เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549
เป็นส่วนหนึ่งของความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
ประชาชนข้างเคียงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เหตุระเบิด ดูข่าวทีวีไม่นาน
สถานที่กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
วันที่31 ธันวาคม 2549 – 1 มกราคม 2550
18:00 – 00:05 (UTC+7)
เป้าหมาย9 สถานที่ (map) :

• ป้ายรถเมล์ (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ)
• สถานีตำรวจ (สะพานควาย, พญาไท)
• ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์
• ตลาด (คลองเตย )
สี่แยกแคราย (จังหวัดนนทบุรี)
• ตู้ไปรษณีย์ (ถนนสุขุมวิท ซอย 62)
• ร้านอาหารที่ (คลองแสนแสบ,ประตูน้ำ, ใกล้ เซ็นทรัลเวิลด์)
• ตู้โทรศัพท์ (เซ็นทรัลเวิลด์)

เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน โรงหนังและห้างสรรพสินค้า
ประเภทเป็นระเบิดหลายครั้ง
ตาย3
เจ็บประมาณ 38

เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ระหว่างงานเฉลิมฉลองวันสิ้นปีในกรุงเทพมหานคร โดยระเบิดสี่ลูกได้เกิดระเบิดขึ้นเกือบพร้อมกันในหลายส่วนของเมืองเมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. ตามมาด้วยระเบิดอีกหลายลูกภายในระยะเวลา 90 นาทีต่อมา ระเบิดอีกสองลูกเกิดระเบิดขึ้นหลังเที่ยงคืน รวมทั้งหมดแล้ว เกิดระเบิดขึ้นแปดครั้งในคืนดังกล่าว

วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 มีการยืนยันผู้เสียชีวิต 3 คน และอีกมากกว่า 38 คนได้รับบาดเจ็บ[1] ระเบิดอีกหนึ่งลูกได้เกิดระเบิดขึ้นภายในโรงภาพยนตร์ แต่ระเบิดลูกดังกล่าวไม่ได้รับการรายงานจนกระทั่งวันรุ่งขึ้นเนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการเผยแพร่ในด้านลบ วันเดียวกัน เกิดระเบิดขึ้นที่มัสยิดในจังหวัดเชียงใหม่ ทางการสั่งการยกเลิกการจัดกิจกรรมวันสิ้นปีสาธารณะทั้งหมด รวมไปถึงการนับถอยหลังที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และการทำบุญตักบาตรที่สนามหลวง

ชายคนหนึ่งถูกจับกุมในกรุงเทพมหานครเนื่องจากพกพาอุปกรณ์ระเบิด และตำรวจจังหวัดเชียงใหม่อ้างว่าภารโรงของมัสยิดที่เกิดระเบิดขึ้นนั้นยอมรับสารภาพว่าเป็นผู้ทำระเบิดขึ้น ไม่มีผู้ใดอ้างความรับผิดชอบต่อเหตุระเบิดดังกล่าว นายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ กล่าวประณาม "พวกอำนาจเก่า" ว่าเป็นกลุ่มที่รับผิดชอบกับเหตุระเบิดที่เกิดขึ้น โดยหมายความถึงรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และกลุ่มผู้ที่สูญเสียอำนาจทางการเมืองจากรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549[2] ทั้งพรรคไทยรักไทย และอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิด[3] ในภายหลัง พล.อ.สุรยุทธ์ได้กลับคำและยอมรับการกล่าวถึงว่าพันธมิตรของทักษิณเป็นผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น "เป็นเพียงการวิเคราะห์ด้านข่าวกรอง" และไม่มีหลักฐานหรือข้อมูลชัดเจนสนับสนุน[4]

อักษรย่อ "IRK" ถูกพบเขียนด้วยมาร์กเกอร์ในสถานที่สี่แห่งจากเหตุระเบิดสามจุด ซึ่ง IRK เป็นหน่วยกองโจรก่อการร้ายในเมืองซึ่งได้รับการฝึกในอัฟกานิสถาน[5] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายอารีย์ วงศ์อารยะ ขจัดการเสนอแนะว่าผู้ลงมือเป็นกลุ่มก่อการร้ายมุสลิม[6] การประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์และหน่วยงานด้านความมั่นคงและข่าวกรองหลายแห่งในตอนเย็นของวันที่ 31 ธันวาคม ไม่สามารถระบุผู้ก่อเหตุดังกล่าวอย่างเป็นทางการ[7]

วันที่ 1 มกราคม พล.อ.สุรยุทธ์กล่าวว่า ถึงแม้ระเบิดที่ใช้จะมีรูปแบบคล้ายคลึงกับที่ใช้โดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศ การสืบสวนในเชิงลึกกลับไม่พบความเชื่อมโยง และกล่าวว่า "ผมไม่คิดว่าพวกเขาจะมาถึงที่นี่เนื่องจากอาจหลงทางในกรุงเทพมหานครได้"[8][9] ในภายหลัง ตำรวจได้จับกุมบุคคลมากกว่าสิบสองคน รวมทั้งนายทหาร โดยต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิด ผู้นำคณะรัฐประหาร พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อ้างว่านายทหารทั้งหมดไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ต่อมา การสืบสวนของตำรวจกลับพบว่ากลุ่มแบ่งแยกดินแดนภาคใต้อยู่เบื้องหลังเหตุระเบิดดังกล่าว เนื่องจากวงจรจุดระเบิดและวัสดุอื่นที่ใช้ทำระเบิดนั้นเหมือนกับที่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนใช้กัน[10] อย่างไรก็ตาม คณะรัฐประหารกล่าวว่ากลุ่มแบ่งแยกดินแดนไม่สำคัญเท่าใดนัก โดยอ้างว่าพวกเขาว่าจ้างผู้ที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตการณ์การเมืองในกรุงเทพมหานครมาทำงาน[11]

จุดเกิดเหตุ[แก้]

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิซึ่งเป็นศูนย์กลางการขนส่งสาธารณะที่พลุกพล่าน เป็นหนึ่งในจุดเกิดเหตุระเบิด

ในกรุงเทพมหานคร เกิดระเบิดหกครั้งเวลาไล่เลี่ยกันเมื่อช่วงเย็น ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คน และได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 23 คน ขณะที่ประชาชนกำลังเริ่มต้นเฉลิมฉลองวันสิ้นปี จุดเกิดเหตุได้แก่ง

  • อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 17 คน และคนไทยเสียชีวิต 2 คนที่โรงพยาบาลเนื่องจากอาการบาดเจ็บ ชาวฮังการีหนึ่งคนรวมอยู่ในจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บด้วย[12] ระเบิดถูกวางไว้ที่ที่รอรถโดยสารประจำทางหน้าศูนย์การค้าเซ็นเตอร์วัน (เกาะดินแดง) และเกิดระเบิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. ฉีกผ่านที่รอรถโดยสารประจำทาง ทำให้หน้าต่างของร้านอาหารที่อยู่ใกล้เคียงแตก และส่งสะเก็ดออกไปทุกทิศทาง ระเบิดครั้งที่สองเกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียงไม่นานหลังจากนั้น[13][14][15]
  • เขตคลองเตย ใกล้กับแยก ณ ระนอง ระเบิดถูกซุกซ่อนไว้ในถังขยะใกล้กับศาลเจ้าจีน แรงระเบิดทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 คน รวมเด็กหญิงวัย 10 ปีคนหนึ่งด้วย มีชายวัย 61 ปีเสียชีวิตที่โรงพยาบาลจากอาการบาดเจ็บ การระเบิดได้ทำให้ถังบรรจุแก๊สโพรเพนที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงเกิดระเบิดขึ้นตามมาอีก[13]
  • แยกสะพานควาย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท ระเบิดลูกดังกล่าวระเบิดขึ้นที่ป้อมตำรวจ มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 คน พยานเห็นชายคนหนึ่งโยนระเบิดมือจากสะพานลอยไปยังป้อมตำรวจ นอกจากนี้ ยังพบระเบิดซี-4 และระเบิดทีเอ็นทีที่ยังไม่ระเบิดในที่เกิดเหตุอีกด้วย
  • ซีคอนสแควร์ เขตประเวศ พบระเบิดที่ไม่ทำงานในถังขยะใกล้กับร้านทองที่ตั้งอยู่บนชั้นหนึ่งของศูนย์การค้า โดยระเบิดดังกล่าวถูกนำไปยังที่จอดรถและเกิดระเบิดขึ้น ซึ่งทำให้เกิดความวุ่นวายตามมา แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ทางการสั่งให้ลูกค้าห้างสรรพสินค้าอพยพออกจากอาคาร ส่งผลให้หนึ่งในห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพมหานคร และร้านค้าทั้งหมดต้องปิด[13]
  • แยกแคราย ตำบลบางกระสอ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี (13°51′31″N 100°31′15″E / 13.85861°N 100.52083°E / 13.85861; 100.52083) ป้อมตำรวจได้เกิดระเบิดขึ้น แต่ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ[13]
  • ถนนสุขุมวิท ซอย 62 ป้อมตำรวจที่ทางเข้าซอยเกิดระเบิดขึ้น แต่ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ[13]
  • เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์รัชโยธิน ถนนพหลโยธิน แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยพบกระเป๋าสีดำต้องสงสัยถูกทิ้งไว้ที่ทางออกของร้านอาหารจานด่วนและวางไว้ในห้องด้านหลัง ได้เกิดระเบิดขึ้นไม่นานหลังจากนั้น ทำให้เกิดไฟฟ้าดับในพื้นที่ขายปลีกของโรงภาพยนตร์ ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ เจ้าของโรงภาพยนตร์ได้แต่เพียงแจ้งตำรวจรัชโยธินในภายหลังเมื่อวันที่ 1 มกราคม ด้วยเกรงว่าจะมีการเผยแพร่ในแง่ลบ[16]

หลังจากเหตุระเบิดทั้งหกจุดแล้ว การเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่เซ็นทรัลเวิลด์และสนามหลวงได้ถูกยกเลิก[17] ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้นำการนับถอยหลังวันขึ้นปีใหม่ขึ้นมากกว่าสามชั่วโมงที่แล้วที่เซ็นทรัลเวิลด์[18] และได้เกิดเหตุระเบิดขึ้นอีกสองครั้งไม่กี่นาทีหลังเที่ยงคืนในบริเวณใกล้เคียงกับเซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งมีผู้ได้รับบาดเจ็บในจำนวนนี้เป็นชาวเซิร์บ 3 คน ชาวอังกฤษ 2 คน ชาวไทย 2 คน และชาวไอร์แลนด์ 1 คน จุดเกิดเหตุ ได้แก่

  • ภัตตาการเบลต์ซีฟูดส์ สะพานข้ามคลองแสนแสบ ใกล้กับตลาดประตูน้ำ และเซ็นทรัลเวิลด์ ชาวต่างประเทศ 3 คนที่กำลังรับประทานอาหารเย็นที่ภัตตาคารและชาวไทยอีก 2 คนได้รับบาดเจ็บ ขาของชาวต่างประเทศคนหนึ่งถูกแรงระเบิดจนขาด[19]
  • ตู้โทรศัพท์สาธารณะที่สะพานลอยเชื่อมระหว่างเซ็นทรัลเวิลด์และศูนย์การค้าเกษร ชาวต่างประเทศได้รับบาดเจ็บหลายคน[19]
  • พบระเบิดที่ยังไม่ทำงานอีก 3 ลูกในบริเวณดังกล่าว[12]

ตำรวจได้สืบสวนเหตุการณ์อื่นเพิ่มเติม

  • ระเบิดต้องสงสัยได้รับการสืบสวนที่บาร์บัดดีเบียร์บนถนนข้าวสารเมื่อราวเที่ยงคืนครึ่ง นักท่องเที่ยวได้รับแจ้งให้ออกจากพื้นที่ดังกล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ บาร์ทั้งหมดบนถนนข้าวสารปิด และถนนดังกล่าวมีการตั้งสิ่งกีดขวางและมีเจ้าหน้าที่ติดอาวุธประจำอยู่[19] รายงานระเบิดในภายหลังกลายเป็นเท็จ[18]
  • เมื่อเวลา 1.00 น. ตำรวจสามารถปลดชนวนระเบิดที่อยู่ที่สวนลุม ไนท์บาซาร์ก่อนที่ระเบิดจะเกิดระเบิดขึ้น[19]

เหยื่อ[แก้]

มีรายงานเหตุระเบิดที่ถนนข้าวสาร ย่านยอดนิยมสำหรับแบ็คแพ็คเกอร์ต่างชาติ แต่ไม่พบ

เหตุระเบิดทั้งหมดทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คน ซึ่งทั้งหมดเป็นชาวไทย ได้แก่ นายสงกรานต์ กาญจนะ อายุ 36 ปี, นายเอกชัย เรือพุ่ม วัย 26 ปี ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และนายสุวิชัย นาคเอี่ยม วัย 61 ปี ที่เขตคลองเตย นอกจากนี้ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 38 คน เนื่องจากไปอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับที่เกิดระเบิดขึ้น ในจำนวนนี้มีชาวต่างประเทศ 8 คนได้รับบาดเจ็บ: ชาวอังกฤษ 2 คน ชาวฮังการี 3 คน ชาวเซอร์เบีย 2 คน และชาวอเมริกัน 1 คน[1]

ตำแหน่ง จำนวนผู้เสียชีวิต จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 2 15 (ชาวฮังการี 1)
เขตคลองเตย 1 6
สะพานควาย 0 2
ซีคอนสแควร์ 0 0
สี่แยกแคราย 0 0
สุขุมวิท ซอย 62 0 0
เซ็นทรัลเวิลด์ (ภัตตาคารอาหารทะเล) 0 ชาวไทย 2
ชาวต่างประเทศ 3
เซ็นทรัลเวิลด์ (สะพานลอย) 0 ชาวต่างประเทศ 6
รวม 3 ~38

วัตถุพยานทางนิติวิทยาศาสตร์[แก้]

รถตู้ข่าวไอทีวีจอดที่โรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งเหยื่อระเบิดส่วนใหญ่ได้รับการรักษา

พลตำรวจโทอชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช อ้างว่า ระเบิดทั้งหมดแปดลูกถูกวางไว้ในกล่องขนาด 3×5 นิ้ว และจุดระเบิดโดยนาฬิกาปลุกดิจิตอล ในระเบิดทุกลูกยังพบร่องรอยของสารประกอบระเบิดแรงสูงเอ็ม 4[20] แหล่งข่าวสรรพาวุธทหารอื่นอ้างว่าระเบิดดังกล่าว คือ ระเบิดน้ำมันเชื้อเพลิงแอมโมเนียมไนเตรด/ระเบิดเอ็ม 4[21] ซึ่งเป็นระเบิดประเภทเดียวกับที่พบในรถนอกที่พักของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549

ตำรวจได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากการห้ามมิให้รักษาการผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ แพทย์หญิง คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ จากการเก็บรวบรวมหลักฐานจากจุดเกิดระเบิดที่ปากน้ำ เธอได้เรียกตำรวจว่าไม่เป็นมืออาชีพ เพราะมุ่งเน้นให้ความสนใจไปยังชนิดของระเบิดที่ใช้ มากกว่าการระบุเอกลักษณ์ของมือระเบิด และอนุญาตให้คนเก็บขยะทำความสะอาดจุดเกิดเหตุก่อนที่การเก็บรวบรวมหลักฐานจะเสร็จสิ้น[22]

นายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ชี้ถึงการมีส่วนเกี่ยวข้องของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทางภาคใต้ โดยให้ความเห็นว่า จากรายงานทางนิติวิทยาศาสตร์ ตัวระเบิดได้รับการประกอบให้ดูเหมือนกับที่ใช้กันอยู่โดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนภาคใต้ แต่การสืบสวนในรายละเอียดของเหตุระเบิดและวิธีการทำงานของระเบิดไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกันเลย[9]

ความรับผิดชอบ[แก้]

ประชาชนในกรุงเทพฯ รับชมข่าวการระเบิดทางโทรทัศน์ในช่วงเช้าตรู่วันที่ 1 มกราคม 2550

การเตือนล่วงหน้า[แก้]

ก่อนหน้านี้ ทางการได้เคยเตือนถึงการเพิ่มระดับของการเคลื่อนไหวของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนภาคใต้ในช่วงปีใหม่[23] ส่วนทางด้านหน่วยข่าวกรองทหารและตำรวจสันติบาลได้รับข่าวกรองที่ว่าจะมีระเบิดเกิดขึ้นกว่า 30 จุดในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตามศูนย์การค้าชื่อดัง อย่าง สยามพารากอน, เดอะมอลล์ บางกะปิ และซีคอนสแควร์

กองโจรในเมือง[แก้]

ไม่มีฝ่ายใดออกมาอ้างแสดงความรับผิดชอบในเหตุระเบิดดังกล่าว และทั้งพรรคไทยรักไทยและอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ต่างปฏิเสธความเกี่ยวข้อง[3] ในช่วงที่ยังไม่มีหลักฐานต่อสาธารณชนเป็นรูปธรรม ได้มีการออกมากล่าวถึงทฤษฎีมากมายเกี่ยวกับผู้ที่น่าจะอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าว

ตัวย่อ "TRK" ถูกพบเขียนอยู่ด้วยมาร์กเกอร์ซึ่งได้ซ่อนไว้ในสถานที่สี่แห่งในจุดเกิดเหตุระเบิดสามจุด: เสาใกล้กับจุดรอรถโดยสารประจำทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, ตู้โทรศัพท์สาธารณะใกล้กับศูนย์การค้าเกษร ตรงข้ามกับเซ็นทรัลเวิลด์, ตู้โทรศัพท์สาธารณะใกล้กับสะพานปากน้ำ และตู้โทรศัพท์สาธารณะใกล้กับบิ๊กซี ราชดำริ ซึ่ง IRK เป็นกลุ่มกองโจรก่อการร้ายในเมืองที่ได้รับการฝึกในอัฟกานิสถาน อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อารีย์ วงศ์อารยะ ปฏิเสธข้อเสนอแนะที่ว่าผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์เป็นกลุ่มมุสลิมติดอาวุธ[21] ผู้นำอาวุโสในคณะรัฐประหารเห็นด้วยว่าผู้ก่อการร้ายชาวมุสลิมไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และตัวย่อนั้นต้องการให้เป็นการป้ายความผิดแก่ IRK ตำรวจอ้างว่ากราฟิตี "IRK" เป็นผลงานของแก๊งวัยรุ่นซึ่งต้องการพยายามจะสร้างความหวาดกลัวแก่สาธารณชน[24]

ด้านหัวหน้าคณะรัฐประหาร พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อ้างว่าตน "มั่นใจมากกว่า 100%" ว่าเหตุระเบิดดังกล่าวไม่มีกลุ่มแบ่งแยกดินแดนภาคใต้เกี่ยวข้อง และกล่าวอีกว่าแม้กระทั่งในภาคใต้ การโจมตีก็ไม่สามารถเกิดขึ้นโดยง่ายเช่นกัน และยังได้อ้างอีกว่าเหตุระเบิดดังกล่าวกระทำโดยผู้ที่คุ้นเคยกับพื้นที่ชานเมืองเป็นอย่างดี และ "เป็นไปไม่ได้" ที่เหตุระเบิดจะมีการเตรียมการล่วงหน้าเป็นเวลาหลายเดือน[25]

พนักงานสืบสวนจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ พบว่า เทคนิคที่มือระเบิดใช้นั้นคล้ายคลึงกับที่ใช้ในเหตุระเบิดที่ธนาคารกรุงเทพ สาขาอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ก่อนหน้านี้ใน พ.ศ. 2549 ที่ซึ่งนาฬิกาดิจิตอลคาซิโอถูกใช้เป็นตัวตั้งเวลา นาฬิกาคาซิโอปกหลังสแตนเลสสตีลซีรีส์ 200 และ 201 ถูกพบในจุดเกิดระเบิดในกรุงเทพมหานคร[26]

"กลุ่มอำนาจเก่า"[แก้]

สมาชิกหลายคนของรัฐบาลทหารได้อ้างถึงกลุ่มผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์หลายกลุ่ม หนึ่งวันหลังจากเกิดเหตุระเบิดขึ้น แหล่งข่าวด้านความมั่นคงของรัฐบาลได้ประณาม "กลุ่มอำนาจเก่า" โดยเป็นไปได้ว่าอาจหมายความถึงสมาชิกของรัฐบาลอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณที่ถูกโค่นอำนาจไปก่อนหน้านี้[27] แหล่งข่าวความมั่นคงอื่น ๆ กล่าวว่า เหตุระเบิดดังกล่าวอาจทำให้รัฐบาลทหารอ้างเหตุผลในการยึดทรัพย์ส่วนบุคคลของทักษิณได้เป็นจำนวนมาก[28] พรรคไทยรักไทยปฏิเสธกำกับเหตุระเบิด และเตือนรัฐบาลทหารไม่ให้ชี้นิ้วกล่าวโทษโดยปราศจากข้อเท็จจริง[29]

บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต่อต้านพ.ต.ท.ทักษิณ นายสนธิ ลิ้มทองกุล กล่าวว่า ตนเชื่อว่าเหตุระเบิดมี "พวกคลื่นใต้น้ำ" ผู้สนับสนุนรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณที่ถูกโค่นล้มไป ผู้ซึ่งหวังจะให้รัฐบาลทหารสูญเสียความน่าเชื่อถือ แต่เขาไม่ได้อ้างหลักฐานจากแหล่งใด[30]

หลังจากที่การประชุมกับหน่วยงานด้านความมั่นคงและข่าวกรองเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม จะไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับผู้ก่อเหตุ[31] อย่างไรก็ตาม วันที่ 1 มกราคม พล.อ.สุรยุทธ์ได้ประกาศว่า "กลุ่มอำนาจเก่า" อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าว โดยกล่าวว่า "ตามข้อมูลของรัฐบาลและหน่วยข่าวกรอง มันเป็นงานของกลุ่มคนที่สูญเสียอำนาจ แต่ผมไม่สามารถพูดได้อย่างชัดเจนว่ากลุ่มใดอยู่เบื้องหลัง"[32] โดยไม่ได้หมายความถึงเฉพาะแต่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทุกกลุ่มที่สูญเสียอำนาจทางการเมืองจากรัฐประหาร[2]

ในภายหลัง พล.อ.สุรยุทธ์ได้กลับคำและยอมรับว่าคำกล่าวอ้างของตนที่ว่ากลุ่มผู้สนับสนุนพ.ต.ท. ทักษิณรับผิดชอบต่อเหตุระเบิดดังกล่าวนั้น "เป็นเพียงการวิเคราะห์ด้านข่าวกรอง" โดยที่ปราศจากหลักฐานหรือข้อมูลที่เป็นรูปธรรม[4]

ผู้ช่วยเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร อ้างว่า "ข้อมูลหลักฐานและข่าวกรองได้พิสูจน์ว่าระเบิดเป็นงานสกปรกของนักการเมืองซึ่งสูญเสียอำนาจและผลประโยชน์ ทหารเลวบางนายที่ภักดีต่อนักการเมืองเลวเป็นไส้ศึกโดยมีเจตนาที่จะโค่นอำนาจรัฐบาลชุดนี้" และยังได้กล่าวอีกว่า "พวกนอกกฎหมายและกลุ่มก่อการร้ายในภาคใต้ของไทยไม่มีส่วนเชื่อมโยงหรือเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร"[33] พล.อ.สพรั่งได้วิพากษ์วิจารณ์ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายทหารผู้ซึ่งเป็นสมาชิกของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่ถูกโค่นล้มไป อย่างรุนแรง พล.อ.ชวลิตได้ท้าทายให้ พล.อ.สพรั่งจับกุมผู้กระทำความผิดที่อยู่เบื้องหลังเหตุระเบิด พล.อ.ชวลิตตอบโต้โดยกล่าวว่า "สพรั่ง กัลยาณมิตรอ้างว่าเขามีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดเรียบร้อยแล้ว แต่เขาล้มเหลวที่จะดำเนินการใด ๆ นี่เป็นความไร้ความสามารถใหญ่หลวง" เขากล่าวว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติควรตรวจสอบตามสายงานของตนว่ากลุ่มคนเหล่านั้นต้องการคลี่คลายคดีนี้หรือไม่ โดยพูดเป็นนัยคาดคะเนว่าฝ่ายทหารจัดฉากเหตุระเบิดดังกล่าวขึ้นเพื่ออ้างความชอบธรรมในการรวบอำนาจ[34]

ผลสำรวจความคิดเห็นสาธารณะจัดทำโดยมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่าชาวกรุงเทพส่วนใหญ่ไม่เชื่อคำกล่าวอ้างที่ว่ารัฐบาลที่ถูกโค่นล้มไปนั้นอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าว และมีเพียง 11% ของผู้ตอบแบบสำรวจเท่านั้นที่ตอบว่าตนเอง "มีความมั่นใจเต็มที่" ว่ารัฐบาลสามารถรับมือกับวิกฤตการณ์ดังกล่าวได้[35]

ความขัดแย้งภายในรัฐบาลทหาร[แก้]

ทฤษฎีที่ว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้วางระเบิดเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้อยู่ในมือของตนและสร้างความเสื่อมเสียให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ซึ่งยังได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่สาธารณชน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ปฏิเสธข่าวลือทางโทรทัศน์ โดยกล่าวว่า "ผมได้เสี่ยงตนเองทำในสิ่งที่ประชาชนปรารถนา ทำไมผมถึงควรจะทำอย่างนั้น เพราะผมรักประชาชนของผม และประเทศของผม"[36]

ได้มีการอ้างว่า ความขัดแย้งระหว่างผู้ช่วยเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร และแม่ทัพภาคที่ 1 และพลโท ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นสาเหตุที่เป็นไปได้ของเหตุระเบิดและข่าวลือรัฐประหาร ทั้งสองคนล้วนมีศักยภาพเป็นทายาทผู้นำคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติหลังจากสนธิเกษียณในเดือนกันยายน พ.ศ. 2550[ต้องการอ้างอิง]

ญะมาอะห์ อิสลามียะห์ หรือกลุ่มแบ่งแยกดินแดนภาคใต้[แก้]

เจ้าหน้าที่ข่าวกรองไทยบางคนได้ระบุว่าพวกเขาเชื่อว่าการโจมตีดังกล่าวมีการวางแผนและดำเนินการโดยความพยายามร่วมกันของญะมาอะห์ อิสลามียะห์และองค์กรปลดปล่อยสหปัตตานี ซึ่งขัดแย้งกันกับประกาศในช่วงแรกของรัฐบาลเฉพาะกาลที่ว่าเหตุระเบิดดังกล่าวไม่น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทางภาคใต้ มีการตั้งรางวัลนำจับ 1,000,000 บาท สำหรับการจับกุมเลาะห์มุลี ยูโซะ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นหัวหน้ากลุ่มการโจมตีในครั้งนี้[37][38]

การสืบสวนทางนิติวิทยาศาสตร์ในภายหลังได้สนับสนุนทฤษฎีที่ว่าเหตุระเบิดในกรุงเทพมหานครนั้นใช้เทคนิคการสร้างระเบิดและใช้วัสดุเดียวกันกับที่ใช้โดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนภาคใต้[10]

ปฏิกิริยา[แก้]

รถตู้ข่าวไอทีวี ตระเวนรายงานข่าวทั่วเมือง

ปฏิกิริยาจากหลายฝ่าย ในคืนวันที่ 31 ธันวาคม ตามรายงานข่าว

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Thai PM blames rivals for blasts". BBC News. 2007-01-01. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  2. 2.0 2.1 "Surayud blames old power clique behind Bangkok bomb attacks". The Nation (Thailand). 2007-01-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-04. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  3. 3.0 3.1 "Ousted PM denies involvement in New Year's Eve bomb attacks". The Nation (Thailand). 2007-01-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-28. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  4. 4.0 4.1 "Surayud qualifies remarks about bombers". The Nation (Thailand). 2007-01-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-28. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  5. "สุรยุทธ์-ประณาม แก๊งป่วน ผู้สูญเสียอำนาจ". Thai Rath. 2007-01-02. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-28. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  6. The Nation, Militants not seen as likely culprits เก็บถาวร 2007-01-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2 January 2007
  7. "Meeting fails to establish culprits of Bangkok bomb attacks: spokesman". The Nation (Thailand). 2007-01-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  8. "Suspicion falls on Thaksin allies". The Nation (Thailand). 2007-01-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-12. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  9. 9.0 9.1 "Coup leaders tighten grip". The Nation (Thailand). 2007-01-05. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  10. 10.0 10.1 Bangkok Post, 'Separatists' behind city bombs, 19 March 2007
  11. Bangkok Post, Southern extremists learning from bin Laden, 22 March 2007
  12. 12.0 12.1 "New Year's Even bombings in Bangkok". 2bangkok.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-03. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 "String of blasts rock Bangkok, killing 2". The Nation (Thailand). 2007-01-01. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  14. "Festivities off as bombs disrupt Bangkok; two dead, 25 injured". MCOT. 2007-01-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-25. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  15. "Bangkok bomb death toll rises to three". The Nation (Thailand). 2007-01-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-04. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  16. "Police say 9 bombs, not 8, hit city". Bangkok Post. 2007-01-10. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  17. "New Year's countdown canceled after bombs". The Nation (Thailand). 2007-01-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-02. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  18. 18.0 18.1 Levett, Connie (2007-01-01). "Two die in Bangkok blasts". The Age. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 "Two more bombs explode at Central World, Pratunam]". The Nation (Thailand). 2007-01-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-02. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  20. "Who set the bombs?". The Nation (Thailand). 2007-01-02. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  21. 21.0 21.1 "Militants not seen as likely culprits". The Nation (Thailand). 2007-01-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-28. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  22. "Police accused of failing to protect public". Bangkok Post. 2007-01-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-03. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  23. Marshall, Andrew (2006-12-31). "Authorities fear new year attacks from militants". Sunday Herald. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  24. "Police rule out 'IRK' graffiti tie-in". Offline newspaper article. Bangkok Post. 2007-01-03. สืบค้นเมื่อ 2007-01-03.[ลิงก์เสีย]
  25. "Sonthi: We have the power and are ready to act". Offline newspaper article. Bangkok Post. 2007-01-11. สืบค้นเมื่อ 2007-01-11.[ลิงก์เสีย]
  26. "Investigators split over New Year's bombings". Offline newspaper article. Bangkok Post. 2007-02-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-28. สืบค้นเมื่อ 2007-02-05.
  27. "Old power clique suspected of being behind Bangkok bomb attacks: source". The Nation (Thailand). 2007-01-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-28. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  28. "CNS may seize Thaksin's assets following bomb attacks: source". The Nation (Thailand). 2007-01-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-28. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  29. "TRT denies masterminding bombs". The Nation (Thailand). 2007-01-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-02. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  30. ""สนธิ"ฟันธงฝีมือคลื่นใต้น้ำบึ้มป่วนกรุง สั่งสอน คมช.-รัฐบาล". Manager.com. 2006-12-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-16. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  31. "Meeting fails to establish culprits of Bangkok bomb attacks: spokesman". The Nation (Thailand). 2007-01-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  32. "Surayud suspects "power losers"". The Nation (Thailand). 2007-01-01. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  33. "Saprang: Renegade officers behind blasts". Offline newspaper article. Bangkok Post. 2007-02-03. สืบค้นเมื่อ 2007-02-03.[ลิงก์เสีย]
  34. "Chavalit taunts CNS over inquiry". The Nation (Thailand). 2007-01-04. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  35. "Poll: Public skeptical of govt claims". Bangkok Post. 2007-01-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-06. สืบค้นเมื่อ 2007-01-05.
  36. Kazmin, Amy (2007-01-05). "Thailand stocks fall as anxieties deepen". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  37. Corben, Ron (2007-01-20). "Bangkok bombings the work of JI". The Australian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-15. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  38. "Report: JI planned Bangkok bombings". Bangkok Post. 2007-01-20. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  39. ระเบิดที่ กทม. คอลัมน์ เห็นมาอย่างไร เขียนไปอย่างนั้น โดย อนุภพ, หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 3 มกราคม พ.ศ. 2550
  40. TRT denies masterminding bombs
  41. ""สนธิ" ฟันธงฝีมือคลื่นใต้น้ำบึ้มป่วนกรุง สั่งสอน คมช.-รัฐบาล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-16. สืบค้นเมื่อ 2007-01-01.
  42. นายกฯ สั่งสอบเตรียมการเหตุบึ้ม - ไม่ประกาศภาวะฉุกเฉิน[ลิงก์เสีย]