เฉลิม พรหมเลิศ
เฉลิม พรหมเลิศ | |
---|---|
รองประธานวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 1 สิงหาคม พ.ศ. 2543 – 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 มีนาคม พ.ศ. 2479 |
นายเฉลิม พรหมเลิศ อดีตรองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 และสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี[1] เขาถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 36 ปี ในคดีเกี่ยวกับการซื้อบริการจากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี (คดีพรากผู้เยาว์) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพักโทษ
ประวัติ[แก้]
นายเฉลิม พรหมเลิศ เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2479 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาโท ทางด้านการปกครอง จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ และปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาส่งเสริมการเกษตร จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การทำงาน[แก้]
เฉลิม พรหมเลิศ รับราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ภูเก็ต สมุทรสาคร เป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2536 เป็นเลขาธิการสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท หลังเกษียณอายุราชการ ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ชุดปี พ.ศ. 2539 ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งแรกในประเทศไทย พ.ศ. 2543 และได้รับเลือกเป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 ต่อมาจึงได้ลาออกเนื่องจากถูกกล่าวว่าซื้อบริการจากเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2543
กรณีต้องโทษในคดีอาญา[แก้]
นายเฉลิม พรหมเลิศ ถูกกล่าวหาว่าซื้อบริการทางเพศจากเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2543 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2550 ศาลฎีกา มีคำพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ให้จำคุกนายเฉลิม 36 ปี[2] และถูกจำคุกที่เรือนจำกลางคลองเปรม ต่อมาได้รับการพระราชทานอภัยโทษให้คงเหลือโทษจำคุก 5 ปี
ในปี พ.ศ. 2556 เขาได้รับการพักโทษ เนื่องจากเข้าหลักเกณฑ์จำคุกเกิน 2 ใน 3 และเป็นนักโทษชรา[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
นายเฉลิม พรหมเลิศ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด
- พ.ศ. 2534 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2531 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2540 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[6]
- พ.ศ. 2537 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1 (ส.ช.)[7]
- พ.ศ. 2530 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[8]
- พ.ศ. 2532 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[9]
- พ.ศ. 2520 –
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[10]
เนื่องจากถูกศาลฎีกาพิพากษาจำคุก จึงถูกเรียกคืน เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553[11]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ วุฒิสภา ชุดที่ ๘ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๓)[ลิงก์เสีย]
- ↑ จำคุก"เฉลิม พรหมเลิศ" เจอหนัก36ปี "ศาลฎีกา"พิพากษายืน
- ↑ พักโทษ!'เฉลิม พรหมเลิศ'เข้าเกณฑ์ชรา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๓, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๒, ๙ พฤษภาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๖๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๑ เมษายน ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๒๗, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓
- ↑ รายพระนามและนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๐ จากเว็บไชต์ thaiscouts
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (นายเฉลิม พรหมเลิศ)
- สมาชิกเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2479
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักโทษของประเทศไทย
- บุคคลจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รองประธานวุฒิสภาไทย
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสุราษฎร์ธานี
- นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้
- สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย
- ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน
- ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
- ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร