ฉัตรชัย พรหมเลิศ
ฉัตรชัย พรหมเลิศ | |
---|---|
ประธานกรรมการบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2566 | |
ก่อนหน้า | ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ |
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 | |
ก่อนหน้า | พล.ต.ต.ปิยะพันธ์ ปิงเมือง |
ปลัดกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 – 30 กันยายน พ.ศ. 2564 (3 ปี 365 วัน) | |
รัฐมนตรีว่าการ | อนุพงษ์ เผ่าจินดา |
ก่อนหน้า | กฤษฎา บุญราช |
ถัดไป | สุทธิพงษ์ จุลเจริญ |
อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560 (4 ปี 365 วัน) | |
ก่อนหน้า | วิบูลย์ สงวนพงศ์ |
ถัดไป | นายชยพล ธิติศักดิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
คู่สมรส | ดร.ปฤถา พรหมเลิศ |
ศิษย์เก่า | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ฉัตรชัย พรหมเลิศ (เกิด 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504) ข้าราชการพลเรือนชาวไทย อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีตอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) และประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
ประวัติ
[แก้]ฉัตรชัย พรหมเลิศ มีชื่อเล่นว่า ฉิ่ง ทำให้บรรดานักข่าวสายการเมืองเรียกติดปากว่า บิ๊กฉิ่ง[1] หรือ ปลัดฉิ่ง เกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 ที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ ดร.ปฤถา พรหมเลิศ ประธานชมรมแม่บ้านมหาดไทย นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย อดีตนายกเหล่ากาชาดจังหวัดลพบุรี
การศึกษา
[แก้]ฉัตรชัย พรหมเลิศ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิตและระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จาก คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สิงห์ดำ) รุ่น 32[2] ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ และปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สถาปัตยกรรม) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นปี พ.ศ. 2549
หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.) รุ่นที่ 16 สถาบันพระปกเกล้า พ.ศ. 2556
หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) รุ่นที่ 17 พ.ศ. 2557
หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการพัฒนายุติธรรมระดับสูง (บ.ย.ส.) รุ่นที่ 19 พ.ศ. 2557
หลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย (นธป.) รุ่นที่ 5 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
รับราชการ
[แก้]ฉัตรชัย พรหมเลิศ เริ่มต้นรับราชการครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2527 ในตำแหน่งปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครอง ระดับ 3) อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร จากนั้นจึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งขึ้นสู่ตำแหน่งรองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เมื่อ พ.ศ. 2552 [3] ในสมัยรัฐบาลของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่อมามีผลงานโดดเด่นในขณะนั้นคือ การแก้ไขปัญหาอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554[4] ก่อนที่ พ.ศ. 2555 จะได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแทนนาย วิบูลย์ สงวนพงศ์[5] และ อดีตกรรมการศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) ในรัฐบาลของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ฉัตรชัย พรหมเลิศ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560[6] ในสมัยรัฐบาล (คสช.) และเป็นกรรมการในคณะกรรมการหลายคณะ อาทิ ประธานกรรมการในคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ประธานกรรมการในคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประธานกรรมการการปะปาส่วนภูมิภาค คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ[7] คณะกรรมการสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ และคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2562 เขาเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทยคนแรกที่เป็นกรรมการ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
ฉัตรชัย พรหมเลิศ มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการในช่วงที่ โควิด-19 เริ่มแพร่ระบาดในประเทศไทย โดยได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ อาทิ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งการและประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, เป็นหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง กระทรวงมหาดไทย หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการด้านมาตรการป้องกันและช่วยเหลือประชาชน[8]หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการกระจายหน้ากากและเวชภัณฑ์สำหรับประชาชน ในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) [9] เป็นประธานศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) กรรมการในคณะกรรมการกำกับดูแลด้านผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นกรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจภายใต้ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)[10] และใน วันที่ 5 พฤษภาคม 2564 ได้รับแต่งตั้งเป็น รองผู้อำนวยการศูนย์บูรณาการแก้ไขสถานการณ์โควิด – 19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
หลังเกษียณอายุราชการ
[แก้]ฉัตรชัย พรหมเลิศ ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทยนานถึง 4 ปี (2560-2564) ซึ่งภายหลังเกษียณอายุราชการ ยังคงได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ วันที่ 18 เมษายน 2566 เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เรื่อง ผลการเลือกประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ที่ประชุมมีมติ ให้นายฉัตรชัย พรหมเลิศ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ประธาน ปปง.) ทั้งนี้ การแต่งตั้ง นายฉัตรชัย ถือเป็นการตั้งแทน การลาออกของ พล.ต.ต.ปิยะพันธ์ ปิงเมือง ประธานกรรมการ/กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ที่ได้ยื่นลาออกไป หลังนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ อดีตนักการเมือง และนักธุรกิจ ออกมาตั้งโต๊ะแถลงพาดพิงเกี่ยวกับธุรกิจสีเทาของนายทุนจีน[11]
รวมไปถึงได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่ง คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ผู้ทรงคุณวุฒิ ประเภท(ข) โดย ฉัตรชัย พรหมเลิศ ได้รับคะแนนเลือกตั้งจากนายตำรวจระดับรองผู้กำกับการขึ้นไปทั้งประเทศ ผลปรากฎว่า ฉัตรชัย พรหมเลิศ ได้รับคะแนนเลือกตั้งมาเป็นอันดับที่1[12] ในการเลือก ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิ ประเภท(ข)
ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2566 นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ประธานกรรมการ ปตท. ได้แสดงเจตจำนงต่อที่ประชุมขอลาออกจากการดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ และเพื่อให้การดำเนินงานของ ปตท. สามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ที่ประชุมจึงมีมติแต่งตั้งให้นายฉัตรชัย พรหมเลิศ กรรมการอิสระ เป็นประธานกรรมการ ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค. 2566 เป็นต้นไป[13]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[14]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[15]
- พ.ศ. 2530 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[16]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ง.ภ.)[17]
- พ.ศ. 2552 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[18]
- พ.ศ. 2552 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ‘บิ๊กฉิ่ง’ปัดไม่จริง2ป.สั่งตั้งพรรคการเมืองสำรอง ยันเป็นขรก.36ปีรู้อะไร‘ควร-ไม่ควร’
- ↑ ไฟเขียว’บิ๊กฉิ่ง’สิงห์ดำรุ่น 32 นั่งปลัดมหาดไทย
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนและให้ข้าราชการพลเรือนพ้นจากตำแหน่ง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖ ตอน ๑๕๒ ง พิเศษ หน้า ๑๓ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๒
- ↑ ทุกสีทุกสิงห์ ขานรับว่าที่ “ปลัดฉิ่ง” เหมาะแก่ยุคปรองดอง
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙ ตอน ๑๔๙ ง พิเศษ หน้า ๘ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๕
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (นายฉัตรชัย พรหมเลิศ) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๒๑๒ ง พิเศษ หน้า ๘ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๐
- ↑ https://www.nhso.go.th/files/userfiles/file/2017/005/CV5.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 6/2563
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- ↑ มติคณะรัฐมนตรี 13 สิงหาคม 2563
- ↑ ""ปลัดฉิ่ง" ฉัตรชัย พรหมเลิศ ผงาดประธาน ปปง". bangkokbiznews. 2023-03-09.
- ↑ "'มนู-เอก-วินัย' นำลิ่วเลือกตั้ง ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ ส่วนประเภท (ข) 'ปลัดฉิ่ง' ชนะขาด". https://www.naewna.com.
{{cite web}}
: zero width space character ใน|title=
ที่ตำแหน่ง 66 (help); แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|website=
- ↑ ฐานเศรษฐกิจ (2023-12-22). "ปตท. ตั้ง "ฉัตรชัย พรหมเลิศ" นั่งประธานบอร์ด คุมอาณาจักร 3 ล้านล้าน". thansettakij.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๐๔ ง หน้า ๓๗๑๓, ๒ มิถุนายน ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ให้แก่บุคคลที่ช่วยเหลือผู้ประสบธรณีพิบัติภัย "สึนามิ", เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๙๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๗๘, ๖ มิถุนายน ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๔, ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 1961
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอกาญจนดิษฐ์
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- ปลัดกระทรวงมหาดไทยไทย
- ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี
- บุคคลจากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย
- นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี