จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันทน์)
จมื่นมานิตย์นเรศ | |
---|---|
เกิด | 11 สิงหาคม พ.ศ. 2442 เฉลิม เศวตนันทน์ จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 11 กันยายน พ.ศ. 2510 (68 ปี) |
อาชีพ | ข้าราชการ ,นักหนังสือพิมพ์ ,นักแสดง ,นักแต่งเพลง |
ผลงานเด่น | นักแสดงฝ่ายพลเรือน เลือดทหารไทย ผู้ประพันธ์เนื้อร้องเพลงรำวงมาตรฐาน (งามแสงเดือน ,ชาวไทย ,รำซิมารำ ,คืนเดือนหงาย ) เพลงปลุกใจ เพลงลีลาศของกรมโฆษณาการ (ไทยช่วยไทย ,ทางสร้างชาติ ,มีระเบียบ ฯลฯ ) |
จมื่นมานิตย์นเรศ ชื่อเดิม เฉลิม เศวตนันทน์ นักแสดงในภาพยนตร์ของรัฐบาลไทย เลือดทหารไทย สร้างโดย ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง และเป็นบิดาของ อดีศักดิ์ เศวตนันทน์ (คู่ชีวิต สวลี ผกาพันธุ์ ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2532)
ผู้ประพันธ์เนื้อเพลงรำวงมาตรฐานประจำชาติ 4 เพลง งามแสงเดือน ,ชาวไทย ,รำซิมารำ และ คืนเดือนหงาย รวมทั้งเพลงปลุกใจ ตลอดจนเพลงจังหวะลีลาศของกรมโฆษณาการ
วัยเด็ก
[แก้]เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2442 (เข้าใจว่าเกิดที่ บ้านเจ้าคุณตา ซอยรามบุตรี ตรงข้ามบ้านของหลวงบุณยมานพพานิช/อรุณ บุณยมานพ หรือบ้านหม่อมเส็ง) บุตรของ พระยามหามนตรีศรีองครักษ์สมุห (เจริญ เศวตนันทน์) เจ้ากรมพระตำรวจในขวา กับ คุณหญิงกลิ่น ที่อยู่ บ้านสี่แยกคลองมอญ ฝั่งเหนือ เชิงสะพานวัดเครือวัลย์วิหาร (สะพานธรรมสารโสภณ)[1]
เข้าเรียนที่โรงเรียนทวีธาภิเศก แล้วต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบ ได้เรียนดนตรีไทยกับหลวงประดิษฐ์ไพเราะ และโน้ตสากล กับพระยาวารสิริ (เอวัน วารสิริ) ก่อนเข้าโรงเรียนมหาดเล็กหลวง จมื่นมานิตย์นเรศ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2510
วัยทำงาน
[แก้]- พ.ศ. 2461 - อายุ 19 ปี รับราชการเป็นมหาดเล็กรับใช้แผนกตั้งเครื่อง สมัยรัชกาลที่ 6 จนเลื่อนขึ้นเป็นเสวกโท
- พ.ศ. 2469 - กรมมหาดเล็กหลวงยุบเลิก จึงลาออกเพื่อรับพระราชทานบำเหน็จ ไปทำงานหนังสือพิมพ์ไทยเขษมและแห่งอื่นๆ ,มีบทความเกี่ยวกับดนตรีและละคร ใช้นามแฝง ศุกรหัศน์ ,ศรีคุ้ม ,ศรีเศวต
- พ.ศ. 2473 - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงให้ช่วยงานวิทยุกระจายเสียง กรมไปรษณีย์โทรเลข
- พ.ศ. 2478 - อายุ 36 ปี แสดงนำฝ่ายพลเรือน ใน เลือดทหารไทย ภาพยนตร์พูดเผยแพร่กิจการทหารของ กระทรวงกลาโหม[2]
- พ.ศ. 2482 - ผู้ประกาศรุ่นแรกๆ (รุ่นเดียวกับ ร.ท.เขียน ธีมากร) ของ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย [3]
- พ.ศ. 2487 - อายุ 45 ปี ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร ในช่วงนี้ได้ประพันธ์คำร้องเพลงรำวงมาตรฐานประจำชาติ 4 เพลง ได้แก่ งามแสงเดือน ,ชาวไทย ,รำซิมารำ และ คืนเดือนหงาย
- พ.ศ. 2492 - ลาออกจากราชการ หลังรับราชการตำแหน่งต่างๆ ได้แก่ หัวหน้ากองหนังสือพิมพ์ กรมโฆษณาการ และ หัวหน้าแผนกปาฐกถาและกระจายเสียง ธนาคารออมสิน
- พ.ศ. 2493 - รับบทนำในภาพยนตร์เรื่อง กฤษดาอภินิหาร
- พ.ศ. 2496-2508 - อุปสมบท[4]
- พ.ศ. 2509 - แสดงภาพยนตร์ต่างประเทศ (ถ่ายทำในเมืองไทย)
ผลงาน
[แก้]นักแสดง
[แก้]ภาพยนตร์
[แก้]- 2478: เลือดทหารไทย [5]
- 2479: จันทร์เจ้าขา (ใช้ชื่อว่าศุกรหัสน์)
- 2489: ชายชาตรี (ร่วมกับ วสันต์ สุนทรปักษิณ)
- 2493: กฤษดาอภินิหาร (ร่วมกับ อบ บุญติด ,สวลี ผกาพันธ์)
- 2496: พรายมะลิวัลย์
- 2497: คำสั่งสาป (ร่วมกับ สวลี ผกาพันธุ์ ,อารี โทณวณิก)
- 2509: จอมมหากาฬทับทิมดำ /The Secret of the Black Ruby /Der Fluch des schwarzen Rubin (ร่วมกับ เมตตา รุ่งรัตน์ ,ปรียา รุ่งเรือง ,อนินันท์ สิงห์หิรัญ ,อบ บุญติด ,หม่อมชั้น พวงวัน )
โทรทัศน์
[แก้]- ----: ละครทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม
ผู้ประพันธ์เพลง
[แก้]เพลงรำวงมาตรฐาน
[แก้]- งามแสงเดือน ,ชาวไทย ,รำซิมารำ ,คืนเดือนหงาย
เพลงปลุกใจ
[แก้]- ไทยช่วยไทย ,เอกราช ,ทางสร้างชาติ ,ปัจจุสมัย,รักสงบ,วันชาติ,เดินทางไกล,ยุวชนสโมสร,เดินทางไกล,สนธิสัญญามี่แก้ใหม่ (บางครั้งใช้นามแฝงในการแต่งเพลงว่า ศุกรหัศน์),ส่วนใหญ่แต่งให้วงดนตรีสุนทราภรณ์หรือวงดนตรีกรมโฆษณาการ[6]
เพลงลีลาศ
[แก้]- สวมหมวก (เอื้อ สุนทรสนาน ทำนอง มัณฑนา โมรากุล ร้องบันทึกเสียงต้นฉบับโดยวงดนตรีสุนทราภรณ์)
- ยามอรุณ (เอื้อ สุนทรสนาน ทำนอง ล้วน ควันธรรม ร้องนำหมู่)
- รื่นเริงใจ (เอื้อ สุนทรสนาน ทำนอง มัณฑนา โมรากุล ร้องบันทึกเสียงต้นฉบับ โดยวงดนตรีสุนทราภรณ์)
- สายฟ้า (เอื้อ สุนทรสนาน ทำนอง ร้องหมู่วงดนตรีสุนทราภรณ์ เพลงประจำโรงเรียนสายปัญญา)
- ดวงตรา (เอื้อ สุนทรสนาน ทำนอง ร้องหมู่วงดนตรีสุนทราภรณ์ เพลงประจำธนาคารออมสิน)
- หนองคาย (เอื้อ สุนทรสนาน ทำนอง สุปาณี พุกสมบุญและมัณฑนา โมรากุลร้องนำหมู่ เพลงประจำจังหวัดเพลงแรก)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เสวกโท จมื่นมานิตย์นเรศ ,www.reurnthai.com
- ↑ ขุนวิจิตรมาตรา ,หลักหนังไทย หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) 2555 ISBN 978-616-543-150-7 หน้า 63
- ↑ หนังสือ 70 ปีกรมประชาสัมพันธ์,สำนักนายกรัฐมนตรี 2546 หน้า 81
- ↑ ศุกรหัศน์(เฉลิม เศวตนันทน์)กับเรื่องของศิลปิน ok nation.net
- ↑ กาญจนาคพันธุ์ ,ยุคเพลงหนังและละครในอดีต ,เรืองศิลป์ 2518 หน้า 59
- ↑ รายการเพื่อนฝัน สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ,20 ก.พ.2556