ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์
ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ | |
---|---|
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 17 เมษายน – [10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | สุจินดา คราประยูร |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวลิต ยงใจยุทธ |
หัวหน้าพรรคราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 – 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 | |
ก่อนหน้า | พลเอก มานะ รัตนโกเศศ |
ถัดไป | ยงยุทธ สันทนาประสิทธิ์ |
รองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 5 มีนาคม พ.ศ. 2560 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2499 อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ราษฎร (2531-2538) ประชากรไทย (2538-2540) |
คู่สมรส | นฤมล ศิริวัฒน์ |
ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ หรือ บิ๊กแนต[1] อดีตหัวหน้าพรรคราษฎร และอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และกระทรวงมหาดไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ 5 สมัย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมฮอกกี้แห่งประเทศไทย
ประวัติ
[แก้]ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ (โรมัน: Chaiyapak Siriwat) เกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2499 ที่ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นบุตรคนที่ 1 ในจำนวน 4 คน ของพลเรือตรีชอบ กับนางสุพัตรา (วิจิตรานนท์) ศิริวัฒน์ และเป็นพี่ชายของนายวารุจ ศิริวัฒน์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการตำรวจ จากมหาวิทยาลัยเซนต์เกรกอรี (AS. BS. Police Science – St. Gregory's University) ประเทศสหรัฐอเมริกา และ ปริญญาโท จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ด้านชีวิตรอบครัวสมรสกับนางนฤมล ศิริวัฒน์ สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดอุตรดิตถ์
การทำงาน
[แก้]ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ เริ่มทำงานเป็นเจ้าของธุรกิจหนังสือพิมพ์ซันเดย์นิวส์ และต่อมาจึงได้เข้ามาทำงานการเมือง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดพรรคราษฎร โดยดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค[2][3] ต่อมาได้ลาออกจากพรรคราษฎร [4]และย้ายมาสังกัดพรรคประชากรไทย ในปี พ.ศ. 2538 เกิดกรณีกลุ่มงูเห่าขึ้นในพรรคประชากรไทย ซึ่งนายชัยภักดิ์ ได้ให้การสนับสนุนนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ต่อมาภายหลังการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีแล้ว นายชัยภักดิ์ จึงได้ลาออกจากการเป็น ส.ส.
ในการทำงานการเมืองเคยได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกสุจินดา คราประยูร[5] เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[6]
การกีฬา
[แก้]ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ เป็นนายกสมาคมฮอกกี้แห่งประเทศไทย และยังได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกสหพันธ์ฮอกกี้เอเชีย ให้ดำรงตำแหน่งรองประธานสหพันธ์ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2554 และยังได้รับรางวัลนายกสมาคมฮอกกี้ยอดเยี่ยม ในการประกาศรางวัล AHF อะวอร์ด ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียอีกด้วย[7]
ในปี พ.ศ. 2560 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ""บิ๊กแนต" ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ กรรมการอื่นในคณะกรรมการ[[การกีฬาแห่งประเทศไทย]] (กกท.) นายกสมาคมฮอกกี้แห่งประเทศไทย ยอมรับศึก "กวางโจวเกมส์"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2011-03-01.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคราษฎรเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค
- ↑ ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคราษฎรเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค
- ↑ ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคราษฎรเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
- ↑ "เลือกตั้งสหพันธ์ฮอกกี้เอเชียดุเดือด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2011-03-03.
- ↑ [1][ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2499
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองอุตรดิตถ์
- นักหนังสือพิมพ์ชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดอุตรดิตถ์
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์
- พรรคราษฎร (พ.ศ. 2529)
- นักการเมืองพรรคประชากรไทย
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- คู่สมรสของนักการเมืองไทย
- คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์