ข้ามไปเนื้อหา

การบินไทย เที่ยวบินที่ 114

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การบินไทย เที่ยวบินที่ 114
ซากเครื่องบินหลังเหตุการณ์สงบลง
สรุปเหตุระเบิด
วันที่3 มีนาคม พ.ศ. 2544
สรุปความบกพร่องของเครื่องบิน
จุดเกิดเหตุท่าอากาศยานกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
อากาศยานลำที่เกิดเหตุ
ประเภทอากาศยานโบอิง 737-4D7
ชื่ออากาศยานนราธิวาส
ดําเนินการโดยการบินไทย
หมายเลขเที่ยวบิน IATATG114
หมายเลขเที่ยวบิน ICAOTHA114
รหัสเรียกTHAI 114
ทะเบียนHS-TDC
ต้นทางท่าอากาศยานกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ปลายทางท่าอากาศยานเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
จำนวนคน8
ผู้โดยสาร0
ลูกเรือ8
เสียชีวิต1
บาดเจ็บ7
สูญหาย0
รอดชีวิต7

การบินไทย เที่ยวบินที่ 114 เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเครื่องบินโบอิง 737-4D7 ของการบินไทย เดินทางจากท่าอากาศยานดอนเมือง ไปท่าอากาศยานเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2544 เวลา 14:48 น. 35 นาทีก่อนกำหนดการบิน ขณะที่เครื่องจอดอยู่ที่ท่าอากาศยานดอนเมืองได้เกิดการระเบิดขึ้น ผลการสอบสอบสวนพบว่าเกิดการสันดาปที่ถังน้ำมันส่วนกลาง ซึ่งอยู่ใกล้กับระบบปรับอากาศซึ่งทำงานอย่างต่อเนื่อง และมีความร้อนสูง ขณะเกิดเหตุยังไม่มีผู้โดยสารอยู่บนเครื่อง มีเพียงเจ้าหน้าที่จำนวน 8 คน ในจำนวนนี้เสียชีวิต 1 คน

เที่ยวบินนี้มีบุคคลสำคัญหลายคนเดินทางไปด้วย รวมทั้งพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และพานทองแท้ ชินวัตร บุตร ซึ่งจะเดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่ หลังเกิดเหตุ พันตำรวจโท ทักษิณ แถลงว่า การระเบิดนี้เป็นการก่อวินาศกรรมเพื่อหวังลอบสังหารตนเอง โดยฝีมือของผู้เสียผลประโยชน์ชาวต่างชาติ (ว้าแดง) เนื่องจากนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาล หลังจากที่เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานของไทยตรวจพบหลักฐานที่เชื่อว่าอาจเป็นร่องรอยของระเบิดซีโฟร์หรือเซมเท็กซ์ (Semtex) [1][2]

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 11 เมษายน 2544 คณะกรรมการความปลอดภัยในการขนส่งแห่งชาติของสหรัฐ (National Transportation Safety Board (NTSB)) ที่ส่งผู้เชี่ยวชาญเดินทางเข้ามาร่วมสอบสวนด้วย แถลงว่า ได้นำชิ้นส่วนไปทดสอบที่ห้องทดลองของเอฟบีไอแล้วไม่พบร่องรอยของวัตถุระเบิด และว่ากรณีนี้คล้ายกับการระเบิดของเครื่องโบอิง 737 ของสายการบินฟิลิปปินส์ เที่ยวบินที่ 143 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2543 ซึ่งเกิดจากความบกพร่องของถังน้ำมันเชื้อเพลิง[3]

ภายหลังการระเบิด ท่าอากาศยานในประเทศไทยได้กำหนดมาตรการตรวจสอบผู้โดยสารรัดกุมขึ้น มีการตรวจสอบบัตรประจำผู้โดยสารทุกคนก่อนขึ้นเครื่อง มีการเอ็กซเรย์กระเป๋า และสำนักนายกรัฐมนตรีได้จัดสรรงบประมาณ เพื่อจัดซื้อเครื่องบินประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี "ไทยคู่ฟ้า"

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]