พระนาย สุวรรณรัฐ
พระนาย สุวรรณรัฐ ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
ปลัดกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554 – 28 กันยายน พ.ศ. 2555 | |
ก่อนหน้า | วิเชียร ชวลิต |
ถัดไป | วิบูลย์ สงวนพงศ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | ทิพวิภา สุวรรณรัฐ |
พระนาย สุวรรณรัฐ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีตกรรมการในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ อดีตรองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่[1] อดีตประธานคณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น[2] อดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารชายแดนใต้ (ผอ.ศอ.บต.)
ประวัติ[แก้]
พระนาย สุวรรณรัฐ เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 พื้นเพเป็นคนกรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายพ่วง สุวรรณรัฐ[3] อดีตปลัดกระทรวงและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และท่านผู้หญิงประสารสุวรรณ สุวรรณรัฐ เคยตามบิดาซึ่งเป็นข้าหลวงไปปราบโจรสลัดทะเลสาบ เดินทางไปเติบโตที่จังหวัดสงขลา ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2495 หลังจากนั้นจึงได้ย้ายมาศึกษาที่กรุงเทพฯ อีกครั้งในปี พ.ศ. 2500
พระนาย สุวรรณรัฐ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ดังนี้
- ท่านผู้หญิงพรรณวดี จุฑารัตนกุล นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมรสกับนายจเร จุฑารัตนกุล อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์
- นางพิยดา สุวรรณรัฐ ประกอบอาชีพอิสระ สมรสกับนายเฮนริค แลงเฟลด์
- นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี[4] สมรสกับท่านผู้หญิงทัศนียา (โฆวินทะ)
- นางภราไดย สุวรรณรัฐ สมรสกับนายทินกร หิรัญพฤกษ์ ซึ่งมีลูกชายเป็นดารานักแสดง ภูริ หิรัญพฤกษ์
- นายพระนาย สุวรรณรัฐ สมรสกับทิพวิภา กัมปนาทแสนยากร
การศึกษา[แก้]
พระนาย สุวรรณรัฐ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี นิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และระดับปริญญาโท บริหารรัฐกิจ จากมหาวิทยาลัยอินเดียนา สหรัฐอเมริกา ผ่านการอบรมหลักสูตรนายอำเภอ รุ่นที่ 28 จากโรงเรียนนายอำเภอ กรมการปกครอง และหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 4414 (วปรอ.4414)
การทำงาน[แก้]
พระนาย สุวรรณรัฐ เริ่มรับราชการในปี พ.ศ. 2520 เป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สำนักงานจังหวัดเชียงราย เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2522 จากนั้นในปี พ.ศ. 2528 ได้โอนย้ายไปดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครอง) อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี และนายอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่[5] ในปี พ.ศ. 2532
จากนั้น ในปี พ.ศ. 2535 ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2537 เป็นผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และปลัดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2538
ต่อมา ปี พ.ศ. 2540 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดอื่นๆ ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดกระบี่ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2546 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดนนทบุรี และในปี พ.ศ. 2549 เป็นผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
เมื่อปี พ.ศ. 2551 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2554 [6] สืบต่อจากนายวิเชียร ชวลิต
ยศกองอาสารักษาดินแดน[แก้]
- พ.ศ. 2541 ว่าที่นายกองเอก พระนาย สุวรรณรัฐ ได้รับพระราชทานยศแห่งกองอาสารักษาดินแดน เป็น นายกองเอก พระนาย สุวรรณรัฐ[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2551 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2547 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2531 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[10]
- พ.ศ. 2553 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[11]
- พ.ศ. 2548 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 6 เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ท.ภ.)[12]
- พ.ศ. 2545 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[13]
- พ.ศ. 2547 –
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[14]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่
- ↑ พระราชบัญญัติสัญชาติ ฉบับที่5
- ↑ ประวัติพระนาย สุวรรณรัฐจาก ไทยรัฐ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี, เล่ม ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๖๗ ง, ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๔, หน้า ๑
- ↑ ปลัดมหาดไทย เก็บถาวร 2021-04-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากไทยรัฐ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน, เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๑๒๐ ง, ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔, หน้า ๑๐
- ↑ ได้รับพระราชทานยศแห่งกองอาสารักษาดินแดน เป็น นายกองเอก พระนาย สุวรรณรัฐ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๕, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๘, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๑๙๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๕, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๒๒, ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ให้แก่บุคคลที่ช่วยเหลือผู้ประสบธรณีพิบัติภัย "สึนามิ", เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๗๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๓, ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๐, ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐
![]() |
วิกิคำคมมีคำคมเกี่ยวกับ พระนาย สุวรรณรัฐ |
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2494
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ราชสกุลรองทรง
- สกุลสุวรรณรัฐ
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- บุคคลจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ.ว.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ปลัดกระทรวงมหาดไทยไทย
- ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี
- ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยอินดีแอนา
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์