โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี
ที่ตั้ง
เลขที่ 201 หมู่ 6 ถนนกาญจนาภิเษก (เลียบทางด่วนสายบางขุนเทียน-พระประแดง) แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150
ข้อมูล
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล สังกัด สพฐ.
คำขวัญสุวิชาโน ภวํ โหติ
(ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ)
สถาปนา8 สิงหาคม พ.ศ. 2551 (แม่แบบ:อายุ15ปีและ196วัน)
ผู้บริหารดร.ศรายุทธ รัตนปัญญา
ครู/อาจารย์187 คน ปีการศึกษา 2565 http://www.sk-thonburi.ac.th/new/index.php
จำนวนนักเรียน3,372 คน จำนวนนักเรียน ปีการศึกษา 2565
ชั้นเรียนที่เปิดสอนช่วงชั้นที่ 3 และ 4
(มัธยมศึกษาตอนต้นและปลาย)
สี   ชมพู-ฟ้า
เพลงเพลงประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
เพลงมาร์ชชมพูฟ้า
เพลงสวนธนสามช่า
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 , สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ
เว็บไซต์http://www.sk-thonburi.ac.th

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี (อังกฤษ: Suankularb Wittayalai Thonburi School) (อักษรย่อ: ส.ก.ธ. / S.K.T.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา ประเภทสหศึกษา กลุ่มโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย ลำดับที่ 10 ปัจจุบันมีอายุ 15 ปี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 201 หมู่ 6 ถนนกาญจนาภิเษก (เลียบทางด่วนสายบางขุนเทียน-พระประแดง) แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150 บนเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี (สวนธน) เป็นหนึ่งในเครือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ทั้ง 11 แห่ง โดยบริหารจัดการภายใต้รัฐธรรมนูญการศึกษาแห่งสถาบันสวนกุหลาบ ทั้งยังมีกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์ และงานชุมนุมลูกเสือ - เนตรนารี สวนกุหลาบสัมพันธ์ ซึ่งจัดขึ้นร่วมกับโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นประจำทุกปี โดยแต่ละโรงเรียนจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพ

หอประชุม โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี

ภายในโรงเรียน[แก้]

  • หลวงพ่อสวนกุหลาบ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง พระราชทานเป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร เมื่อครั้งเป็นโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงพระมหากรุณาธิคุณให้ตั้งชื่อเป็นครั้งที่พระตำหนักสวนกุหลาบ ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. 2424 เข้าใจว่าเมื่อโรงเรียนย้ายออกมาตั้งภายนอก พระบรมมหาราชวัง หลวงพ่อสวนกุหลาบคงได้เป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียนต่อมา โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ ในฐานะโรงเรียนน้องได้ถือให้ความเคารพบูชาหลวงพ่อสวนกุหลาบ เช่นเดียวกับโรงเรียนพี่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
  • พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระบรมรูปประทับยืนเต็มพระองค์ ขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของพระองค์จริง ฉลองพระองค์ชุดสากล พระหัตถ์ซ้ายถือธารพระกร พระหัตถ์ขวาถือพระมาลา ความสูง 267 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 800 กิโลกรัม รมสีเนื้อมันปู หรือสีเม็ดมะขามสุก บนแผ่นจารึกที่ฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ อัญเชิญตราพระปรมาภิไธยย่อ จปร ไว้เหนือข้อความดังต่อไปนี้ :-

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช พระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ ๕ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระราชโอรส ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

ทรงพระราชสมภพ วันอังคารที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ วันพฤหัสบดีที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ เสด็จสวรรคต วันอาทิตย์ที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓

ทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม กอปรด้วยพระเมตตาธรรม และพระคุณธรรมอันประเสริฐ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ สร้างความเจริญแก่ประเทศชาติเป็นอเนกประการ ทางด้านการปกครอง การเลิกทาส การเศรษฐกิจ การคมนาคม การสาธารณสุข การศาสนา ทรงส่งเสริมการศึกษา และวางรากฐานการศึกษาอย่างเป็นระบบ ทรงจัดตั้งโรงเรียนเพื่อพสกนิกรได้มีโอกาสศึกษาอย่างเสมอภาค ดังพระราชปณิธาน

‘เจ้านายราชตระกูล ตั้งแต่ลูกฉันเป็นต้นไป ตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำสุด จะให้ได้มีโอกาสเล่าเรียนได้เสมอกัน ไม่ว่าเจ้า ว่าขุนนาง ว่าไพร่ เพราะฉะนั้น จึงพอบอกได้ว่า การเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้ จะเป็นข้อสำคัญข้อที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุตส่าห์จัดขึ้นให้เจริญจงได้’

ข้าราชการ ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า และนักเรียน โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น จึงพร้อมใจกันสร้างและประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ เพื่อสักการะ เฉลิมพระเกียรติ ประกาศเกียรติคุณ ให้แผ่ไพศาล ตราบกาลนาน

บันทึกต้นฉบับ เพลงประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

รายนามผู้บริหาร[แก้]

ทำเนียบผู้บริหาร
ลำดับ รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง
1 นายพิศณุ ศรีพล พ.ศ. 2551 - 2563
2 ดร.ศรายุทธ รัตนปัญญา พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน


สถาบันสวนกุหลาบ[แก้]

ปัจจุบันโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมีสถานศึกษาในเครือที่ใช้ชื่อ “สวนกุหลาบวิทยาลัย” ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยทั้งหมด 11 แห่ง มีการสร้างพันธกิจสำคัญร่วมกันขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาโดยการบริหารจัดการขององค์กรเครือข่ายสวนกุหลาบ สร้างบรรทัดฐานการเรียนการสอนทั้ง 11 แห่งให้ไปในทิศทางเดียวกัน ได้แก่

ลำดับที่ โรงเรียน อักษรย่อ จังหวัด สถาปนา สถานศึกษาเดิม
1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ส.ก. / S.K. กรุงเทพมหานคร 8 มีนาคม พ.ศ. 2425
(142 ปี 48 วัน)
2 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ส.ก.น. / S.K.N. นนทบุรี 30 มีนาคม พ.ศ. 2521
(46 ปี 26 วัน)
3 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ นมร.ส.ก.ส. / NMR.S.K.S. สมุทรปราการ 8 เมษายน พ.ศ. 2534
(33 ปี 17 วัน)
4 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี นมร.ส.ก.ป. / NMR.S.K.P. ปทุมธานี 4 มีนาคม พ.ศ. 2535
(32 ปี 52 วัน)
5 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต ส.ก.ร. / S.K.R. ปทุมธานี 3 มีนาคม พ.ศ. 2536
(31 ปี 53 วัน)
6 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ส.ก.ช. / S.K.C. ชลบุรี 5 มีนาคม พ.ศ. 2542
(25 ปี 51 วัน)
7 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพชรบูรณ์ ส.ก.พ. / S.K.PB. เพชรบูรณ์ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2542
(24 ปี 306 วัน)
โรงเรียนท่าพลพิทยาคม
(พ.ศ. 2519)
8 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี ส.ก.บ. / S.K.B. สระบุรี 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
(18 ปี 79 วัน)
โรงเรียนปากเพรียววิทยาคม
(พ.ศ. 2537)
9 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์ ส.ก.จ. / S.K.J. นครสวรรค์ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2550
(16 ปี 120 วัน)
โรงเรียนจิรประวัติวิทยาคม
(พ.ศ. 2517)
10 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี ส.ก.ธ. / S.K.T. กรุงเทพมหานคร 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551
(15 ปี 261 วัน)
11 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช ส.ก.นศ. / S.K.NS. นครศรีธรรมราช 3 มีนาคม พ.ศ. 2554
(13 ปี 53 วัน)
โรงเรียนลานสกาประชาสรรค์
(พ.ศ. 2516)

กิจกรรมร่วมกับกลุ่มโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย[แก้]

  • งานชุมนุมลูกเสือ-เนตรนารีสวนกุหลาบสัมพันธ์

กลุ่มโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้ร่วมกันจัด งานชุมนุมลูกเสือ-เนตรนารี “สวนกุหลาบสัมพันธ์” ขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ จังหวัดชลบุรี ซึ่งนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 จะเป็นผู้แทนของแต่ละโรงเรียน เข้าร่วมกิจกรรมนี้

  • การแข่งขันกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์

กลุ่มโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้ร่วมกันจัด “การแข่งขันกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์” ขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ ศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]