อำเภอทับสะแก
อำเภอทับสะแก | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Thap Sakae |
คำขวัญ: พ่อปู่ทองมนต์ขลัง น้ำตกดัง ทะเลใส มะพร้าวใหญ่ น้ำปลาดี | |
แผนที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เน้นอำเภอทับสะแก | |
พิกัด: 11°30′0″N 99°37′18″E / 11.50000°N 99.62167°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ประจวบคีรีขันธ์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 538.0 ตร.กม. (207.7 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 49,550 คน |
• ความหนาแน่น | 92.10 คน/ตร.กม. (238.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 77130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 7703 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอทับสะแก หมู่ที่ 4 ถนนสุขาภิบาล ซอย 1 ตำบลทับสะแก อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77130 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ทับสะแก เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง และอุทยานแห่งชาติหาดวนกร
ประวัติ
[แก้]กิ่งอำเภอทับสะแก อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้รับการประกาศจัดตั้งจากกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 โดยมีผลในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2481 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481[1]
กิ่งอำเภอทับสะแก อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้รับการประกาศจัดตังเป็น อำเภอทับสะแก เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2501[2]
ที่มาของชื่อ ทับสะแก มีเรื่องเล่ากันว่า เดิมมีตาปะขาวไม่ทราบชื่อว่าเป็นใครมาจากไหน ได้เข้ามาทำสวนบริเวณนี้เป็นคนแรก ต่อมามีผู้เดินทางมาจากที่ต่าง ๆ ปรากฏชื่อว่า ชื่อนายแทน นายคง ขุนด่านเจาะ ขวัญแก้ว ขวัญเมือง เข้ามาตั้งถิ่นฐานใกล้เคียงกับตาปะขาว เกิดชุมชนขึ้น แต่ไม่มีใครรู้จักชื่อตาปะขาว จึงเรียกกันว่า ตาแก่ และเรียกบ้านที่ตั้งของตาปะขาวว่า ทับตาแก่ ต่อมาได้เรียกเพี้ยนกันไป จนกลายมาเป็น "ทับสะแก"[3]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอทับสะแกตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์
- ทิศตะวันออก จรดอ่าวไทย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางสะพาน
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับภาคตะนาวศรี (ประเทศพม่า)
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอทับสะแกแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 ตำบล 65 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[4] |
---|---|---|---|---|
1. | ทับสะแก | Thap Sakae | 11
|
10,246
|
2. | อ่างทอง | Ang Thong | 11
|
6,862
|
3. | นาหูกวาง | Na Hukwang | 13
|
2,179
|
4. | เขาล้าน | Khao Lan | 11
|
3,263
|
5. | ห้วยยาง | Huai Yang | 13
|
11,151
|
6. | แสงอรุณ | Saeng Arun | 6
|
11,178
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอทับสะแกประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลทับสะแก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลทับสะแกและตำบลเขาล้าน
- องค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทับสะแก (นอกเขตเทศบาลตำบลทับสะแก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลอ่างทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอ่างทองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาหูกวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาหูกวางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาล้าน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาล้าน (นอกเขตเทศบาลตำบลทับสะแก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยยางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแสงอรุณ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแสงอรุณทั้งตำบล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอทับสะแก ขึ้นอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เก็บถาวร 2012-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๕ คอนที่ ๐ ง ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ หน้าที่ ๓๘๗๘
- ↑ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอกระสัง อำเภอกระนวน อำเภอบางกอกใหญ่ อำเภอขุนหาร อำเภอพนา อำเภอปากช่อง อำเภอวังเหนือ อำเภอวังชิ้น อำเภอแม่ทา อำเภอหนองหมู อำเภอสระแก้ว อำเภออมก๋อย อำเภอบางซ้าย อำเภอทับสะแก อำเภอบุณฑริก อำเภอลานสะกา อำเภอจอมบึง อำเภอท่ายาง อำเภอสามเงา อำเภอฟากท่า อำเภอบ้านเขว้า อำเภอชานุมาน อำเภอแม่พริก อำเภอท่าสองยาง อำเภอสะเมิง อำเภอหนองแขม และอำเภอพระแสง พ.ศ. ๒๕๐๑ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เก็บถาวร 2012-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่มที่ ๗๕ ตอนที่ ๕๕ ก วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ หน้าที่ ๓๒๑
- ↑ "ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม 2" (PDF). กรมศิลปากร. p. 87.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อำเภอทับสะแก