อำเภอฉวาง
อำเภอฉวาง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Chawang |
สะพานโค้งรถไฟ 100 ปี (ข้ามคลองจันดี) อยู่ที่สถานีรถไฟคลองจันดี ในเขตเทศบาลตำบลจันดี ครบรอบ 100 ปีใน พ.ศ. 2559 จากตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459 ได้เปิดการเดินรถจากสถานีทุ่งสง - บ้านนา ระยะทางรวม 95 กิโลเมตร | |
คำขวัญ: ฉวางเมืองคนดี ตาปีไหลผ่านมา แข่งเรือวันออกพรรษา ศูนย์การค้าตลาดจันดี บารมีพ่อท่านคล้าย สินแร่มากมาย ผลไม้มากมี สนุกดีงานปีใหม่ สุขใจกันถ้วนหน้า วันแห่ผ้าขึ้นธาตุน้อย | |
แผนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เน้นอำเภอฉวาง | |
พิกัด: 8°25′34″N 99°30′17″E / 8.42611°N 99.50472°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครศรีธรรมราช |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 528.2 ตร.กม. (203.9 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 65,414 คน |
• ความหนาแน่น | 123.84 คน/ตร.กม. (320.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 80150 ไปรษณีย์ฉวาง, 80250 ไปรษณีย์คลองจันดี (เฉพาะตำบลจันดี; ตำบลละอาย; หมู่ที่ 8 ตำบลฉวาง), 80260 ไปรษณีย์ทานพอ (เฉพาะตำบลกะเบียด; ตำบลห้วยปริก; ตำบลนาเขลียง; หมู่ที่ 3-6 ตำบลนากะชะ; หมู่ที่ 1-6, 8-12 ตำบลนาแว; หมู่ที่ 1-3, 5, 8-10 ตำบลไม้เรียง) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 8004 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอฉวาง หมู่ที่ 1 ถนนภักดีราษฎร์ ตำบลฉวาง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80150 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ฉวาง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับการจัดตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 เดิมมีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอพิปูน[1][2] อำเภอช้างกลาง[3][4] และอำเภอถ้ำพรรณรา[5][6]ทั้งหมด อีกทั้งยังเป็นภูมิลำเนาเดิมของสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 26
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอฉวางมีอณาเขตติดต่อกับพื้นที่ปกครองข้างเคียง ได้แก่
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเวียงสระ (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) และอำเภอพิปูน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพิปูนและอำเภอลานสกา
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอช้างกลาง อำเภอนาบอน และอำเภอทุ่งใหญ่
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอถ้ำพรรณรา
ประวัติ
[แก้]คำว่า "ฉวาง" ตามพจนานุกรมมี 2 ความหมาย ความหมายหนึ่งเป็นนามหมายถึง วิธีคิดเลขชั้นสูงของโบราณหนึ่งอย่าง อีกความหมายหนึ่งเป็นกริยาแปลว่า ขวาง โดยแยกตัวอย่างคำในมหาชาติคำหลวงกัณฑ์มัทรีว่า "อันว่าพยัคฆราชอันฉวางมรรคาพระมัทรี" อีกความหมายว่ามาจากคำเขมร เฉวียง ออกเสียงแบบไทยว่า ฉวาง แปลว่า "ซ้าย" เมืองฉวางเป็นเมืองเก่าขึ้นอยู่กับเมืองนครศรีธรรมราชมาแต่โบราณ ในทำเนียบข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราช ครั้งรัชกาลที่ 2 ใช้ร่วมกับคำว่า ฉวาง-ท่าชี-พุดชมโร ฉวางคือ ฉวางปัจจุบัน ท่าชีอยู่ท้องที่อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนพุดชมโร คือ ทุ่งสง และเจ้าเมืองหรือนายที่มีบรรดาศักดิ์ เป็นหมื่น ได้แก่ หมื่นเพชรธานี ศักดินา 600 ซึ่งถือเป็นเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งของนครศรีธรรมราช
เมื่อมีการปรับปรุงการปกครองของประเทศใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2439 เมืองนครศรีธรรมราช ก็ได้สถาปนาเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง และหลังจากที่ได้ใช้กฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2441) แล้วก็เริ่มมีการจัดการปกครองในรูปของหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ขึ้น เมืองฉวางก็ได้สถาปนาเป็นอำเภอขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2440 โดยมีหลวงปรามประทุษราษฎร์ (เอียด ณ นคร) เป็นนายอำเภอคนแรก การตั้งที่ว่าการอำเภอฉวาง ได้มีการย้ายที่ตั้งหลายครั้งส่วนมากจะอยู่ตามริมแม่น้ำซึ่งอาศัยเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก เช่น คนตั้งอยู่บ้านในไร่ ตำบลนาแว ริมแม่น้ำตาปี เคยตั้งที่วังอ้ายล้อน ริมคลองคุดด้วน เคยตั้งที่ปากคลองลุง และได้ย้ายมาที่ตั้งปัจจุบันเมื่อ ปี พ.ศ. 2458 เหตุผลที่ต้องย้ายที่ว่าการอำเภอหลายครั้งก็เนื่องจากปัญหาถูกน้ำท่วมบ่อย[7]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลนาแว แยกออกจากตำบลกะเปียด และตำบลฉวาง ตั้งตำบลนากะชะ แยกออกจากตำบลถ้ำพรรณรา ตั้งตำบลละอาย แยกออกจากตำบลพิปูน ตำบลฉวาง และตำบลช้างกลาง ตั้งตำบลไม้เรียง แยกออกจากตำบลฉวาง[8]
- วันที่ 5 ตุลาคม 2491 โอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลทุ่งสง อำเภอทุ่งสง ไปขึ้นกับตำบลฉวาง อำเภอฉวาง[9]
- วันที่ 30 พฤษภาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลฉวาง ในท้องที่บางส่วนของตำบลฉวาง[10]
- วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลฉวาง ในท้องที่ตำบลฉวาง (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลฉวาง)[11]
- วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2506 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลฉวาง และจัดตั้งสุขาภิบาลจันดี ในท้องที่บางส่วนของหมู่ที่ 9 ตำบลฉวาง[12]
- วันที่ 10 กันยายน 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลไม้เรียง ในท้องที่บางส่วนของตำบลไม้เรียง[13]
- วันที่ 29 สิงหาคม 2515 แยกพื้นที่ตำบลพิปูน และตำบลกะทูน จากอำเภอฉวาง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอพิปูน[1] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอฉวาง
- วันที่ 19 มิถุนายน 2516 ตั้งตำบลเขาพระ แยกออกจากตำบลกะทูน[14]
- วันที่ 22 พฤษภาคม 2517 จัดตั้งสภาตำบลฉวาง (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลฉวางและสุขาภิบาลจันดี) สภาตำบลกะเปียด สภาตำบลถ้ำพรรณรา สภาตำบลนากะชะ สภาตำบลไม้เรียง (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลไม้เรียง) สภาตำบลนาแว สภาตำบลละอาย และสภาตำบลช้างกลาง[15]
- วันที่ 30 กรกฎาคม 2517 ตั้งตำบลยางค้อม แยกออกจากตำบลพิปูน[16]
- วันที่ 8 กันยายน 2519 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอพิปูน อำเภอฉวาง เป็น อำเภอพิปูน[2]
- วันที่ 13 มิถุนายน 2521 ตั้งตำบลห้วยปริก แยกออกจากตำบลกะเปียด[17]
- วันที่ 6 กันยายน 2526 ตั้งตำบลหลักช้าง แยกออกจากตำบลช้างกลาง และตั้งตำบลไสหร้า แยกออกจากตำบลฉวาง[18]
- วันที่ 30 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลสวนขัน แยกออกจากตำบลละอาย[19]
- วันที่ 26 กันยายน 2529 ตั้งตำบลคลองเส แยกออกจากตำบลนากะชะ[20]
- วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2533 แยกพื้นที่ตำบลถ้ำพรรณรา และตำบลคลองเส จากอำเภอฉวาง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอถ้ำพรรณรา และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอฉวาง[5]
- วันที่ 16 กันยายน 2533 ตั้งตำบลนาเขลียง แยกออกจากตำบลกะเปียด และตั้งตำบลดุสิต แยกออกจากตำบลถ้ำพรรณรา[21]
- วันที่ 4 ธันวาคม 2533 ตั้งตำบลจันดี แยกออกจากตำบลฉวาง ตำบลไสหร้า และตำบลสวนขัน[22]
- วันที่ 3 มีนาคม 2538 ยกฐานะจากสภาตำบลช้างกลาง และสภาตำบลไสหร้า เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลช้างกลาง และองค์การบริหารส่วนตำบลไสหร้า[23] ตามลำดับ
- วันที่ 8 สิงหาคม 2538 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอฉวาง เป็น อำเภอถ้ำพรรณรา[6]
- วันที่ 30 มกราคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลห้วยปริก สภาตำบลละอาย สภาตำบลหลักช้าง สภาตำบลนาแว และสภาตำบลไม้เรียง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยปริก องค์การบริหารส่วนตำบลละอาย องค์การบริหารส่วนตำบลหลักช้าง องค์การบริหารส่วนตำบลนาแว และองค์การบริหารส่วนตำบลไม้เรียง[24] ตามลำดับ
- วันที่ 26 มิถุนายน 2539 แยกพื้นที่ตำบลช้างกลาง ตำบลหลักช้าง และตำบลสวนขัน จากอำเภอฉวาง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอช้างกลาง[3] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอฉวาง
- วันที่ 25 ธันวาคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลกะเปียด สภาตำบลฉวาง สภาตำบลนาเขลียง สภาตำบลนากะชะ สภาตำบลจันดี และสภาตำบลสวนขัน เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลกะเปียด องค์การบริหารส่วนตำบลฉวาง องค์การบริหารส่วนตำบลนาเขลียง องค์การบริหารส่วนตำบลนากะชะ องค์การบริหารส่วนตำบลจันดี และองค์การบริหารส่วนตำบลสวนขัน[25] ตามลำดับ
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลฉวาง สุขาภิบาลจันดี และสุขาภิบาลไม้เรียง เป็นเทศบาลตำบลฉวาง เทศบาลตำบลจันดี และเทศบาลตำบลไม้เรียง ตามลำดับ[26] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 24 มิถุนายน 2548 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลจันดี รวมกับเทศบาลตำบลจันดี[27]
- วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอช้างกลาง อำเภอฉวาง เป็น อำเภอช้างกลาง[4]
- วันที่ 22 พฤษภาคม 2556 เปลี่ยนแปลงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลฉวาง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำฉวาง[28] และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำฉวาง ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลปากน้ำฉวาง[29]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอฉวางแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 84 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[30] |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|
1. | ฉวาง | Chawang | 9
|
7,416
|
|
3. | ละอาย | La-ai | 17
|
11,411
| |
4. | นาแว | Na Wae | 12
|
7,280
| |
5. | ไม้เรียง | Mai Riang | 10
|
7,458
| |
6. | กะเปียด | Kapiat | 5
|
3,987
| |
7. | นากะชะ | Na Kacha | 7
|
4,467
| |
9. | ห้วยปริก | Huai Prik | 7
|
6,304
| |
10. | ไสหร้า | Saira | 10
|
6,739
| |
15. | นาเขลียง | Na Khliang | 6
|
2,726
| |
16. | จันดี | Chan Di | 5
|
7,237
|
หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือตำบลในอำเภอถ้ำพรรณราและอำเภอช้างกลาง
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอฉวางประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลฉวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฉวาง เฉพาะหมู่ที่ 1–2
- เทศบาลตำบลจันดี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจันดีทั้งตำบล (เขตสุขาภิบาลจันดีเดิม)[12][26][27]
- เทศบาลตำบลไม้เรียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไม้เรียง เฉพาะหมู่ที่ 3, 8
- เทศบาลตำบลปากน้ำฉวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฉวาง เฉพาะหมู่ที่ 3–9
- องค์การบริหารส่วนตำบลละอาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลละอายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาแว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาแวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไม้เรียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไม้เรียง เฉพาะหมู่ที่ 1–2, 4–7, 9–10
- องค์การบริหารส่วนตำบลกะเปียด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกะเปียดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนากะชะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนากะชะทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยปริก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยปริกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไสหร้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไสหร้าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาเขลียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาเขลียงทั้งตำบล
การคมนาคม
[แก้]- ทางรถไฟ: ■ สายใต้ โดยผ่านสถานีรถไฟและที่หยุดรถไฟในเขตอำเภอดังต่อไปนี้
- สถานีรถไฟห้วยปริก ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยปริก เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ตั้งอยู่บริเวณหลักกม.ที่ 704.61 (จากสถานีรถไฟธนบุรี) ใช้อาณัติสัญญาณรถไฟแบบสัญญาณหางปลา (Semaphore Signals) ไม่มีสัญญาณเตือนและเสาออก ใช้ห่วงทางสะดวก และใช้ระบบบังคับประแจแบบประแจกลเดี่ยว ตัวย่อสถานี คือ หป.
- สถานีรถไฟกระเบียด ตั้งอยู่ที่ตำบลกะเปียด เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ตั้งอยู่บริเวณหลักกม.ที่ 709.87 (จากสถานีรถไฟธนบุรี) ใช้อาณัติสัญญาณรถไฟแบบสัญญาณหางปลา (Semaphore Signals) ไม่มีสัญญาณเตือนและเสาออก ใช้ห่วงทางสะดวก และใช้ระบบบังคับประแจแบบประแจกลเดี่ยว ตัวย่อสถานี คือ เบ.
- สถานีรถไฟทานพอ ตั้งอยู่ที่ตำบลไม้เรียง เป็นสถานีรถไฟชั้น 2 ตั้งอยู่บริเวณหลักกม.ที่ 716.66 (จากสถานีรถไฟธนบุรี) ใช้อาณัติสัญญาณรถไฟแบบสัญญาณหางปลา (Semaphore Signals) ไม่มีสัญญาณเตือนและเสาออก ใช้ห่วงทางสะดวก และใช้ระบบบังคับประแจแบบประแจกลเดี่ยว ตัวย่อสถานี คือ ทา.
- สถานีรถไฟฉวาง ตั้งอยู่ที่ตำบลฉวาง เป็นสถานีรถไฟชั้น 2 ตั้งอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 722.41 (จากสถานีรถไฟธนบุรี) ใช้อาณัติสัญญาณรถไฟแบบสัญญาณหางปลา (Semaphore Signals) ซึ่งมีเสาครบถ้วน แลใช้ระบบบังคับประแจแบบประแจกลเดี่ยว ตัวย่อสถานี คือ ฉว.
- สถานีรถไฟคลองจันดี ตั้งอยู่ที่ตำบลจันดี เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ตั้งอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 727.95 (จากสถานีรถไฟธนบุรี) ใช้อาณัติสัญญาณรถไฟแบบสัญญาณหางปลา (Semaphore Signals) ไม่มีสัญญาณเตือนและเสาออก ใช้ห่วงทางสะดวก และใช้ระบบบังคับประแจแบบสายลวด ตัวย่อสถานี คือ จด.
การสาธารณสุข
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งเป็นกิ่งอำเภอพิปูน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (130 ง): 2187. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 2019-09-04. วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2515
- ↑ 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเลาขวัญ อำเภอคำม่วง คำเภอพิปูน อำเภอศรีเทพ อำเภอนาแห้ว อำเภอส่องดาว อำเภอควนกาหลง อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอบ้านตาขุน และอำเภอกุดจับ พ.ศ. ๒๕๑๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (109 ก): (ฉบับพิเศษ) 31-34. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2019-09-04. วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2519
- ↑ 3.0 3.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งเป็นกิ่งอำเภอช้างกลาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (พิเศษ 18 ง): 32. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2019-09-04. วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539
- ↑ 4.0 4.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2019-09-04. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
- ↑ 5.0 5.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งเป็นกิ่งอำเภอถ้ำพรรณรา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (25 ง): 1352. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2019-09-04. วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533
- ↑ 6.0 6.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอแก่งหางแมว อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเวียงแก่น อำเภอแม่วาง อำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอบ่อเกลือ อำเภอโนนสุวรรณ อำเภอห้วยราช อำเภอแม่ลาน อำเภอบางแก้ว อำเภอป่าพะยอม อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอยางสีสุราช อำเภอจังหาร อำเภอบ้านธิ อำเภอภูสิงห์ อำเภอบางกล่ำ อำเภอวังม่วง และอำเภอนายูง พ.ศ. ๒๕๓๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (32 ก): 1–3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ 2019-09-04. วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2538
- ↑ [1] เก็บถาวร 2019-09-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประวัติอำเภอฉวาง
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-09-15. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 65 (59 ง): 3104–3105. วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2491
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลฉวาง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (45 ง): (ฉบับพิเศษ) 79-80. May 30, 1956.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-6. March 1, 1958.
- ↑ 12.0 12.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลฉวาง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช และจัดตั้งสุขาภิบาลจันดี อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (17 ง): 437–438. วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (90 ง): 2097–2098. September 10, 1963.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอพิปูน อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (70 ง): 1892–1894. June 19, 1973.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-45. May 22, 1974.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอชะอวดและกิ่งอำเภอพิปูน อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (129 ง): 3036–3040. July 30, 1974.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอฉวาง และกิ่งอำเภอนาบอน อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (62 ง): 1740–1743. June 13, 1978.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (144 ง): (ฉบับพิเศษ) 3176-3179. September 6, 1983.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอชะอวด อำเภอฉวาง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (154 ง): 4106–4113. October 30, 1984.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอฉวาง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (166 ง): (ฉบับพิเศษ) 71-79. September 26, 1986. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-04. สืบค้นเมื่อ 2019-09-04.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอฉวาง และกิ่งอำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (174 ง): (ฉบับพิเศษ) 5-11. September 16, 1990.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (241 ง): 10163–10169. December 4, 1990.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (ตอนพิเศษ 6 ง): 1–63. March 3, 1995. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-04-18. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. January 30, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. December 24, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
- ↑ 26.0 26.1 "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ 27.0 27.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลจันดีกับเทศบาลตำบลจันดี" (PDF): 1.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2548 - ↑ "เปลี่ยนชื่อ องค์การบริหารส่วนตำบลฉวาง ไปเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำฉวาง". May 22, 2013.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "จัดตั้งเทศบาลจาก องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำฉวาง เป็น เทศบาลตำบลปากน้ำฉวาง". May 22, 2013.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.