สถาบันการบินพลเรือน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
Civil Aviation Training Center | |
ตราสัญลักษณ์ของสถาบัน | |
ชื่อเดิม | ศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย |
---|---|
ชื่อย่อ | สบพ. / CATC |
คติพจน์ | ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺ เสสุ ในหมู่มนุษย์ คนประเสริฐ คือคนที่ฝึกแล้ว A Trained Person is an Excellent Person |
ประเภท | รัฐวิสาหกิจ |
สถาปนา | 4 มิถุนายน พ.ศ. 2504 |
สังกัดการศึกษา | กระทรวงคมนาคม |
สังกัดวิชาการ |
|
งบประมาณ | 285,006,500 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
ประธาน | พลเอก ดิเรก ดีประเสริฐ |
ผู้ว่าการ | ภัคณัฏฐ์ มากช่วย |
ที่ตั้ง |
|
วิทยาเขต | ศูนย์ฝึกการบิน |
สถาบันการบินพลเรือน (อังกฤษ: Civil Aviation Training Center) เดิมชื่อ "ศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย" เป็นหน่วยงานประเภทรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม และเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยมีหน้าที่ในการอบรมและผลิตบุคลากรด้านการบินทั้งระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศ ตามมาตรฐานระดับสากลที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO) กำหนดไว้ ปัจจุบัน พลเอก ดิเรก ดีประเสริฐ เป็นประธานกรรมการ
โดยตำแหน่งหัวหน้าสถานศึกษาเรียกว่า "ผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน" ในปัจจุบัน ผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน คือ นางสาวภัคณัฏฐ์ มากช่วย รองผู้ว่าการได้แก่ พันจ่าอากาศเอก พันศักดิ์ เนินทราย
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะมีความรู้ความสามารถในการเข้าไปปฏิบัติงานในหน่วยงานด้านการบินทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในตำแหน่งงานต่าง ๆ เช่น นักบิน ช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการในท่าอากาศยาน เป็นต้น
ประวัติ
[แก้]สถาบันการบินพลเรือนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2504 ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างกองทุนพิเศษสหประชาชาติ (United Nations Special Fund :UNSF) องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO) และรัฐบาลไทย โดยใช้ชื่อว่า ศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย มีองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจการด้านบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้เจริญรุดหน้าทันกับภูมิภาคอื่น ๆ
ในปี พ.ศ. 2509 เมื่อหมดระยะเวลาของโครงการ (5ปี พ.ศ. 2504-2508) รัฐบาลไทยได้รับมอบศูนย์ฝึการบินพลเรือนในประเทศไทยมาดำเนินการในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2509 โดยให้มีฐานะเป็นสถานฝึกอบรมโดยมีกรมการบินพาณิชย์ (สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และ กรมท่าอากาศยาน ในปัจจุบัน) เป็นผู้รับผิดชอบ
ในปี พ.ศ. 2530 รัฐบาลได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมการบินพาณิชย์ใหม่ โดยได้จัดตั้งศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยให้มีฐานะเป็นหน่วยงานระดับกอง ในกรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม
ในปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน แปรสภาพศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย เป็น สถาบันการบินพลเรือน รัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม[2]
ในปี พ.ศ. 2536 สถาบันการบินพลเรือน ได้รับโอนกิจการศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยของกรมการบินพาณิชย์มาดำเนินการ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2536 และได้รับทุนประเดิมตามพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน โดยได้รับจาก บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 100,000,000 บาท บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด จำนวน 25,000,000 บาท และการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) จำนวน 25,000,000 บาท เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 150,000,000 บาท
การจัดหน่วยงาน
[แก้]สำนักผู้ว่าการ
[แก้]เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อผู้ว่าการ โดยมีผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการเป็นหัวหน้าหน่วยงาน ประกอบด้วยส่วนงานทั้งสิ้น 7 แผนก ดังต่อไปนี้
- แผนกเลขานุการ
- แผนกธุรการ
- แผนกทรัพยากรบุคคลและสวัสดิการ
- แผนกนโยบาลและแผนงาน
- แผนกนิติการ
- แผนกจัดหา
- แผนกอาคารสถานที่
ฝ่ายบริหาร
[แก้]เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรองผู้ว่าการฝ่ายบริหาร ประกอบด้วยส่วนงานทั้งสิ้น 3 สำนัก ดังนี้
- สำนักการเงินการคลัง (Finance Bureau)
- แผนกบัญชี
- แผนกการเงิน
- แผนกงบประมาณ
- แผนกพัสดุ
- สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศการบิน (Aviation Information Techonlogy Bureau)
- แผนกพัฒนาสารสนเทศและเครือข่าย
- แผนกผลิตและพัฒนาสือการศึกษา
- แผนกบริการโสตทัศนูปกรณ์
- สำนักวิจัยและพัฒนาธุรกิจการบิน (Aviation Business Resech and Development Bureau)
- แผนกประชาสัมพันธ์
- แผนกการตลาด
- แผนกวิจัยและพัฒนา
ฝ่ายวิชาการ
[แก้]เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรองผู้ว่าการฝ่ายวิชาการ มีหน้าที่ทำการฝึก อบรม หลักสูตรภาคพื้นและหลักสูตรฝึกอบรมทุกหลักสูตร โดยแบ่งความรับผิดชอบตามกองวิชาต่าง ๆ ประกอบด้วยส่วนงานทั้งสิ้น 1 สำนัก และ 5 กองวิชา ดังนี้
- สำนักวิชาการ (Academic Affairs Bureau) มีรองผู้ว่าการฝ่ายวิชาการเป็นหัวหน้าหน่วยงาน
- แผนกมาตรฐานการศึกษา
- แผนกบริการการศึกษา
- แผนกกิจการนักศึกษา
- แผนกทะเบียนและวัดผล
- กองวิชาช่างอากาศยาน (Aircraft Maintenance Training Division) มีหน้าที่รับผิดชอบการเรียนการสอนและการฝึกอบรมของหลักสูตรนายช่างภาคพื้นดิน (Aircraft Maintenance Engineer (AMEL) License) เทียบเท่าระดับอนุปริญญาใน 2 สาขาวิชา สาขาวิชาช่างเครื่องบิน วิชาเอกเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ (Aeroplane Mechanic - B1.1, B1.2) และสาขาวิชาช่างเอวิโอนิกส์ (Avionics Mechanic - B2) ซึ่งทั้ง 2 สาขาวิชาจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานระดับอนุปริญญา, ข้อกำหนดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) และองค์การความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป (EASA) ภายใต้มาตราฐาน ICAO โดยมีผู้อำนวยการกองช่างอากาศยานเป็นหัวหน้าหน่วยงาน
- กองวิชาอิเล็กทรอนิกส์การบิน (Avionics Division) มีหน้าที่รับผิดชอบการเรียนการสอนและการฝึกอบรมของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์การบิน และหลักสูตรการบำรุงรักษาเครื่องสื่อสารการบิน โดยมีผู้อำนวยการกองวิชาอิเล็กทรอนิกส์การบินเป็นหัวหน้าหน่วยงาน
- กองวิชาบริการการบิน (Aeronautical Service Division) มีหน้าที่รับผิดชอบการเรียนการสอนและการฝึกอบรมของหลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการจราจรทางอากาศ โดยมีผู้อำนวยการกองวิชาบริการการบินเป็นหัวหน้าหน่วยงาน
- กองวิชาบริหารการบิน (Aviation Management Division) มีหน้าที่รับผิดชอบการเรียนการสอนและการฝึกอบรมของหลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่าอากาศยาน และสาขาวิชาการจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศ โดยมีผู้อำนวยการกองวิชาบริหารการบินเป็นหัวหน้าหน่วยงาน
- กองวิชาภาษาอังกฤษเทคนิคการบิน (Aviation Technical English Division) มีหน้าที่รับผิดชอบการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษเทคนิคการบิน และวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้กับหลักสูตรภาคพื้นและหลักสูตรฝึกอบรมทุกหลักสูตร โดยมีผู้อำนวยการกองวิชาภาษาอังกฤษเทคนิคการบินเป็นหัวหน้าหน่วยงาน
ศูนย์ฝึกการบิน
[แก้]ตั้งอยู่ที่ท่าอากาศยานหัวหิน (ชื่อเดิม สนามบินบ่อฝ้าย) อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อผู้ว่าการ มีหน้าที่ทำการฝึก อบรม หลักสูตรภาคอากาศทุกหลักสูตร โดยมีผู้อำนวยการศูนย์ฝึกการบินเป็นหัวหน้าหน่วยงาน ประกอบด้วยส่วนงานทั้งสิ้น 2 กอง ดังนี้
- กองฝึกบิน (Flight Training Division)
- แผนกฝึกบินเครื่องบิน
- แผนกฝึกบินเฮลิคอปเตอร์
- แผนกวิชาภาคพื้น
- แผนกฝึกบินจำลอง
- แผนกมาตรฐานการบิน
- แผนกนิรภัยการบินและภาคพื้น
- กองซ่อมบำรุงอากาศยาน (Aircraft Maintenance Division)
- แผนกควบคุมมาตรฐานการซ่อม
- แผนกซ่อมอากาศยานในลานจอด
- สถานีซ่อมบำรุงอากาศยาน
คณะกรรมการและคณะผู้บริหาร
[แก้]คณะกรรมการสถาบันการบินพลเรือน
[แก้]คณะกรรมการชุดปัจจุบัน มีทั้งสิ้น 11 ท่าน ดังต่อไปนี้
- ประธานกรรมการ
- ประธานกรรมการสถาบันการบินพลเรือน : พลเอก ดิเรก ดีประเสริฐ
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ : นายเชิดศักดิ์ หิรัญสิริสมบัติ
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ : พลอากาศเอก พิธพร กลิ่นเฟื่อง
- กรรมการผู้แทนส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
- กรรมการผู้แทนกองทัพอากาศ : พลอากาศเอก วินัย เปล่งวิทยา
- กรรมการผู้แทนบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด : นายอภินันท์ วรรณางกูร
- กรรมการผู้แทนบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) : เรืออากาศโท ณรงค์ชัย ถนัดช่างแสง
- กรรมการผู้แทนกระทรวงคมนาคม : นายสัมพันธ์ พงศ์ไทย
- กรรมการผู้แทนกระทรวงการคลัง : นางอัจฉราพร เหมาคม
- กรรมการผู้แทนบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) : เรืออากาศโท อธิศักดิ์ พัดชื่นใจ
- กรรมการผู้แทนกรมการบินพลเรือน : นายเสรี จิตต์โสภา
- กรรมการและเลขานุการ (ผู้ว่าการ โดยตำแหน่ง)
- กรรมการและเลขานุการ : พลเรือตรี ปิยะ อาจมุงคุณ
คณะผู้บริหารสถาบันการบินพลเรือน
[แก้]- ผู้บริหารระดับสูง
- ผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน : นางสาวภัคณัฏฐ์ มากช่วย
- รองผู้ว่าการฝ่ายวิชาการ : พันจ่าอากาศเอก พันศักดิ์ เนินทราย
- สำนักผู้ว่าการ
- ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการ : นาย ฐปนพงศ์ พุทธศิริ
- ฝ่ายบริหาร
- รักษาการผู้อำนวยการสำนักการเงินการคลัง : นางสาวภัคณัฐฐ์ มากช่วย
- ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศการบิน : นางสาวพิไลพร ปูนวิภากุล
- ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาธุรกิจการบิน : นางสาววรินทร เลี่ยมนาค
- ฝ่ายวิชาการ
- ผู้อำนวยการกองวิชาอากาศยานและเครื่องยนต์ : นายวิโรจน์ น้อยวิไล
- ผู้อำนวยการกองวิชาอิเล็กทรอนิกส์การบิน : ดร. กนก สารสิทธิธรรม
- ผู้อำนวยการกองวิชาบริการการบิน : นาวาอากาศตรี จินตวัชร์ เพชรเรียง
- ผู้อำนวยการกองวิชาบริหารการบิน : ดร. วราภรณ์ เต็มแก้ว
- ผู้อำนวยการกองวิชาภาษาอังกฤษเทคนิคการบิน : ดร. นปภา นคฤทธภพ
- ศูนย์ฝึกการบิน หัวหิน
- ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกการบิน : นาวาอากาศโท อภิชาติ วาทะวัฒนะ
- ผู้อำนวยการกองฝึกบิน : นาวาอากาศเอก ระทิน อินเทวา
- ผู้อำนวยการกองซ่อมบำรุงอากาศยาน : นาย เจน หน่อท้าว
ทำเนียบผู้อำนวยการและผู้ว่าการ
[แก้]ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน สถาบันการบินพลเรือนมี ผู้อำนวยการ ผู้ว่าการ รักษาการผู้อำนวยการ และ รักษาการผู้ว่าการ มาแล้ว 25 ท่าน ดังรายนามต่อไปนี้
ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย | ||
---|---|---|
รายนามผู้อำนวยการ | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
1. Mr. R.L. Cole | ปี พ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2509 | Principal of CATC |
2. พลอากาศตรี หม่อมราชวงศ์ สุกษม เกษมสันต์ | ปี พ.ศ. 2505 - พ.ศ. 2508 | Administrator |
3. นาวาอากาศเอก อำนวย สกุลรัตนะ | ปี พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2512 | รักษาการผู้อำนวยการ |
4. ดร.จิตติ วัชรสินธุ์ | ปี พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2516 | รักษาการผู้อำนวยการ |
5. พลอากาศตรี ละเอิบ ปิ่นสุวรรณ์ | ปี พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2520 | |
6. นาวาอากาศเอก ประเสริฐ ใจผ่องใส | ปี พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2523 | |
7. นายสุวรรณ ทัพพะรังสี | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 - 10 กันยายน พ.ศ. 2524 | |
8. นายสุนทร สุตะพาหะ | 11 กันยายน พ.ศ. 2524 - 1 มีนาคม พ.ศ. 2525 (ครั้งที่ 1) 4 มกราคม พ.ศ. 2536 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2536 (ครั้งที่ 2) |
รักษาการผู้อำนวยการ รักษาการผู้อำนวยการ |
9. นายอาจหาญ กุลละวณิชย์ | 1 มีนาคม พ.ศ. 2525 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2530 | รักษาการผู้อำนวยการ |
10. ดร.ดนัย เลขยานนท์ | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2530 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2532 | รักษาการผู้อำนวยการ |
11. ดร.บำรุง จินดา | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2532 - 2 กันยายน พ.ศ. 2535 (ครั้งที่ 1) | รักษาการผู้อำนวยการ |
12. นายสวัสดิ์ สิทธิ์วงศ์ | 2 กันยายน พ.ศ. 2535 - 4 มกราคม พ.ศ. 2536 | รักษาการผู้อำนวยการ |
ผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน | ||
รายนามผู้ว่าการ | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
11. ดร.บำรุง จินดา | 1 เมษายน พ.ศ. 2536 - 30 กันยายน พ.ศ. 2539 (ครั้งที่ 2) | |
13. พันตรี ประยงค์ สุกใส | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 - 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 | รักษาการผู้ว่าการ |
14. รองศาสตราจารย์ ดร. องค์การ อินทรัมพรรย์ | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 | |
15. รองศาสตราจารย์ ดร. สุธี อักษรกิตต์ | 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 | รักษาการผู้ว่าการ |
16. พลอากาศโท ชรัช ปานสุวรรณ | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2543 - 30 กันยายน พ.ศ. 2547 | |
17. นายสุพจน์ คัมภีระ | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2548 | รักษาการผู้ว่าการ |
18. เรืออากาศโท ประพนธ์ จิตตะปุตตะ | 1 เมษายน พ.ศ. 2548 - 7 เมษายน พ.ศ. 2548 | รักษาการผู้ว่าการ |
19. นายบุญฤทธิ์ เสาวพฤกษ์ | 8 เมษายน พ.ศ. 2548 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 | |
20. พลตำรวจตรี ชูเกียรติ ประทีปะเสน | 8 มกราคม พ.ศ. 2551 - 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 | รักษาการผู้ว่าการ |
21. นายวุฒิชัย สิงหมณี | 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 | รักษาการผู้ว่าการ |
22. พลอากาศตรี ภักดิวรรธน์ วชิรพัลลภ | 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 | |
23. พลอากาศเอก ไพบูลย์ จันทร์หอม | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 - 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554 | รักษาการผู้ว่าการ |
24. นาวาอากาศเอก จิรพล เกื้อด้วง | 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 10 มกราคม พ.ศ. 2565 | |
25. นางสาวภัคณัฏฐ์ มากช่วย | 11 มกราคม พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน |
หลักสูตร
[แก้]แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ หลักสูตรภาคพื้น หลักสูตรภาคอากาศ และหลักสูตรฝึกอบรม
หลักสูตรภาคพื้น
[แก้]แบ่งเป็น 5 หลักสูตร ได้แก่ จากเว็บไซต์ของสถาบันการบินพลเรือน
- หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการการบิน
เป็นหลักสูตร 4 ปี โดยเปิดรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในแผนกวิทย์-คณิต และแผนกศิลป์ นักศึกษาจะเรียนรวมกันเป็นเวลา 2 ปี (ชั้นปีที่ 1 และ 2) และจะทำการเลือกสาขาวิชาเมื่อนักศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 มี 6 วิชาโท ได้แก่- วิชาโทการจราจรทางอากาศ ( Air Traffic Minor : ATM )
- วิชาโทการท่าอากาศยาน ( Airport Minor : APM )
- วิชาโทการส่งสินค้าทางอากาศ ( Air Cargo Minor : ACM )
- วิชาโทโลจิสติกส์การบิน ( Aviation Logistics Minor : ALM )
- วิชาโทธุรกิจการบิน ( Airline Business Minor : ABM )
- วิชาโทการบำรุงรักษาอากาศยาน ( Aircraft Maintenance Minor : AMM )
- หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Engineering)
เป็นหลักสูตร 4 ปี โดยเปิดรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 แผนกวิทย์-คณิต มี 1 สาขาวิชา ได้แก่- สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์การบิน (Program in Aviation Electronics Engineering)
- หลักสูตรระดับอนุปริญญา
เป็นหลักสูตร 2 ปีครึ่ง มี 3 หลักสูตร ได้แก่- หลักสูตรนายช่างภาคพื้นดิน สาขาวิชาช่างเครื่องบิน วิชาเอกเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ (Aircraft Maintenance Engineer License (AMEL) Course: Aeroplane Mechanic - B1.1, B1.2) โดยเปิดรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนกวิทย์-คณิต และ ระดับชั้น ปวช.สาขาช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน เครื่องกล ไฟฟ้ากำลัง หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
- หลักสูตรนายช่างภาคพื้นดิน สาขาวิชาช่างเอวิโอนิกส์ (Aircraft Maintenance Engineer (AMEL) License : Avionics Mechanic - B2) โดยเปิดรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนกวิทย์-คณิต และ ระดับชั้น ปวช.สาขาช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน เครื่องกล ไฟฟ้ากำลัง อิเล็กทรอนิกส์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
- หลักสูตรอนุปริญญาสาขาวิชาเทคโนโลยีอากาศยาน (อิเล็กทรอนิกส์การบิน) โดยเปิดรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนกวิทย์-คณิต และ ระดับชั้น ปวช.แผนกไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์
- หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาเตรียมวิศวกรรมการบิน ( Vocational Certificate in Pre-Aeronautical Engineering )
- หลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต (ต่อเนื่อง) (Bachelor of Technology in Aviation (Continuing Program) )
เป็นหลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี มี 2 สาขาวิชา ได้แก่- สาขาวิชาการจัดการท่าอากาศยาน (ต่อเนื่อง) (Program in Airport Management (Continuing Program) )
- สาขาวิชาการจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศ (ต่อเนื่อง) (Program in Air Cargo Management (Continuing Program)
หลักสูตรภาคอากาศ
[แก้]ในปัจจุบันมี 9 หลักสูตร โดยได้รับการับรองจากกรมการบินพลเรือน เลขที่ 03/2555 ได้แก่
- Private Pilot License Course (Aeroplane / Helicopter Ground and Flight Training)
- Instrument Rating Course (Ground and Flight Training)
- Commercial Pilot License Course (Aeroplane / Helicopter Ground and Flight Training)
- Multi-Engine Rating Course (Ground and Flight Training)
- Instructor Pilot Course (Aeroplane / Helicopter Ground and Flight Training)
- Multi-Crew Pilot License Course (Core Skill Flying and Basic Course)
- Airline Transport Pilot License (Theory) Course
- Robinson R44 Transition Course
- Robinson R44 Refresher Course
หลักสูตรฝึกอบรม
[แก้]- Operations Group
- Air Traffic Control License & Rating
- Air Traffic Controller License & Aerodrome Control Rating
- Approach Terminal Control Non-Radar Procedural
- Approach Terminal Control Radar
- Area Airways Control Non-Radar Procedural
- AIS Officer
- AIS Cartography
- Flight Operations Officer / Flight Dispatcher
- Flight Operations Officer Refresher
- Aviation Introductory to Flight Operations Officer / Flight Dispatcher
- Search & Rescue Administration
- CNS/ATM Technologies For Air Traffic Service Manager
- Safety Management System
- Aviation Security Management
- Human Factor For Operational Personnel
- Meteorology For Aviation Personnel
- Performance Based Navigation
- Controller - Pilot Data Link & Communication
- Aerodrome Certification
- Aircraft Maintenance Group
- Helicopter Maintenance Special
- Skill Test For Aircraft Maintenance Engineering
เพลงสถาบัน
[แก้]สถาบันการบินพลเรือนแห่งนี้
เป็นถิ่นที่สร้างสรรค์ผลงานยิ่งใหญ่
สร้างบุคคลากรด้านการบินในประเทศไทย
เพื่อการคมนาคมก้าวไกลพัฒนา
เขียวส้มคือธงเราเรืองรองสดใส
ทั้งปีกธงชาติไทยเชิดชูสง่า
แดนถิ่นสบพ. ร่มเย็นและร่มรื่นนานมา
สถาบันเพื่อการศึกษาภาคเอเชียอาคเนย์
นานาชาติก็มาศึกษาร่วมกันได้
งานเราก้าวไกลทั้งระเบียบวินัยมั่นไม่หันเห
เลิศด้วยจริยธรรมน้ำใจงามทั้งเครื่องแบบเก๋
ขอบเขตฟ้าเหนือคาดคะเนนั้นเราชำนาญ
* ทั้งงานช่างบำรุงซ่อมนั้นมีคุณค่า
เราเพียรศึกษาทุกแขนงวิชาอีกการสื่อสาร
ศึกษาตามหลักสากล
ทั้งจุนเจือเครือจราจรอากาศยาน
นักบินเชี่ยวชาญมีมาตรฐานสากล
พวกเรานักศึกษาทั่วกัน
ยึดมั่นสามัคคีทั่วคน
ศึกษาเพื่อชาติพัฒนามีประโยชน์ท่วมท้น
ทั้งเพื่อตนมีอนาคตไกล
จะขอรักประเทศรักชาติ
ภัคดีมหาราชจอมหทัย
รักษาสัตย์รักสถาบันที่ได้อาศัย
ศึกษามวลวิชาภูมิใจเทิดไว้นิรันด์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๙๘, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอน 16ก วันที่ 4 มีนาคม 2535 หน้า 52
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สถาบันการบินพลเรือน (Civil Aviation Training Center) เก็บถาวร 2007-02-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์ฝึกการบินหัวหิน (Flight Training Center)
- กองวิชาอิเล็กทรอนิกส์การบิน (Avionics Division)
- กองวิชาบริการการบิน (Aeronautical Service Division) เก็บถาวร 2011-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ห้องสมุดสถาบันการบินพลเรือน
- สำนักงานนโยบาลและแผนงาน เก็บถาวร 2011-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- หลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต (Aviation Management)
- หลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Management) เก็บถาวร 2010-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- หลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่าอากาศยาน (Airport Management) เก็บถาวร 2009-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- หลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Cargo Management) เก็บถาวร 2011-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สถาบันการบินพลเรือน
- ภาพถ่ายดาวเทียมจาก&lon=100.553289&z=17 วิกิแมเปีย หรือ,100.553289,17z กูเกิลแมปส์
- แผนที่จาก&long=100.553289&zoom=17 ลองดูแมป หรือ,100.553289,14,normal เฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจาก&res=8&provider_id=310&t=pan&dat= เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์