มหาวิทยาลัยชินวัตร
มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาดแหล่งที่มา หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐานในหน้าอภิปราย โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป |
มหาวิทยาลัยชินวัตร | |
---|---|
Shinawatra University | |
![]() | |
ชื่อย่อ | มชว. / SIU |
คติพจน์ | สนับสนุนการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ |
สถาปนา | 27 ธันวาคม พ.ศ. 2542 |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาเอกชน |
อธิการบดี | รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม เลิศหิรัญวงศ์ |
นายกสภาฯ | พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา |
ที่ตั้ง | วิทยาเขตหลัก (จังหวัดปทุมธานี) เลขที่ 99 หมู่ 10 ตำบลบางเตย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี 12160 วิทยาคารกรุงเทพฯ เลขที่ 197 อาคารบีบีดี วิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 |
สีประจำสถาบัน | เทา-เขียว-ส้ม |
เว็บไซต์ | www.siu.ac.th |
มหาวิทยาลัยชินวัตร (อังกฤษ: Shinawatra University; ตัวย่อ: SIU) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน จัดการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรภาษาไทย โดยมหาวิทยาลัยชินวัตรก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2542[1]
ประวัติ[แก้]
ในปี พ.ศ. 2539 มหาวิทยาลัยชินวัตรมีจุดเริ่มต้นมาจากความคิดริเริ่มของ อดีตนายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ ชินวัตร และ ศาสตราจารย์ ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ที่จะก่อตั้งมหาวิทยาลัยเอกชน เพื่อช่วยสนับสนุนการพัฒนาภายในประเทศและภูมิภาคใกล้เคียงบวกกับความคิดที่จะพัฒนารูปแบบของ มหาวิทยาลัยให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของ ดร.สุนทร บุญญาธิการ จวบจนกระทั่งปี พ.ศ. 2542 ทบวงมหาวิทยาลัยจึงอนุญาตให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยชินวัตรขึ้น มหาวิทยาลัยชินวัตรเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มุ่งเน้นการศึกษาค้นคว้า เพื่อให้ได้มาซึ่งการเรียนการสอนที่ยอดเยี่ยม การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ความเป็นผู้นำ การจัดการ ความเป็นนักลงทุน ไปพร้อมๆ กับมาตรฐานจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับสูง โดยบริษัท โอเอไอ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด ได้รับอนุญาตจากทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2542[2]
สัญลักษณ์[แก้]
- ตราสัญลักษณ์เป็น"รูปอาร์ม"ซึ่งเป็นตัวแทนของดวงอาทิตย์ที่เป็นสัญลักษณ์ของแหล่งความรู้ ดวงอาทิตย์นี้จะแผ่รังสีของความเฉลียวฉลาด การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆผ่านการศึกษาค้นคว้า นอกจากนี้ยังเป็นหนทางไปสู่รากฐานการศึกษา ทั้งทางด้านจริยธรรม ศีลธรรม ด้านวัตถุ และมุมมองด้านศาสนา เพราะมหาวิทยาลัยทำการวิจัยอยู่ตลอดเวลา
- สีประจำมหาวิทยาลัย มี 3 สี คือ ส้ม-เขียว-เทา
- สีส้ม หมายถึง การเริ่มต้นด้วยการวิจัยเพื่อสร้างปัญญา
- สีเขียว หมายถึง ความสมบูรณ์แห่งชีวิตเพื่อสร้างสรรค์สังคมและประชาคมโลก
- สีเทา หมายถึง ความมีวินัยเพื่อรักษาความดีงาม
- ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ สาละลังกา (Cannonball tree)
รายชื่ออธิการบดีในอดีตและปัจจุบัน[แก้]
- 2542 - 2543 ศ. ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
- 2543 - 2545 ดร.แสงสันติ์ พานิช (รักษาการอธิการบดี)
- 2545 - 2546 ดร.วิทยา มานะวิณิชย์เจริญ (รักษาการอธิการบดี)
- 2546 - 2547 ดร.ทะนง พิทะยะ (รักษาการอธิการบดี)
- 2547 – 2551 ศ. ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์
- 2551 – 2552 ศ. ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ์
- 2552 – 2554 นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง
- 2554 – 2555 ผศ. ดร.ปริญญา ตันตสวัสดิ์ (รักษาการอธิการบดี)
- 2555 – 2558 ศ. ดร. รตอ. วรเดช จันทรศร
- 2558 - ปัจจุบัน รศ.ดร.บุญสม เลิศหิรัญวงศ์
หลักสูตรที่เปิดสอน[แก้]
เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีในระดับภูมิภาคและระดับโลก มหาวิทยาลัยชินวัตรจึงมุ่งมั่นที่จะผลิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี โท เอกให้สอดคล้องและมีประสิทธิภาพต่อตลาดแรงงานและคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
หลักสูตรนานาชาติ[แก้]
หลักสูตรภาษาไทย[แก้]
อาคาร[แก้]
วิทยาเขต[แก้]วิทยาเขตปทุมธานี ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย[แก้]
หอพัก
การดูแลด้านสุขภาพ
นักศึกษาทุกคนจะได้รับสิทธิประโยชน์จากการประกันอุบัติเหตุที่จัดให้โดยมหาวิทยาลัย กรณีนักศึกษาประสบอุบัติเหตุ ทางมหาวิทยาลัยจะจัดรถนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด และค่ารักษาพยาบาลดังกล่าวจะรับผิดชอบโดยบริษัทประกัน และกรมธรรม์ยังคุ้มครองกรณีที่เสียชีวิต การบริการอื่นๆ
โรงอาหารของมหาวิทยาลัยให้บริการอาหารเช้า กลางวัน และเย็น ตลอดวันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 7.30 – 19.30 นาฬิกา และมีครัวฮาลาลและมังสวิรัติที่ใช้เครื่องครัวและภาชนะแยกต่างหาก
หากนักศึกษามีเรื่องต่างๆ ที่ต้องการคำปรึกษา ทั้งเรื่องเรียน เรื่องสังคม และเรื่องอื่นๆ นักศึกษาสามารถพูดคุยและปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาได้ตลอดเวลา แต่หากต้องการคำแนะนำผ่านช่องทางอื่นๆมหาวิทยาลัยมีบริการให้คำปรึกษาทั้งทางโทรศัพท์ อีเมล และการให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยา
เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยไปรับนักศึกษาและพามามหาวิทยาลัยด้วยตนเองในช่วงปิดเทอมหรือวันหยุด จะมีการจัดทัศนศึกษาพานักศึกษาไปเที่ยวต่างจังหวัดตามสถานที่ที่นักศึกษาต้องการไปในแต่ละเทอม
มหาวิทยาลัยมีบริการรถรับ-ส่งระหว่างอาคาร BBD กรุงเทพและวิทยาเขตลาดหลุมแก้วในวันจันทร์-ศุกร์ ในช่วงเช้า กลางวัน และเย็น ความร่วมมือ[แก้]
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]https://www.facebook.com/ShinawatraUniversity
พิกัดภูมิศาสตร์: 14°05′15.39″N 100°25′16.62″E / 14.0876083°N 100.4212833°E |