มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
Phetchaburi Rajabhat University | |
ตราพระราชลัญจกร สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย | |
ชื่อเดิม | สถาบันราชภัฏเพชรบุรี |
---|---|
ชื่อย่อ | มรภ.พบ. / PBRU |
คติพจน์ | คุณธรรมนำความรู้ มุ่งสู่สากล |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
สถาปนา | 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 |
สังกัดการศึกษา | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
สังกัดวิชาการ |
|
งบประมาณ | 719,513,300 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
นายกสภาฯ | พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข |
อธิการบดี | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เสนาะ กลิ่นงาม |
อาจารย์ | 408 คน (พ.ศ. 2565) |
บุคลากรทั้งหมด | 698 คน (พ.ศ. 2565) |
ผู้ศึกษา | 6,620 คน (พ.ศ. 2565) |
ที่ตั้ง | เลขที่ 38 หมู่ 8 ถนนหาดเจ้าสำราญ ตำบลนาวุ้ง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี 76000 |
เพลง | มาร์ชมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี |
ต้นไม้ | ตาลโตนด |
สี | ████ สีเขียว สีเหลือง |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย |
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (อังกฤษ: Phetchaburi Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตั้งอยู่ในจังหวัดเพชรบุรี เดิมตั้งอยู่ที่จังหวัดราชบุรี มีชื่อว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรม" ต่อมาในปี พ.ศ. 2470 จึงย้ายมาตั้งในจังหวัดเพชรบุรี
ประวัติ
[แก้]มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นสถาบันการศึกษาเก่าแก่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันเป็น เวลากว่า 90 ปี โดยเริ่มมีหลักฐานการก่อตั้งครั้งแรกที่ตำบลอู่เรือ จังหวัดราชบุรี จากการเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลราชบุรี เปิดเรียนครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2469 ต่อมาจึงได้มีหลักฐานยืนยันว่าได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2468 ณ พื้นที่วัดท่าโค (ร้าง) ริมฝั่งนํ้าแม่กลอง ตำบลอู่เรือ จังหวัดราชบุรี จากนั้นจึงมีวิวัฒนาการตามลำดับดังนี้ [2]
- พ.ศ. 2470 ย้ายมาอยู่ในเขตพระราชวัง พระรามราชนิเวศน์(วังบ้านปืน) ตำบลบ้านหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ชื่อ โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรมณฑล แผนกกสิกรรมจังหวัดเพชรบุรี
- พ.ศ. 2476 ยกฐานะขึ้นเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูมูลและเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดเพชรบุรีในปีต่อมา
- พ.ศ. 2481 ย้ายสถานที่ไปตั้งบริเวณวัดเกตุ ตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
- พ.ศ. 2485 เปิดสอนนักเรียนฝึกหัดครูประชาบาลและเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูมูลเพชรบุรี
- พ.ศ. 2491 ยกเลิกหลักสูตรครูประชาบาล และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรี
- พ.ศ. 2498 เปิดสอนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา หรือ ป.กศ. เป็นปีแรก
- พ.ศ. 2506 ย้ายมาตั้งอยู่ที่ ตำบลนาวุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี บนเนื้อที่ 200 ไร่เศษ ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งปัจจุบัน
- พ.ศ. 2512 เปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง หรือ ป.กศ.สูง และยกฐานะเป็น วิทยาลัยครูเพชรบุรี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม
- พ.ศ. 2518 เปิดสอนระดับปริญญาครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูพ.ศ. 2518
- พ.ศ. 2519 ยกฐานะขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูพ.ศ. 2518
- พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ พระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ” เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์
- พ.ศ. 2538 ยกฐานะเป็นสถาบันราชภัฏเพชรบุรีตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538
- พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547
- พ.ศ. 2548 เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา ในสาขาหลักสูตรและการสอน สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา สาขา บริหารธุรกิจ และสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์
- พ.ศ. 2550 เปิดสอนระดับปริญญาตรี 60 สาขาวิชา ปริญญาโท 13 สาขาวิชา และปริญญาเอก 3 สาขาวิชา
- พ.ศ. 2551 เปิดสอนระดับปริญญาตรี 60 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 13 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก 3 สาขาวิชา โดยมีโครงการความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ โดยการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหาวิทยาลัย ชนชาติกวางสี วิทยาลัยภาษาต่างประเทศตงฟาง วิทยาลัยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศกวางสี และมหาวิทยาลัยชน ชาติยูนนาน โดยนักศึกษาจากสถาบันดังกล่าวมาเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาภาษาไทย (หลักสูตร 1 ปี) และ หลักสูตรปริญญาตรี วิชาภาษาไทย (2 ปี)
- พ.ศ. 2552 เปิดสอนระดับปริญญาตรี 60 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 13 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก 3 สาขาวิชา โดยมีการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหาวิทยาลัยชนชาติกวางสี วิทยาลัยภาษาต่างประเทศตงฟาง วิทยาลัย ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศกวางสี และมหาวิทยาลัยชนชาติยูนนานในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาภาษาไทย (หลักสูตร 1 ปี) และหลักสูตรปริญญาตรี วิชาภาษาไทย (2 ปี)
- พ.ศ. 2553 เปิดสอนระดับปริญญาตรี 42 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 13 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก 3 สาขาวิชา มีโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับ Xiangsihu College of Guangxi University for Nationalities, Yunnan Minzu University, Guangxi University of Foreign Languages, Southwest Forestry University และ Qujing Normal University โดยนักศึกษาจีนมาศึกษาวิชาภาษาไทยหลักสูตรประกาศนียบัตร 1 ปี (3+1) และ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีส่งนักศึกษาไทยสาขาวิชาภาษาจีนไปเรียนวิชาภาษาจีน หลักสูตร 1 ปี ที่มหาวิทยาลัย ดังกล่าว ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งแลกเปลี่ยนนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านการโรงแรม กับมหาวิทยาลัยตามความร่วมมือในประเทศสาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) ได้แก่ National Pingtung University of Science and Technology, Chung Chuo University of Science and Technology, Transworld University, Shih Chien University และ Dayeh University เริ่มปีการศึกษา 2556 จนถึงปีจจุบัน โดยนักศึกษาไทยไปฝึก ประสบการณ์วิชาชีพที่ประเทศไต้หวันเป็นเวลาคราวละ 2 เดือน และนักศึกษาไต้หวันเดินทางมาฝึกประสบการณ์ วิชาชีพที่สถานประกอบการโรงแรมพื้นที่ ชะอำ-หัวหิน เป็นเวลา 2-6 เดือน จนถึงปัจจุบัน และในปีนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีได้จัดตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จัดการศึกษาใน ระดับมัธยมศึกษาต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
- พ.ศ. 2554 เปิดสอนระดับปริญญาตรี 52 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 13 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก 3 สาขาวิชา
- พ.ศ. 2555 เปิดสอนระดับปริญญาตรี 49 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 13 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก 3 สาขาวิชา ป.บัณฑิต 1 สาขาวิชา
- พ.ศ. 2556 มีหลักสูตรที่เปิดระดับปริญญาตรี 45 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 6 หลักสูตร ระดับปริญญาเอก 1 หลักสูตร รวมทั้งหมด 52 หลักสูตร และเป็นหลักสูตรที่มีวิชาชีพรับรอง ได้แก่ คุรุสภา 13 หลักสูตร สภาวิศวกร 2 หลักสูตร เนติบัณฑิตยสภา 1 หลักสูตร สภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทย 1 หลักสูตร สภาวิชาชีพบัญชี 1 หลักสูตร และ ดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ หลักสูตรทุกหลักสูตร
- พ.ศ. 2557 เปิดสอนระดับปริญญาตรี 49 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 13 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก 3 สาขาวิชา ป.บัณฑิต 1 สาขาวิชา และในปีนี้สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ โดยเปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตร์รุ่นแรกในปี การศึกษา 2557 จำนวน 70 คน มีโครงการความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 20 มหาวิทยาลัย เน้นมหาวิทยาลัยในสาธารณรัฐประชาชนจีน 7 แห่ง ไต้หวัน 4 แห่ง กัมพูชา 1 แห่ง สปป.ลาว 2 แห่ง เวียดนาม 2 แห่ง มาเลเซีย 2 แห่ง อินโดนีเซีย 1 แห่ง และบรูไน 1 แห่ง โดยมีการแลกเปลี่ยนนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร ทั้งด้านการ เรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร การวิจัยศิลปวัฒนธรรม วัสดุทางวิทยาศาสตร์และสื่อสิ่งพิมพ์
- พ.ศ. 2558 ในปีการศึกษา 2558 เปิดสอนระดับปริญญาตรี 51 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 6 หลักสูตร ระดับ ปริญญาเอก 1 หลักสูตร และหลักสูตร ป.วิชาชีพครู 1 หลักสูตร
- พ.ศ. 2559 ในปีการศึกษา 2559 เปิดสอนระดับปริญญาตรี 45 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 6 หลักสูตร ระดับ ปริญญาเอก 1 หลักสูตร และหลักสูตร ป.วิชาชีพครู 1 หลักสูตร
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
[แก้]ราชภัฏสัญลักษณ์ [3] : ได้หลอมรวมมาจากสัญลักษณ์เดิมของวิทยาลัยครูจำนวน 36 สถาบัน ให้คงเหลือความเป็นหนึ่งในรูปแบบสัญลักษณ์ใหม่เพียงรูปแบบเดียว โดยคำนึงถึงประโยชน์ในการนำไปใช้เพื่อการสื่อความหมายง่ายต่อการจดจำ มีจุดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสถาบัน
การกำหนดรูปแบบสัญลักษณ์ของสถาบันราชภัฏ
รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ทรงให้กำเนิดสถาบันราชภัฏ
รูปแบบที่เป็นกลาง เกี่ยวข้องกับถิ่นที่ตั้ง ธรรมชาติและความสอดคล้องกับชื่อสถาบันราชภัฏที่ได้รับพระราชทาน
สีของสัญลักษณ์ ประกอบด้วยสีต่าง ๆ จำนวน 5 สี ดังต่อไปนี้
- สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทาน “สถาบันราชภัฏ”
- สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งของสถาบันฯ ในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
- สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
- สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ก้าวไกล
- สีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
สีประจำมหาวิทยาลัย
[แก้]หน่วยงานในสังกัด
[แก้]คณะวิชา
[แก้]- คณะครุศาสตร์ (Faculty of Education)
- คณะวิทยาการจัดการ (Faculty of Management Science)
- คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ (Faculty of Nursing and Allied Health Scienes)
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (Faculty of Information Technology)
- คณะเทคโนโลยีการเกษตร (Faculty of Agricultural Technology)
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Faculty of Science and Technology)
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Faculty of Humanities and Social Sciences)
- คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (Faculty of Engineering and Industrial Technology)
โรงเรียน
[แก้]- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
หลักสูตร
[แก้]- คณะครุศาสตร์[4]
- ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ
- หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา
- หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
- ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
- หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู
- ระดับบัณฑิตศึกษา
- หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
- หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
- ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ
- คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ<reg>หลักสูตรของคณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ เก็บถาวร 2017-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน</ref>
- ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ
- หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
- หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สุขภาพและความงาม
- ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ
- คณะวิทยาการจัดการ[5]
- ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ
- หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (แขนงสื่อสารการแสดง)
- หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (แขนงวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์)
- หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ
- หลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด
- หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศทางธุรกิจ
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ (แขนงการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ)
- หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ (แขนงการจัดการสถานพยาบาล)
- ระดับปริญญาตรี ภาคนอกเวลา
- หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ
- หลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี
- ระดับปริญญาโท
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ
- ระดับปริญญาเอก
- หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ
- ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ
- คณะเทคโนโลยีการเกษตร[6]
- ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
- หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
- ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ[7]
- ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ประยุกต์ (แขนงวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สำนักงาน)
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ประยุกต์ (แขนงวิชาเทคโนโลยีเว็บและมัลติมิเดีย)
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ประยุกต์ (วิศวกรรมเครือข่ายและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์)
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมดิจิทัลและระบบควบคุมอัจฉริยะ
- หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์
- ระดับปริญญาตรี ภาคนอกเวลา
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ประยุกต์ (แขนงวิชาเทคโนโลยีเว็บและมัลติมิเดีย)
- ระดับบัณฑิตศึกษา
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
- ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีref>หลักสูตรของสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี</ref>
- ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและศิลปะการประกอบอาหาร
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาหารและโภชนาการประยุกต์
- หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์
- หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี
- หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา
- ระดับปริญญาตรี ภาคนอกเวลา
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาหารและโภชนาการประยุกต์
- ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์[8]
- ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน
- หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (การปกครองท้องถิ่น)
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (การบริหารงานภาครัฐและเอกชน)
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการระหว่างประเทศ (สองภาษา)
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
- หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
- หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
- หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏยดุริยางคศาสตร์ (แขนงนาฏยการแสดง)
- หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏยดุริยางคศาสตร์ (แขนงดนตรีไทย)
- หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฎยดุริยางคศาสตร์ (แขนงดนตรีสากล)
- หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา
- หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา
- ระดับปริญญาตรี ภาคนอกเวลา
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (การปกครองท้องถิ่น)
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (การบริหารงานภาครัฐและเอกชน)
- หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน
- ระดับบัณฑิตศึกษา
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ
- คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม[9]
- ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
- หลักสูตรสถาปัยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน
- หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน
- หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาหุ่นยนต์อุตสาหกรรมและระบบอัตโนมัติ
- หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
- ระดับปริญญาตรี ภาคนอกเวลา
- หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
- ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หน่วยงานสนับสนุน
[แก้]- สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
- สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
- สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
- สำนักงานอธิการบดี
- กลุ่มงานพัฒนากายภาพ ภูมิสถาปัตย์และสิ่งแวดล้อม
- กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
- กองกลาง
- กองนโยบายและแผน
- กองพัฒนานักศึกษา
- ศูนย์กีฬาและนันทนาการ
- ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ
- ศูนย์ปฏิบัติการอาคารเพชรน้ำหนึ่ง
- ศูนย์ฝึกอบรมและทดสอบทักษะอาชีพ
- ศูนย์พัฒนาภาษาและวิเทศสัมพันธ์
- ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล
- สมาคมศิษย์เก่า
- หน่วยตรวจสอบภายใน
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
- ระบบจัดการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เก็บถาวร 2012-04-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- KM@มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เก็บถาวร 2012-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Blog@มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เก็บถาวร 2013-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Digital Collection@PBRU.[ลิงก์เสีย]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๒๖, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ "ประวัติมหาวิทยาลัย". มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. สืบค้นเมื่อ December 19, 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ราชภัฏสัญลักษณ์". มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. สืบค้นเมื่อ December 19, 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ หลักสูตรของคณะครุศาสตร์
- ↑ หลักสูตรของคณะวิทยาการจัดการ เก็บถาวร 2017-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ หลักสูตรชองคณะเทคโนโลยีการเกษตร เก็บถาวร 2017-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ หลักสูตรของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เก็บถาวร 2017-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ หลักสูตรของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เก็บถาวร 2017-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ หลักสูตรของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เก็บถาวร 2018-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน