นิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์
นิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์ | |
---|---|
![]() | |
รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 23 มีนาคม พ.ศ. 2547 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2549 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 สิงหาคม พ.ศ. 2482 (81 ปี) |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ |
ศาสนา | พุทธ |
นิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ 3 สมัย พรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 และอดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดอ่างทอง
ประวัติ[แก้]
นิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์ เกิดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2482 เป็นชาวจังหวัดอ่างทอง จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนป่าโมกวิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง และโรงเรียนอำนวยศิลป์ ธนบุรีตามลำดับ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และระดับปริญญาโท สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
การทำงาน[แก้]
เคยเป็นเลขาธิการพรรคประชาธรรม (พ.ศ. 2517) เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2518[1] ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ถึง พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคชาติไทย และเป็นสมาชิกวุฒิสภา[2] ในระหว่างปี พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2543 และเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดอ่างทองที่มาจากการเลือกตั้งชุดแรก ในระหว่างปี พ.ศ. 2543 ถึง พ.ศ. 2549 และได้รับตำแหน่งรองประธานวุฒิสภา คนที่ 1
ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และเป็น ส.ส.สัดส่วน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[3] และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ[4] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. อีกด้วย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2540 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาประมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2537 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม.)[6]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ แจ้งความกระทรวงพาณิขย์ เรื่อง การแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๐ จำนวน ๔,๗๙๙ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ชั้นสายสะพาย สมาชิกวุฒิสภา เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๗)
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2482
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดอ่างทอง
- นักการเมืองไทย
- รองประธานวุฒิสภาไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดอ่างทอง
- พรรคประชาธรรม (พ.ศ. 2517)
- พรรคกิจสังคม
- พรรคชาติไทย
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- พรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนอำนวยศิลป์
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.