |
เกียรติประวัติ
[แก้]- รางวัลพระราชทานโรงเรียนดีเด่น ประเภทมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ กรมสามัญศึกษาประจำปี 2522, 2523, 2525, 2529, 2535 และ 2539
- โรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ
- โรงเรียนแกนนำปฏิรูบการเรียนรู้ กรมสามัญศึกษา จังหวัดยะลา
- โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง
- โรงเรียนมาตรฐานสากล : World-Class Standard School
บุคคลที่มีชื่อเสียงจากสถานศึกษานี้
[แก้]- พลตำรวจเอก วสิษฐ เดชกุญชร เลขประจำตัว 1306 รุ่น 31 เข้าเรียนปี พ.ศ. 2483: อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- วันมูหะมัดนอร์ มะทา : ประธานรัฐสภา (ปัจจุบัน)
- ดร.รุ่ง แก้วแดง อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ
- ยรรยง อุทัย : อดีตนายกเทศมนตรี เทศบาลนครยะลา
- มุขตา มะทา : นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา และอดีตสมาชิกวุฒิสภา
- ปฐมา จันทรักษ์ : กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด
- ธีระศักดิ์ จามิกรณ์ : กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟินิค พัลพ แอนด์ เพเพอร์ จำกัด(มหาชน) (บริษัทในเครือซีเมนต์ไทย)
- โสภาวดี เลิศมนัสชัย : เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.)
- ต่วนอับดุลเล๊าะ ดาโอ๊ะมารียอ : สมาชิกวุฒิสภา
- พญ.ภัททิรา ทางรัตนสุวรรณ แพทย์ดีเด่นในชนบท ประจำปี พ.ศ. 2551
- สุรจิต บุญญานนท์ : นักแสดง สังกัดสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7
- ราชนันทร์ คุณาริยานุกูล : นักร้องกลุ่ม Black Vanilla
- ภูดิท ขุนชนะสงคราม : นายแบบ
- ซามูเอล เพชรรุ่ง : นายแบบโฆษณา
- นิชาภา ปกรณ์กิจวัฒนา : นักแสดง นางแบบ
- พงศธร ฤทธิผลิน : นักกีฬารักบี้เยาวชนทีมชาติ อายุไม่เกิน 19 ปี
- ดิเรก อาชาวงศ์ : ตำนานนักแข่งรถมอเตอร์ไซค์แชมป์ประเทศไทย 6 สมัย และแชมป์เอเชีย 5 สมัย