อำเภอเมืองเชียงใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอเมืองเชียงใหม่
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mueang Chiang Mai
ทิวทัศน์บริเวณถนนห้วยแก้ว พ.ศ. 2565
ทิวทัศน์บริเวณถนนห้วยแก้ว พ.ศ. 2565
คำขวัญ: 
ดอยสุเทพศูนย์รวมใจ อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยรวมศรัทธา ภูพิงค์สูงเสียดฟ้า ศูนย์ล้านนาในอดีต ประเพณีจารีตน่าชื่นชม งามสวยสมน้ำแม่ปิง
แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ เน้นอำเภอเมืองเชียงใหม่
แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ เน้นอำเภอเมืองเชียงใหม่
พิกัด: 18°47′25″N 98°59′4″E / 18.79028°N 98.98444°E / 18.79028; 98.98444
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงใหม่
พื้นที่
 • ทั้งหมด152.4 ตร.กม. (58.8 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด226,855 คน
 • ความหนาแน่น1,488.55 คน/ตร.กม. (3,855.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 50000,
50100 (เฉพาะตำบลหายยา ตำบลช้างคลาน ตำบลแม่เหียะ และตำบลป่าแดด),
50200 (เฉพาะตำบลศรีภูมิ ตำบลพระสิงห์ และตำบลสุเทพ),
50300 (เฉพาะตำบลช้างม่อย ตำบลช้างเผือก ตำบลป่าตัน และตำบลสันผีเสื้อ)
รหัสภูมิศาสตร์5001
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงใหม่ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำเภอเมืองเชียงใหม่ (คำเมือง: Lanna-Mueang Chiang Mai.png เมืองเจียงใหม่) เป็นศูนย์กลางการคมนาคม การปกครอง การศึกษา การแพทย์ การท่องเที่ยว และวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ นับเป็นอำเภอที่มีความเจริญมากที่สุดของจังหวัดและของภาคเหนือ อำเภอเมืองเชียงใหม่มีเขตนครเชียงใหม่และปริมณฑลล้อมรอบ ครอบคลุมพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหางดง อำเภอสันกำแพง อำเภอสารภี อำเภอแม่ริม อำเภอสันทราย และอำเภอดอยสะเก็ด [1] โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่ราว 1,197,931 คน และเป็นเมือง (ภาษาอังกฤษ: Urban area) ที่มีประชากรเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทย[2]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอเมืองเชียงใหม่ตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัดเชียงใหม่ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอเมืองเชียงใหม่แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 16 ตำบล 78 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ อักษรไทย ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด
(พ.ศ. 2561) [3]
ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น
(พ.ศ. 2561) [3]
1. ศรีภูมิ Lanna-Tambon Si Phum.png Si Phum 14,491 14,491 (ทน. เชียงใหม่)
2. พระสิงห์ Lanna-Tambon Phra Sing.png Phra Sing 6,850 6,850 (ทน. เชียงใหม่)
3. หายยา Lanna-Tambon Hai Ya.png Haiya 12,664 12,664 (ทน. เชียงใหม่)
4. ช้างม่อย Lanna-Tambon Chang Moi.png Chang Moi 8,526 8,526 (ทน. เชียงใหม่)
5. ช้างคลาน Lanna-Tambon Chang Khlan.png Chang Khlan 13,909 13,909 (ทน. เชียงใหม่)
6. วัดเกต Lanna-Tambon Wat Ket.png Wat Ket 19,753 19,753 (ทน. เชียงใหม่)
7. ช้างเผือก Lanna-Tambon Chang Phueak.png Chang Phueak 5 25,283 13,892
9,154
2,237
(ทน. เชียงใหม่)
(ทต. ช้างเผือก)
(อบต. ช้างเผือก)
8. สุเทพ Lanna-Tambon Suthep.png Suthep 15 29,764 12,619
17,145
(ทน. เชียงใหม่)
(ทต. สุเทพ)
9. แม่เหียะ Lanna-Tambon Mae Hia.png Mae Hia 10 19,297 19,297 (ทม. แม่เหียะ)
10. ป่าแดด Lanna-Tambon Pa Daet.png Pa Daet 13 19,041 1,678
17,363
(ทน. เชียงใหม่)
(ทต. ป่าแดด)
11. หนองหอย Lanna-Tambon Nong Hoi.png Nong Hoi 7 14,127 6,310
7,817
(ทน. เชียงใหม่)
(ทต. หนองหอย)
12. ท่าศาลา Lanna-Tambon Tha Sala.png Tha Sala 5 12,615 5,875
6,740
(ทน. เชียงใหม่)
(ทต. ท่าศาลา)
13. หนองป่าครั่ง Lanna-Tambon Nong Pa Khlang.png Nong Pa Khrang 7 8,868 1,591
7,277
(ทน. เชียงใหม่)
(ทต. หนองป่าครั่ง)
14. ฟ้าฮ่าม Lanna-Tambon Fa Ham.png Fa Ham 7 7,671 956
6,715
(ทน. เชียงใหม่)
(ทต. ฟ้าฮ่าม)
15. ป่าตัน Lanna-Tambon Pa Tan.png Pa Tan 10,422 10,422 (ทน. เชียงใหม่)
16. สันผีเสื้อ Lanna-Tambon San Phi Suea.png San Phisuea 9 11,589 11,589 (ทต. สันผีเสื้อ)
รวม 78 234,870 129,536 (เทศบาลนครเชียงใหม่)
103,097 (เทศบาลอื่น ๆ)
2,237 (อบต.)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ประชากรอำเภอเมืองเชียงใหม่แบ่งตามปี
ปีประชากร±%
2545 247,672—    
2548 242,974−1.9%
2551 238,332−1.9%
2554 235,600−1.1%
2557 234,244−0.6%
2560 234,649+0.2%
2561 234,870+0.1%
2562 233,632−0.5%
2563 229,063−2.0%
2564 226,855−1.0%
อ้างอิง: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[3]

ท้องที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลนครเชียงใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีภูมิ พระสิงห์ หายยา ช้างม่อย ช้างคลาน วัดเกต และป่าตันทั้งตำบล และยังครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลช้างเผือก สุเทพ ป่าแดด หนองหอย ท่าศาลา หนองป่าครั่ง และฟ้าฮ่าม
  • เทศบาลเมืองแม่เหียะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่เหียะทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลช้างเผือก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลช้างเผือก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลนครเชียงใหม่และองค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก)
  • เทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองป่าครั่ง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลนครเชียงใหม่)
  • เทศบาลตำบลท่าศาลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าศาลา (เฉพาะนอกเขตเทศบาลนครเชียงใหม่)
  • เทศบาลตำบลสุเทพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสุเทพ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลนครเชียงใหม่)
  • เทศบาลตำบลป่าแดด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าแดด (เฉพาะนอกเขตเทศบาลนครเชียงใหม่)
  • เทศบาลตำบลหนองหอย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหอย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลนครเชียงใหม่)
  • เทศบาลตำบลฟ้าฮ่าม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฟ้าฮ่าม (เฉพาะนอกเขตเทศบาลนครเชียงใหม่)
  • เทศบาลตำบลสันผีเสื้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันผีเสื้อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลช้างเผือก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลนครเชียงใหม่และเทศบาลตำบลช้างเผือก)

การคมนาคม[แก้]

อำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางคมนาคมของจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือของประเทศไทย เป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ สถานีขนส่งผู้โดยสารเชียงใหม่ และสถานีรถไฟเชียงใหม่

ถนนสายหลักที่มีจุดเริ่มต้น ณ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เชียงใหม่ - ลำปาง) ช่วงแยกรินคำ - แยกดอนจั่น เป็นส่วนหนึ่งของถนนวงแหวนรอบที่ 1 เมืองเชียงใหม่ ขนาด 8 - 10 ช่องจราจร / ช่วงแยกดอนจั่น - ลำพูน มีขนาด 6 ช่องจราจร
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 (เชียงใหม่ - แม่จัน) เริ่มต้นจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ มุ่งหน้าทางทิศเหนือสิ้นสุดที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ช่วงแยกข่วงสิงห์ - อำเภอแม่แตง มีขนาด 4 ช่องจราจร
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 (เชียงใหม่ - แม่ฮ่องสอน) เริ่มต้นจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ มุ่งหน้าทางทิศใต้ สิ้นสุดที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ช่วงแยกสนามบิน - อำเภอหางดง มีขนาด 6 ช่องจราจร
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 118 (เชียงใหม่ - เชียงราย ) เริ่มต้นจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ มุ่งหน้าทางทิศตะวันออก สิ้นสุดที่จังหวัดเชียงราย ช่วงแยกศาลเด็ก - แยกแม่กวง มีขนาด 8 ช่องจราจร
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 121 (ถนนวงแหวนรอบที่ 3 เมืองเชียงใหม่) เป็นถนนรอบเมืองเชียงใหม่ขนาด 4 - 6 ช่องจราจร
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1001 (เชียงใหม่ - พร้าว) เริ่มต้นจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ มุ่งหน้าทางทิศตะวันออก สิ้นสุดที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ช่วงแยกแม่โจ้ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีขนาด 4 - 8 ช่องจราจร
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1006 (เชียงใหม่ - สันกำแพง สายเก่า) เริ่มต้นจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ มุ่งหน้าทางทิศตะวันออก สิ้นสุดที่อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1317 (เชียงใหม่ - สันกำแพง สายใหม่) เริ่มต้นจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ มุ่งหน้าทางทิศตะวันออก สิ้นสุดที่อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ช่วงแยกดอนจั่น - อำเภอสันกำแพง มีขนาด 4 ช่องจราจร
  • ถนนเชียงใหม่ - ลำพูนสายเก่า (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 เดิม) เริ่มต้นจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ มุ่งหน้าทางทิศใต้ สิ้นสุดที่อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน มีขนาด 2 ช่องจราจร
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1141 (ดอนจั่น - เชียงใหม่) เป็นส่วนหนึ่งของถนนวงแหวนรอบที่ 1 เมืองเชียงใหม่ ขนาด 6 ช่องจราจร
  • ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี (ถนนวงแหวนรอบที่ 2 เมืองเชียงใหม่) หรือทางหลวงชนบท ชม.3029 เป็นถนนรอบเมืองเชียงใหม่ ขนาด 6 ช่องจราจร

ทางราง[แก้]

สถานที่สำคัญ[แก้]

ทัศนียภาพอำเภอเมืองเชียงใหม่จากดอยสุเทพ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565
ตลาดวโรรส (กาดหลวง)

ตลาด[แก้]

  • กาดหลวง (ตลาดใหญ่)
    • ตลาดวโรรส
    • ตลาดต้นลำไย
    • ตลาดเมืองใหม่
  • (ตลาดเล็ก)
    • ตลาดต้นพยอม (ตลาดสุเทพ)
    • ตลาดหนองหอย
    • ตลาดสันป่าข่อย
    • ตลาดบริบูรณ์
    • ตลาดประตูก้อม (กาดก้อม)
    • ตลาดคำเที่ยง
    • ตลาดประตูเชียงใหม่
    • ตลาดศิริวัฒนา (กาดธานินทร์)
    • ตลาดสมเพชร

กำแพงเมือง[แก้]

ดูบทความหลักที่: กำแพงเมืองเชียงใหม่

สถานกงสุล[แก้]

อำเภอเมืองเชียงใหม่มีสถานกงสุลประจำจังหวัดเชียงใหม่ทั้งหมด 16 แห่ง ได้แก่

สะพาน[แก้]

ภาพพาโนรามาของตัวเมืองเชียงใหม่ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2553

สถานศึกษา[แก้]

โรงเรียน[แก้]

วิทยาลัย / มหาวิทยาลัย[แก้]

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

  • กลุ่มดนตรีซล้อซอซึง
  • ขุนช้างเคี่ยน
  • คุ้มขันโตก
  • คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
  • เจเจ มาร์เก็ต เชียงใหม่
  • ชุมชนวัดเกต
  • เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
  • ดอยขุนแม่ยะ
  • ดอยปุย
  • ถนนคนเดิน
  • ถนนนิมมานเหมินทร์
  • ท่าเทียบเรือโดยสาร
  • น้ำตกตาดหมาไห้
  • น้ำตกมณฑาธาร หรือ น้ำตกสันป่ายาง
  • น้ำตกห้วยแก้ว
  • ไนท์บาซาร์
  • บ้านดอยปุย
  • บ้านม้ง (แม้ว)-ดอยปุย
  • พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์
  • พิพิธภัณฑ์เครื่องถ้วยจอห์น แอนแพทซอว์
  • พิพิธภัณฑ์โครงการศึกษาเครื่องปั้นดินเผา ภาควิชาประวัติศาสตร์
  • พิพิธภัณฑ์ชาวเขา
  • พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากร เชียงใหม่
  • พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่
  • พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ
  • พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา ภาควิชาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พิพิธภัณฑ์บ้านคำอูน
  • พิพิธภัณฑ์บ้านบานเย็น
  • พิพิธภัณฑ์บ้านแฮรีส โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
  • พิพิธภัณฑ์ประวัติคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านล้านนา เรือนซ้อ-หงส์
  • พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณสบันงา
  • พิพิธภัณฑ์แมลงและมรดกธรรมชาติ
  • พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณ
  • พิพิธภัณฑ์วัดเกตการาม
  • พิพิธภัณฑ์วัดบุพพาราม (หอมนเฑียรธรรม)
  • พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุดอยสุเทพวรมหาวิหาร
  • พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเชียงใหม่
  • พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์เชียงใหม่
  • พิพิธภัณฑ์หมู่บ้านชาวเขาดอยปุย
  • พิพิธภัณฑ์การศึกษาโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ
  • ร้านม่อนฝ้าย
  • เรือนข้าเจ้า
  • เรือนอนุสารสุนทร
  • โรงงานไทยศิลาดล
  • โรงงานนมห้วยแก้ว
  • โรงพยาบาลบรรเทาทุกข์โบราณภาคเหนือ
  • วัดกู่เต้า
  • วัดขะจาว
  • วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
  • วัดเจดีย์เหลี่ยมหรือวัดเจดีย์กู
  • วัดเจ็ดยอด
  • วัดช่างฆ้อง
  • วัดเชียงมั่น
  • วัดต้นปิน
  • วัดตำหนัก
  • วัดท่ากระดาษ
  • วัดท่าข้าม
  • วัดบวกครกหลวง
  • วัดบุพพาราม
  • วัดปราสาท
  • วัดป่าแดงมหาวิหาร
  • วัดป่าเป้า
  • วัดพระธาตุดอยคำ
  • วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
  • วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
  • วัดพวกหงส์
  • วัดพันเตา
  • วัดโพธารามมหาวิหาร
  • วัดร่ำเปิ่ง (ตโปธาราม)
  • วัดลังกา
  • วัดศรีบุญเรือง
  • วัดศรีสุพรรณ
  • วัดศรีโสดา
  • วัดสวนดอกหรือวัดบุปผาราม
  • วัดสวนพริก
  • วัดสันทรายต้นกอก
  • วัดแสนฝาง
  • วัดอุโบสถ
  • วัดอุปคุต
  • วัดอุโมงค์เถรจันทร์
  • วัดอู่ทรายคำ
  • เวียงกุมกาม
  • ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติฯ
  • ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนป่าแดด (วัดวังสิงห์คำ)
  • ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยพายัพ
  • ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ศูนย์ศิลปะการแสดงกาดสวนแก้ว
  • ศาลาธนารักษ์ ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญกษาปณ์ไทย
  • สถาบันล้านนาศึกษา
  • สวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549
  • สวนรุกขชาติห้วยแก้ว
  • สวนสัตว์เชียงใหม่
  • เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
  • เสาอินทขิลหรือเสาหลักเมือง
  • หมู่บ้านทำเครื่องเงิน
  • หอธรรมโฆษณ์ วัดอุโมงค์
  • หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (หอศิลป์ปิ่นมาลา)
  • หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่
  • ห้องพิพิธภัณฑ์ โรงเรียนหอพระ
  • อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย
  • อนุสาวรีย์เจ้ากาวิละ
  • อาสนวิหารพระหฤทัย
  • เฮือนแก้ว โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

อ้างอิง[แก้]

  1. https://download.asa.or.th/03media/04law/cpa/mr56-cm.pdf กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๕ หน้า 32 (ราชกิจจานุเบกษา)
  2. "Chiang Mai, Thailand Metro Area Population 1950-2022". www.macrotrends.net.
  3. 3.0 3.1 3.2 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน พ.ศ. 2561 จังหวัดเชียงใหม่ กรมการปกครอง

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]