ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
แผนที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีพื้นที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิมเชื้อสายมลายู | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี (BRN)
อดีตผู้สนับสนุน:
| |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
แพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรีไทย) |
สะแปอิง บาซอ[20] อดีตผู้สนับสนุน:
| ||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||
กองทัพอากาศไทย[33][34][35]
| ไม่มีหน่วยเฉพาะ | ||||||
กำลัง | |||||||
60,000 นาย [1] | 10,000–30,000 นาย[1] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
เสียชีวิตมากกว่า 7,152 ราย (พ.ศ. 2547–2563)[37][38][39] บาดเจ็บมากกว่า 13,000 ราย (พ.ศ. 2547–2564)[40] |
สถานการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย (มลายู: Pemberontakan di Thailand Selatan) หรือ ไฟใต้ หมายถึง ความขัดแย้งที่กำลังดำเนินอยู่ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามจังหวัด คือ จังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาส ระหว่างรัฐไทยกับกลุ่มก่อความไม่สงบหลายกลุ่ม อย่างไรก็ดี บางครั้งมีการลุกลามมาถึงบางอำเภอของจังหวัดสงขลา[41] และบางทีมีการโทษว่าการก่อการร้ายในกรุงเทพมหานครและจังหวัดภูเก็ตเป็นฝีมือของกลุ่มก่อความไม่สงบภาคใต้ด้วย[42]
ภูมิภาคสามจังหวัดภาคใต้ดังกล่าวนั้นเดิมเป็นรัฐสุลต่านปตานีดารุสซาลามซึ่งปกครองตนเองมาก่อน จนเมื่อมีการกลืนวัฒนธรรมทำให้เกิดความขัดแย้งเริ่มตั้งแต่ปี 2491[43] เป็นการก่อกำเริบการแยกออกทางเชื้อชาติและศาสนาในภูมิภาคมลายูปัตตานี[44] มีความรุนแรงเพื่อแบ่งแยกดินแดนระดับต่ำในภูมิภาคดังกล่าวหลายทศวรรษ แต่เหตุการณ์บานปลายหลังปี พ.ศ. 2544 โดยมีการกลับกำเริบในปี 2547 ระหว่างปี 2547–2554 มีผู้เสียชีวิต 4,500 คนและได้รับบาดเจ็บ 9,000 คน ลักษณะการก่อเหตุมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้แค้นมากขึ้น และเป็นการโจมตีไม่เลือกลดลง[45]
กลุ่มก่อความไม่สงบในระยะแรกมีเป้าหมายเพื่อแยกตัวออกเป็นอิสระ เช่น BNPP และ PULO ผู้นำท้องถิ่นเรียกร้องอัตตาณัติระดับหนึ่งแก่ภูมิภาคปัตตานีอย่างต่อเนื่อง และขบวนการผู้ก่อการกำเริบแยกตัวออกบางส่วนเรียกร้องให้มีการเจรจาสันติภาพ อย่างไรก็ดี หลังความรุนแรงรอบใหม่ในปี 2544 แม้ยังไม่ทราบกลุ่มก่อความไม่สงบแน่ชัด แต่มีการชี้ว่า GMIP, BRN-C และ RKK (กลุ่มติดอาวุธของ BRN) เป็นผู้นำการก่อเหตุ ซึ่งบางรายงานระบุว่ากลุ่มเหล่านี้ไม่ได้ต้องการแยกตัวเป็นอิสระ แต่ต้องการทำให้ภูมิภาคปาตานีปกครองไม่ได้[46]
สภาพ
ระหว่างปี 2547–2554 มีผู้เสียชีวิตกว่า 4,500 คน และได้รับบาดเจ็บกว่า 9,000 คนจากความไม่สงบ นับเป็นความขัดแย้งที่มียอดผู้เสียชีวิตสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[45] ในปี 2554 สถานการณ์กลายเป็นการคุมเชิงระดับต่ำ ส่วนใหญ่ลักษณะการก่อเหตุเป็นการประกบยิง แต่มีเหตุระเบิดแสวงเครื่องบ้างเฉลี่ย 12 ครั้งต่อเดือน[45] มีเหตุการณ์ความรุนแรงกว่า 11,000 ครั้งและการวางระเบิดกว่า 2,000 ครั้ง[47]
ข้างฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบไม่มีข้อเรียกร้องทางการเมืองออกมาชัดเจนจึงบอกไม่ได้ว่าเหตุใดความไม่สงบจึงปะทุกลับมาอีกครั้ง[48] อย่างไรก็ตาม ผู้สังเกตการณ์เสนอว่ามีการเปลี่ยนจากเป้าหมายด้านเชื้อชาติและชาติพันธุ์และแบ่งแยกดินแดนมาเป็นอิสลามิสต์หัวรุนแรง[48] สถานที่ก่อเหตุย้ายจากป่าเข้ามาในหมู่บ้าน เมืองและนคร สภาพดังกล่าวทำให้มีการใช้กลุ่มนักรบขนาดเล็ก 5–10 คน[49] กลางปี 2549 ตำรวจประเมินว่ามีนักรบ 3,000 คนปฏิบัติการใน 500 เซลล์ ทางการเชื่อว่าผู้ก่อความไม่สงบในเซลล์ในหมู่บ้านสองในสามจากทั้งหมด 1,574 แห่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้[50] โครงสร้างแบบเซลล์นี้ทำให้ไม่ต้องใช้เงินทุนสนับสนุนมากนัก ผู้ก่อความไม่สงบบางส่วนใช้เงินทุนสนับสนุนจากการจ้างงานของตนเอง รายงานของกลุ่มวิกฤตระหว่างประเทศปี 2548 ระบุว่า ผู้ก่อเหตุเป็นเยาวชน เคร่งศาสนา ติดอาวุธไม่ดีและพร้อมสละชีพเพื่ออุดมการณ์[50] กลางปี 2548 ยอดผู้เสียชีวิตมุสลิมสูงกว่ายอดผู้เสียชีวิตพุทธ ซึ่งเชื่อว่ามุสลิมที่ตกเป็นเป้านั้นใกล้ชิดกับทางการไทยหรือค้านความคิดอิสลามิสต์[51]
จากข้อมูลของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ พบว่า ความถี่ของการก่อเหตุขึ้น ๆ ลง ๆ แต่สูงสุดในปี 2550 (2,409 เหตุการณ์) และ 2555 (1,851 เหตุการณ์) ซึ่งศูนย์ฯ ตั้งข้อสังเกตว่าความถี่ของเหตุการณ์อาจเพิ่มขึ้นและลดลงเป็นวัฏจักรโดยจะมีความถี่สูงสุดทุก 5 ปี ยอดผู้เสียชีวิตรายปีลดลงทุกปีนับแต่ปี 2556[52]
อันดับ | พื้นที่ | จำนวนครั้ง |
---|---|---|
1 | อำเภอเมือง จังหวัดยะลา | 1,713 |
2 | อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส | 1,191 |
3 | อำเภอรามัน จังหวัดยะลา | 1,099 |
4 | อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส | 1,054 |
5 | อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา | 1,035 |
6 | อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี | 1,016 |
7 | อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี | 863 |
8 | อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี | 840 |
9 | อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี | 790 |
10 | อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส | 639 |
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ตั้งข้อสังเกตว่าพื้นที่ที่มีการก่อเหตุสูงสุดเป็น 7 หัวเมืองประวัติศาสตร์เดิม อันประกอบด้วย เมืองปัตตานี ยะหริ่ง หนองจิก ยะลา รามัน สายบุรี และระแงะ[52]
การก่อเหตุ
ส่วนใหญ่ผู้ก่อเหตุมุ่งเป้าไปยังกำลังความมั่นคงและสัญลักษณ์อำนาจของรัฐไทยอย่างข้าราชการ โรงเรียนและวัด แต่ผู้เสียชีวิตกว่า 90% เป็นพลเรือน[53] มีการตัดศีรษะ แขวนคอและทุบตี มีการฆ่าผู้หญิง เด็ก ครูและพระสงฆ์ และมีการหายตัวอยู่เป็นนิจ[54]
การโจมตีระยะแรก ๆ เป็นการประกบยิงใส่นายตำรวจที่ลาดตระเวนจากมือปืนหรือจักรยานยนต์ หลังปี 2544 ลักษณะการก่อเหตุบานปลายเป็นการโจมตีที่มีการประสานงานกันอย่างดีใส่สถานที่ตั้งของตำรวจ เช่น สถานีตำรวจและด่านตรวจ แล้วหลบหนีไปพร้อมกับขโมยอาวุธและเครื่องกระสุน ยุทธวิธีอื่นที่ใช้เพื่อเรียกชื่อเสียงจากความตื่นตระหนกและหวาดกลัว ได้แก่ การฆ่าพระสงฆ์ การวางระเบิดวัด การตัดศีรษะ การข่มขู่พ่อค้าหมูและลูกค้า ตลอดจนการวางเพลิงโรงเรียน ฆ่าครูและอำพรางศพ[55]
จุดมุ่งหมายของการก่อเหตุมีลักษณะโจมตีไม่เลือกลดลง และเป็นการโจมตีแก้แค้นมากขึ้น โดยมีกำลังความมั่นคง ข้าราชการและมุสลิมสายกลางเป็นเป้าหมาย[45] มีการใช้ระเบิดแสวงเครื่องขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 5–10 กิโลกรัม สร้างขึ้นจากถึงแก๊สหุงต้ม หรือถังดับเพลิงบรรจุแอมโมเนียมไนเตรตซึ่งมีราคาถูก ระเบิดในภายหลังมีแนวโน้มใช้อุปกรณ์วิทยุจุดแทนโทรศัพท์เคลื่อนที่[56] และมีการใช้ระเบิดแสวงเครื่องแบบหน่วงเวลา (time-delayed) มากขึ้นเพื่อมุ่งเป้าไปยังผู้รับแจ้งเหตุ[57] การลอบยิง ซึ่งอาจเป็นการซุ่มโจมตีหรือการยิงประกบจากมอเตอร์ไซค์ เป็นวิธีการฆ่าหลัก และเปลี่ยนมามีรูปแบบการแก้แค้นมากขึ้น[57] ความรุนแรงระหว่างมุสลิมด้วยกันเป็นเรื่องการแก่งแย่งอำนาจมาโดยตลอด[57] กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบต้องการไล่พุทธออกจากพื้นที่ ส่วนพุทธที่เหลืออยู่อยู่ในพื้นที่ที่มีอาวุธแน่นหนา[57] การก่อเหตุลอบวางเพลิงลดลง ส่วนหนึ่งเพราะมีทหารคุ้มครอง และบางส่วนเพราะมุสลิมไม่พอใจที่โรงเรียนถูกเผา[58] ผู้ก่อความไม่สงบไม่เต็มใจยิงปะทะและมักเป็นไปเพื่อป้องกันตัว แต่มีแหล่งข่าวระบุว่ามีการยิงปะทะยืดเยื้อเฉลี่ยเดือนละ 4 ครั้ง[59]
ในปี 2561 การโจมตีกำลังความมั่นคงลดลงเหลือ 1–2 ครั้งต่อเดือน ยุทธวิธีที่นิยมใช้ยังเป็นการวางระเบิดริมถนนและการยิง มีการใช้ระเบิดท่อเหล็ก เครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม79 และปืนเล็กยาวเอ็ม16 ในการก่อเหตุ[60]
เบื้องหลัง
ภูมิหลังประวัติศาสตร์
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ |
พรรคการเมืองหลักที่เกี่ยวข้อง
|
การเมืองไทย • ประวัติศาสตร์ไทย |
อดีตรัฐสุลต่านปาตานีซึ่งกินอาณาเขตสามจังหวัดชายแดนใต้ของไทยปัจจุบัน ได้แก่ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส ตลอดจนบางส่วนของจังหวัดสงขลาที่อยู่ใกล้เคียง และส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศมาเลเซียส่วนที่อยู่ปลายคาบสมุทรมลายูปัจจุบันถูกราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์พิชิตในปี พ.ศ. 2328 สนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม พ.ศ. 2452 ยืนยันการปกครองของสยามเหนือดินแดนดังกล่าว ทว่า ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 รัฐบาลรัตนโกสินทร์ปล่อยให้ดินแดนดังกล่าวมีอำนาจปกครองตัวเองเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งการคงกฎหมายอิสลาม จนในปี 2486 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ริเริ่มกระบวนการแผลงเป็นไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกลืนวัฒนธรรมชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศ รวมทั้งชาวปาตานี[61] ในปี 2487 มีการใช้บังคับกฎหมายแพ่งของไทยในภูมิภาคปาตานีแทนการปกครองแบบอิสลามท้องถิ่นเดิม หลักสูตรในโรงเรียนมีการทบทวนให้ยึดไทยเป็นศูนย์กลาง และสอนเป็นภาษาไทย ศาลมุสลิมตามประเพณีถูกแทนที่ด้วยศาลแพ่งที่รัฐบาลกลางในกรุงเทพมหานครเห็นชอบ การกลืนวัฒนธรรมแบบบังคับนี้เป็นที่ระคายเคืองต่อชาวมาเลย์ปาตานี[62]
ในปี 2490 หะยีสุหลง ผู้ก่อตั้งขบวนการประชาชนปาตานี เริ่มการรณรงค์ร้องทุกข์ โดยเรียกร้องอัตตาณัติ สิทธิทางภาษาและวัฒนธรรม และการใช้กฎหมายอิสลาม[63] ในเดือนมกราคม 2491 สุหลงถูกจับฐานกบฏร่วมกับผู้นำท้องถิ่นอื่น และถูกตราว่าเป็น "ผู้แบ่งแยกดินแดน"[63] ในเดือนเมษายน 2491 เกิดการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและชาวบ้านไทยมุสลิมเชื้อสายมลายู เรียก กบฏดุซงญอ ต่อมา สุหลงได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำในปี 2495 ก่อนหายตัวไปภายใต้พฤติการณ์น่าสงสัยในปี 2497[63]
ผู้นำปาตานีปฏิเสธการรับรองว่าเป็นชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ และตอบโต้นโยบายของรัฐบาลไทย ขบวนการชาตินิยมปาตานีเริ่มเติบโตขึ้นโดยได้รับแรงบันดาลใจจากอุดมการณ์อย่างนิยมนัสเซอร์ (Nasserism) ในคริสต์ทศวรรษ 1950 โดยในปี 2502 อดุลย์ ณ สายบุรีก่อตั้งขบวนการแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติปัตตานี (BNPP) ซึ่งเป็นกลุ่มกบฏมลายูกลุ่มแรก[63] ตามมาด้วยองค์กรปลดปล่อยสหปัตตานี (PULO) ในปี 2511 ณ เวลาการก่อตั้ง เป้าหมายของกลุ่มชาตินิยมเหล่านี้ได้แก่การแยกตัวออก มีการเน้นสู่การต่อสู้ด้วยอาวุธสู่รัฐเอกราชซึ่งชาวปาตานีสามารถใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีโดยไม่ถูกบังคับด้วยค่านิยมวัฒนธรรมต่างด้าว[64]
หลังจากนั้นมีการกำเนิดกลุ่มแบ่งแยกดินแดนหลายกลุ่มในภาคใต้ แม้มีอุดมการณ์ต่างกันแต่ส่วนใหญ่มีเป้าหมายแบ่งแยกดินแดนร่วมกัน ล้วนใช้ความรุนแรงเพื่อบรรลุเป้าหมาย มีการกำหนดรูปแบบการโจมตีที่ตั้งของตำรวจและทหาร เช่นเดียวกับโรงเรียนและสถานที่ราชการ อย่างไรก็ดี ประสิทธิภาพของกลุ่มเหล่านี้จำกัดด้วยความขัดแย้งภายในและการขาดความเป็นหนึ่งเดียวกัน[65]
ขอบเขตของความไม่สงบลดลงอย่างมากในปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 เนื่องจากไม่มีกลุ่มพูโล และรัฐบาลไทยเริ่มเพิ่มงบประมาณในพื้นที่และเพิ่มความเข้าใจในท้องถิ่น จนมีการตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอบต.) เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว อย่างไรก็ดี รัฐบาลไทยดำเนินการช้าในการยกฐานะทางเศรษฐกิจในพื้นที่และยังมีการปิดกั้นชาวมลายูมุสลิมในธุรกิจและการปกครองท้องถิ่น จนมีการยุบ ศอบต.[66]: 8–9
ความรุนแรงรอบใหม่เริ่มขึ้นในปลายปี 2544 หลังจากนั้นระดับความไม่สงบค่อย ๆ สูงขึ้นในช่วงสองปีถัดมา จนต้นปี 2547 มีปฏิบัติการปล้นอาวุธจากค่ายทหารในจังหวัดนราธิวาส[66]: 9 แม้ยังไม่อาจทราบตัวการแน่ชัดและไม่มีข้อเรียกร้องเป็นรูปธรรม แต่มีการระบุว่ากลุ่มที่ได้รับฟื้นฟูอย่าง ขบวนการมูจาฮีดีนอิสลามปัตตานี (GMIP), บีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต (BRN-C) และฝ่ายติดอาวุธตามอ้าง รุนดากุมปูลันเกอจิล (RKK) เป็นหัวหอกการก่อการกำเริบใหม่นี้[67]
ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
มีการอ้างว่าความยากจนและปัญหาเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยหนึ่งเบื้องหลังการก่อการกำเริบด้วย[68][69] อย่างไรก็ตาม ข้อมูลส่อความว่าภาคใต้ไม่ได้มีปัญหาความยากจน ภาคใต้มีสุขภาพและการเคหะติดอันดับต้น ๆ ของประเทศ[70] ในแง่ของดัชนีความสำเร็จของมนุษย์นั้น จังหวัดภาคใต้ติดอันดับทั้งต้นและท้าย ในแง่ของรายได้ครัวเรือน ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ติดอันดับครึ่งบนของประเทศ ยกเว้นจังหวัดปัตตานี อย่างไรก็ดี จังหวัดดังกล่าวมีปัญหาเรื่องการว่างงานและการกระจายรายได้[70]
ปัจจัยทางการศึกษา
ในระบบโรงเรียนปอเนาะ (Ponok) ของไทย พบว่ามีบางโรงเรียนที่มีเป้าหมายการแบ่งแยกดินแดน หรือการทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ เพื่อตอบโต้รัฐบาลไทย ที่ชาวมุสลิมมลายูในพื้นที่เชื่อว่ากดขี่ข่มเหงพวกเขาชัดเจน ระบบโรงเรียนดังกล่าวถูกกลุ่มแบ่งแยกดินแดนหัวรุนแรงแทรกซึม แล้วเผยแพร่ลัทธิอุดมการณ์ ซึ่งหน่วยข่าวกรองกองทัพบก ระบุว่า โรงเรียนสอนศาสนากลายเป็นแหล่งบ่มเพาะสมาชิกใหม่ของกลุ่มต่าง ๆ และหัวหน้ากลุ่มแบ่งแยกดินแดนนั้น ก็สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนปอเนาะ[71]
ขบวนการ
ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี (BRN) ควบคุมกำลังก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้มากที่สุด ขบวนการดังกล่าวมีโครงสร้างแบบแบ่งเป็นส่วนซึ่งให้สมาชิกมีอัตตาณัติและความยืดหยุ่นในการลงมือ มีสภาปกครองเรียก สภาองค์กรนำ (Dewan Pimpinan Parti หรือ DPP) มีสมาชิกเกือบ 10,000 คน ซึ่งร่วมสายข่าว ผู้สนับสนุนและผู้เห็นใจด้วย ในเดือนมกราคม 2560 ดุนเลาะ แวะมะนอเป็นผู้นำกลุ่มแทนสะแปอิง บาซอ[72] ดุนเลาะเป็นที่ทราบกันว่าเป็นสายแข็ง และหลังเขาดำรงตำแหน่งผู้นำ การก่อเหตุในปี 2561 แสดงให้เห็นว่ามีการวางแผนอย่างดีโดยมีการวางระเบิดหลายจุดประสานงานกัน[73] ผู้ก่อความไม่สงบในประเทศไทยมีอุดมการณ์ต่างจากรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ เพราะต้องการตั้งมาตุภูมิของตนเอง ไม่ใช่รัฐเคาะลีฟะฮ์ข้ามชาติ นอกจากนี้ผู้ก่อความไม่สงบในประเทศไทยยังไม่ใช้วิธีโจมตีฆ่าตัวตาย ไม่เลือกเป้าหมายหรือโจมตีเน้นยอดผู้เสียชีวิตมากเพราะเกรงว่าจะเสียผู้สนับสนุน[74]
ขบวนการผู้ก่อความไม่สงบเองก็ไม่มีเอกภาพและมีหลายกลุ่มแยกเช่นเดียวกับรัฐ ผู้อาวุโสและมีประสบการณ์มากกว่ามักมีแรงจูงใจชาตินิยมและศาสนามากกว่า ส่วนนักรบท้องถิ่นด้อยอาวุโสมีความสัมพันธ์กับเครือข่ายอาชญากรท้องถิ่นมากกว่า[75]
ระดับ | ลักษณะ |
---|---|
จือแว "ตัวจริง" | อุดมการณ์เข้มแข็ง ฝึกอย่างดี ไม่ยุ่งกับกิจกรรมผิดกฎหมาย มีความรู้ |
จือแว "ระดับสอง" | พวกหัวรุนแรง "ดี" ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ค้าไม้ผิดกฎหมาย ปฏิบัติตามคำสั่ง |
จือแว "ระดับสาม" | พวกหัวรุนแรง "ไม่ดี" ซื้อขายยาเสพติด เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจผิดกฎหมาย ปฏิบัติการอิสระ |
โจร | ใช้ยาเสพติด ปล้น ฆ่าไม่เลือก |
กลุ่มก่อความไม่สงบปัจจุบันประกาศญิฮัดและไม่ใช่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนอีกต่อไป ส่วนใหญ่มีสายแข็งซาลาฟีเป็นหัวหน้า ซึ่งมีเป้าหมายสุดขั้วและข้ามชาติ อย่างรัฐเคาะลีฟะฮ์อิสลาม โดยไม่มีอัตลักษณ์วัฒนธรรมปาตานีหรือชาตินิยม กลุ่มญิฮัดซาลาฟีเป็นปรปักษ์ต่อมรดกทางวัฒนธรรมและวัตรของมุสลิมมลายูตามประเพณีโดยกล่าวหาว่าทั้งสองสิ่งนี้ไม่เป็นอิสลาม[65] กลุ่มนี้ไม่เดือดร้อนเกี่ยวกับการเป็นชาติเอกราช แต่เป้าหมายคือทำให้ภูมิภาคปาตานีปกครองไม่ได้[46]
เหตุการณ์สำคัญ
- ปี 2547
- 4 มกราคม – เกิดเหตุการณ์ปล้นปืนค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ทำให้ทหารเสียชีวิต 4 นาย
- 12 มีนาคม – สมชาย นีละไพจิตร ทนายความสิทธิมนุษยชนอิสลาม ถูกลักพาตัว
- เมษายน – กำลังความมั่นคงฆ่าผู้ต้องสงสัยก่อความไม่สงบ 34 คนที่มัสยิดกรือเซะ
- ตุลาคม – มีการจับกุมผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลที่อำเภอตากใบ มีผู้เสียชีวิต 87 คนเนื่องจากขาดอากาศระหว่างการขนย้ายด้วยรถบรรทุกทหาร
- ปี 2548
- รัฐบาลตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความปรองดองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
- 3 เมษายน – เกิดเหตุระเบิดหลายจุดในจังหวัดสงขลา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน และได้รับบาดเจ็บ 66 คน
- ปี 2549
- 31 สิงหาคม – เกิดระเบิดธนาคารพาณิชย์พร้อมกัน 22 แห่งในจังหวัดยะลา มีผู้เสียชีวิต 1 คน และได้รับบาดเจ็บ 24 คน พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ประกาศว่าจะเปิดเจรจา แต่สุดท้ายก็ยอมรับว่าไม่รู้ว่าจะเจรจากับใคร
- 16 กันยายน – เกิดระเบิดรถจักรยานยนต์ที่จุดชนวนระยะไกลในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีผู้เสียชีวิต 4 คน และได้รับบาดเจ็บอีกกว่า 60 คน
- 31 ธันวาคม – เกิดระเบิด 9 จุดในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีการเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในภาคใต้ มีผู้เสียชีวิต 3 คน และได้รับบาดเจ็บประมาณ 38 คน
- ปี 2550
- มีนาคม – สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงให้คำมั่นว่าจะคุ้มครองชาวใต้ และริเริ่มโครงการฝึกอาวุธแก่คนท้องถิ่น
- ปี 2555
- 31 มีนาคม – เหตุระเบิดที่ภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2555: เกิดเหตุการณ์คาร์บอมบ์ 2 จุดที่ จังหวัดยะลา มีผู้เสียชีวิต 11 ราย บาดเจ็บ 127 ราย[76] และคาร์บอมบ์ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในโรงแรมลีการเด้นส์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย[77] และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 416 ราย[78]
- ปี 2556
- มีการเจรจาสันติภาพในกรุงกัวลาลัมเปอร์ซึ่งเริ่มในเดือนกุมภาพันธ์ อย่างไรก็ดี ฝ่ายไทยไม่แน่ใจว่าตัวแทนของกลุ่ม BRN ที่มีเจรจาด้วยมีอำนาจสั่งการหรือไม่ และปฏิเสธข้อเรียกร้องของฝ่าย BRN การเจรจายุติในเดือนสิงหาคม
การพยายามแก้ปัญหาของภาครัฐ
ปฏิบัติการปราบปรามการก่อการกำเริบของทางการมีระบบราชการที่ล่าช้าและการขาดความเป็นมืออาชีพเป็นอุปสรรค รวมทั้งมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและความไม่ไว้วางใจรัฐบาล[45] นโยบายการตอบสนองต่อความไม่สงบของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ทำให้เหตุการณ์บานปลายยิ่งขึ้น[47] รัฐบาลวางกำลังตำรวจและทหารรวม 24,000 นายในภาคใต้[63]: 17 ในปี 2547 กองทัพภาคที่ 4 ตั้งกองบัญชาการส่วนหน้าเพื่อประสานงานปฏิบัติการทางทหารในภาคใต้ ปีเดียวกันมีการประกาศกฎอัยการศึกทั่วจังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาส ทำให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมบุคคลโดยไม่มีหมายศาล และสามารถค้นและกักขังโดยไม่ต้องแจ้งข้อหาได้[63]: 18 มีการเปลี่ยนตัวผู้บัญชาการถึง 3 ครั้งระหว่างปี 2547–49 นอกจากนี้ยังมีการขัดขากันเองของหน่วยงานในกองทัพภาคที่ 4 และการวางกำลังแบบอยู่กับที่ จึงมีผลทำให้ยกชนบทให้แก่ผู้ก่อการกำเริบ[79] ในปี 2548 รัฐบาลตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความปรองดองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีการเสนอแนะนโยบายและวิธีดำเนินงานหลายอย่าง แต่รัฐบาลไม่รับทำ[80]
หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 รัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์ กล่าวขอโทษต่อประชาชนภาคใต้ ปรับปรุงความสัมพันธ์กับประเทศมาเลเซีย และเสนอการปฏิรูปหลายอย่าง แต่มีการปฏิบัติจริงเพียงเล็กน้อย[81] รัฐบาลให้ตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ใหม่ แต่กว่าหน่วยงานดังกล่าวจะเข้ามามีบทบาทเข้มแข็งในการประสานงานปฏิบัติการข่าวกรองและยุทธวิธีก็ปลายปี 2552–ต้นปี 2553[82] หลายรัฐบาลตั้งแต่รัฐบาลทักษิณมาจนถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาความไม่สงบต่ำ[83]
มีการจัดอาสาสมัครป้องกันหมู่บ้านเพื่ออารักขาครูในพื้นที่ แต่อาสาสมัครดังกล่าวติดอาวุธเบา และไม่มีเครื่องป้องกัน[84] นอกจากนี้ ทหารพรานซึ่งมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเสียมาก มีการชั่งใจในการเลือกเป้าหมายต่ำและมักก่อวิสามัญฆาตกรรมและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างอื่น อาวุธปืนมักเป็นอาวุธที่ปลดประจำการแล้ว[85]
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก สั่งเพิ่มทหารและการลาดตระเวน ทำให้การก่อเหตุที่สูงสุดในปี 2550 ค่อย ๆ ลดลง[81] ในปี 2554 ทางการมีกำลังความมั่นคงในพื้นที่ 60,000 นาย โดยรวมทหารพราน 10,000 นาย จนถึงปีนั้น รัฐบาลใช้งบประมาณเพื่อพยายามแก้ปัญหาในพื้นที่ 145,000 ล้านบาท[86] ในปี 2550 กองทัพใช้วิธีกักขังหมู่ผู้ต้องสงสัยกว่า 2,000 คน ในคดีความมั่นคงกว่า 7,400 คดีนั้น ปิดคดีไม่ได้กว่า 77% และชาวบ้านที่ถูกตำรวจจับจนถึงปี 2554 นั้นมีเพียง 19% ที่ถูกตั้งข้อหา ศาลสั่งปล่อยตัวผู้ต้องขังกว่า 90% ด้านกองทัพใช้วิธีกักขังซึ่งอาจนานถึง 12 ถึง 18 เดือน แล้วหลังปล่อยตัวไม่ได้รับให้กลับภูมิลำเนาเดิม[87]
รัฐบาลอภิสิทธิ์อัดฉีดงบประมาณพัฒนาห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ปี 2552–2555 เป็นจำนวน 63,000 ล้านบาท[70] อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีนโยบายลงโทษ "พื้นที่สีแดง" คือ จะให้งบประมาณแก่พื้นที่ที่มีอัตราความไม่สงบต่ำ นอกจากนี้ยังมีองค์การนอกภาครัฐระบุว่างบพัฒนาหายไป 20% และหลายคนเสนอว่างบประมาณอาจไปสนับสนุนฐานเสียงพรรคประชาธิปัตย์[88]
วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามคำสั่งนายกรัฐมนตรี กำหนดให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คผบ.จชต.) ประกอบด้วย ประธาน 1 คน และคณะกรรมการ 5 คน ซึ่งมี 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านความมั่นคง 2. ด้านการต่างประเทศ 3. ด้านการศึกษา 4. ด้านเศรษฐกิจ และ 5. ด้านสังคมพหุวัฒนธรรม มีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี
วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานคณะกรรมการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2564 นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งหมด 5 รายชื่อ ประกอบด้วย 1. พล.อ.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ ด้านความมั่นคง 2. รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ด้านการต่างประเทศ 3. นายเชื่อง ชาตอริยะกุล ด้านเศรษฐกิจ 4. นายการุณ สกุลประดิษฐ์ ด้านการศึกษา 5. นายดลเดช พัฒนรัฐ ด้านสังคมพหุวัฒนธรรม[89]
งบประมาณแผ่นดินเพื่อการแก้ปัญหาและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (หน่วย: ล้านบาท)[52]
การเจรจา
รัฐบาลไทยเจรจาโดยอ้อมกับผู้ก่อความไม่สงบตั้งแต่สมัยนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร แต่ไม่ใช่ทุกกลุ่มที่เห็นชอบกับการเจรจา[90] ผู้นำองค์การปัตตานีมีการประชุมกันทุก 2 เดือนในประเทศมาเลเซีย โดยองค์การข่าวกรองภายนอกและกระทรวงกลาโหมมาเลเซียเป็นผู้ผลักดัน แต่การเจรจาไม่มีความคืบหน้าตั้งแต่ปี 2550 ผู้นำกลุ่ม BRN-C ที่ก่อเหตุมากที่สุด ไม่เห็นประโยชน์ของการเจรจา รวมทั้งสมาชิกเข้าร่วมการประชุมในมาเลเซียแต่ไม่ยอมเจรจากับรัฐบาลไทย[90]
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ผู้แทนรัฐบาลยิ่งลักษณ์และกลุ่ม BRN ลงนาม "ฉันทามติทั่วไปว่าด้วยกระบวนการเจรจาสันติภาพ" ที่แสดงเจตนาของรัฐบาลที่จะเจรจากับผู้ก่อความไม่สงบ ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ นับเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลไทยรับรองกลุ่มก่อความไม่สงบอย่างเปิดเผย[91]: 3 อย่างไรก็ดี นักวิจารณ์มองว่าทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้ริเริ่มนโยบายดังกล่าว และมองว่าเขาต้องการแก้ไขภาพลักษณ์ของตนที่ดำเนินนโยบายผิดพลาดในสมัยรัฐบาลเขา และสภาผู้นำ BRN ไม่รับรองการเจรจาดังกล่าว ต่อมา BRN มอบหมายให้ผู้นำสายแข็งสองคนก่อนการประชุมรอบแรกในเดือนมีนาคม 2556[91]: 3–4 BRN ออกข้อเรียกร้องห้าข้อในรูปวิดีทัศน์ทางยูทูบก่อนการประชุมรอบแรก ซึ่งในการประชุมรอบสองในเดือนเมษายน 2556 รัฐบาลแถลงว่ากำลังพิจารณาเพิกถอนหมายจับผู้ต้องสงสัยก่อความไม่สงบซึ่งเป็นข้อเรียกร้องหนึ่ง ในการประชุมรอบสามในเดือนมิถุนายน ผู้แทน BRN ตกลงว่าจะพยายามลดความรุนแรง[91]: 4–5 การเจรจาดังกล่าวทำให้เกิดข้อริเริ่มสันติภาพเราะมะฎอนซึ่งมุ่งลดความรุนแรงในช่วงถือศีลอด[91]: 5 วันที่ 12 กรกฎาคม ประเทศมาเลเซียประกาศว่าทั้งสองฝ่ายพยายามลดความรุนแรงตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคมถึง 18 สิงหาคม[91]: 5 อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ระเบิดแสวงเครื่องและการตอบโต้ของทางการทำให้การลดความรุนแรงล้มเหลว วันที่ 6 สิงหาคม มีวิดีทัศน์จากกลุ่ม BRN ว่ากลุ่มระงับการเจรจากับรัฐบาลไทย[91]: 6
ในเดือนเมษายน 2560 กลุ่มบีอาร์เอ็นออกแถลงการณ์เรียกร้องเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลไทย โดยให้มีตัวกลางไกล่เกลี่ยที่เป็นกลางจริง ๆ มีอำนวยการ[92] แต่บีอาร์เอ็นจะรอจนฝ่ายการเมืองของกลุ่มมีความพร้อมเสียก่อน และจะไม่เจรจาหากถูกกดดัน[93]
ต่อมาได้มีการแต่งตั้งหัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ จาก พล.อ.อักษรา เกิดผล เป็น พล.อ.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์[94] และมี พล.ต.อ.ตัน สรี อับดุล ราฮิม บินโมฮัมหมัด นูร์ เป็นหัวหน้าคณะผู้อำนวยความสะดวกในการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประเทศมาเลเซีย[95]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ผลกระทบ
ระหว่างปี 2547–2552 มีมุสลิมเสียชีวิต 2,337 คน พุทธเสียชีวิต 1,607 คน มุสลิมได้รับบาดเจ็บ 2,389 คน และพุทธได้รับบาดเจ็บ 4,207 คน จนถึงปี 2554 ความไม่สงบทำให้เกิดหญิงหม้าย 2,100 คนและเด็กกำพร้า 5,000 คน[96] ในปี 2562 ยอดเด็กกำพร้าในพื้นที่เพิ่มเป็น 9,800 คน[97]
ผลทำให้ประชากรพุทธกว่า 20% หนีออกจากพื้นที่[47] ชาวพุทธที่เหลือส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมือง ชาวพุทธในชนบทส่วนมากอยู่รวมกันโดยติดอาวุธแน่นหนา มีผู้ตั้งข้อสันนิษฐานว่าที่การก่อเหตุลดลงเพราะผู้ก่อเหตุประสบความสำเร็จในการขับไล่ชาวพุทธบางส่วนออกจากพื้นที่[96] ผลจากการฆ่าพระสงฆ์ในพื้นที่ทำให้สภาสงฆ์นราธิวาสสั่งงดบิณฑบาต ทำให้ชาวพุทธในพื้นที่เสียกำลังใจ[96] เหตุการณ์ดังกล่าวยังทำให้มีการลงมือตอบโต้กับนักบวชและครูมุสลิม[96] ในเดือนมิถุนายน 2552 เกิดเหตุแก้แค้นโจมตีมัสยิดในอำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ถูกกลุ่มมือปืนโจมตี ซึ่งมีผู้ต้องสงสัยเป็นกลุ่มอาสาสมัครหมู่บ้านและมีผู้สนับสนุนระดับสูง[98]
อัตรามารดาเสียชีวิตขณะคลอดในจังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาสคิดเป็น 9% ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานประเทศสามเท่า โดยสาเหตุมาจากความรุนแรงทำให้ไม่ได้รับการฝากครรภ์อย่างเหมาะสม อัตราดังกล่าวเพิ่มขึ้นสองเท่าระหว่างปี 2546 ถึง 2549[96] อัตราตายทารกสูงกว่าค่าเฉลี่ยประเทศ 30% นอกจากนี้ยังมีปัญหาไม่ได้แจ้งเกิด ไม่ได้รับวัคซีนและทุพโภชนาการ[96] ปัญหาความไม่สงบยังทำให้ขาดแคลนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ โดยมีการขอย้ายออกกว่า 9,000 คน และคงเหลือพยาบาลภาครัฐในห้าจังหวัดใต้สุดของประเทศ 1,300 คน[96]
ดูเพิ่ม
|
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Wassana Nanuam (August 2015). "Engagement of Malaysia and Indonesia on Counter Insurgency in the South of Thailand" (PDF). Asia Pacific Center for Security Studies. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2015. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
- ↑ "Southern Thailand Peace Talks: The Long and Winding Road - An Analysis" (PDF). Universiti Malaysia Sarawak (Institutional Repository). 2013. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2015. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
- ↑ "ผบ.ทบ.เยือนอินโดฯ ชู "อาเจะห์โมเดล" ดับไฟใต้ "สร้างความเข้าใจ ไม่แยกดินแดน"". สำนักข่าวอิศรา. 15 January 2020.
- ↑ "กต.กาต้าร์ แถลงการณ์ประณามอย่างรุนแรงต่อเหตุการณ์ระเบิดตลาดนัดบ่อทอง". 18 July 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-28. สืบค้นเมื่อ 2019-10-21.
- ↑ "คณะลูกเรือไทยสายการบินกาตาร์แอร์เวยส์ มอบอุปกรณ์จำเป็นแก่ จนท.ชายแดนใต้ (ชมคลิป) | ข่าวชายแดนใต้ | แอดชายแดนใต้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-30. สืบค้นเมื่อ 2020-01-06.
- ↑ "บทบาทตุรกีในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้". สำนักข่าวอิศรา. 27 July 2016.
- ↑ "เยอรมัน ก็มา". 25 June 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-29. สืบค้นเมื่อ 2020-12-12.
- ↑ "'กต.เยอรมัน' เยือน 'ศอ.บต.' ปลื้มทำงานยึดปชช.เป็นที่ตั้ง". 20 November 2019.
- ↑ "ทูตนิวซีแลนด์พบ "นายกฯ" พร้อมช่วยเหลือด้านนิติวิทยาศาสตร์พื้นที่ชายแดนใต้ไทย". 25 August 2016.
- ↑ "'ศรีวราห์' จับมือฝ่ายมั่นคงออสเตรเลีย สกัดเว็บไซต์ก่อการร้าย".[ลิงก์เสีย]
- ↑ "พบ50เว็บไซต์ไอเอสโยง3จว.ชายแดนใต้". posttoday.com.
- ↑ "พบ 50 เว็บไซต์ IS โยง 3 จังหวัดชายแดนใต้". bangkokbiznews.com/.
- ↑ "หน่วยข่าวตั้งข้อสังเกตรัสเซียแจ้งเตือน IS เข้าไทย - ชายแดนใต้เฝ้าระว..." สำนักข่าวอิศรา. 4 December 2015.
- ↑ "'ท่องเที่ยวรัสเซีย' เตือนชาวรัสเซียในไทยระวังเหตุก่อการร้าย-หลีกเลี่ยงที่ชุมชน". 20 April 2017.
- ↑ "ความสัมพันธ์กับไทย - ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในแคนาดา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-28. สืบค้นเมื่อ 2020-03-28.
- ↑ "ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ศูนย์บัญชาการทางทหาร ส่งมอบพื้นที่ปลอดภัยจากทุ่นระเบิดและกับระเบิด ในพื้นที่อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา". thainews.prd.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-08. สืบค้นเมื่อ 2020-03-28.
- ↑ "ได้เวลาตีตรา "บีอาร์เอ็น" องค์กรก่อการร้าย...หรือยัง?". สำนักข่าวอิศรา. 11 May 2017.
- ↑ ""คนกู้ระเบิด" ชีวิตบนเส้นด้าย ตร.เสริมทักษะ-เพิ่มความรู้ ลดความเสี่ยง". Thai PBS. 7 September 2016.
- ↑ "สหรัฐฯ ส่ง K-9 ช่วยตำรวจไทย".
- ↑ 20.0 20.1 20.2 "Conflict in Southern Thailand" (PDF). Melbourne Law School Paper. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 April 2013. สืบค้นเมื่อ 6 December 2014.
- ↑ แม่แบบ:Https://jamestown.org/program/briefs-366/
- ↑ "Thailand Islamic Insurgency". Global Security. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2014. สืบค้นเมื่อ 6 December 2014.
- ↑ เปิดโปง “แก๊งค้ายา” ชายแดนใต้ ตัวการใหญ่สัมพันธ์ลึก “บิ๊กจิ๋ว”
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-10. สืบค้นเมื่อ 2021-12-21.
- ↑ "Project MUSE - Conflict and Terrorism in Southern Thailand (review)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2015. สืบค้นเมื่อ 17 July 2015.
- ↑ 26.0 26.1 "Southern Thailand: Insurgency, Not Jihad" (PDF). Asia Report №98. 18 May 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 December 2014. สืบค้นเมื่อ 6 December 2014.
- ↑ "ทหารยะลาปรับด่านความมั่นคง สร้างสีสันและรอยยิ้ม ควบคู่มาตรการดูแลความปลอดภัยช่วงปีใหม่". 26 December 2019.
- ↑ "45 ปี กองพลทหารราบที่ 5 จาก …ปราบปรามคอมมิวนิสต์มาลายา สู่….ความมั่นคง ด้ามขวาน ยัน ปัญหาชายแดนใต้". 3 March 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-31. สืบค้นเมื่อ 2023-12-28.
- ↑ "คอลัมน์การเมือง - กองกำลังทหารพรานกองทัพภาคที่4 หน่วยรบจรยุทธ์ชุดดำในพื้นที่ภาคใต้". naewna.com. 14 December 2019.
- ↑ "Tycoon's Pattani timber factory raided". Bangkok Post.
- ↑ ""บิ๊กณะ"ปลุกขวัญกำลังพลนาวิก ลงพื้นที่ป้องภัยชายแดนใต้". ข่าวสด. 13 September 2017.
- ↑ "นาวิกโยธินฝึกเข้ม เตรียมพร้อมผลัดเปลี่ยนกำลังลงชายแดนใต้". thairath.co.th. 25 July 2017.
- ↑ ""ทัพฟ้า" ส่งกำลังพลดูแลความสงบ 3 จังหวัดชายแดนใต้". ข่าวสด. 28 September 2017.
- ↑ ""ทัพฟ้า"ส่งกำลังพลปฏิบัติหน้าที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้". ข่าวสด. 1 October 2018.
- ↑ "ทัพฟ้า เพิ่มบทบาทที่ชายแดนใต้". 18 July 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-29. สืบค้นเมื่อ 2020-12-12.
- ↑ "เปิดใจ ตชด.หญิง แม่พิมพ์หัวใจแกร่งในพื้นที่สีแดง". 17 January 2014.
- ↑ "Summary of Incidents in Southern Thailand, JULY 2020 | DeepSouthWatch.org". deepsouthwatch.org.
- ↑ "Insurgency claimed 6,543 lives in last 12 years". Bangkok Post. 4 January 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2017. สืบค้นเมื่อ 29 February 2016.
- ↑ "ACLED Asia Data Release". ACLED. 6 April 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2017. สืบค้นเมื่อ 30 November 2017.
- ↑ "Thailand's troubled Deep South makes another bid for peace". Nikkei Asia.
- ↑ "Police say bomb at soccer match in southern Thailand wounds 14 officers". The San Diego Union-Tribute. Associated Press. 14 มิถุนายน 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ธันวาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2015.
- ↑ "27 wounded as 3 blasts hit Songkhla tourist area". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 14 October 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Thailand/Malay Muslims (1948-present)". University of Central Arkansas. สืบค้นเมื่อ 30 August 2015.
- ↑ International Herald Tribune, "Police say bomb at soccer match in southern Thailand wounds 14 officers", 14 June 2007
- ↑ 45.0 45.1 45.2 45.3 45.4 Abuza, p. 1
- ↑ 46.0 46.1 Zachary Abuza, The Ongoing Insurgency in Southern Thailand, INSS, p. 20
- ↑ 47.0 47.1 47.2 Abuza, p. 3
- ↑ 48.0 48.1 Melvin, p. 7
- ↑ Melvin, p. 7–8
- ↑ 50.0 50.1 Melvin, p. 8
- ↑ Melvin, p. 11
- ↑ 52.0 52.1 52.2 52.3 ความขัดแย้งชายแดนใต้ในรอบ 13 ปี: ความซับซ้อนของสนามความรุนแรงและพลังของบทสนทนาสันติภาพปาตานี. Deep South Watch.
- ↑ Melvin, p. 9–10
- ↑ Melvin, p. 10
- ↑ "Beheadings Raise Tensions in Thailand ["Religion of Peace" alert]". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2015.
- ↑ Abuza, p. 8
- ↑ 57.0 57.1 57.2 57.3 Abuza, p. 9
- ↑ Abuza, p. 10
- ↑ Abuza, p. 11
- ↑ Nahdohdin et al, p. 25
- ↑ [Thanet Aphornsuvan, Rebellion in Southern Thailand: Contending Histories ISBN 978-981-230-474-2] pp.35
- ↑ Umaiyah Haji Umar, The Assimilation of the Bangkok-Melayu Communities .
- ↑ 63.0 63.1 63.2 63.3 63.4 63.5 "A Brief History of Insurgency in the Southern Border Provinces". Human Rights Watch. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ธันวาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2014.
- ↑ "A Breakdown of Southern Thailand's Insurgent Groups. Terrorism Monitor Volume: 4 Issue: 17". The Jamestown Foundation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 ตุลาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2014.
- ↑ 65.0 65.1 Rohan Gunaratna & Arabinda Acharya, The Terrorist Threat from Thailand: Jihad Or Quest for Justice?
- ↑ 66.0 66.1 |last= Chalk |first= Peter |date= |title= The Malay-Muslim Insurgency in Southern Thailand: Understanding the Conflict’s Evolving Dynamic |url= https://www.rand.org/content/dam/rand/pubs/occasional_papers/2008/RAND_OP198.pdf |location= |publisher= RAND Corporation |page= |isbn= |author-link= }}
- ↑ [Bangkok Post, News, 4 August 2008]
- ↑ Dr Srisompob Jitpiromsri and Panyasak Sobhonvasu, "Unpacking Thailand's southern conflict: The poverty of structural explanations" Critical Asian Studies 38:1 (2006), p95-117. "A survey conducted in nine districts of the three southern provinces identifies various problems that local Muslim communities face. These include poverty, unemployment, lack of education, substandard infrastructure, inadequate supplies of land and capital, low quality of living standards, and other economic-related problems."
- ↑ Ian Storey, Malaysia's Role in Thailand's Southern Insurgency, Terrorism Monitor, Volume 5, Issue 5 (March 15, 2007)
- ↑ 70.0 70.1 70.2 Abuza, p. 21
- ↑ name="cgsc"
- ↑ Nahdohdin et al, p 22
- ↑ Nahdohdin et al, p 22
- ↑ Nahdohdin et al, p 23
- ↑ 75.0 75.1 Burke, Tweedie and Poocharoen, p. 29
- ↑ "เกิดเหตุการณ์คาร์บอมบ์ 2 จุดที่ จังหวัดยะลา มีผู้เสียชีวิต 11 ราย บาดเจ็บ 127 ราย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-04-03.
- ↑ โรงแรมลีการเด้นส์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย[ลิงก์เสีย]
- ↑ ผบ.ตร. ฟันธง บึมลีการ์เด้นส์ฝีมือคาร์บอมบ์ สรุปตาย13เจ็บ504
- ↑ "A30"
- ↑ Burke, Tweedie and Poocharoen, p. 11–12
- ↑ 81.0 81.1 Abuza, p. 4
- ↑ Abuza, p. 15
- ↑ Abuza, p. 3–4
- ↑ Abuza, p. 6
- ↑ Abuza, p. 7
- ↑ Abuza, p. 13
- ↑ Abuza, p. 18
- ↑ Abuza, p. 21–22
- ↑ นายกรัฐมนตรี เห็นชอบแต่งตั้ง “คณะกรรมการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้” ชุดใหม่ โดยมี พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รมช.กลาโหม นั่งเป็นประธาน เหมือนชุดที่หยุดปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนหน้านี้ สืบค้นเมือ 13 มีนาคม 2565
- ↑ 90.0 90.1 Abuza, p. 19
- ↑ 91.0 91.1 91.2 91.3 91.4 91.5 "Southern Thailand: Dialogue in Doubt" (PDF). International Crisis Group. 8 July 2015. สืบค้นเมื่อ 10-07-2019.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ Pathan and Tuansiri, p. 43
- ↑ Pathan and Tuansiri, p. 45
- ↑ เปิดตัวคณะพูดคุยดับไฟใต้ชุดใหม่ เปิดทางแก้กฎหมายเพื่อบรรลุข้อตกลงสันติสุข
- ↑ ไฟใต้: บีอาร์เอ็นแถลงการณ์ 1 ปีพูดคุยสันติสุขฯ มาราปาตานียัน "ยังเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ"
- ↑ 96.0 96.1 96.2 96.3 96.4 96.5 96.6 Abuza, p. 12
- ↑ "เด็กกำพร้า" เหตุความไม่สงบชายแดนใต้ พุ่ง 1 หมื่นคน
- ↑ Abuza, p. 14
บรรณานุกรม
- Abuza, Zachary, Militant Islam in Southeast Asia (2003) Lynne Rienner.
- Peter Chalk (2008). The Malay-Muslim Insurgency in Southern Thailand: Understanding the Conflict's Evolving Dynamic. RAND National Defence Research Institute. ISBN 9780833045348.
- Duncan McCargo (2008). Tearing Apart the Land: Islam and Legitimacy in Southern Thailand. Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-7499-6.
- Duncan McCargo (2012). Mapping National Anxieties: Thailand's Southern Conflict. NIAS Press.
- Florian Weigand (2020). Conflict and Transnational Crime: Borders, Bullets & Business in Southeast Asia. Edward Elgar. doi:10.4337/9781789905205. ISBN 9781789905205.
- Moore, Jeffrey M (2014). The Thai Way of Counterinsurgency (Paper ed.). Muir Analytics, LLC. ISBN 978-1497395701.
- Moore, Jeff (n.d.). "Irregular Warfare Isn't Going Away, Thai Counterinsurgency Lessons Matter". Small Wars Journal. สืบค้นเมื่อ 26 October 2018.
- Rohan Gunaratna; Arabinda Acharya (2013). Terrorist Threat from Thailand: Jihad or Quest for Justice?. Potomac Books. ISBN 978-1597972024.
- Thitinan Pongsudhirak (2007). The Malay-Muslim insurgency in Southern Thailand. A Handbook of Terrorism and Insurgency in Southeast Asia. Edward Elgar Publishing. ISBN 978-1-84720-718-0.
- David K Wyatt, Thailand: A Short History (Yale University Press, 2003)
- Pasuk Phongpaichit and Chris Baker, Thaksin: The Business of Politics in Thailand (Silkworm Books, 2004)
- Nirmal Ghosh, "Mystery group runs insurgency in Thai south," Straits Times, 25 July 2005
- "Tak Bai victims and relatives file lawsuits" The Bangkok Post, 23 October 2005
- Adam Burke; Pauline Tweedie; Ora-orn Poocharoen (2013). The Contested Corners of Asia: Subnational Conflict and International Development Assistance The Case of Southern Thailand. Asia Foundation. ISBN 978-616-91408-3-2.
- Neil J. Melvin (2007). Conflict in Southern Thailand Islamism, Violence and the State in the Patani Insurgency. Stockholm International Peace Research Institute.
- Zachary Abuza (2011). The Ongoing Insurgency in Southern Thailand:Trends in Violence, Counterinsurgency Operations, and the Impact of National Politics. INSS.
- Don Pathan and Ekkarin Tuansiri (2017). สันติภาพยากบรรลุถึง : ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย. Similan Press.
- Muh Nahdohdin, Desca Angelianawati, Ardi Putra Prasetya, Kenneth Yeo Yaoren, Jennifer Dhanaraj, Iftekharul Bashar, Sylvene See and Amalina Abdul Nasir. SOUTHEAST ASIA. Counter Terrorist Trends and Analyses, Vol. 11, No. 1, Annual Threat Assessment (January 2019), pp. 22-32.
แหล่งข้อมูลอื่น
- History of Jihad in Thailand เก็บถาวร 2021-01-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Daily collections of news about southern insurgency เก็บถาวร 2021-05-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Whitewashing the Thai Jihad
- Red Light Jihad: Thailand’s new breed of Facebook jihadis
- Red Light Jihad: Insurgency in Thailand party town
- Thailand's secessionist Muslim insurgency escalates
- Thailand Islamic Insurgency
- The Thailand Jihad หลักฐานภาพถ่าย (ภาพ)
- ศูนย์เฝ้าระวังเชิงองค์ความรู้สถานการณ์ภาคใต้ - ฐานข้อมูลสถานการณ์ภาคใต้
- สถาบันข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2007-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - โครงการสื่อสันติภาพ โต๊ะข่าวภาคใต้
- ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
- ภาคใต้
- สงครามศาสนา
- กบฏในประเทศไทย
- ความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ
- ความขัดแย้งระหว่างศาสนา
- การก่อการร้ายในประเทศไทย
- การก่อการร้ายอิสลาม
- การละเมิดสิทธิมนุษยชน
- ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์
- เหตุการณ์ในจังหวัดปัตตานี
- ประวัติศาสตร์การทหารของไทย
- เหตุการณ์ในจังหวัดยะลา
- เหตุการณ์ในจังหวัดนราธิวาส
- เหตุการณ์ในจังหวัดสงขลา
- การเบียดเบียนพุทธศาสนิกชน