พจมาน ณ ป้อมเพชร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คุณหญิง
พจมาน ณ ป้อมเพชร
ม.ป.ช., ม.ว.ม., ป.ภ., ต.จ.
คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย
ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้า ภักดิพร สุจริตกุล
ถัดไป จิตรวดี จุลานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 (66 ปี)
อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ
บิดา พลตำรวจโท เสมอ ดามาพงศ์
มารดา คุณหญิงพจนีย์ ณ ป้อมเพชร
คู่สมรส ทักษิณ ชินวัตร (2523–2551)
บุตร พานทองแท้ ชินวัตร
พินทองทา คุณากรวงศ์
แพทองธาร ชินวัตร

คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร (สกุลเดิม: ดามาพงศ์; เกิด 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499) เป็นอดีตภรรยาของทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 อดีตกรรมการมูลนิธิจุฬาภรณ์[1]ผู้ถือหุ้น อันดับหนึ่งบริษัท โรงพยาบาลพระราม 9 จำกัด (มหาชน) โดยถือหุ้นร้อยละ 37.44 %[2]

ประวัติ[แก้]

คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร มีชื่อเล่นว่าอ้อ เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 4 คนของ พลตำรวจโท เสมอ ดามาพงศ์ อดีตผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กับคุณหญิงพจนีย์ ณ ป้อมเพชร เธอมีพี่ชายสามคนคือ พงษ์เพชร ดามาพงศ์, พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ และ พลตำรวจโท นายแพทย์ พีระพงศ์ ดามาพงศ์ นอกจากนี้ยังมีพี่ชายบุญธรรมคือ บรรณพจน์ ดามาพงศ์

เมื่อแรกเกิด พจนีย์ตั้งชื่อให้ว่า "สร้อยเพชรพจมาน"[3] ต่อมาจึงลดลงเหลือเพียงพจมาน ในปี พ.ศ. 2513 บิดาและมารดาได้หย่ากัน โดยมารดากลับไปใช้นามสกุลก่อนสมรสคือ ณ ป้อมเพชร[4] พจมานมีอุปนิสัยเรียบร้อย พูดน้อย มีความเป็นระเบียบเช่นบิดา และมีใจเอื้ออารีเช่นมารดา[5]

บรรพชนทางฝ่ายบิดาของคุณหญิงพจมานอพยพมาจากจังหวัดหนองคาย เป็นทวดชื่อ ดา ดามาพงศ์ ต่อมาได้มาตั้งรกรากอยู่ในตำบลหนองโดน อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ สมรสกับนางบุญมา มีบุตรชายชื่อสมิง (ที่ต่อมาคือ ร้อยตำรวจเอก จำปา) ซึ่งเป็นปู่ของคุณหญิงพจมาน[6] ส่วนบุรพชนฝ่ายมารดาสืบเชื้อสายมาจากพระยาไชยวิชิตสิทธิสาตรา (นาค) มีบุตรชายกับภริยานางหนึ่ง คือ พันตำรวจเอก พร้อม ณ ป้อมเพชร ซึ่งเป็นตาของคุณหญิงพจมาน[7][8]

อนึ่งคุณหญิงพจมาน เป็นเครือญาติกับสุชน ชาลีเครือทางฝ่ายบิดา[6] และเป็นญาติกับท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ และพิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะทางฝ่ายมารดา[7][8]

คุณหญิงพจมานศึกษาชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ หลังจบมัธยมศึกษาปีที่ 3 พลตำรวจโทเสมอส่งคุณหญิงพจมานไปศึกษาต่อจบสำเร็จการศึกษาอนุปริญญาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเคนทักกี สหรัฐอเมริกา[5] ซึ่งการเดินทางไปศึกษาต่อของเธอนั้นเป็นแรงบันดาลใจให้ทักษิณสอบได้เป็นที่หนึ่งของรุ่น ได้รับทุนคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ไปศึกษาต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเคนทักกี สหรัฐอเมริกา[ต้องการอ้างอิง]

สมรส[แก้]

คุณหญิงพจมานพบกับทักษิณ เป็นครั้งแรกขณะเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นพี่ของพงษ์เพชร ผู้เป็นพี่ชาย และพบกันอีกครั้งที่สหรัฐอเมริกาขณะที่พจมานไปศึกษาต่อ ก่อนเดินทางกลับมาประกอบพิธีมงคลสมรสที่ประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2519 และเดินทางกลับไปยังสหรัฐอเมริกาอีกครั้ง เมื่อทักษิณ ได้รับทุนศึกษาต่อปริญญาเอก ส่วนคุณหญิงพจมานสำเร็จปริญญาตรี Associate of Arts และสาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเคนทักกี และให้กำเนิดบุตรชายคนโตคือ พานทองแท้ ขณะพักอยู่ที่สหรัฐอเมริกา

หลังจากกลับมายังประเทศไทยพร้อมกับทักษิณ ก็ช่วยเหลือกิจการต่าง ๆ ของสามีตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นพนักงานขายผ้าไหม เจ้าหน้าที่รับจองคอนโดมีเนียม รวมถึงคอยปรนนิบัติสามีและดูแลบุตร จนกระทั่งเมื่อ ทักษิณ ก่อตั้งบริษัทชินวัตร คอมพิวเตอร์ จำกัด ซึ่งประกอบกิจการให้เช่าคอมพิวเตอร์ และต่อมากลายเป็นบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ดำเนินกิจการโทรคมนาคม คุณหญิงพจมานก็ยังคงดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ช่วยเหลือสามีดูแลกิจการตลอดมา

คุณหญิงพจมาน มีบุตร-ธิดากับทักษิณ รวม 3 คนคือ พานทองแท้, พินทองทา และแพทองธาร

คดีความ[แก้]

วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ศาลอาญาพิพากษาจำคุกคุณหญิงพจมาน และบรรณพจน์ พี่ชายบุญธรรม คนละ 3 ปี ในคดีร่วมกันจงใจหลีกเลี่ยงภาษีหุ้น บริษัทชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) มูลค่า 546 ล้านบาท

ในปลาย พ.ศ. 2551 คุณหญิงพจมานจดทะเบียนหย่ากับทักษิณ แล้วกลับมาใช้นามสกุลเดิม "ณ ป้อมเพชร" ของฝ่ายมารดา แต่ยังคงใช้คำนำหน้านามว่า "คุณหญิง" ตามเดิม เนื่องจากสตรีที่เคยสมรส แล้วต่อมาหย่าร้างกับสามี ยังสามารถใช้คำนำหน้านามนี้ได้[ต้องการอ้างอิง]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ลำดับสาแหรก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้อำนาจจัดตั้ง "มูลนิธิจุฬาภรณ์" เป็นนิติบุคคล เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๗๒ ง วันที่ ๐๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๙
  2. ข้อมูลรายบริษัท/หลักทรัพย์
  3. วัธยา. พจมาน ชินวัตร แม่ทัพหลังม่าน บทอวสานที่ก้นเหว?. กรุงเทพฯ : ร่วมด้วยช่วยกัน, 2548. 220 หน้า. ISBN 974-9785-94-0
  4. ""ณ ป้อมเพชร์" ของคุณหญิงพจมาน". ไทยโพสต์. 11 กุมภาพันธ์ 2553. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. 5.0 5.1 "พจมาน ชินวัตร "หญิงผู้ทรงอิทธิพล"". Positioning Magazine. 5 กรกฎาคม 2549. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-24. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. 6.0 6.1 เซี่ยงเส้าหลง (20 กันยายน 2548). "สัมพันธ์ฉันญาติ "สุชน ชาลีเครือ – คุณหญิงพจมาน ชินวัตร"". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  7. 7.0 7.1 "ณ ป้อมเพชร ตระกูล "First Lady" 3 รัฐบาล เรื่องชวนทอล์กในนิตยสาร TALK". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 8 มกราคม 2557. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  8. 8.0 8.1 "3 สตรี ณ ป้อมเพชร ลมใต้ปีก 3 ผู้นำรัฐบาล". ข่าวสด. 9 มกราคม 2557. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๑
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๕, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๖

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า พจมาน ณ ป้อมเพชร ถัดไป
ภักดิพร สุจริตกุล 2leftarrow.png คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย
(17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
2rightarrow.png จิตรวดี จุลานนท์