โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย Trimit Witthayalai School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ต.ว. (TMC) |
ชื่อเดิม | โรงเรียนมัธยมวัดสามจีน |
ประเภท | โรงเรียนของรัฐ |
คำขวัญ | บาลี: มตฺตญญุตา สทา สาธุ (ความรู้จักประมาณ ยังประโยชน์ให้สำเร็จทุกเมื่อ) |
สถาปนา | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2439 (126 ปี) |
ผู้ก่อตั้ง | พระครูวิริยนุกิจจารี (กล่อม) |
เขตการศึกษา | กรุงเทพมหานคร เขต 1 |
ผู้อำนวยการ | ดร.พิสิษฐ์ ศุภวัฒน์ธนบดี |
ระดับชั้น | ม.1 - ม.6 |
เพศ | ชาย |
ภาษา | ![]() ![]() ![]() |
ห้องเรียน | 36 ห้องเรียน |
สี | ██████ ชมพู-ขาว |
เพลง | มาร์ชไตรมิตร |
สังกัด | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
เว็บไซต์ | http://www.traimitwitthayalai.ac.th |
โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย (อังกฤษ: Trimitwitthayalai School,จีน: 岱密中学) เป็นโรงเรียนชายล้วนย่านเยาวราช เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษา มีประวัติความเป็นมายาวนานแห่งหนึ่งในประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] เดิมชื่อโรงเรียนมัธยมวัดสามจีนใต้ เป็นโรงเรียนรัฐบาลสังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 661 ถนนเจริญกรุง เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2439 ปัจจุบันโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัยมีอายุ 126 ปี เป็นโรงเรียนผู้นำด้านภาษาจีนแห่งแรกของประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] ปัจจุบันได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ[ต้องการอ้างอิง]
ประวัติ[แก้]
โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัยกับวัดไตรมิตรวิทยารามนั้น มีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกันมานาน กล่าวได้ว่า อดีตเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นบุรพาจารย์ของโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย ด้วยโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย มีกำเนิดขึ้นจากดำริของพระสมุห์กล่อม เจ้าอาวาสวัดสามจีนใต้รูปที่ ๒ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรมีราชทินนามว่า พระครูวิริยานุกิจการี เป็นผู้จัดตั้ง ดังที่ได้ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๓ แผ่นที่ ๒๔ วันที่ ๑๓ กันยายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๕ หน้า ๒๒๕– ๒๒๖ ดังนี้
“ด้วย พระสมุห์กล่อม เจ้าอธิการวัดสามจีนใต้ผู้อุปการะ ได้รวบรวมกุลบุตรมาประชุมเล่าเรียนหนังสือไทยตั้งเป็นโรงเรียนขึ้น ให้พระพร้อมซึ่งสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรประโยค ๒ พระสอนผู้สอบไล่ได้ประกาศนียบัตรประโยค ๑ เป็นอาจารย์สอน เปิดโรงเรียนสอนมาตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ. ๒๕๓๐) มีนักเรียนมาเล่าเรียน ๓๔ คน และบอกรายงานมาลงทะเบียนในกรมศึกษาธิการ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิตติยากรวรลักษณ์ อธิบดีกรมศึกษาธิการ มีรับสั่งให้กองไปตรวจ ได้ความตามบอกนั้น ทรงอนุญาตให้พระสมุห์กล่อมเป็นผู้อุปการะ ให้พระพร้อมและพระสอนเป็นอาจารย์ตามประสงค์แล้ว
ในชั้นต้นนี้ กรมศึกษาธิการได้อุดหนุนแบบเรียนให้ ๑ จบ ตามธรรมเนียมโรงเรียนนี้นับว่าเป็นโรงเรียนมูลสามัญเชลยศักดิ์ ขึ้นในกรมศึกษาธิการอีกโรงเรียนหนึ่ง ด้วยอำนาจแห่งความอนุเคราะห์ของพระสมุห์กล่อม พระพร้อม และพระสอนนั้น ให้โรงเรียนนี้ จงตั้งอยู่สิ้นกาลนานเทอญ ฯ”'
ต่อมาเมื่อ รองอำมาตย์ตรีสนิท เทวินทรภักติ ครูใหญ่โรงเรียนมัธยมวัดสามจีน ได้ปรึกษาตกลงกับท่านเจ้าอาวาสวัดสามจีนในครั้งนั้นว่า เห็นสมควร ปรับปรุงสุขลักษณะบริเวณวัดและโรงเรียนในคราวเดียวกัน หลังจากที่ได้ทำการปรับปรุงพื้นที่เรียบร้อยแล้วจึงได้สร้างอาคารเรียนขึ้น เป็นอาคารตึก ๓ ชั้น เป็นตึกมีมุขยื่นและมีปีกตึกออกมาทางซ้ายของตัวอาคาร เป็นอาคารเรียนหลังแรกที่สร้างด้วยคอนกรีตสูงถึง ๓ ชั้นสร้างด้วยเงินของวัด จำนวน ๑๕,๐๐๐ บาท และเงินงบประมาณของทางราชการอีก ๒,๕๐๐ บาท พร้อมตึกวิทยาศาสตร์อีกหนึ่งหลัง นับได้ว่าโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัยได้มีกำเนิดจากอดีตบุรพาจารย์ซึ่งเป็นเจ้า อาวาสวัดสามจีนใต้โดยแท้ และท่านเจ้าอาวาสวัดนี้รูปต่อ ๆ มาก็ได้ให้ความอุปถัมภ์แก่โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัยทุกรูป อาคารเรียนโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัยหลังปัจจุบัน เป็นอาคารเรียนที่สร้างขึ้นใหม่ ซึ่งได้ทำการวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยพระวิสุทธาธิบดี (ไสว ฐิตวีโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นประธานในพิธี
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้เปลี่ยนนามวัดสามจีนใต้มาเป็นวัดไตรมิตรวิทยาราม ทั้งนี้ เพื่อจะเฉลิมเกียรติคุณของท่านผู้แรกสร้างให้ยั่งยืนวัฒนายิ่งขึ้น และเป็นการเชิตชูอุตสาหะวิริยะของท่านผู้สร้างและคณะกรรรมการปรับปรุงวัด สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุฯ ได้เมตตาคิดค้นนามที่เป็นมงคลมาเฉลิมเพิ่มความสง่าให้แก่วัดสามจีนใต้ โดยเปลี่ยนเป็น “วัดไตรมิตรวิทยาราม” และกรมสามัญศึกษาได้เปลี่ยนนามโรงเรียนมัธยมวัดสามจีนใต้เป็น “โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย” ตามนามวัดที่ได้เปลี่ยนใหม่ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒
ทำเนียบผู้บริหาร[แก้]
อันดับ | วาระดำรงตำแหน่ง | รายนาม |
---|---|---|
๑ | ปี ๒๔๔๐ - ๒๔๔๓ | พระสมุห์กล่อม เจ้าอาวาส เป็นผู้อุปการะ |
๒ | ปี ๒๔๔๓ - ๒๔๕๑ | อาจารย์เสือ |
๓ | ปี ๒๔๕๑ - ๒๔๕๓ | อาจารย์เทียน |
๔ | ปี ๒๔๕๓ | อาจารย์ภักดี |
๕ | ปี ๒๔๕๓ - ๒๔๕๗ | ขุนชิตพิทยกรรม (ลำดวน) |
๖ | ปี ๒๔๕๗ - ๒๔๖๕ | อาจารย์สอน กุ้ยก้องศิลป์ |
๗ | ปี ๒๔๖๕ - ๒๔๖๘ | ขุนกุมาโรวาท (เกิด) |
๘ | ปี ๒๔๖๘ - ๒๔๗๗ | อาจารย์เฮง สนใจรบ |
๙ | ปี ๒๔๗๗ - ๒๔๘๔ | รองอำมาตย์ตรีสนิท เทวินทรภักดิ์ |
๑๐ | ปี ๒๔๘๔ - ๒๔๘๖ | อาจารย์ฉาย วิโรจน์ศิริ |
๑๑ | ปี ๒๔๘๗ | อาจารย์สนอง สุขสมาน (รักษาการ) |
๑๒ | ปี ๒๔๘๘ - ๒๔๙๑ | อาจารย์สวัสดิ์ ภุมิรัตน์ |
๑๓ | ปี ๒๔๙๑ - ๒๔๙๖ | อาจารย์เทือก กุสุมา ณ อยุธยา |
๑๔ | ปี ๒๔๙๖ - ๒๔๙๗ | อาจารย์จรูญ ส่องศิริ |
๑๕ | ปี ๒๔๙๘ - ๒๕๐๐ | อาจารย์สำเนียง คีระวนิช |
๑๖ | ปี ๒๕๐๐ - ๒๕๑๐ | อาจารย์อาสา ศุกระมงคล |
๑๗ | ปี ๒๕๑๐ - ๒๕๑๙ | อาจารย์แสวง ตันบุญตั้ง |
๑๘ | ปี ๒๕๑๙ - ๒๕๒๒ | อาจารย์สงวน คลังชำนาญ |
๑๙ | ปี ๒๕๒๒ - ๒๕๒๖ | อาจารย์วิสิทธิ์ คำปันศักดิ์ |
๒๐ | ปี ๒๕๒๖ - ๒๕๒๙ | อาจารย์ลพ ชูแข |
๒๑ | ปี ๒๕๒๙ - ๒๕๓๔ | อาจารย์แดง สุขกุล |
๒๒ | ปี ๒๕๓๔ - ๒๕๓๖ | อาจารย์มงคล สุวรรณพงศ์ |
๒๓ | ปี ๒๕๓๖ - ๒๕๓๗ | อาจารย์ประวิทย์ พฤทธิกุล |
๒๔ | ปี ๒๕๓๗ - ๒๕๔๑ | อาจารย์สุรินทร์ สรรพกิจ |
๒๕ | ปี ๒๕๔๑ - ๒๕๔๖ | อาจารย์คงวุฒิ ไพบูลย์ศิลป |
๒๖ | ปี ๒๕๔๕ - ๒๕๔๙ | อาจารย์ธีระพงศ์ นิยมทอง |
๒๗ | ปี ๒๕๔๙ - ๒๕๕๑ | อาจารย์อุทัย สงวนพงศ์ |
๒๘ | ปี ๒๕๕๑ - ๒๕๕๒ | อาจารย์สุรพล การบุญ |
๒๙ | ปี ๒๕๕๒ - ๒๕๕๘ | อาจารย์สุคนธา อรุณภู่ |
๓๐ | ปี ๒๕๕๘ - ๒๕๖๐ | อาจารย์พิพิศน์ บุญเสริม |
๓๑ | ปี ๒๕๖๐ - ๒๕๖๑ | ดร.ศรายุทธ รัตนปัญญา |
๓๒ | ปี ๒๕๖๑ - ๒๕๖๓ | นายปราโมทย์ ทวีตั๊งตระกูล |
๓๓ | ปี ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕ | นายธีระยุทธ ศรีปิยะรัตนกุล |
๓๔ | ปี ๒๕๖๕ - ปัจจุบัน | ดร.พิสิษฐ์ ศุภวัฒน์ธนบดี |
แผนการเรียน[แก้]

เนื่องจากโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัยตั้งอยู่ในพื้นที่ย่านเยาวราช ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน ดังนั้นทางโรงเรียนจึงมีการจัดหลักสูตรภาษาจีนภาคบังคับ เพื่อส่งเสริมศักยภาพด้านภาษาจีนโดยตรง เปิดสอนภาษาจีนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 โดยระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ก็ต้องเรียนภาษาจีนทุกแผนการเรียน แผนการเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย มีดังนี้
- แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
- แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ - หุ่นยนต์ (Robotics Program)
- แผนการเรียน ภาษาอังกฤษ - คณิตศาสตร์
- แผนการเรียน ภาษาไทย - สังคมศึกษา - ภาษาอังกฤษ
- แผนการเรียน ภาษาอังกฤษ - ภาษาจีน (Intensive Chinese Program)
ในปี พ.ศ. 2552 โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย จัดโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านภาษาจีนแบบเข้มข้น (Intensive Chines Program) เปิดห้องเรียนพิเศษในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น-ปลาย โดยเรียนกับครูเจ้าของภาษาโดยตรง
ห้องเรียนขงจื่อ สถาบันขงจื่อเค่อถัง[แก้]
“ห้องเรียนขงจื่อ” ก่อตั้งขึ้นโดยโรงเรียนมัธยมสาธิตเทียนจิน ประเทศจีน และโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย โดยได้รับการสนับสนุนจากสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม และประธานสถาบันขงจื่อ เค่อถัง ที่ได้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาภาษาจีนของเยาวชนไทย นอกจากนั้น ห้องเรียนขงจื่อแห่งนี้ ก็ยังได้รับการอนุมัติให้เป็นห้องเรียนขงจื่อแห่งแรกของโลก จากสำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ (Hanban) จึงทำให้ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ภาษา และวัฒนธรรมจีนสำหรับเยาวชนชาวไทย และผู้ที่สนใจทั่วไป โดยจุดประสงค์หลักก็เพื่อให้เป็นห้องเรียน และห้องสมุดที่มีความน่าเชื่อถือและสง่างาม เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านไอซีที ที่สมบูรณ์แบบแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งจะมีทั้งหนังสือเรียนภาษาจีน และคอมพิวเตอร์อย่างครบถ้วน รวมไปถึงมีการจัดแสดงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวจีนอย่างถูกต้องและชัดเจน หากว่าเข้ามาถึงโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัยแล้ว ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะหาห้องเรียนขงจื่อไม่เจอ เพราะที่ด้านล่างนั้นจะมีรูปหล่อทองแดงของท่านขงจื่อให้เห็นกันชัดเจน ส่วนตัวห้องเรียนนั้นจะอยู่ที่ชั้นสองของตึก ส่วนเมื่อเดินขึ้นไปถึงด้านหน้าห้องเรียนแล้ว จะเห็นบานประตูแบบจีนสีแดงบานใหญ่ตั้งอยู่ทางขวามือ ซึ่งก็เปรียบเสมือนว่ากำลังเดินเข้าสู่การเรียนรู้เมืองจีน ซึ่งเมื่อได้เดินเข้าไปถึงด้านในแล้ว ก็ทำจะให้รู้สึกว่าเหมือนมาอยู่ที่ประเทศจีนเลยทีเดียว เพราะมีการออกแบบและตกแต่งโดยชาวจีน ส่วนสิ่งของต่างๆ ที่อยู่ภายในห้อง ไม่ว่าจะเป็นของตกแต่งต่างๆ โต๊ะ เก้าอี้ พื้น หนังสือ หรือสิ่งของที่จัดแสดงอยู่ ก็ล้วนแต่นำเข้ามาจากประเทศจีนทั้งสิ้น ภายในห้องเรียนจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกก็คือส่วนที่จัดเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องราวของประเทศจีน โดยจะแบ่งออกเป็น 12 หัวข้อ อาทิ หุ่นทหารและม้าดินปั้นของสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ อิฐสมัยราชวงศ์ฉินและกระเบื้องราชวงศ์ฮั่น เครื่องเคลือบและเครื่องหยก การทำกระดาษและแท่นพิมพ์ การแพทย์แผนจีนและยาจีน เครื่องแต่งกายประจำเผ่า เป็นต้น โดยแต่ละหัวข้อจะมีการจัดแสดงสิ่งของ และมีข้อความบรรยายให้ความรู้เป็นภาษาจีนและภาษาอังกฤษ ส่วนที่เป็นภาษาไทยนั้นทางเจ้าหน้าที่กำลังจัดทำอยู่ เพื่อให้คนไทยอ่านแล้วเข้าใจได้ดีขึ้น ส่วนที่ 2 จะจัดเป็นส่วนของห้องสมุด ที่จะมีซีดีการเรียนการสอน หนังสือภาษาจีน ทั้งหนังสือเรียน วรรณกรรม หนังสืออ่านเล่นต่างๆ เอาไว้ให้นั่งอ่านกัน ต้องขอบอกก่อนว่าโต๊ะที่นั่งอ่านหนังสือนั้นก็ไม่ธรรมดา เพราะนำเข้ามาจากประเทศจีน ส่วนตัวโต๊ะก็จะมีลักษณะคล้ายๆ กับแผ่นหินที่จารึกข้อความต่างๆ ไว้ ซึ่งข้อความเหล่านั้นก็จะเป็นประโยคที่ใช้สอนเด็กๆ ชาวจีนตอนเริ่มอ่านหนังสือ ในส่วนสุดท้ายของห้องเรียนขงจื่อ ก็จะเป็นในส่วนของการเรียนรู้ และการเรียนการสอนภาษาจีน โดยที่นี่จะมีห้องเรียนที่เพียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์การสอนต่างๆ ทั้งตำราเรียน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ รวมไปถึงจะมีจอคอมพิวเตอร์ระบบสัมผัสขนาดใหญ่ให้ได้มาเรียนมาเล่นกันด้วย
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]
- องคมนตรี
- พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์
- นักการเมือง
- วันชัย สอนศิริ
- พิชัย วาศนาส่ง : นักข่าว,อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549
- ฉาย วิโรจน์ศิริ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- ทหาร ตำรวจ
- พล.อ.หาญ ลีนานนท์ : อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 และรัฐมนตรีว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พล.ต.อ.จำลอง เอี่ยมแจ้งพันธุ์ : รองอธิบดีกรมตำรวจ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นักธุรกิจ
- วงการบันเทิง
- ทนงศักดิ์ ศุภการ (นง) : พระเอกหนัง ช่างภาพ
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ เก็บถาวร 2017-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ภาพถ่ายดาวเทียม โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย
![]() |
บทความเกี่ยวกับสถานศึกษานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |