การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย กันยายน พ.ศ. 2551

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย
กันยายน พ.ศ. 2551

← มกราคม พ.ศ. 2551 17 กันยายน พ.ศ. 2551 ธันวาคม พ.ศ. 2551 →
 
The Prime Minister of Thailand, Mr. Somchai Wangsawat meeting the Prime Minister, Dr. Manmohan Singh, in New Delhi on November 13, 2008 (cropped) (cropped).jpg
Vejjajivacropped.jpg
ผู้ได้รับเสนอชื่อ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
พรรค พลังประชาชน ประชาธิปัตย์
คะแนนคณะผู้เลือกตั้ง 298 163

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎรไทย เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551 เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 นายสมัคร สุนทรเวช ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการจัดรายการ "ชิมไปบ่นไป" และรายการ "ยกโขยง 6 โมงเช้า" ของนายสมัครนั้น มุ่งประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ถือได้ว่าขัดรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้ขาดคุณสมบัติการเป็นนายกรัฐมนตรี

โดยนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดสภาเพื่อลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่เนื่องจากเลื่อนมาจากเมื่อวันที่ 12 กันยายน

โดยนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี จากนั้นนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และส.ส. สัดส่วน พรรคพลังประชาชน ได้เสนอชื่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รักษาการนายกรัฐมนตรีและรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นนายกรัฐมนตรี

ผลสำรวจก่อนการลงมติ[แก้]

เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551 สำนักวิจัยเอแบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 2,809 ตัวอย่าง เกี่ยวกับวาระแห่งชาติในสายตาประชาชน ที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีคนใหม่เร่งแก้ไข ผลปรากฏว่า ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจต่อประวัติและผลงานของแกนนำพรรคพลังประชาชนที่มีโอกาสเป็นนายกรัฐมนตรีแตกต่างกัน ดังนี้

อันดับ รายนาม ผลสำรวจ
1 นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ 58.6
2 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 51.2
3 นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี 48.3
4 ไม่สนใจใครเลย 41.5

การลงมติ[แก้]

ระหว่างการขานชื่อลงคะแนนเมื่อถึงชื่อ นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ของดออกเสียงให้เห็นผลว่าต้องวางตัวเป็นกลาง ส่วนนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยก็ลงคะแนนให้นายสมชาย เช่นเดียวกับหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ ขณะที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็งดออกเสียงให้กับตัวเอง สำหรับการประชุมครั้งนี้นายสมัคร สุนทรเวช ไม่ได้เดินทางมาลงคะแนนแต่อย่างใด ซึ่งมี ส.ส.คนหนึ่งแจ้งว่าอยู่ในระหว่างการเดินทางมาสภา

ชื่อบุคคลที่ได้รับเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี[แก้]

ผู้ได้รับการเสนอชื่อในสภาผู้แทนราษฎร
สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
พลังประชาชน ประชาธิปัตย์
รองนายกรัฐมนตรี
(ตั้งแต่ 6 กุมภาพันธ์ 2551)
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(14 พฤศจิกายน 2540 – 17 กุมภาพันธ์ 2544)

ผลการลงมติ[แก้]

ไฟล์:Somchai Thank.jpg
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ขอบคุณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ไว้วางใจ

ภายหลังเสร็จสิ้นการลงคะแนน นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ประกาศผลการนับคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ได้รับความเห็นชอบ จำนวน 298 คะแนน ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับความเห็นชอบ 163 คะแนน และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรงดออกเสียง 5 คะแนน (คือ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, นายชัย ชิดชอบ, นายสามารถ แก้วมีชัย และ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งและคนที่สอง) จึงถือได้ว่านายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้รับคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาแล้ว จึงถือได้ว่านายสมชายได้รับความเห็นชอบตามมติของสภาให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

จากนั้นนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ว่าที่นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวขอบคุณประธานสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคนที่ได้มาลงคะแนนโดยพร้อมเพรียงกัน และขอบคุณสมาชิกที่กรุณาไว้วางใจให้เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะรับทำหน้าที่อย่างดีที่สุด หลังปิดการประชุมสภาเวลา 10.45 น. นายสมชายรีบเข้าไปสัมผัสมือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรว่าจะร่วมมือกันทำงานตามหน้าที่แต่ละฝ่าย จากนั้นได้เข้าไปกราบขอบคุณนายบรรหาร และ ส.ส.ที่ให้การสนับสนุน

พรรคการเมือง สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ งดออกเสียง รวม
พรรคพลังประชาชน 226 - 4 230
พรรคประชาธิปัตย์ - 163 1 164
พรรคเพื่อแผ่นดิน 21 - - 21
พรรคชาติไทย 30 - - 30
พรรคมัชฌิมาธิปไตย 7 - - 7
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 9 - - 9
พรรคประชาราช 5 - - 5
รวม 298 163 5 466

อ้างอิง[แก้]

ก่อนหน้า การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย กันยายน พ.ศ. 2551 ถัดไป
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย มกราคม พ.ศ. 2551
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในประเทศไทย
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ธันวาคม พ.ศ. 2551