โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล จังหวัดกระบี่
Ammartpanichnukul School
สัญลักษณ์ โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นอ.ม.(UM)
ประเภทรัฐ
คำขวัญ"เรียนเด่น ประพฤติดี สามัคคี มีวินัย"
ปญฺญา นรานํ รตนํ
(ปัญญาคือแก้วประดับตน)
สถาปนา8 กรกฎาคม พ.ศ. 2452
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ผู้อำนวยการนายกิตติ วิชัยดิฐษ์
ระดับปีที่จัดการศึกษาม.1-ม.6
สี███ น้ำเงิน
███ ขาว
เพลงมาร์ชอำมาตย์
เว็บไซต์http://www.ammart.ac.th

โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล จังหวัดกระบี่ เป็นสถานศึกษาขนาดใหญ่ตั้งอยู่เลขที่10 ถนนกระบี่ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พุทธศักราช 2452 โดยพระยาอิศราธิชัย หรือ หมี ณ ถลาง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่อยู่ในขณะนั้น ซึ่งสร้างขึ้นเขตวัดแก้วโกรวาราม โดยมีพ่อค้า ประชาชน ในจังหวัดกระบี่ร่วมกันออกกำลังทรัพย์ กำลังกายในการก่อสร้าง

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูลจัดสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2452 เนื่องจากขณะนั้นกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) ต้องการให้ทุกจังหวัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้น พระยาอิศราธิชัย หรือ หมี ณ ถลาง ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ในขณะนั้น จึงได้ริเริ่มสร้างโรงเรียนหลวงขึ้นในเขตวัดแก้วโกรวาราม โดยมีพ่อค้า คหบดีและข้าราชการ ร่วมแรงร่วมใจช่วยกันสร้างโรงเรียนแห่งนี้ขึ้น ให้ชื่อว่า “โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล” โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูงประมาณเมตรเศษ ทรงหลังคาแบบปั้นหยา มุงสังกะสี มี 4 ห้องเรียนตั้งอยู่ที่ตั้งศาลาการเปรียญปัจจุบันนี้

เปิดรับนักเรียน ชั้นประถมปีที่ 1-3 และมัธยมปีที่ 1-3 ตลอดมา เมื่อมีนักเรียนเพิ่มขึ้นก็สร้างอาคารชั่วคราวชั้นเดียวขึ้นอีกหลัง ในบริเวณใกล้ๆกัน เป็นสโมสรลูกเสือและห้องเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 กาลเวลาล่วงเลยไปตามลำดับ อาคารแห่งนี้ชำรุดทรุดโทรม คณะผู้บริหารการศึกษาของจังหวัดกระบี่ มีความเห็นร่วมกัน และดำเนินการสร้างอาคารเรียนขึ้นในที่ดินของโรงเรียนเดิม ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบันนี้ ที่ดินแห่งนี้เป็นที่ดินของโรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล ซึ่งพระยาอิศราธิชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็นผู้สงวนไว้สำหรับสร้างโรงเรียนประจำจังหวัดโดยเฉพาะ

อาคารหลังนี้เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น เสาคอนกรีต หลังคาทรงปั้นหยามุงกระเบื้อง ชั้นล่างปล่อยไว้โล่งๆ และต่อมากั้นเป็นฝาขัดแตะ

พุทธศักราช 2482 นักเรียนยังแยกกันอยู่ทั้ง 2 ฝ่าย คือ ม.1-3 เรียนอาคารเดิมที่วัดแก้ว ส่วน ม.4-6 เรียนอาคารใหม่ โดยมีนายเนิ่น เกษสุวรรณเป็นครูใหญ่ในขณะนั้น

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น ประเทศไทยต้องยอมเป็นฝ่ายพันธมิตรกับฝ่ายอักษะ กองทัพญี่ปุ่นต้องมาตั้งฐานทัพในประเทศไทยและกระบี่คือจุดยุทธศาสตร์สำคัญฝั่งอันดามัน

ในเดือนธันวาคม พุทธศักราช 2484 ทหารญี่ปุ่นยึดโรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูลเป็นฐานทัพ โรงเรียนจึงต้องหยุดเรียนไปโดยไม่มีวันกำหนดเปิด ในขณะนั้นนายกล่อม สัจจะบุตรเป็นครูใหญ่ ปีพุทธศักราช 2485 นักเรียนม.1-3 ย้ายมาเรียนรวมกัน ที่อาคารหลังขาว 2 ชั้น และในช่วงนี้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดกระบี่

ในวันที่ 25 มีนาคม พุทธศักราช 2489 เวลาประมาณ 21.00 น. เกิดเพลิงไหม้โรงเรียน ไฟไหม้อย่างรุนแรงและรวดเร็ว ไม่มีใครช่วยได้ ทะเบียนหลักฐาน อุปกรณ์การศึกษา รวมทั้งสิ่งมีค่าทางประวัติศาสตร์กลายเป็นเถ้าถ่าน วันรุ่งขึ้นเป็นวันประกาศผลสอบ นักเรียนเข้าแถวใต้ต้นกอใหญ่ หน้าซากอาคารเรียน ฟังครูประจำชั้นประกาศผลมีผู้สอบได้กับไม่ได้เท่านั้น ใครได้กี่เปอร์เซ็นนั้นไม่มีหลักฐาน

เมื่อโรงเรียนเปิดใหม่ปีการศึกษา2489 นักเรียนได้เลขประจำตัวใหม่ทุกคน นายกล่อมสัจจะบุตร ย้ายไปจังหวัดตรัง นายประพฤทธิ พิเศษศิลป์ เป็นครูใหญ่แทน ขออาศัยเรียนที่โรงเรียนเทศบาล (โรงเรียนอุตรกิจ) เป็นการชั่วคราว จนปีพุทธศักราช 2492 เมื่อจังหวัดกระบี่ได้รับงบประมาณสร้างอาคารใหม่ ทำการสร้างในที่ดินเดิมเมื่อสร้างเสร็จก็ย้ายกลับมาที่โรงเรียนประจำจังหวัดกระบี่อีกครั้ง และแล้วจังหวัดกระบี่ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนกระบี่อำมาตย์พานิชนุกูล” และในที่สุดก็เปลี่ยนชื่อโรงเรียนตามศิลาจารึกว่า “โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล” จนถึงทุกวันนี้

บุคคลสำคัญที่ต้องจดจำและจารึกไว้ตลอดกาล คือ พระคุณเจ้า “พระสุตกวี” และเจ้าอาวาสวัดแก้วโกรวารามผู้อุปถัมภ์ค้ำชูโรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล ตั้งแต่สมัยที่โรงเรียนตั้งอยู่ในวัดจนตราบเท่าปัจจุบัน ท่านพระยาอิศราธิชัย (หมี ณ ถลาง) นั้น ท่านเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนและกำหนดอนาคตของโรงเรียนไว้อย่างเหมาะสมถูกต้อง

ปัจจุบันโรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูลเป็นสถานศึกษาระดับมัธยมขนาดใหญ่ มีนักเรียนกว่า 3000 คน เพียบพร้อมไปด้วยสื่อการเรียนเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นศูนย์กลางการศึกษาของจังหวัดกระบี่ เป็นโรงเรียนที่สามารถผลิตนักเรียนที่มีคุณภาพอีกโรงเรียนหนึ่ง

ด้านการเรียนการสอนของโรงเรียนอำมาตย์ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการส่งเสริมในการเข้าร่วมแข่งขันในด้านทักษะทางวิชาการ ความสามารถพิเศษของนักเรียน จนได้รับรางวัลมากมายอย่างต่อเนื่อง

ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 ครบ 113ปี อำมาตย์พานิชนุกูล

ทำเนียบผู้บริหาร[แก้]

นายกิตติ วิชัยดิษฐ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล

นางสุดารัตน์ แก้วเก้า รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ

นายสุชาติ ขุนฤทธิ์เอียด รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ

นางสาว สุรีรัตน์ คำฝอย รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารบุคลากร

นายมนตรี พันธ์คำ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป

อาคารและสถานที่ภายในโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูลประกอบไปด้วยอาคารเรียน 8 อาคารดังต่อไปนี้

  • อาคาร 1 ประกอบไปด้วยที่ทำการของงานแนะแนว, ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์, ห้องเรียน และห้องพักครู
  • อาคาร 2 ประกอบไปด้วยห้องนักเรียนโครงการ 2 ภาษา, สำนักงานกิจการนักเรียน และห้องพักครู , ห้องคณิตศาสตร์ , ห้องแนะแนว
  • อาคาร 3 ประกอบไปด้วยห้องเรียนกลุ่มสังคมศึกษา ได้แก่ ห้องสังคมศึกษา, ห้องอิสลาม, ห้องพระพุทธ, ห้องพยาบาล และห้องพักครู , ห้องคณิตศาสตร์
  • อาคาร 4 ประกอบไปด้วยอาคารเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ ห้องเรียนสีเขียว และห้องพักครู ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ เคมี ชีวะ
  • อาคาร 5 ประกอบไปด้วยห้องสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต, ห้อง TOT, ห้องสมุด, ห้องเรียน, หอประชุม 96 ปี, สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา 95.25 MHz
  • อาคาร 6 ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการดนตรีสากล, ห้องปฏิบัติการดนตรีไทย และเป็นที่ทำการของกลุ่มวิชาการงานอาชีพ ห้องเรียนทำอาหาร
  • อาคาร 84 ปี ชั้นบนจัดเป็นหอประชุม ชั้นล่างจัดเป็นโรงอาหาร1
  • อาคาร 9 อำมาตย์ฯ 100 ปี เปิดใช้อาคารวันที่ 8 กรกฎาคม 2552 ฉลอง100 ปีอำมาตย์ฯ ประกอบไปด้วยห้องนาฏศิลป์ ห้องภาษาต่างๆ ได้แก่ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส,ภาษาเกาหลี, ห้อง Resource Center, โรงอาหาร2
  • อาคารอำมาตย์ 108 ปี ร่มเย็น

ชีวิตในโรงเรียน[แก้]

นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณภาพและศักยภาพในการแข่งขัน ตระหนักในสิ่งแวดล้อม มีความสามารถด้านเทคโนโลยีและมีความเป็นไทยในโลกสากล

เกียรติยศ[แก้]

  1. โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน ในปี พ.ศ. 2529
  2. โรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น ในปี พ.ศ. 2529
  3. โรงเรียนจัดกิจกรรมจริยศึกษาดีเด่น ในปี พ.ศ. 2529
  4. ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2537
  5. ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน ประเภทชมเชย ในปี พ.ศ. 2545
  6. ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานประเภทสถานศึกษาขนาดใหญ่ ในปี พ.ศ. 2547

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]