คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
ตราสัญลักษณ์ของสำนักงาน ป.ป.ส.
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 (47 ปี)
สำนักงานใหญ่เลขที่ 5 ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
งบประมาณประจำปี2,508,466,700 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ, เลขาธิการ
  • มานะ ศิริพิทยาวัฒน์, รองเลขาธิการ
  • ธนากร คัยนันท์, รองเลขาธิการ
  • ปิยะศิริ วัฒนวรางกูร, รองเลขาธิการ
ต้นสังกัดกระทรวงยุติธรรม
หน่วยงานลูกสังกัด
เว็บไซต์http://www.oncb.go.th

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ย่อว่า คณะกรรมการ ป.ป.ส.[2] เป็นคณะกรรมการซึ่งกำหนดนโยบายและมาตรการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในประเทศไทย มีประธาน คือ นายกรัฐมนตรีไทย พร้อมด้วยกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่น ๆ รวม 36 คน[2]

หน่วยธุรการของคณะกรรมการ ป.ป.ส. คือ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ย่อว่า สำนักงาน ป.ป.ส. จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2519 ปัจจุบันเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม และมีผู้บริหารเรียกว่า เลขาธิการ ป.ป.ส.[3] เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดคนปัจจุบัน คือ พลตํารวจโทภาณุรัตน์ หลักบุญ [4]

การแบ่งส่วนราชการ[แก้]

สำนักงาน ป.ป.ส. แบ่งเป็น 23 หน่วยงาน (21 กอง/สำนัก 2 กลุ่มงาน)[5][6]

  1. สำนักงานเลขานุการกรม
  2. กองกฎหมาย
  3. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
  4. สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
  5. สถาบันวิชาการและตรวจพิสูจน์ยาเสพติด
  6. สถาบันสำรวจและติดตามการปลูกพืชเสพติด
  7. สำนักการต่างประเทศ
  8. สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรุงเทพมหานคร
  9. สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 1
  10. สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 2
  11. สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 3
  12. สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 4
  13. สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 5
  14. สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 6
  15. สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 7
  16. สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 8
  17. สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 9
  18. สำนักตรวจสอบทรัพย์สินคดียาเสพติด
  19. สำนักปราบปรามยาเสพติด
  20. สำนักยุทธศาสตร์
  21. สำนักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
  22. กลุ่มตรวจสอบภายใน
  23. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร

รายนามเลขาธิการ ป.ป.ส.[แก้]

รายนาม[7] วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นายประมุข สวัสดิมงคล พ.ศ. 2519–2521
2. พล.ต.ต. เภา สารสิน พ.ศ. 2521–2525
3. พล.ต.ต. ชวลิต ยอดมณี พ.ศ. 2526–2538
4. นายปรีชา จำปารัตน์ พ.ศ. 2538–2540
5. นายพยนต์ พันธ์ศรี พ.ศ. 2540–2542
6. นายสรสิทธิ์ แสงประเสริฐ พ.ศ. 2542–2543
7. นายกิตติ ลิ้มชัยกิจ พ.ศ. 2543–2546
8. พล.ต.อ. ชิดชัย วรรณสถิตย์ พ.ศ. 2546–2547
9. พล.ต.ท. กฤษณะ ผลอนันต์ พ.ศ. 2547–2549
10. นายกิตติ ลิ้มชัยกิจ พ.ศ. 2549–2551
9. พล.ต.อ. กฤษณะ ผลอนันต์ พ.ศ. 2551–2553
11. นางสุรีย์ประภา ตรัยเวช พ.ศ. 2553–2554
12. พล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว พ.ศ. 2554–2555
13. พล.ต.อ. พงศพัศ พงษ์เจริญ พ.ศ. 2555–2557
14. นายเพิ่มพงษ์ เชาวลิต พ.ศ. 2557–2558
15. นายณรงค์ รัตนานุกูล พ.ศ. 2558–2559
16. นายศิรินทร์ยา สิทธิชัย พ.ศ. 2559–2561
17. นายนิยม เติมศรีสุข พ.ศ. 2561–2563
18. นายวิชัย ไชยมงคล พ.ศ. 2563–2566
19. พล.ต.ท. ภาณุรัตน์ หลักบุญ พ.ศ. 2566-ปัจจุบัน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. 2.0 2.1 "เกี่ยวกับหน่วยงาน". สำนักงาน ป.ป.ส. 2013.
  3. "ประวัติความเป็นมา". สำนักงาน ป.ป.ส. 2013.
  4. ครม.อนุมัติแต่งตั้งข้าราชการการเมือง-ประจำ หลายตำแหน่ง
  5. การแบ่งส่วนราชการ
  6. 21 กอง/สำนัก 2 กลุ่มงาน
  7. ความเป็นมาตำแหน่งเลขาธิการ ป.ป.ส.