ข้ามไปเนื้อหา

ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์)
ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ถวัลย์ใน พ.ศ. 2489
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 8
ดำรงตำแหน่ง
23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
(1 ปี 77 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
รองดิเรก ชัยนาม
เดือน บุนนาค
ก่อนหน้าหลวงประดิษฐ์มนูธรรม(ปรีดี พนมยงค์)
ถัดไปจอมพลผิน ชุณหะวัณ
(หัวหน้าคณะทหารแห่งชาติ)
ตำแหน่งรัฐมนตรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481
(3 ปี 307 วัน)
นายกรัฐมนตรีพระยาพหลพลพยุหเสนา(พจน์ พหลโยธิน)
ก่อนหน้าหลวงประดิษฐ์มนูธรรม(ปรีดี พนมยงค์)
ถัดไปจอมพลป. พิบูลสงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487
(5 ปี 228 วัน)
นายกรัฐมนตรีจอมพลป. พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)
ถัดไปเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)
ดำรงตำแหน่ง
11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
(1 ปี 150 วัน)
นายกรัฐมนตรีปรีดี พนมยงค์
ตนเอง
ก่อนหน้าหลวงชำนาญนิติเกษตร (อุทัย แสงมณี)
ถัดไปหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2490
(0 ปี 114 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าดิเรก ชัยนาม
ถัดไปอรรถกิจ พนมยงค์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ดำรงตำแหน่ง
5 สิงหาคม พ.ศ. 2489 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
(1 ปี 95 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ถวัลย์

21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444
อยุธยา เมืองกรุงเก่า ประเทศสยาม (ปัจจุบัน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย)
เสียชีวิต3 ธันวาคม พ.ศ. 2531 (87 ปี)
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (ปัจจุบัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย)
พรรคการเมืองคณะราษฎร
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
คู่สมรส
  • แฉล้ม
  • ระเบียบ สุมาวงศ์[1]
  • บรรจง สุมาวงศ์[2]
บุตร
  • ฉวีวรรณ
  • เถลิง
  • ธรรมนูญ
  • ระวีวรรณ
  • ธำรงศักดิ์
  • เถกิงศักดิ์
  • นันทวัน
  • วันวิสาข์
บุพการี
  • อู๋ ธารีสวัสดิ์ (บิดา)
  • เงิน ธารีสวัสดิ์ (มารดา)
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัด กองทัพไทย
ยศ พลตรี
พลเรือตรี
พลอากาศตรี
ผ่านศึก

พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ม.ป.ช. ม.ว.ม. อ.ป.ร. ๑ หรือ หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (นามเดิม ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์; 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 — 3 ธันวาคม พ.ศ. 2531) เป็นนายทหารและนักการเมืองชาวไทย ​อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 8 และเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 4 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาระหว่าง 5 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ถึง 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

ประวัติ

[แก้]

ชีวิตตอนต้นและการศึกษา

[แก้]

ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ มีนามเดิมว่า ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 ณ ตำบลหัวรอ อำเภอรอบกรุง (ปัจจุบันคืออำเภอพระนครศรีอยุธยา) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรคนที่สามจากทั้งหมดห้าคนของนายอู๋ กับนางเงิน ธารีสวัสดิ์ มีพี่น้องคือ โต๊ะ คล่องการเขียน, ละเอียด แจ้งยุบล, เชวง ธารีสวัสดิ์ และประเสริฐ ธารีสวัสดิ์[3]

ถวัลย์เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนตัวอย่างประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2453 แล้วลาออกเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2460 ก่อนเข้าศึกษาแผนกครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2460 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 ณ โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2461 ต่อมาได้ฝึกหัดครูเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2461 แต่มิต้องอัธยาศัย จึงสอบเขาศึกษาโรงเรียนนายเรือเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2463[4] และได้ศึกษาวิชากฎหมายจนสำเร็จได้เป็นเนติบัณฑิตไทย ในขณะที่รับราชการอยู่ในกองทัพเรือ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์และราชทินนามเป็น หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์

ครอบครัว

[แก้]

ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ มีภรรยาสามคน และมีบุตรทั้งหมดแปดคน ได้แก่[5]

  1. นางธำรงนาวาสวัสดิ์ นามเดิม แฉล้ม ธารีสวัสดิ์ (เสียชีวิต 12 กรกฎาคม 2480) มีบุตรสามคน คือ
    • ฉวีวรรณ อรรถกระวีสุนทร สมรสกับเหมาะโชค อรรถกระวีสุนทร มีบุตรห้าคน
    • เถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์ สมรสกับนวลนาถ (สกุลเดิม อัชราชทรงสิริ) มีบุตรสามคน
    • ธรรมนูญ ธำรงนาวาสวัสดิ์ สมรสกับวนิดา (สกุลเดิม ศรีวงศ์มูล) มีบุตรสามคน
  2. คุณหญิงระเบียบ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (สกุลเดิม สุมาวงศ์; 22 พฤศจิกายน 2457 – 28 ตุลาคม 2534) มีบุตรสามคน คือ
    • ระวีวรรณ ศักดิ์สุนทร สมรสกับนาวาเอก ศรีรัตน์ ศักดิ์สุนทร มีบุตรสามคน
    • ธำรงศักดิ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
    • เถกิงศักดิ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ สมรสกับปริยนุช (สกุลเดิม สุวรรณศิริ) มีบุตรสามคน
  3. บรรจง ธำรงนาวาสวัสดิ์ (สกุลเดิม สุมาวงศ์) มีบุตรสองคน คือ
    • นันทวัน อัศวนนท์ สมรสกับธัญญลักษณ์ อัศวนนท์ มีบุตรหนึ่งคน
    • วันวิสาข์ วัณโณ สมรสกับวิโชติ วัณโณ มีบุตรสองคน

ชีวิตการเมือง

[แก้]
พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (ซ้าย) ขณะเดินสนทนากับ พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ในงานเปิดสมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2484

พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้เข้าร่วมในการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 โดยตัดสินใจเป็นสมาชิกคณะราษฎรเพียง 1 วันเท่านั้นก่อนการปฏิวัติ จากการชักชวนของ หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) เพื่อนนายทหารเรือด้วยกัน ที่เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารเรือในคณะราษฎร หลังจากที่ได้ทาบทามมาก่อนหน้านั้น โดยมาชักชวนถึงที่บ้านพักในตรอกวัดสามพระยาวรวิหาร บางขุนพรหม ในเวลาเย็น จึงตัดสินใจเข้าร่วมด้วยในขณะนั้น โดยในเวลาประมาณ 03.00 น. ของเช้าวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นวันปฏิวัติ พล.ร.ต.ถวัลย์ ขณะนั้นอยู่ในยศ เรือเอก (ร.อ. ชื่อ ร.น.)ได้ออกจากบ้านพักมาคนเดียวด้วยรถลาก มาที่ท่าราชวรดิฐ ซึ่งเป็นจุดนัดพบตามแผน ซึ่ง พล.ร.ต.ถวัลย์ ได้พกปืนพกขนาด 6.35 มิลลิเมตร (6.35 ม.ม.) พร้อมด้วยกระสุนมาด้วย [6]

จากนั้นเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จแล้ว ได้เริ่มบทบาททางการเมืองโดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 (ส.ส.ประเภทที่ 2) และได้เข้าร่วมในคณะรัฐมนตรี ครั้งแรกในสมัยรัฐบาลของพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เมื่อปี พ.ศ. 2476 และเมื่อปี พ.ศ. 2477 ภายหลังจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ทรงสละราชสมบัติ ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาล ให้เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปกราบบังคมทูลเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ที่ประทับอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 ในราชวงศ์จักรีสืบไป ในปี พ.ศ. 2479 - พ.ศ. 2481 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในสมัยรัฐบาลของ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในสมัยรัฐบาลของ นายปรีดี พนมยงค์

เขาเคยทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าสำนักงานโฆษณาการ (หรือกรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2476[7]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเพิ่มเติม สิงหาคม พ.ศ. 2489 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 4 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

[แก้]
พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ขณะแถลงในรัฐสภา พ.ศ. 2490

พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจาก นายปรีดี พนมยงค์ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ในช่วงที่เข้ารับตำแหน่งนั้น ประเทศอยู่ในภาวะหลังสงคราม เศรษฐกิจของประเทศกำลังทรุดหนัก พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้แก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจด้วยการจัดตั้ง องค์การสรรพาหาร ขึ้น โดยการซื้อของแพงมาขายถูกให้แก่ประชาชนเพื่อตรึงราคาสินค้าไม่ให้สูง และเรียกเก็บธนบัตรที่ฝ่ายสัมพันธมิตรนำเข้ามาใช้จ่ายจากประชาชนด้วยการออกธนบัตรใหม่ให้แลก รวมทั้งนำเอาทองคำซึ่งเป็นทุนสำรองของชาติออกขายแก่ประชาชน และจากเหตุการณ์นี้ทางรัฐบาลและรวมทั้งตัวนายกรัฐมนตรีถูกกล่าวหาว่ามีส่วนรู้เห็นในการส่งข้าวออกขายนอกประเทศ โดยนำข้าวชั้นดีไปขายเหลือแต่เพียงข้าวหักสำหรับเลี้ยงสัตว์ไว้ให้ประชาชนบริโภคเองในประเทศ รวมถึงการคอร์รัปชั่นประการต่าง ๆ ในรัฐบาล ทำให้ฝ่ายค้านโดย พรรคประชาธิปัตย์เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจยาวนานถึง 7 วัน 7 คืน ติดต่อกัน ซึ่งเป็นการอภิปรายครั้งแรกด้วยที่มีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุ แม้จะได้รับเสียงส่วนมากไว้วางใจ แต่กระแสกดดันที่รุนแรงทำให้ท่านต้องลาออกในวันรุ่งขึ้น และได้รับเลือกกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อทันที [8]

ซึ่งสถานการณ์บ้านเมืองในเวลานั้น มีความแตกแยกกันเองในหมู่นักการเมือง และประชาชนค่อนข้างมากหลัง เหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8 และเหตุอื่น ๆ บทบาทของท่านในช่วงนี้ คือ การเจรจาทำความเข้าใจกันของทั้งสองฝ่าย เพื่อประสานรอยร้าว จนได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า "นายกฯลิ้นทอง" แต่สถานการณ์ก็ไม่ดีขึ้นจนนำไปสู่การรัฐประหารในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490[9]

หลังรัฐประหารแล้ว ท่านต้องเดินทางออกนอกประเทศไปลี้ภัยอยู่ที่ฮ่องกงระยะหนึ่ง แล้วจึงกลับประเทศไทย และได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หลังจากนั้นใช้ชีวิตอย่างสงบเงียบต่อมา พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2531โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า รวมอายุได้ 87 ปี พระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2532 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส นับเป็นทหารเรือคนแรกและคนเดียวจนถึงปัจจุบัน ที่ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ยศ

[แก้]

ยศทหาร

[แก้]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2472 - เรือเอก[10]
  • พ.ศ. 2481 นาวาเอก[11]
  • พ.ศ. 2486 พันเอก[12]
  • พ.ศ. 2486 พลตรี, พลเรือตรี[13] และ นาวาอากาศเอก[14]

ตำแหน่งทางวิชาการ

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘, ตอน ๐ ง, ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔, หน้า ๒๙๔๒
  2. "ประวัติพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-16. สืบค้นเมื่อ 2009-05-05.
  3. สิริ เปรมจิตต์. ชีวิตและงาน ของพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 8 ของไทย. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร, 2532, หน้า 2
  4. สิริ เปรมจิตต์. ชีวิตและงาน ของพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 8 ของไทย. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร, 2532, หน้า 3
  5. สิริ เปรมจิตต์. ชีวิตและงาน ของพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 8 ของไทย. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร, 2532, หน้า 18-19
  6. นายหนหวย. ทหารเรือปฏิวัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, พฤศจิกายน 2555 (พิมพ์ครั้งที่ 3). 124 หน้า. ISBN 9789740210252
  7. "หน้าที่รักษาการหัวหน้าสำนักงานโฆษณาการ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-12-11. สืบค้นเมื่อ 2020-04-07.
  8. ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554. กรุงเทพฯ : โพสต์พับลิชชิง, 2554. 355 หน้า. ISBN 978-974-228-070-3
  9. นายกฯลิ้นทอง โดย กิเลนประลองเชิง จากไทยรัฐ
  10. พระราชทานยศ (หน้า ๗)
  11. พระราชทานยศนาวาเอก
  12. พระราชทานยศพันเอก
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาน, เล่ม 60 ตอนที่ 48 ง หน้า 2918, 17 กันยายน 2486
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาน, เล่ม 60 ตอนที่ 4 ง หน้า 282, 19 มกราคม 2486
  15. "ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์แห่งธรรมศาสตร์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-04. สืบค้นเมื่อ 2018-08-04.
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๒๙๒๐, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๖
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2011-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๔๖, ๑๙ มิถุนายน ๒๔๘๔
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๔ ง หน้า ๘๔, ๑๑ มกราคม ๒๔๘๗
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๓๙, ๒๑ เมษายน ๒๔๗๘
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๔๘, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๙๕๑, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๗
  22. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๖๔ ตอนที่ ๖๑ ง หน้า ๓๓๗๔, ๑๖ ธันวาคม ๒๔๙๐
  23. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๖๐, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 58 หน้า 1764, 10 มิถุนายน 2484
ก่อนหน้า ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ถัดไป
ปรีดี พนมยงค์
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
(23 สิงหาคม พ.ศ. 24898 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490)
ควง อภัยวงศ์
หลวงชำนาญนิติเกษตร
(อุทัย แสงมณี)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
สมัยที่ 2

(11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490)
หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช
เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ
(จิตร์ ณ สงขลา)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
สมัยที่ 1

(16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487)
เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ
(จิตร์ ณ สงขลา)
ดิเรก ชัยนาม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2490)
หลวงอรรถกิติกำจร
(อรรถกิจ พนมยงค์)
ปรีดี พนมยงค์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481)
แปลก พิบูลสงคราม
ประยูร ภมรมนตรี
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
(11 กรกฎาคม พ.ศ. 2476 - 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478)
ดิเรก ชัยนาม