วิทยาลัยศรีอีสาน (คณาสวัสดิ์อุทิศ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยศรีอีสาน (คณาสวัสดิ์อุทิศ)
ประเภทเอกชน
ดำเนินงาน23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 25226 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533
ผู้สถาปนาจิระศักดิ์ คณาสวัสดิ์
ที่อยู่

วิทยาลัยศรีอีสาน (คณาสวัสดิ์อุทิศ) (เดิมชื่อ วิทยาลัยคณาสวัสดิ์) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม[1] อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2522[2] ปัจจุบันเลิกกิจการไปแล้ว โดยการถูกเพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้ง เมื่อพ.ศ. 2533[3]

ประวัติ[แก้]

วิทยาลัยศรีอีสาน (คณาสวัสดิ์อุทิศ) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่ได้รับอนุญาตจากทบวงมหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2522 ให้ก่อตั้งได้เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 โดยมีจิระศักดิ์ คณาสวัสดิ์ ชาวจังหวัดมหาสารคามเป็นผู้รับใบอนุญาตจัดตั้ง ปัญญา ปุยเปีย อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคามและเป็นอธิการบดีคนแรก วิทยาลัยศรีอีสานเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งแรกของภาคอีสาน

ต่อมาในปี 2530 ได้มีการโอนกิจการไปยังมูลนิธิอภิธรรมมหาธาตุวิทยาลัย ภายหลังมีเกิดปัญหาในการบริหารจัดการทรัพย์สินขึ้น ทบวงมหาวิทยาลัยจึงมีคำสั่งที่ 19/2530 ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2530 และคำสั่งที่ 20/2530 ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2530 แต่งตั้งคณะกรรมการเข้าควบคุมวิทยาลัยคณาสวัสดิ์ ตามความในมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาภาคเอกชน พ.ศ. 2522 และแต่งตั้ง ดร. กวี อิศรวรรณ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีแทนนางนิตยา ศรีปัดถา อธิการบดีคนเดิมที่ต้องพ้นจากหน้าที่ตามความในมาตรานี้ จนในที่สุดจึงได้เพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้ง ในปี 2533 เนื่องจากจัดการศึกษาเสื่อมลงจากมาตรฐานที่รับรองไว้ ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ของทบวงมหาวิทยาลัย ไม่งดรับนักศึกษาตามคำสั่งทบวงมหาวิทยาลัย และจัดให้ภิกษุสามเณรเข้าศึกษาซึ่งขัดต่อมติมหาเถรสมาคม[3]

หลักสูตร[แก้]

วิทยาลัยศรีอีสาน เปิดทำการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี 5 คณะ ได้แก่[4][5]

  • คณะเกษตรศาสตร์
    • หลักสูตรเทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต
      • สาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช
      • สาขาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์
    • หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
      • สาขาพืชไร่
      • สาขาเศรษฐศาสตร์การเกษตร
  • คณะนิติศาสตร์
    • หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
      • สาขานิติศาสตร์
  • คณะบริหารธุรกิจ
    • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
      • สาขาการตลาด
      • สาขาการบัญชี
    • หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
      • สาขาการตลาด
      • สาขาการบัญชี
      • สาชาการเลขานุการ
  • คณะวิทยาศาสตร์
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
      • สาขาคณิตศาสตร์
  • คณะศิลปศาสตร์
    • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
      • สาขาประวัติศาสตร์
      • สาขาภาษาไทย
      • สาขาภาษาอังกฤษ

อ้างอิง[แก้]