โรงเรียนสงวนหญิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนสงวนหญิง
Sa-nguan ying SCHOOL
ที่ตั้ง
เลขที่ 134 ถนนประชาธิปไตย ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.ญ. / SYSP
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญสุวิชาโน ธมฺมํจเร สุจริตฺตํ ภวํโหติ
สถาปนาพ.ศ. 2472
ผู้ก่อตั้งพระยาพิศาลสารเกษตร (พร พิมพสุต)
เขตการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี
ผู้อำนวยการนายตรัยพงษ์ เข็มเพ็ชร
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน

ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ

จีน ภาษาจีน
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
สี███ น้ำเงิน
███ ขาว
เว็บไซต์http://www.sysp.ac.th

โรงเรียนสงวนหญิง เป็นโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี กระทรวงศึกษาธิการ โดยกำหนดฐานะเป็น "โรงเรียนประจำจังหวัดสุพรรณบุรี" บริเวณที่ตั้งของโรงเรียนตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน ระยะทางจากตัวเมืองสุพรรณบุรี ประมาณ 1 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 17 ไร่ 3 งาน 70 ตารางวา

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนสตรีสุพรรณบุรี (สงวนหญิง) ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2472 โดยแยกจากโรงเรียนประจำจังหวัดกรรณสูตศึกษาลัย เดิมทีเดียวการศึกษาของจังหวัดสุพรรณบุรีจัดแบบสหศึกษาและมีโรงเรียนประจำจังหวัดเพียงแห่งเดียว ต่อมาพระยาพิศาลสารเกษตร (พร พิมพสุต) ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เห็นสมควรจะได้แยกนักเรียนสตรีไว้ต่างหาก ไม่ปะปนกับนักเรียนชาย เพื่อเป็นการขยายการศึกษาแก่สตรีในจังหวัดสุพรรณบุรี ท่านจึงได้สร้างโดยสละทรัพย์ส่วนตัวพร้อมทั้งขอบริจาคจากเจ้านาย ข้าราชการ คหบดี ประชาชนชาวจังหวัดสุพรรณบุรีในขณะนั้น ดังปรากฏพระนามและนามผู้บริจาคทรัพย์สร้างโรงเรียนสงวนหญิง ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา และจารึกพระนามแลนามผู้บริจาคทรัพย์สร้างโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสุพรรณบุรี “สงวนหญิง” ดังนี้ “ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอู่ทองเขตขัติยนารี พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ รายละ 200 บาท รวม 400 บาท อำมาตย์เอก พระยาพิศาลสารเกษตร และคุณหญิงพิศาลสารเกษตร 133 บาท นายพอน สอิ้งทอง 120 บาท นายหุ่ย แซ่เฮง นายเจี่ยกหรือเตี้ย รายละ 100 บาท .... รวมทั้งสิ้น เป็นเงิน 14,984 บาท 74 สตางค์” ส่วนการตั้งชื่อโรงเรียนสงวนหญิงนั้น ปรากฏข้อความในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่ม 47 หน้า 2685 วันที่ 21 ธันวาคม 2473 เรื่อง สร้างโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสุพรรณบุรี “สงวนหญิง”ว่า “...โรงเรียนหลังนี้กระทรวงธรรมการให้นามว่า “สงวนหญิง”[1]และได้จัดการ และได้จัดการทำบุญฉลอง เปิดการสอนแล้ว แต่วันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2473”

การก่อสร้างเริ่มขึ้นที่วัดเจดีย์ยอดเหล็ก ซึ่งเป็นที่ตั้งศาลากลางเก่าใกล้ตลาดจังหวัดสุพรรณบุรี เนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 65 ตารางวา ในปีแรกที่แยกมามีชั้นเรียนสูงสุดเพียงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และยังเป็นโรงเรียนสหศึกษาอยู่ แต่มีนักเรียนชายเรียนร่วมตั้งแต่ชั้นเตรียมจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เท่านั้น ในระดับชั้นมัธยมมีเฉพาะนักเรียนหญิงและได้ขยายชั้นทุกปีจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6

ต่อมาเมื่อมีนักเรียนเพิ่มขึ้น และสถานที่ตั้งเดิมคับแคบ ใน พ.ศ.2504 นายพัฒน์ บุณยรัตนพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี จึงได้ย้ายโรงเรียนสงวนหญิงมายังที่ตั้งปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ดินของวัดเก่า คือ วัดโรงม้า

การก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ ดำเนินการในสมัยที่ นางสาวประภาส ธรรมทฤษฏี เป็นครูใหญ่ การก่อสร้างและตรวจรับงานแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2504 จึงได้ย้ายนักเรียนขึ้นตึกเรียนเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2504 และได้ประกอบพิธีเปิดอาคารเรียนหลังใหม่ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2505 โดย หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น เป็นประธานในพิธี

นับแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันรวมเวลากว่า 90 ปี ปัจจุบันระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น รับนักเรียนหญิงล้วน ยกเว้น นักเรียนโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program : EP) และโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ตามแนวทาง สสวท. และ สอวน. (Smart Class) เป็นสหศึกษา ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแบ่งการเรียนการสอนได้แก่ ห้องเรียนปกติ โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Enrichment of Science Mathematics Technology and Environment : SMTE) และ โครงการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub) เป็นสหศึกษา

ปัจจุบันโรงเรียนสงวนหญิง ตั้งอยู่เลขที่ 134 ถนนประชาธิปไตย ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรีอันเป็นที่ตั้งของวัดโรงม้า (ร้าง) ในเนื้อที่ 17 ไร่ 3 งาน 70 ตารางวา เนื่องจากสถานที่ดั้งเดิมคับแคบ และอยู่ใกล้ตลาดไม่สามารถจะปรับปรุงขยายโรงเรียนได้ จึงได้ย้ายมาอยู่สถานที่ตั้งปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ.2504 โดยมีการขยายชั้นเรียนสร้างอาคารเรียนเพิ่มเป็น 11 อาคาร ทั้งนี้โรงเรียนสงวนหญิงเป็นโรงเรียนที่ปรากฏชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งในด้านวิชาการบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่งดงามร่มรื่นภายในโรงเรียน ตลอดจนความประพฤติความมีระเบียบวินัยของนักเรียน


ผู้บริหาร[แก้]

ที่ ชื่อ ปีที่ดำรงตำแหน่ง
1 นางสาวเจริญ บุญยสิงห์ ?
2 ขุนบุญลือศึกษากร ?
3 นางสาวนิลุบล ถนัดหัตถกรรม ?
4 นางปราณี แก้วดุสิต ?
5 นางสาวทองสุข สมิตินันท์ ?
6 นางลออ วิสิฐพันธุ์ ?
7 นางสาวประภาส ธรรมทฤษฎี ?
8 นางสุรณี สนั่นเมือง ?
9 นางนลินี วันไชย ?
10 นายอดุลย์ สังข์สุวรรณ ?
11 นายเชิดศักดิ์ ศุภโสภณ ?
12 นายเผด็จ โพธิ์อ้น พ.ศ.?-2556
13 นายประชอบ หลีนุกูล พ.ศ.2556-2560
14 นายนิติกรณ์ ฉันท์วงศ์ชนะ พ.ศ.2560-2563
15 นายตรัยพงษ์ เข็มเพ็ชร พ.ศ.2563-ปัจจุบัน

อาคาร สถานที่ภายในโรงเรียน[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  1. https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1089066.pdf