โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม ละติน: BuriramPitthayakhom School[1] | |
---|---|
![]() | |
![]() | |
![]() | |
15 ถนนนิวาศ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | บ.พ. / BPS |
ประเภท | รัฐบาล |
คำขวัญ | ซื่อสัตย์ พัฒนา สามัคคี มีวินัย นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภา (แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี) |
ก่อตั้ง | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 |
เขตการศึกษา | เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ |
รหัส | 1031260846 |
ผู้อำนวยการ | ว่าที่พันตรี ดร.สุพจน์ ธนานุกูล (ตั้งแต่ พ.ศ. 2562) |
รองผู้อำนวยการ | นางญาดา ยุพานวิทย์ นางปณาลี คำมณี นางชุติมันต์ โกรัมย์ นางสุธีรา วรรธนปิยกุล |
ชั้นเรียน | มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 |
ภาษา | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
![]() ![]() ![]() |
สี | น้ำเงิน ชมพู |
เพลง | มาร์ชบุรีรัมย์พิทยาคม ลา บ.พ. |
เบอร์โทรศัพท์ | 044-611098 |
แฟกซ์ | 044-612888 |
พันธุ์ไม้ | สน |
เว็บไซต์ | www |
โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม เป็นโรงเรียนรัฐบาลประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2447[2] ปัจจุบันมี ว่าที่พันตรี ดร.สุพจน์ ธนานุกูล เป็นผู้อำนวยการ
ประวัติ[แก้]
โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม จัดตั้งเมื่อ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 เคยเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา แต่ได้เปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาในเวลาต่อมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ได้มีแยกโรงเรียนหญิงล้วนออกมา โดยตั้งชื่อว่า "โรงเรียนสตรีศรีบุรีรัมย์" ส่วนโรงเรียนชายก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนบุรีรัมย์วิทยาลัย" ในปี พ.ศ. 2491 สุดท้ายในปี พ.ศ. 2515 ได้ยุบ "โรงเรียนสตรีศรีบุรีรัมย์" รวมกับ "โรงเรียนบุรีรัมย์วิทยาลัย" และเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม[2]
สถานที่ภายในโรงเรียน[แก้]
- อาคาร 1 เป็นอาคาร 3 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
- อาคาร 2 เป็นอาคาร 3 ชั้น ออกแบบโดยใช้สถาปัตยกรรมเดียวกันกับอาคาร 1 จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
- อาคาร 3 เป็นอาคาร 3 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
- อาคาร 4 เป็นอาคาร 3 ชั้น ออกแบบโดยใช้สถาปัตยกรรมเดียวกันกับอาคาร 3 จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
- อาคาร 5 หรือ อาคารอำนวยการ เป็นอาคาร 3 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และชั้นล่างจัดเป็นห้องทำงานของฝ่ายบริหารต่าง ๆ
- อาคาร 6 หรือ อาคารปัญญาวิวัตร เป็นอาคาร 4 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ห้องเรียนพิเศษนานาชาติ และศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ(HCEC)
- อาคาร 7 เป็นอาคารชั้นเดียวชั่วคราว จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
- อาคาร 8 เป็นอาคารชั้นเดียวชั่วคราว จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
- อาคาร 9 หรือ อาคารโรงเรียนบุรีรัมย์วิทยาลัย เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น เป็นที่ทำการของกรมนักศึกษาวิชาทหาร ห้องเกียรติยศ และห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เป็นอาคารที่ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2556 ประเภทอาคารสถาบันและอาคารสาธารณะ
- อาคาร 10 เป็นอาคาร 5 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มพิเศษ ได้แก่ ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ห้องเรียนพิเศษภาษา-อังกฤษ และ โรงอาหาร 3
- อาคารโลหะ บริเวณข้างอาคารไฟฟ้าช่างยนต์
- อาคารไฟฟ้าช่างยนต์ บริเวณข้างอาคารโลหะ
- อาคารงานไม้ บริเวณตรงข้ามอาคาร 8 ปัจจุบันถูกปิดลงแล้ว
- อาคารเขียนแบบ บริเวณข้างอาคารงานไม้
- อาคารดนตรีไทย บริเวณหลังอาคาร 6 หรือ อาคารปัญญาวิวัตร
- อาคารดนตรีสากล บริเวณข้างอาคาร 7
- อาคารประชาสัมพันธ์ บริเวณตรงข้ามโรงอาหาร 1 ข้างอาคาร 9
- อาคารฝ่ายส่งเสริมพฤติกรรมนักเรียน บริเวณข้างอาคารประชาสัมพันธ์
- ห้องฝ่ายบริหาร บริเวณใต้อาคาร 5
- ห้องประชุมเครือข่ายไร้พรมแดน อยู่ใต้อาคาร 5
- ห้องผู้อำนวยการโรงเรียน อยู่ใต้อาคาร 5
- โรงพลศึกษาเก่า บริเวณข้างอาคาร 10
- อาคารเกษตร อยู่ข้างสวนวรรณคดี
- โรงอาหาร 1 อยู่ข้างโดมเอนกประสงค์ หน้างานประชาสัมพันธ์
- โรงอาหาร 2 อยู่ระหว่างอาคาร 5 และอาคาร 9 บริเวณหน้าอาคาร 10
- โรงอาหาร 3 อยู่ชั้นล่างของอาคาร 10
- ร้านค้าสวัสดิการและศูนย์ถ่ายเอกสาร อยู่ระหว่างเรือนพยาบาล และอาคาร 2 บริเวณหน้าอาคารดนตรีสากล
- เรือนพยาบาล อยู่ข้างอาคาร 1
- ศาลาทรงไทย อยู่ข้างโรงพลศึกษาเก่า
- ศาลาเคียงสน อยู่ข้างโรงอาหาร 1
- ศาลา 8 เหลี่ยม อยู่ข้างสวนธรรมะ
- สวนธรรมะ อยู่ระหว่างโดมเอนกประสงค์ และอาคาร 4
- สวนวรรณคดี อยู่ข้างอาคาร 3
- สนามกีฬา อยู่ข้างอาคาร 9
- สนามฟุตซอล
- สนามวอลเลย์บอล
- โดมเอนกประสงค์ อยู่ระหว่างโรงอาหาร 1 และสวนธรรมะ
- หอประชุมทิวสน อยู่ข้างสวนธรรมะ
- ห้องสมุด อยู่ใต้หอประชุมทิวสน
- โรงปรับซ่อม บริเวณหลังอาคาร 1
- ป่าไม้อนุรักษ์ อยู่บริเวณหลังอาคารเกษตร
ห้องเรียนพิเศษ[แก้]
- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (SMT)
- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (SMTP)
- ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (EP)
- ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (IEP)
- ห้องเรียนพิเศษนานาชาติ (IP)
รายชื่อผู้อำนวยการ[แก้]
อันดับ | รายนาม | วาระดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นายเจ๊ก สุขปัญญา | พ.ศ. 2447 - พ.ศ. 2459 |
2 | นายดี อ้นปัน | พ.ศ. 2460 - พ.ศ. 2465 |
3 | ขุนคงฤทธิ์ศึกษากร | พ.ศ. 2466 - พ.ศ. 2472 |
4 | นายเลื่อน สุวรรณาคร | พ.ศ. 2472 - พ.ศ. 2473 |
5 | นายทิม ภูริพัฒน์ | พ.ศ. 2474 - พ.ศ. 2476 |
6 | นายสุข จำลองกุล | พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2477 |
7 | นายสิน ภักดีพิพัฒน์ | พ.ศ. 2477 - พ.ศ. 2480 |
8 | นายระบิล แสงชัย | พ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2484 |
9 | นายโกวิท ต่อวงศ์ | พ.ศ. 2484 - พ.ศ. 2486 |
10 | นายผ่อน ชีวะประเสริฐ | พ.ศ. 2486 - พ.ศ. 2492 |
11 | นายสำเภา วงศ์อิน | พ.ศ. 2492 - พ.ศ. 2497 |
12 | นายเสถียร โพพิพัฒน์ | พ.ศ. 2497 - พ.ศ. 2500 |
13 | นายสเริง วัฒนสุข | พ.ศ. 2500 - พ.ศ. 2509 |
14 | นายทรงยศ พงษ์พรต | พ.ศ. 2509 - พ.ศ. 2519 |
15 | นายกิตติ นรัฐกิจ | พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2530 |
16 | นายพีรพันธุ์ ฉกรรจ์ศิลป์ | พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2532 |
17 | นายอุดร มหาเมฆ | พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2535 |
18 | นางสาวปรีดา เชื้อตระกูล | พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2535 |
19 | นายอุทัย นิวัฒนวงศ์ | พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2536 |
20 | นายบุญช่วย บุญญะภานุพล | พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2540 |
21 | นายวุฒิพงศ์ คงเสนา | พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2543 |
22 | นายประกิจ แมนประโคน | พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2546 |
23 | นายธงชัย นิยโมสถ | พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2551 |
24 | นายวิฑูรย์ วงศ์อิน | พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2554 |
25 | นายสมศักดิ์ แต้มโคกสูง | พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2558 |
26 | นายปัณณฑัต วิวัตรชัย | พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2562 |
27 | ว่าที่พันตรี ดร.สุพจน์ ธนานุกูล | พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน |
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]
- ชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร
- ทฤษฎี สหวงษ์ (ปอ) นักแสดง, นายแบบ
- ไอน้ำ วงดนตรีป็อปร็อก
- วราวุธ บูรพาชยานนท์ นักแสดง, นักร้อง
- กันตพัฒน์ พฤฒิธรรมกูล (กอล์ฟ) ช่างภาพแนวหน้าระดับประเทศไทย ในชื่อเพจเฟสบุ๊ค "กอล์ฟมาเยือน"
อ้างอิง[แก้]
- ↑ เว็บไซต์โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม
- ↑ 2.0 2.1 "ประวัติโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-18. สืบค้นเมื่อ 2013-07-06.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม |
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 15°00′11″N 103°06′16″E / 15.003013°N 103.104308°E