ชูวงศ์ ฉายะบุตร
ชูวงศ์ ฉายะบุตร | |
---|---|
ปลัดกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 – 30 กันยายน พ.ศ. 2540 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 สิงหาคม พ.ศ. 2479 |
เสียชีวิต | 6 มิถุนายน พ.ศ. 2549 (69 ปี) |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2543–2549) |
ชูวงศ์ ฉายะบุตร (25 สิงหาคม พ.ศ. 2479 – 6 มิถุนายน พ.ศ. 2549) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติไทย อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีตอธิบดีกรมการปกครอง อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดหลายจังหวัด
ประวัติ
[แก้]ชูวงศ์ ฉายะบุตร เกิดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 จบการศึกษาปริญญาตรีรัฐศาสตบัณฑิต (เกียรตินิยม) และปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท สาขา MS.C (Econ) จาก LONDON SCHOOL OF ECONOMICS AND POLITICAL SCIENCE ปริญญาเอก PHD.POLITICAL SCIENCE จากมหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์ ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2508
การทำงาน
[แก้]งานราชการ
[แก้]ชูวงศ์ ฉายะบุตร เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนโอนย้ายเข้ารับราชการในสังกัดกรมการปกครอง ได้รับแต่งตั้งเป็นนายอำเภอเมืองสมุทรปราการ นายอำเภอเมืองนครปฐม ปลัดจังหวัดนครสวรรค์ เป็นรองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และผู้ว่าราชการจังหวัดอีกหลายจังหวัด ได้แก่ พิจิตร แพร่ ลำปางและ ปทุมธานี เป็นอธิบดีกรมการปกครอง[1] ตำแหน่งสุดท้ายคือ ปลัดกระทรวงมหาดไทยจนเกษียณอายุราชการ
ชูวงศ์ ฉายะบุตร มีผลงานแต่งหนังสือชื่อ "การปกครองท้องถิ่นไทย" จัดพิมพ์โดย สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2539[2]
งานการเมือง
[แก้]ในปี พ.ศ. 2516 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[3] หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน[4] ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 340 คน ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และ พ.ศ. 2539 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 7[5]
ชูวงศ์ ฉายะบุตร เริ่มทำงานการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกโดยการสมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 7 พรรคชาติไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 และได้รับการเลื่อนเป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อแทนผู้ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]ชูวงศ์ ฉายะบุตร ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2549[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2540 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[9]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
- พ.ศ. 2522 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ปลัดมหาดไทย เก็บถาวร 2021-04-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก ไทยรัฐ
- ↑ ชูวงศ์ ฉายะบุตร, การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539. พิมพ์ครั้งที่ 3, 389 หน้า
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญํติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
- ↑ รายชื่อสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (แต่งตั้งขึ้นใหม่ทั้งคณะ จำนวน 260 ราย)
- ↑ อดีตปลัด มท. ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคไต เตรียมอัญเชิญน้ำศพบ่ายนี้
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๕, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๖, ๙ เมษายน ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐๙๘, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ รายนามผู้สมควรได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๒ จากเว็บไชต์ thaiscouts
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2479
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2549
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- อาจารย์คณะรัฐศาสตร์
- ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร
- ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่
- ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี
- ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคชาติไทย
- นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- เสียชีวิตจากโรคไต
- ศิษย์เก่าจากวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์