สมชาย วงศ์สวัสดิ์
สมชาย วงศ์สวัสดิ์ | |
---|---|
สมชาย ใน พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 26 | |
ดำรงตำแหน่ง 18 กันยายน พ.ศ. 2551[1] – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (0 ปี 75 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
รอง | |
ก่อนหน้า | สมัคร สุนทรเวช |
ถัดไป | ชวรัตน์ ชาญวีรกูล (รักษาการ) |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 24 กันยายน พ.ศ. 2551 (0 ปี 231 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (0 ปี 69 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ตนเอง |
ก่อนหน้า | สมัคร สุนทรเวช |
ถัดไป | ประวิตร วงษ์สุวรรณ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 24 กันยายน พ.ศ. 2551 (0 ปี 231 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช |
ก่อนหน้า | วิจิตร ศรีสอ้าน |
ถัดไป | ศรีเมือง เจริญศิริ |
รักษาการหัวหน้าพรรคพลังประชาชน | |
ดำรงตำแหน่ง 30 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (0 ปี 63 วัน) | |
ก่อนหน้า | สมัคร สุนทรเวช (หัวหน้าพรรค) |
ถัดไป | ยงยุทธ วิชัยดิษฐ (หัวหน้าพรรคเพื่อไทย) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 สิงหาคม พ.ศ. 2490 อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | อิสระ |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2554–2561, 2564–2567) เพื่อธรรม (2561–2563) |
คู่สมรส | เยาวภา ชินวัตร |
บุตร | |
บุพการี |
|
ศิษย์เก่า | |
ลายมือชื่อ | |
สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 31 สิงหาคม พ.ศ. 2490) เป็นนักการเมืองชาวไทย นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 26[2][3] เคยเป็นรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้พิพากษา ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงแรงงาน ในขณะที่สมชายดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นเขาไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในทำเนียบรัฐบาล เพราะพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังคงยึดพื้นที่ไว้ตั้งแต่ในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช และได้ใช้สนามบินดอนเมืองเป็นที่ทำการแทน
ประวัติ
[แก้]สมชาย วงศ์สวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2490 ที่ตำบลสวนขัน อำเภอฉวาง (ปัจจุบันคือ อำเภอช้างกลาง[4]) จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของเจิมและดับ วงศ์สวัสดิ์ สมรสกับเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งเป็นน้องสาวของทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่ 23[5]
มีบุตร 3 คน คือ
- ศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ (เชน) รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล สมรสกับ นันทกานต์ บุตรสาวของวิโรจน์ และภาวิณี ศิลป์เสวีกุล เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2558
- ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ (เชียร์) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ เขต 1
- ชยาภา วงศ์สวัสดิ์ (เชอรี่) สมรสกับ นัม ลีนาล เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานคณะรัฐมนตรีกัมพูชา เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
การศึกษา
[แก้]สำเร็จการศึกษาชั้นต้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ชั้นมัธยมจากโรงเรียนอำนวยศิลป์[6] สำเร็จนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2513 ต่อมาปี 2516 เข้าศึกษาต่อเนติบัณฑิตไทย (นบท.) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เมื่อ 2539 ปริญญาบัตร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 38 และในปี 2545 รัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
ในปี พ.ศ. 2555 ได้รับพระราชทานปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (การจัดการ) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
การงาน
[แก้]หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วสอบบรรจุเข้าเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา กระทรวงยุติธรรม เมื่อ พ.ศ. 2517 ต่อมาได้เป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาประจำกระทรวง พ.ศ. 2518 ผู้พิพากษาศาลแขวงเชียงใหม่ พ.ศ. 2519 จากนั้นได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2520 แล้วจึงย้ายไปเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2526 จากนั้นย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพังงา พ.ศ. 2529 ต่อมาได้เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดระยอง พ.ศ. 2530 ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2531 ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2532 ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญาธนบุรี พ.ศ. 2533 เลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 พ.ศ. 2536 ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 2 พ.ศ. 2540
ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้นเป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ฝ่ายวิชาการ พ.ศ. 2541 หลังจากนั้นได้ย้ายไปเป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ฝ่ายบริหาร พ.ศ. 2542 หลังจากนั้นได้เลื่อนตำแหน่งสูงสุดเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม 11 พ.ย. 2542 หลังจากนั้นจึงย้ายไปเป็นปลัดกระทรวงแรงงาน 8 มีนาคม 2549 และได้ลาออกจากราชการในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550
นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขานิติศาสตร์ พ.ศ. 2542–2549
- กรรมการเนติบัณฑิตยสภา
- ประธานคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ
- กรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
- กรรมการบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
- กรรมการธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)[7]
- กรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
- กรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
- กรรมการบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
- กรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)
- กรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.)
- กรรมการคณะกรรมการกฤษฎีกา
- กรรมการคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.)
- กรรมการคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)
- กรรมการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)
- กรรมการคณะกรรมการอัยการ (กอ.)
- กรรมการคณะกรรมการตุลาการ
- กรรมการคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารแห่งชาติ
- กรรมการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
การดำรงตำแหน่งทางการเมือง
[แก้]ในปี พ.ศ. 2550 เป็นรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 ได้รับเลือกจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี[8]
17 กันยายน 2551 ได้รับการเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทย[9] โดยผลการลงคะแนนปรากฏว่าสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้ 298 เสียง ส่วนอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ 163 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง ทำให้สมชาย ได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งตามรัฐธรรมนูญ จึงได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทย[10][11]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 2[12]
การปฏิบัติงาน
[แก้]- เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
ความมั่นคง
[แก้]- แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
- ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาและสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีในภูมิภาค
- จัดตั้งสภาเกษตรกรและสร้างระบบประกันความเสี่ยง
เศรษฐกิจ
[แก้]- แก้ไขปัญหาวิกฤติสถาบันการเงินในประเทศ
- เร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศ
- สร้างกลไกในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากวิกฤติการเงินของโลกที่ส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาว
สิทธิมนุษยชน
[แก้]- เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด ปราบปรามผู้มีอิทธิพล อบายมุขและสิ่งยั่วยุเยาวชน
ฉายานาม
[แก้]วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงข่าวถึงสถานการณ์ทางการเมือง ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ พร้อมทั้ง ตั้งฉายารัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ว่าเป็น รัฐบาล "ชายกระโปรง"[13]
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค
[แก้]เมื่อเวลา 12.30 น. ของวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย อันเนื่องมาจากกรณีทุจริตการเลือกตั้งของยงยุทธ ติยะไพรัช จากพรรคพลังประชาชน มณเฑียร สงฆ์ประชา จากพรรคชาติไทย และสุนทร วิลาวัลย์ จากพรรคมัชฌิมาธิปไตย ภายหลังบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย และอนงค์วรรณ เทพสุทิน หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย แถลงด้วยวาจาเสร็จสิ้นแล้ว โดยไม่รอพรรคพลังประชาชนไม่ได้ส่งตัวเข้าแถลงปิดคดีแต่อย่างใด
ต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยในส่วนของพรรคพลังประชาชน ด้วยมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ให้ยุบพรรคพลังประชาชน และตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค 5 ปี (รวม 37 คน) ทำให้สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะรักษาการหัวหน้าพรรคพลังประชาชนต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยปริยาย
จากนั้นศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยในส่วนของพรรคมัชฌิมาธิปไตย โดยมีมติให้ยุบพรรคมัฌชิมาฯ และตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค 5 ปี (รวม 43 คน) ตามประกาศ คปค. เช่นกัน
ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 8 ต่อ 1 ให้ยุบพรรคชาติไทยตามไปอีกพรรค โดยศาลฯได้วินิจฉัยว่ามีความผิดตามมาตรา 237 วรรค 2 และมาตรา 68 ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ และกฎหมายได้เอาไว้เป็นเด็ดขาด แม้จะมีการโต้แย้งว่าหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นฟังไม่ขึ้น (รวม 29 คน) ตามประกาศ คปค.[14]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งในและต่างประเทศ[15] ดังนี้
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[16]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[17]
- พ.ศ. 2542 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[18]
- พ.ศ. 2551 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[19]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- เปรู : พ.ศ. 2551 – เครื่องอิสริยาภรณ์พระอาทิตย์แห่งเปรู ชั้นเบญจมาภรณ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รักษาการ ตั้งแต่ 9 จนถึง 18 กันยายน พ.ศ. 2551
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)
- ↑ "สภาฯ เท298เสียงเลือก'สมชาย'เป็นนายกฯ". กรุงเทพธุรกิจ. 2008-09-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-18. สืบค้นเมื่อ 2008-09-17.
- ↑ วิเคราะห์คอลัมนิสต์ 15 05 58
- ↑ Ahuja, Ambika (2008-09-09). "Cooking show stint derails Thai prime minister". Associated Press/Google. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-17. สืบค้นเมื่อ 2008-09-10.
- ↑ วาจาสิทธิ์พ่อท่านคล้าย "สมชาย"นั่งนายกฯ เก็บถาวร 2008-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สยามรัฐ 17 กันยายน 2551
- ↑ "tvnz.co.nz/view, FACTBOX - Somchai Wongsawat". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-26. สืบค้นเมื่อ 2008-09-15.
- ↑ "Thai party names nominee for PM". BBC News. 2008-09-15. สืบค้นเมื่อ 2008-09-15.
- ↑ "Somchai elected new prime minister". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-23. สืบค้นเมื่อ 2008-09-17.
- ↑ edition.cnn.com, Thai lawmakers elect Thaksin's in-law as PM
- ↑ "google.com, Thaksin's brother-in-law elected Thai PM". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-12. สืบค้นเมื่อ 2008-09-17.
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ Sanook.com, ธีรยุทธขาประจำมาแล้ว ตั้งรัฐบาล 'ชายกระโปรง' เรียกข้อมูลวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, ศาล รธน.มติเอกฉันท์! สั่งยุบ “พปช.” ตัดสิทธิ กก.บห.5 ปี - “ชายอำมหิต” หลุดเก้าอี้ เก็บถาวร 2011-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เรียกข้อมูลวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
- ↑ "นายกรัฐมนตรี คนที่ 26 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์". รัฐบาลไทย. สืบค้นเมื่อ 2021-03-20.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๘๘, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๑ เก็บถาวร 2009-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๑๑, ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ประวัติสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จากเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง - ThaisWatch.com
- สมชาย วงศ์สวัสดิ์- ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย เก็บถาวร 2008-09-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมัคร สุนทรเวช | นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 26 (ครม. 58) (18 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551) |
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | ||
สมัคร สุนทรเวช | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551) |
ประวิตร วงษ์สุวรรณ | ||
วิจิตร ศรีสอ้าน | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 24 กันยายน พ.ศ. 2551) |
ศรีเมือง เจริญศิริ | ||
สมัคร สุนทรเวช | หัวหน้าพรรคพลังประชาชน (30 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551) |
ยงยุทธ วิชัยดิษฐ (ในนามพรรคเพื่อไทย) |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2490
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอช้างกลาง
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- สกุลวงศ์สวัสดิ์
- นักกฎหมายชาวไทย
- ผู้พิพากษาไทย
- ข้าราชการฝ่ายตุลาการชาวไทย
- สามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- ปลัดกระทรวงยุติธรรมไทย
- ปลัดกระทรวงแรงงานไทย
- นักการเมืองไทย
- นายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน
- แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- นักการเมืองพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อธรรม
- บุคคลจากโรงเรียนอำนวยศิลป์
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย