การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของทักษิณ ชินวัตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2546
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของทักษิณ ชินวัตร
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
คณะรัฐมนตรี
พรรคไทยรักไทย
การเลือกตั้งพ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548
เสนอชื่อโดยสภาผู้แทนราษฎร
แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ไทย
ที่ทำการทำเนียบรัฐบาล


ตราประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 23 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2544–2549 ระหว่างดำรงตำแหน่ง ทักษิณริเริ่มหลายนโยบายซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สาธารณสุข การศึกษา พลังงาน ยาเสพติดและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เขาชนะการเลือกตั้งถล่มทลายถึงสองสมัย[1] นโยบายของทักษิณลดความยากจนในชนบทได้อย่างเด่นชัด[2] และจัดบริการสาธารณสุขในราคาที่สามารถจ่ายได้ ด้วยเหตุนี้ ฐานเสียงสนับสนุนของเขาส่วนใหญ่จึงมาจากคนยากจนในชนบท[1]

การที่เขาเป็นรัฐบาลจากพรรคเดียว ทำให้รัฐบาลของเขามักถูกโจมตีว่าเป็นเผด็จการรัฐสภา ฉวยโอกาสทางการเมือง ฉ้อราษฎร์บังหลวง มีการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ละเมิดสิทธิมนุษยชน กระทำอันไม่เหมาะสมในทางการทูต การใช้ช่องโหว่ของกฎหมายและเป็นปฏิปักษ์ต่อสื่อเสรี นอกจากนี้เขายังถูกโจมตีด้วยข้อกล่าวหาความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย กบฏ ช่วงชิงอำนาจของศาสนาและพระมหากษัตริย์ ขายทรัพย์สินให้แก่นักลงทุนต่างชาติ การดูหมิ่นศาสนาและเข้ากับอำนาจมืด[3][4]

นายกรัฐมนตรีวาระแรก (พ.ศ. 2544-48)[แก้]

เมื่อทักษิณเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ขณะนั้นเศรษฐกิจของประเทศไทยอยู่ในภาวะหดตัว ทักษิณตระหนักว่ากลุ่มผู้เดือดร้อนจากวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งนั้นล้วนเป็นกลุ่มผู้มีอันจะกิน ในขณะที่ชนชั้นเกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เขาจึงเริ่มดำเนินนโยบายพื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศจากฐานล่างขึ้นบนว่า "จากรากหญ้าสู่รากแก้ว" นโยบายแรกที่ทักษิณได้ทำคือ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" ต่อมามีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน หมู่บ้านละหนึ่งล้านบาทเพื่อปล่อยกู้ให้แก่คนในชุมชนในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อนำไปสร้างอาชีพ มีการพักชำระหนี้เกษตรกรสามปี

นโยบายด้านสุขภาพ[แก้]

มาตรา 82 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย2540 รัฐต้องจัดและสงเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง ทักษิณได้ใช้แนวคิดของนายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ในการจัดตั้งระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยออกพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2544 เป็นกฎหมายลูกประกอบรัฐธรรมนูญ2540 หรือ "30 บาท รักษาทุกโรค" ในช่วงแรกที่ประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าว แทบไม่ปรากฏการคัดค้านในสื่อใดเลย[5] โครงการนี้ช่วยเพิ่มการเข้าถึงสาธารณสุขเพิ่มขึ้นจาก 76% ของประชากรเป็น 96% ของประชากร[6] โครงการนี้เพิ่มภาระงานแก่ลูกจ้างสาธารณสุขจนทำให้แพทย์จำนวนมากลาออก การบริการเป็นไปได้อย่างล่าช้าและด้อยประสิทธิภาพลง จึงถูกโจมตีจากพรรคประชาธิปัตย์ว่าเป็นโครงการ "30 บาท ตายทุกโรค" เนื่องจากรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ได้สร้างระบบประกันสุขภาพแบบอื่น ตามมาตรา 82 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 จึงไม่ต้องการใช้แนวทางของนายแพทย์สงวน แต่กฎหมายไม่ผ่านสภา [7] แม้จะถูกโจมตีเรื่องคุณภาพในการรักษาแต่โครงการนี้ก็ยังเป็นที่นิยมในหมู่คนชนบทซึ่งไม่มีทางเลือกมากนัก

โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้รายได้ของอุตสาหกรรมโรงพยาบาลลดลงไปมาก โรงพยาบาลหลายแห่งต้องหาแหล่งรายได้อื่น ส่งผลให้เกิดการเติบโตอย่างมากในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางการแพทย์ (medical tourism) โดยมีผู้ป่วยต่างชาติ 1.3 ล้านคน สร้างรายได้ให้ประเทศ 33,000 ล้านบาทในปี 2548[8][9]

รัฐบาลทักษิณยังเปิดให้มีการเข้าถึงยาต้านรีโทรไวรัสเอชไอวีราคาถูกถ้วนหน้า ทำให้จำนวนผู้ที่ป่วยเอชไอวีตลอดจนอัตราความชุกของโรคโดยรวมลดลงอย่างมีนัยยะ เพราะมีผู้ติดเชื้อลดลง[10] นอกจากนี้ ทักษิณอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวประมาณ 2.3 ล้านคนขึ้นทะเบียนและรับบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบสาธารณสุขของไทย พวกเขายังมีสิทธิได้ใบอนุญาตทำงานเมื่อสิ้นสุดระยะขึ้นทะเบียน ทำให้พวกเขาได้รับการคุ้มครองแรงงานอย่างสมบูรณ์

การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ[แก้]

การนำส่งเงินเข้าคลังของรัฐวิสาหกิจ
(หน่วย: ล้านบาท)
พ.ศ. 2543 2544 2545 2546
ปตท. 3,897 7,155† 11,020 5,522
ทศท. 2,174 3,023 8,336† 14,498
หมาย † คือปีที่แปรรูป

ในเดือนมีนาคม 2544 ทักษิณได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อระดมความคิดเห็นในการกำหนดแนวทางการพัฒนาตลาดทุน[11] และได้มีการกำหนดแผนเตรียมความพร้อมในการนำรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หนึ่งในนั้นคือการแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งทำให้ทักษิณถูกโจมตีจากฝ่ายต่อต้านอย่างมากด้วยข้อกล่าวหา "นำสมบัติชาติไปขายให้ต่างชาติ" และ "ปล้นชาติ"[12] การนำปตท. เข้าตลาดหุ้นครั้งนั้นทำให้เงินทุนเริ่มกลับเข้ามาในระบบการเงินของไทย ช่วยปลุกตลาดหุ้นไทยขึ้นมาใหม่หลังอยู่ในภาวะซบเซาอย่างหนักเป็นเวลากว่าสี่ปี[13] หลังแปรรูปแล้วแม้รัฐบาลจะถือหุ้นในสัดส่วนลดลง แต่ปตท.กลับส่งเงินเข้าคลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง[14] นอกจากนี้ ทักษิณยังได้แปรรูปรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ อีก คือ

ในปี 2544 ทักษิณได้สั่งการแก้ปัญหาภาวะขาดทุนของบางจากปิโตรเลียม โดยแปรรูปบริษัทบางจากให้พ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจและไปเป็นบริษัทลูกของปตท.แทน[11] ทักษิณยังมีความพยายามแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเข้าตลาดหลักทรัพย์ แต่ถูกระงับแผนไว้จากคำสั่งศาลปกครอง[15]

ก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[แก้]

แม้กระบวนการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะดำเนินมาอย่างต่อเนื่องในหลายรัฐบาล แต่การแปรรูปทอท.และนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในสมัยทักษิณเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ภาระหนี้ของทอท.ลดลง และได้เงินจำนวน 18,462 ล้านบาทจากการระดมทุนในตลาดฯมาเป็นทุนก่อสร้าง[16] นอกจากนี้ เพื่อให้การก่อสร้างดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว รัฐบาลยังได้กู้เงิน 35,453 ล้านเยนจากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่นมาเสริม[17] รัฐบาลทักษิณยังได้ตระหนักถึงการเปิดน่านฟ้าเสรีในอนาคต จึงได้ปรับแบบให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิรองรับผู้โดยสารได้ 45 ล้านคนต่อปี จากแผนเดิมรองรับที่ 30 ล้านคนต่อปี[17] นอกจากนี้ ทักษิณยังมีแนวคิดพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นเขตศูนย์กลางการบินและพาณิชยกรรมที่มีชื่อว่า "สุวรรณภูมิมหานคร"[18]

...การจะแย่งกันเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก จังหวะเป็นเรื่องสำคัญ เราไม่สามารถจะรอได้ ถ้าเรารอเราอาจจะเสียโอกาสมาก...[17]

— นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร 29 กันยายน 2548

มีข้อกล่าวหาการทุจริตในโครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นจำนวนมากระหว่างการก่อสร้าง ข้อกล่าวหาเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำเกิดการชุมนุมขับไล่ทักษิณในปี 2549 และเป็นหนึ่งในเหตุผลที่คณะรัฐประหารทำการยึดอำนาจเมื่อ 19 กันยายน 2549 ข้อกล่าวหาต่างๆเป็นอันตกไปเมื่อป.ป.ช. มีมติยกคำร้องเมื่อ 28 สิงหาคม 2555 เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ[19]

เหตุจลาจลในพนมเปญ[แก้]

วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2546 ผู้ชุมนุมชาวกัมพูชาได้บุกเข้าทำลายสถานเอกอัครราชทูตไทยตลอดจนทรัพย์สินต่างๆของธุรกิจสัญชาติไทยในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา กลุ่มผู้ประท้วงออกตระเวณไล่ล่าหาคนไทยในกรุงพนมเปญท่ามกลางเปลวเพลิงที่กำลังเผาสถานเอกอัครราชทูตไทย ในเวลาหนึ่งทุ่ม ทักษิณได้เรียกรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมและปลัดกระทรวงกลาโหมเข้าหารือที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในเวลานั้น ทักษิณไม่สามารถติดต่อกับนายกรัฐมนตรีฮุนเซนแห่งกัมพูชา แต่นายอดิศัย โพธารามิกซึ่งกำลังอยู่กับรัฐมนตรีเตียบัน โทรเข้ามาพอดี ทักษิณจึงขอสายรัฐมนตรีเตียบันผู้เข้าใจภาษาไทย และแจ้งว่า "หากหนึ่งชั่วโมงข้างหน้ายังไม่สามารถคุมสถานการณ์ได้ ผมจะส่งคอมมานโดเข้าไปปกป้องคนไทย" แต่รัฐมนตรีเตียบันร้องขอไม่ให้ส่งคอมมานโดเข้ามา[20]

ในเวลาสี่ทุ่มเศษ สถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย ทักษิณได้เรียกหน่วยงานความมั่นคงและผู้บัญชาการทหารทุกเหล่าทัพเข้าประชุมฉุกเฉินที่ทำเนียบรัฐบาล ทักษิณได้แต่งตั้งให้พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้บัญชาการรับผิดชอบสถานการณ์นี้ ทักษิณได้สั่งการให้กองทัพอากาศส่งเครื่องบินแบบ C-130 พร้อมหน่วยคอมมานโดไปยังกรุงพนมเปญโดยไม่สนว่ารัฐบาลกัมพูชาจะยินดีหรือไม่[20] ทักษิณประกาศกร้าวต่อผู้สื่อข่าวว่า "ความสัมพันธ์ว่ากันทีหลัง ผมถือว่าเรื่องศักดิ์ศรีและชีวิตรับไม่ได้!"[20]

ที่ประชุมได้อนุมัติแผนช่วยเหลือพลเรือนไทยที่ชื่อว่า "โปเชนตง 1" นอกจากนี้ ทักษิณยังใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีอนุมัติแผนสำรองที่ชื่อ "โปเชนตง 2" ที่อาจจำเป็นต้องใช้กำลังทหารไทยเข้าควบคุมกรุงพนมเปญ[20] อย่างไรก็ตามปฏิบัติการโปเชนตง 1 เป็นไปด้วยความสำเร็จด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาลกัมพูชา ในวันที่ 30 มกราคม เครื่องบิน C-130 ทั้ง 7 ลำได้พาพลเรือนไทยมาถึงท่าอากาศยานดอนเมืองโดยสวัสดิภาพโดยมีทักษิณมารอต้อนรับ ส่งผลให้ภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำของทักษิณพุ่งขึ้นทันที[21]

การปลดหนี้ไอเอ็มเอฟ[แก้]

สืบเนื่องจากวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพื่อมาประคองเศรษฐกิจของประเทศ ประเทศไทยไม่สามารถดำเนินนโยบายเศรษฐกิจได้อย่างเสรี จำยอมต้องดำเนินนโยบายการเงินและคลังตามเงื่อนไขที่เข้มงวดของไอเอ็มเอฟ แม้ทักษิณจะได้รับคำทัดทานว่าอาจจะทำให้ประเทศขาดสภาพคล่องแต่ทักษิณก็เร่งรัดให้มีการใช้หนี้ไอเอ็มเอฟก่อนกำหนด ด้วยเหตุผลที่ว่า "...ผมมีประสบการณ์เป็นนักกู้เงินมาก่อน ถ้าเราเป็นหนี้แล้วใช้คืนได้เขาถึงว่าเราเป็นลูกค้าชั้นดีที่จะให้กู้มากขึ้นอีก" ในเวลา 20.30น. ของวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ทักษิณได้กล่าวสุนทรพจน์ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยความว่า:

วันนี้เป็นวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ชำระหนี้ไอเอ็มเอฟก้อนสุดท้าย เมื่อกลางวันนี้ได้ชำระคืนให้กับธนาคารของประเทศญี่ปุ่น และเย็นนี้ซึ่งเป็นเวลากลางวันของซีกประเทศตะวันตกก็ได้ชำระเงินก้อนสุดท้ายคืนให้กับไอเอ็มเอฟ ทั้งหมดที่ชำระคืนในวันนี้ก็ประมาณ 60,000 กว่าล้านบาท เป็นก้อนสุดท้ายแล้ว หลังจากที่ได้เจอวิกฤตเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 [...] ซึ่งขณะนั้นทางไอเอ็มเอฟร่วมกับธนาคารกลางและกระทรวงการคลังของแปดประเทศ และประเทศญี่ปุ่นได้อนุมัติวงเงินให้เรากู้เป็นเงินถึง 14,500 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เราได้มีการเบิกใช้จริง 12,296 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 510,000 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลที่แล้วได้ใช้หนี้ส่วน 510,000 ล้านบาทนี้ไป 10,000 ล้านบาท เหลือหนี้ทั้งหมด 500,000 ล้านบาท รัฐบาลนี้ได้เข้ามาทำงานสองปีครึ่ง ได้ชำระหนี้ทั้ง 500,000 ล้านบาทหมดในวันนี้ ทำให้เราถือว่าหมดพันธะต่อการที่ต้องพึงปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีไว้ต่อไอเอ็มเอฟ [...] ผมอยากจะบอกให้พี่น้องประชาชนให้มีความมั่นใจและภูมิใจในความเป็นคนไทย ว่าวันนี้เราไม่มีพันธะใดๆ[22]

— นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร 31 กรกฎาคม 2546

การชำระหนี้ดังกล่าวเป็นการชำระก่อนกำหนดถึงสองปี การพ้นพันธะจากไอเอ็มเอฟทำให้รัฐบาลสามารถแก้ไขกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ 11 ฉบับและไม่ต้องเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 10 นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทย ส่งผลให้มีกระแสเงินเข้ามาลงทุนในภาคเศรษฐกิจของไทยมากขึ้นจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2547 ประเทศไทยได้รับการปรับระดับอันดับเครดิต (Credit rating) โดยสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส จากระดับ BBB ขึ้นสู่ระดับ BBB+[23] ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินของประเทศต่ำลง อย่างไรก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์ได้ออกมาแถลงต่อกรณีดังกล่าวว่า "..สิ่งที่ทำให้รัฐบาลชุดนี้ใช้หนี้ได้ก่อนกำหนด เนื่องจากรัฐบาลชุดที่แล้วกู้เงินต่ำกว่าที่ไอเอ็มเอฟกำหนดถึง 2,800 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้นจึงไม่อยากให้รัฐบาลนำเรื่องนี้มาเป็นผลงานมากจนเกินไป"[24]

หวยบนดิน[แก้]

ทักษิณตระหนักว่าธุรกิจหวยใต้ดินนั้นมีเงินหมุนเวียนมหาศาลและรัฐไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ นอกจากนี้ ธุรกิจหวยใต้ดินยังเป็นเสมือนบ่อเงินบ่อทองของเหล่าผู้มีอิทธิพล ทักษิณจึงกำหนดให้มีการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลแบบเลขท้าย 2 และ 3 ตัว ซึ่งเรียกว่า "หวยบนดิน" ขึ้นมาเพื่อดึงเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ และมีการยกเว้นการเก็บภาษีกับสลากประเภทนี้ รายได้จากการจำหน่ายสลากประเภทนี้หลังหักค่าใช้จ่าย หากกองทุนมีเงินส่วนเกินเหลือเหมาะสมเพียงพอในแต่ละช่วงเวลาจะจัดสรร รายได้ส่วนเกินดังกล่าวคืนสู่สังคมเพื่อสนับสนุนการศึกษา การแพทย์ ศาสนา สังคม และสาธารณประโยชน์อื่นๆ[25]

โครงการหวยบนดินได้รับการอนุมัติโดยกองสลากเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2546 และมีการดำเนินงาน 72 งวดระหว่าง 1 สิงหาคม 2546 ถึงวันที่ 16 กันยายน 2549 มีรายได้จากการจำหน่ายสลากหวยบนดินรวม 123,339 ล้านบาท มีการจ่ายเงินรางวัลรวมทั้งสิ้น 69,242 ล้านบาท[25] เท่ากับมีกำไรขั้นต้นในโครงการนี้ 54,097 ล้านบาท กำไรส่วนหนึ่งถูกนำไปเงินจ่ายคืนสู่สังคมจำนวน 13,679 ล้านบาท[25]

เงินที่ถูกจัดสรรคืนสู่สังคม มีการนาไปใช้จ่ายในโครงการแก้ไขปัญหาเด็กเร่ร่อน เด็กพิการ เด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ขององค์กรเอกชน สาธารณประโยชน์และหน่วยงานของรัฐ โครงการเขียนเรียงความสำหรับเด็กและเยาวชนเพื่อขอรับทุนการศึกษาตามนโยบายของรัฐบาล การจัดซื้อรถพยาบาลฉุกเฉินระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข การประกันภัยแก่ข้าราชการและเจ้าหน้าท่ของรัฐท่ปฏิบัติงานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาบุตรธิดาอาสาสมัครสาธารณสุข และโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน[25] ในส่วนของโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนนั้น รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ให้ความเห็นไว้ว่า "เด็กๆ ที่รับทุนหวยเรียกทักษิณว่าพ่อทุกคำ เงินหวยพวกนี้ทำให้เกิดพลังเด็กและพ่อแม่ที่ศรัทธาในตัวทักษิณอย่างมาก พวกเขาไม่เคยคิด ไม่เคยฝันว่าจะได้ไปเรียนต่อต่างประเทศ"[26]

อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ถูกโจมตีว่าเป็นการมอมเมาประชาชนให้เชื่อในโชคมากกว่าความมานะบากบั่น เป็นความเสื่อมทรามทางสังคมที่ขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง[27] ในปี 2551 ป.ป.ช. ได้ยื่นฟ้องทักษิณและพวกฐาน "นำเงินหวยใช้สอยตามอำเภอใจ"[28] และยังวิพากษ์ว่ารัฐบาลทักษิณมีการใช้จ่ายเงินดังกล่าวอย่าง "ผิดหลักการบริหารประเทศไทย" ท้ายที่สุดศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาในเดือนกันยายน 2552 ว่ามติคณะรัฐมนตรีที่ให้ออกหวยบนดินนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการใช้จ่ายเงินเพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือประโยชน์แก่พวกพ้องแต่อย่างใด[28]

ใน พ.ศ. 2563 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่าเงินรายได้จากโครงการนี้ "แม้หักค่าใช้จ่าย ค่าตอบแทน เงินสมทบ ค่าบริหารและเงินคืนสู่สังคมแล้ว ก็ยังคงมีเงินรวมประมาณนับแสนล้านบาทที่ไม่ได้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน" เงินจำนวนดังกล่าว "จะต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีกลับมีมติให้นำเงินของรัฐออกไปใช้โดยไม่มีสิทธิ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และเป็นการปฏิบัติหน้าท่ในการแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ควรได้...โครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว (หวยบนดิน) ไม่ใช่การออกสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือสลากการกุศลงวดพิเศษ แต่เป็นการออกสลากกินรวบ" พิพากษาให้จำคุกนายทักษิณเป็นเวลาสองปี[25]

นายกรัฐมนตรีวาระที่สอง (พ.ศ. 2548-49)[แก้]

ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2548

ทักษิณ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง จากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ด้วยคะแนนเสียงอันเป็นประวัติศาสตร์กว่า 19 ล้านเสียง[29] โดยได้ตำแหน่ง ส.ส.ในสภา จำนวน 376 ที่นั่ง ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญ กลับได้เพียง 96 ที่นั่ง โดยคะแนนเสียงหลักของพรรคไทยรักไทยมาจากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพมหานคร โดยในกรุงเทพมหานคร พรรคไทยรักไทยได้ถึง 32 ที่นั่ง จาก 37 เขตเลือกตั้ง จากนโยบายเมกะโปรเจกต์ สร้างรถไฟฟ้า 7 สาย และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ[30]

รัฐบาลไทยรักไทยในสมัยที่สองนี้เป็นรัฐบาลชุดแรกในประวัติศาสตร์ ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่มาจากพรรคการเมืองเดียว ซึ่งได้รับการเลือกตั้งเกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร[31] ผลการเลือกตั้งในครั้งนี้ ทำให้การเมืองไทย มีแนวโน้มที่จะพัฒนาเข้าสู่ระบบสองพรรค[32] ในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ทักษิณ ได้ประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และการชุมนุมขับไล่นายกรัฐมนตรีของแกนนำพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย และมีการขยายการชุมนุมให้มากขึ้น และอีกทั่งการคอร์รัปชั่นและเอื้อประโยชน์ให้แก่พวกพ้อง ตามที่กลุ่มผู้ไม่พอใจได้กล่าวมา จนกระทั่งพ.ต.ท. ทักษิณ ตัดสินใจประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่

วันที่ 4 เมษายน เวลา 20.30 น. ทักษิณแถลงการณ์ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยว่า"ผมขออนุญาตพี่น้องประชาชนที่ดูละครอยู่นะครับ แม้พรรคไทยรักไทยจะชนะการเลือกตั้ง 2 เมษายน แต่ตนจะไม่ขอรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นการสร้างความสมานฉันท์ และปรองดองในชาติ แต่ยังจำเป็นจะต้องรักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนกว่าการสรรหานายกรัฐมนตรีคนใหม่จะแล้วเสร็จ" แต่เมื่อยังคงมีกระแสต่อต้านจากพรรคฝ่ายค้าน และกลุ่มพันธมิตรฯ การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ดังนั้น ในวันที่ 6 เมษายน ทักษิณได้ลาราชการ และแต่งตั้งให้ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน

ในระหว่างลาราชการ ทักษิณ ได้เดินทางเยือน และพบปะหารือ เป็นการส่วนตัว กับผู้นำหลายประเทศ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย ญี่ปุ่น จีน และฮ่องกง ตั้งแต่วันที่ 24 ถึง 30 เมษายน

อย่างไรก็ตาม คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่คณะรัฐประหารแต่งตั้ง ได้มีคำพิพากษาให้ การเลือกตั้ง ในวันที่ 2 เมษายน เป็นโฆฆะ หลังจากนั้นศาลฎีกาได้ตัดสินจำคุกและตัดสิทธิทางการเมืองคณะกรรมการการเลือกตั้ง 3 คน คือ พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ นายปริญญา นาคฉัตรีย์ และนายวีระชัย แนวบุญเนียร เป็นเวลา 10 ปี ทำให้ทั้งสามคนจึงพ้นจากตำแหน่งกรรมการการเลือกตั้ง

ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ทักษิณก็เดินทางกลับมาทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรีในวันที่ 23 พฤษภาคม และได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศให้วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เป็นวันเลือกตั้งใหม่ แต่ก่อนจะมีการเลือกตั้งใหม่ ก็เกิดการก่อรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

นโยบายเศรษฐกิจ[แก้]

ทุนสำรองระหว่างประเทศของไทย พ.ศ. 2544-2549
(หน่วย: พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย)

รัฐบาลทักษิณออกแบบนโยบายเพื่อตอบสนองผู้ออกเสียงลงคะแนนฝ่ายข้างมากในชนบท ริเริ่มโครงการอย่างกองทุนพัฒนาไมโครเครดิตที่หมู่บ้านเป็นผู้จัดการ เงินกู้ยืมการเกษตรดอกเบี้ยต่ำ การอัดฉีดเงินสดเข้ากองทุนพัฒนาหมู่บ้านโดยตรง (แผนเอสเอ็มแอล) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป) โครงการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมชนบท

ทักษิโณมิค นโยบายเศรษฐกิจของทักษิณ ช่วยเร่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 และลดความยากจน จีดีพีเติบโตจาก 4.9 ล้านล้านบาทเมื่อปลายปี 2544 เป็น 7.1 ล้านล้านบาทเมื่อปลายปี 2549 ประเทศไทยจ่ายหนี้ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศก่อนกำหนดสองปี ระหว่างปี 2543 ถึง 2547 รายได้ของภาคอีสานซึ่งเป็นภาคที่ยากจนที่สุดในประเทศเพิ่มขึ้น 40% และอัตราความยากจนทั่วประเทศลดลงจาก 21.3% เหลือ 11.3%[2] ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีการซื้อขายเหนือตลาดอื่นในภูมิภาค หลังขาดดุลการคลังในปี 2544 และ 2545 ทักษิณได้ปรับดุลงบประมาณของชาติ ซึ่งทำให้มีงบประมาณส่วนเกินเหลือไว้สำหรับปี 2546 ถึง 2548 แม้ว่ามีโครงการการลงทุนสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ แต่มีการกำหนดงบประมาณสมดุลสำหรับปี 2550[33] หนี้สาธารณะของไทยลดลงจาก 57% ของจีดีพีเมื่อเดือนมกราคม 2544 เหลือ 41% ของจีดีพีในเดือนกันยายน 2549[34][35] เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นจาก 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2544 เป็น 64,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2549[36]

นักวิจารณ์อ้างว่าทักษิโณมิคไม่ได้มากไปกว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเคนส์ซึ่งนำมาทำใหม่เท่านั้น นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยแย้งว่าปัจจัยอื่น อย่างเช่นการฟื้นตัวของความต้องการการส่งออก เป็นปัจจัยหลักเบื้องหลังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ[37] ส่วนคนอื่นอ้างว่านโยบายดังกล่าวทำให้คนยากจนในชนบท "ยึดติดกับการแจกเงินของทักษิณ"[38]

นโยบายต้านยาเสพติด[แก้]

ทักษิณริเริ่มนโยบายซึ่งมีข้อโต้เถียงอย่างสูงหลายอย่างเพื่อตอบโต้การเติบโตของตลาดยาเสพติดไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมแทมเฟตามีน หลังนโยบายต้านยาเสพติดก่อนหน้านี้ เช่น การปิดพรมแดน (เมทแอมเฟตามีนส่วนมากผลิตในประเทศพม่า) การศึกษาสาธารณะ กีฬา และการสนับสนุนแรงกดดันกลุ่มต่อการใช้ยาเสพติดให้ผลไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าใด ทักษิณออกการรณรงค์ปราบปรามหลายทิศทางซึ่งมุ่งจำกัดการใช้เมทแอมเฟตามีนใน 3 เดือน โดยเปลี่ยนการลงโทษสำหรับการติดยาเสพติด การตั้งเป้าหมายการจับและยึดของจังหวัด การให้รางวัลข้าราชการของรัฐสำหรับการบรรลุเป้าหมาย การกำจัดผู้ค้าและสั่งการนำไปปฏิบัติอย่าง "ไร้ปราณี"[39]

ในสามเดือนแรก ฮิวแมนไรต์วอชรายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 2,275 คน[40] รัฐบาลอ้างว่ามีผู้เสียชีวิตจากมือตำรวจเพียงประมาณ 50 คน นักวิจารณ์สิทธิมนุษยชนกล่าวว่ามีจำนวนมากถูกประหารชีวิตนอกกระบวนการยุติธรรม[41][42][43][44][45][46][47][48][49][50][51] รัฐบาลเดินหน้าป่าวการรณรงค์ดังกล่าวผ่านการประกาศการจับกุม การยึดและสถิติเสียชีวิตรายวัน

ในพระราชดำรัสวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ ปี 2546 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตรัสสนับสนุนแนวทางต้านยาเสพติดของทักษิณ แม้พระองค์ทรงขอให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแยกแยะการเสียชีวิตจากผู้ที่ถูกตำรวจฆ่าและผู้ที่ถูกผู้ค้ายาเสพติดด้วยกันฆ่า[52] สันต์ ศรุตานนท์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เปิดการสืบสวนการเสียชีวิตใหม่ และพบอีกว่ามีผู้เสียชีวิตจากมือตำรวจน้อย แนวทางต้านยาเสพติดของทักษิณถูกประชาคมนานาชาติประณามอย่างกว้างขวาง ทักษิณขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติส่งทูตพิเศษมาประเมินสถานการณ์

หลังรัฐประหารปี 2549 คณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองสั่งการสืบสวนการรณรงค์ต้านยาเสพติดอีกชุด โดยมีอดีตอัยการสูงสุด คณิต ณ นคร เป็นประธานคณะกรรมการสืบสวนพิเศษ คณะกรรมการพบว่าผู้ที่ถูกฆ่ามากถึง 1,400 คนจาก 2,500 คนไม่มีความเชื่อมโยงกับยาเสพติด คณะกรรมการให้ความเห็นว่าการฆ่านี้มาจากนโยบายของรัฐบาล แต่ไม่มีการดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้อง[53]

นโยบายต่างประเทศ[แก้]

นายกรัฐมนตรีทักษิณและกับประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช พบกันในฐานะมิตรสหายครั้งสมัยเรียนมหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตต เมื่อ 14 ธันวาคม 2544

นโยบายต่างประเทศของทักษิณมีลักษณะเป็นการทูตเชิงธุรกิจ[54] จากวิกฤตการณ์การเงิน พ.ศ. 2540 ทำให้ทักษิณหันไปให้ความสำคัญกับภูมิภาคเอเชียมากขึ้น และยังชูกระแสชาตินิยมและเอเชียนิยม ตลอดจนแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อตะวันตก ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกค่อนข้างห่างเหิน จนทำให้ในช่วงแรกๆของการดำรงตำแหน่งนายกฯ นักลงทุนต่างชาติเกิดความกังวลว่ารัฐบาลทักษิณมีแนวคิดต่อต้านการลงทุนจากต่างชาติและเป็นพวกชาตินิยม[54] จนทักษิณต้องทำการชี้แจงต่อนักลงทุนต่างชาติ

ไทยได้ลงนามข้อตกลงทางการค้าเสรี (FTA) กับหลายประเทศในสมัยทักษิณ ได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น, อินเดีย, บังกลาเทศ, พม่า, ศรีลังกา, บาห์เรน, เปรู, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ นอกจากนี้ยังมีความพยายามลงนาม FTA กับสหรัฐอเมริกาแต่ถูกต่อต้านจนต้องล่มไป

ความสัมพันธ์กับสหรัฐ[แก้]

หลังเกิดวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ทักษิณจำยอมต้องเดินทางเยือนสหรัฐ และออกแถลงการณ์ร่วมกับสหรัฐว่าไทยเข้าเป็นพันธมิตรกับสหรัฐ และจะให้ความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้าย และได้ลงนามในสนธิสัญญากับสหรัฐจำนวน 12 ฉบับ ทำให้ความสัมพันธ์กับสหรัฐพัฒนาขึ้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลทักษิณมีการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างระมัดระวัง โดยหลีกเลี่ยงมาตรการต่างๆที่จะทำให้ไทยตกเป็นเป้าของกลุ่มก่อการร้ายได้ ยุทธศาสตร์ "พรางตัวทางการทูต" เช่นนี้ของไทยทำให้สหรัฐไม่ค่อยพอใจ มองว่าไทยไม่เต็มใจที่จะช่วยสหรัฐ

เมื่อเกิดการปะทุของสงครามอิรัก ทักษิณจำยอมต้องส่งทหารไทย 423 นายเข้าร่วมกับสหรัฐอเมริกา ทำให้ทางสหรัฐพอใจ และให้สถานะพันธมิตรหลักนอกนาโตแก่ประเทศไทยใน พ.ศ. 2546

การทูตเชิงอำนาจนำ[แก้]

กรอบความร่วมมือเอเชียที่มีไทยเป็นผู้ริเริ่มและผู้นำ

รัฐบาลทักษิณยังมีความทะเยอทะยานในการนำไทยเป็นผู้นำภูมิภาค โดยได้จัดตั้งกรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue) ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2545 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมประเทศในแถบเอเชียให้สนับสนุนกันเอง[55] โดยมีสมาชิกแรกเริ่ม 18 ประเทศ ถือเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีไทยเป็นผู้นำ นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งความร่วมมือทางเศรษฐกิจลุ่มเจ้าพระยาและอิรวดี เป็นนโยบายที่ไทยชูความเป็นผู้นำโดยการสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ลาวและพม่า[55] และจากความสัมพันธ์กับสหรัฐที่พัฒนาขึ้น ทำให้ทักษิณได้ขอแรงสนับสนุนจากสหรัฐในการช่วยล็อบบี้ประเทศต่างๆให้สนับสนุนนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ลงชิงตำแหน่งเป็นเลขาธิการสหประชาชาติคนที่ 9

การดำเนินการด้านอื่น ๆ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Protesters Jam Bangkok, but Rural Thais Love the Leader. The New York Times, 6 March 2006
  2. 2.0 2.1 The World Bank, Thailand Economic Monitor, November 2005
  3. The Star, Dreaded day dawns – despite lies and dark forces เก็บถาวร 2012-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2 April 2006
  4. The Nation, Vandal's dad distraught เก็บถาวร 2012-01-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 23 March 2006
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ dhm
  6. "Thaksin lauds his own achievements". Bangkok Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-10. สืบค้นเมื่อ 2016-02-11.
  7. "ลักษณะ ย้อนแย้ง 30 บาท ′รักษาทุกโรค′ อารมณ์ หงุดหงิด". matichon.co.th. มติชน. 29 ธันวาคม 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-31. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2017.
  8. 85 Bogus Doctors Arrested In Thailand Last Year เก็บถาวร 2007-01-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน June 6, 2006
  9. First International Trade Exhibition and Conference on Medical Tourism, Spa and Wellness Industries, in Bangkok, March 20-23 2008 2007
  10. Follow-up to the declaration of commitment on HIV/AIDS (UNGASS) December 2004
  11. 11.0 11.1 มรกต ลิ้มตระกูล. "ประวัตินโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการเปิดเสรีด้านพลังงาน" (PDF). บริษัท เบอร์ร่า จำกัด. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2017.
  12. "แปรรูปรัฐวิสาหกิจยุคทักษิณ ปล้นชาติแบบล้ำลึก". MGR Online. 15 ตุลาคม 2005. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2017. เป็นกระบวนการปล้นชาติแบบเงียบๆ ของนักการเมืองที่ฉลาดในวิธีการโกงกินมากขึ้น จากเมื่อก่อนที่โกงแบบปล้นกลางแดด เรียกกินค่าคอมมิชชั่นจากโครงการก่อสร้าง มาเป็นการโกงที่สลับซับซ้อนขึ้น ใส่เสื้อสูท กินไวน์ราคาแพงแล้วปล้นพวกเราแบบเงียบ ๆ[ลิงก์เสีย]
  13. บรรยง พงษ์พานิช (14 มีนาคม 2014). "ตำนาน "การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ" … ปตท. เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ 2544 (ตอน 5)". thaipublica.org. ไทยพับลิก้า. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2017. ทำให้ตลาดทุนไทยพลิกฟื้นกลับมาได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลกใหม่ ในฐานะที่ทำงานอยู่ในตลาดทุนไทยมากว่า 36 ปี ผมกล้าพูดเลยว่า ถ้าไม่มีการเข้าตลาดฯ ของ ปตท. ตลาดหุ้นไทยจะไม่มีวันนี้ จะไม่ได้กลับมาเป็นกลไกหลัก เป็นแกนในการรวบรวมจัดสรรทรัพยากรให้ระบบเศรษฐกิจเช่นทุกวันนี้ หลังวิกฤติตลาดหุ้นไทยซบเซาอย่างหนัก
  14. "ทักษิณแปรรูปรัฐวิสาหกิจ" ขายชาติ ชาติจะหายนะ " จริงหรือ ???". 16 พฤศจิกายน 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-28. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2017. จากตัวเลขในตารางจะเห็นได้ว่า แม้ว่ากระทรวงการคลังจะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงก็ตาม แต่ผลประโยชน์ที่คลังได้รับจาก ปตท.ก็เพิ่มขึ้นทุกปี
  15. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ 5/2549 พิพากษาเพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2548 และพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2548 ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2548 ซึ่งเป็นวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
  16. ภูรี สิรสุนทร (2550). การแปรรูปรัฐวิสาหกิจในรัฐบาลทักษิณ (พ.ศ. 2544-2547). คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  17. 17.0 17.1 17.2 "คำต่อคำ "ทักษิณ" ยิ้มแฉ่ง-บินปฐมฤกษ์ "หนองงูเห่า" ราบรื่น". ผู้จัดการออนไลน์. 29 กันยายน 2548.[ลิงก์เสีย]
  18. ครม. รับหลักการแล้ว เขตปกครองพิเศษ "สุวรรณภูมิมหานคร" ประชาไท. 20 มิถุนายน 2549
  19. 'ทักษิณ-สุริยะ'เฮยกคำร้องคดีทุจริต "ซีทีเอ็กซ์" ไทยรัฐ. 29 สิงหาคม 2555
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ. ฉบับวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2546. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2560
  21. ย้อนดู "ทักษิณ" เคยสั่งด่วน พาคนไทยในเขมรกลับบ้าน หลัง ทอ. โต้แทน "บิ๊กตู่"
  22. หน้า 2 มติชน ฉบับวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
  23. "การปรับเพิ่มระดับเครดิตของประเทศไทย โดยบริษัท Standard & Poor's" (PDF). ข่าวกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 65/2547. 26 สิงหาคม 2547. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-09-27. สืบค้นเมื่อ 3 พ.ค. 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  24. ปลดแอกIMFคลังฟุ้งยกใหญ่ คนไทยกระเป๋าตุงมีเงินใช้บาน. ผู้จัดการออนไลน์ 1 สิงหาคม 2546
  25. 25.0 25.1 25.2 25.3 25.4 ราชกิจจานุเบกษา. คำพิพากษา คดีหมายเลขแดงที่ อม. 10/2552 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง. 14 มกราคม 2563.
  26. "สัมภาษณ์พิเศษ ดร.สมพงษ์ จิตระดับ เปิดรูโหว่ "หวยบนดิน"". ประชาชาติธุรกิจ ฉบับที่ 3836. 16 ตุลาคม 2549. งานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล บอกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ เราได้เด็กตรงกับกลุ่มเป้าหมาย คือ พ่อแม่เป็นเกษตรกรรม หรือรับจ้างทั่วไป...คุณต้องยอมรับว่า เงินหวยพวกนี้ทำให้เกิดพลังเด็กและพ่อแม่ ที่ศรัทธาในตัวทักษิณอย่างมาก พวกเขาไม่เคยคิด ไม่เคยฝันว่าจะได้ไปเรียนต่อต่างประเทศ"
  27. "นโยบายหวยยุคทักษิณ ล้วงกระเป๋าคนยากจนมาปั่นประเทศ". ผู้จัดการออนไลน์. 11 มกราคม 2549. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-01. สืบค้นเมื่อ 2017-04-30. ...ยิ่งรัฐบาลมีนโยบายให้ขายหวยบนดิน ประชาชนก็ยิ่งเล่นหวยกันมากขึ้น ยิ่งเล่นมากก็ยิ่งขาดทุนมาก หวยเป็นกิจกรรมที่ทำร้ายคนจน เพราะในทางเศรษฐศาสตร์ หวยคือภาษีคนจนที่ลงขันกันแล้วเอามาให้คนที่ถูกรางวัล จึงเป็นการเอาเปรียบคนจน เพราะคนจนและคนรวยซื้อหวยในราคาเท่ากัน...มอมเมาให้ผู้คนเชื่อในโชคชะตามากกว่าความมานะบากบั่น และการอดออม รวมทั้งคติเรื่องรวยด้วยฟลุ้ก
  28. 28.0 28.1 จำเลยหวยบนดินรอดคุก-รอลงอาญา ปรับแค่ 2 หมื่น![ลิงก์เสีย] ผู้จัดการออนไลน์. 30 กันยายน 2552."
  29. "Unprecedented 72% turnout for latest poll"[ลิงก์เสีย] The Nation. February 10, 2005.
  30. Aurel Croissant and Daniel J. Pojar, Jr., Quo Vadis Thailand? Thai Politics after the 2005 Parliamentary Election เก็บถาวร 2011-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Strategic Insights, Volume IV, Issue 6 (June 2005)
  31. "รัฐบาลพรรคเดียวครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-01. สืบค้นเมื่อ 2011-03-01.
  32. "รัฐบาลพรรคเดียวครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-01. สืบค้นเมื่อ 2011-03-01.
  33. Asian Development Bank, Asian Development Outlook 2006: Thailand เก็บถาวร 2006-09-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  34. The Nation, Public debt end-Sept falls to 41.28% of GDP เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 17 November 2006
  35. World Bank, Thailand Economic Monitor, October 2003
  36. The Nation, Black Tuesday: Did the BOT overreact? เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 25 December 2006
  37. TDRI ECONOMISTS: Thaksinomics 'not a driver of growth' เก็บถาวร 2007-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Wichit Chaitrong, The Nation, March 30, 2006
  38. The Nation, Forget the apologies, let the PM rebuild democracy เก็บถาวร 2006-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 5 October 2006
  39. 1 ก.พ.2546 "ไม่คุกก็วัด" ทักษิณ ระเบิดสงครามกับยาเสพติด คมชัดลึกออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2562
  40. "The War on Drugs, HIV/AIDS, and Violations of Human Rights in Thailand". Human Rights Watch. Beginning in February 2003, the Thaksin government instructed police and local officials that persons charged with drug offenses should be considered "security threats" and dealt with in a "ruthless" and "severe" manner. The result of the initial three-month phase of this campaign was some 2,275 extra-judicial killings
  41. "A Wave of Drug Killings Is Linked to Thai Police". By Seth Mydans. April 8, 2003. New York Times. [1] เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  42. Amnesty International report: Thailand: Grave developments - Killings and other abuses เก็บถาวร 2011-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  43. Human Rights Watch. Detailed report: Thailand: Not Enough Graves: IV. Human Rights Abuses and the War on Drugs
  44. "Thailand War on Drugs Turns Murderous, 600 Killed This Month – Human Rights Groups Denounce Death Squads, Executions". Drug War Chronicle, February 21, 2003.
  45. Matthew Z Wheeler. "From Marketplace to Battlefield: Counting the Costs of Thailand's Drug War." [2] เก็บถาวร 2013-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [3] [4] เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. May 28, 2003. ICWA Letters เก็บถาวร 2013-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Institute of Current World Affairs.
  46. Timeline of Thailand’s “War on Drugs”. July 7, 2004. Human Rights Watch.
  47. "Institutionalised torture, extrajudicial killings & uneven application of law in Thailand" เก็บถาวร 2012-05-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. April 2005. See Annex 5 for a "Partial list of persons reported killed during the ‘war on drugs’ (revised)." Asian Legal Resource Centre. From Vol. 04 - No. 02: "Special Report: Rule of Law vs. Rule of Lords in Thailand" เก็บถาวร 2007-09-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  48. "Thailand: Not Smiling on Rights" เก็บถาวร 2011-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. July 18, 2005. Asian Centre for Human Rights. See page 24, the section called "Killings in the war against drugs".
  49. "Letter from Asia; She Tilts Against Power, but Don't Call Her Quixotic." By Jane Perlez. July 7, 2004. New York Times.
  50. "US-Thailand's 'License To Kill'. 2274 Extra-Judicial Killings In 90 Days". The Akha Journal of the Golden Triangle. by Matthew McDaniel. Vol. 1, No. 2, October 2003. Relevant section of journal 2: 2p6.pdf เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Cover and first part of journal 2: 2p1.pdf เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Link list for all parts of the journals เก็บถาวร 2016-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  51. Thailand 2003. Extrajudicial drug-war killings of innocent people. Photo gallery. Press/media links, and human rights reports.
  52. Royal Jubilee Network, 2003 Birthday Speech of King Bhumibol Adulyadej (ไทย)
  53. "Thailand's drug wars. Back on the offensive". January 24, 2008. The Economist.
  54. 54.0 54.1 ประภัสสร์ เทพชาตรี. ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2550
  55. 55.0 55.1 ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์, อัษฎา ชัยนาม, กวี จงกิจถาวร (29 กันยายน 2004). "รายงานการอภิปราย เรื่อง “ไทยภายใต้รัฐบาลทักษิณกับประเทศมหาอำนาจ". {{cite web}}: C1 control character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 25 (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  56. ทวี มีเงิน, "ทักษิณ"ปั้นหรือปั่นศก. (2) "ยางพารา-ข้าว"เก่งหรือเฮง เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, มติชน
  57. ข่าว 'คตส.'เตรียมสอบ 4 ประเด็นใหญ่ ทุจริตกล้ายาง กรุงเทพธุรกิจบิซวีค 29 ตุลาคม พ.ศ. 2549
  58. "โครงการสวนสัตว์กลางคืน เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-10. สืบค้นเมื่อ 2011-03-01.