วิทยาลัยชุมชนพิจิตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยชุมชนพิจิตร
ชื่อย่อวชช.พจ. / pcc
คติพจน์วิทยาลัยชุมชน พัฒนาคน พัฒนาท้องถิ่น
ประเภทวิทยาลัยชุมชน
ที่ตั้ง
150 หมู่ที่ 6 ถนนบางมูลนาก-โพทะเล ตำบลท่าบัว อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
เว็บไซต์วิทยาลัยชุมชนพิจิตร

วิทยาลัยชุมชนพิจิตร  เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในกลุ่มสถาบันวิทยาลัยชุมชน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ[1] ซึ่งเปิดสอนในหลักสูตรอนุปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงและประกาศนียบัตรวิชาชีพ โดยการเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อเพิ่มคุณค่าชีวิตและศักยภาพของบุคคลและชุมชน

ประวัติ[แก้]

วิทยาลัยชุมชนพิจิตร [2]แรกเริ่มก่อตั้งครั้งแรกเป็น "วิทยาลัยการอาชีพโพทะเล" เปิดการเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อปีการศึกษา 2540 ในระดับ ปวช. และ ปวส. ต่อมารัฐบาลมีนโยบายจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาในท้องถิ่น วิทยาลัยการอาชีพโพทะเลจึงได้รับการยกฐานะมาเป็นวิทยาลัยชุมชน ในสังกัดสำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2545 ตามนโยบาย "การศึกษาสร้างชาติ สร้างคน สร้างงาน" ของรัฐบาล โดยเฉพาะจังหวัดที่ไม่มีสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งจังหวัดพิจิตร เป็นหนึ่งใน 10 จังหวัดแรกที่มีการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชน โดยวิทยาลัยชุมชนพิจิตร ทำหน้าที่วิทยาลัยชุมชนควบคู่ไปกับภารกิจเดิมในการจัดการศึกษาสายวิชาชีพ[3]

ในปี 2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้มีมติผ่านพระราชบัญญัติสถาบันวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. 2558 มีผลให้วิทยาลัยชุมชนพิจิตร มีสถานะเป็นส่วนราชการหนึ่งในสถาบันวิทยาลัยชุมชน

ปัจจุบันวิทยาลัยชุมชนพิจิตร จัดการศึกษาใน 4 ระดับ คือ ประกาศนียบัตริวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) อนุปริญญา และหลักสูตรระยะสั้น โดยมีหน่วยจัดการศึกษา จำนวน 12 แห่ง โดยมีหน่วยจัดการศึกษาแม่ข่าย ตั้งอยู่เลขที่ 150 หมู่ที่ 6 ถนนบางมูลนาก-โพทะเล ตำบลท่าบัวบนพื้นที่กว่า 120 ไร่ ปัจจุบันมีการพัฒนาหน่วยจัดการศึกษาดังนี้ หน่วยจัดการศึกษาทับคล้อ(ขุนไผ่ภูมิเขต) หน่วยจัดการศึกษาโพธิ์ประทับช้าง หน่วยจัดการศึกษาเมืองเก่า หน่วยจัดการศึกษาสามงาม หน่วยจัดการศึกษาสากเหล็ก และหน่วยจัดการศึกษาอบต. ปากทาง

วิทยาลัยชุมชนพิจิตร ได้ร่วมลงนามและจัดฝึกอบรมเพื่อสอบใบขับขี่กับกรมการขนส่งทางบก ทุกวัน พฤหัสบดีและศุกร์ ของทุกสัปดาห์ เพื่อลดภาระและความหนาแน่นของผู้ใช้บริการอบรม ณ ขนส่ง อ.โพทะเล

สถานที่[แก้]

ด้านอาคารสถานที่ ณ หน่วยจัดแม่ข่าย อำเภอโพทะเล วิทยาลัยชุมชนพิจิตร ตั้งอยู่บนพื้นที่ 120 ไร่ อันเป็นที่ตั้งของบึงสรรพงาย มีอาคารสถานที่อันเอื้ออำนวยต่อการศึกษาเล่าเรียนและฝึกอบรม ได้แก่ อาคารหอประชุมและโรงอาหาร อาคารหอสมุด "อัมพร ภักดีชาติ" อาคารเรียนชั่วคราวขนาด 6 ห้องเรียน อาคารโรงฝึกงานชั่วคราวซึ่งเป็นศูนย์ฝึกปฏิบัติและบริการชุมชนเกี่ยวกับยานยนต์และเครื่องยนต์ขนาดเล็ก อาคารวิทยาบริการ อาคารโรงฝึกงานขนาดสามชั้น อาคารพานิชยกรรม อาคารศูนย์วิชาการศึกษาทั่วไป โรงฝึกงานช่างเชื่อมโลหการ อุทยานการเรียนรู้ที่ประกอบด้วยอาคารชั่วคราว 8 หลัง สนามกีฬาชุมชน บ้านพักครูและบ้านพักนักการกว่า 20 ยูนิต นอกจากนี้ ในหน่วยจัดการศึกษาหลักอีกแห่งคือ หน่วยจัดการศึกษาทับคล้อ ขุนไผ่ภูมิเขตร์ ยังมีอาคารเรียนและโรงฝึกงานอีกกว่า 10 หลัง บนเนื้อที่ซึ่งได้รับบริจาคจากพ.อ.พิเศษ หญิง สมสมัย สิทธิเกษร อีกกว่า 800 ไร่

ผู้อำนวยการ[แก้]

วิทยาลัยชุมชนพิจิตร มีผู้อำนวยการ ดังนี้

  1. นายประดิษฐ์ บุดดีจีน เป็นผู้อำนวยการคนแรก (2545-2555)
  2. นายบรรจง พงษ์ประเสริฐ (2556-2559)
  3. นายณรงค์ สมบัติใหม่ (2559-2560)
  4. นายวิชัย ชวนรักษาสัตย์ (2561-2565)

การเดินทางสู่วิทยาลัย[แก้]

การเดินทางสู่วิทยาลัยชุมชนพิจิตร สามารถเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว จาก กรุงเทพมหานคร ผ่านเส้นทาง เอ 32 สายเอเชีย สู่นครสวรรค์ แล้วใช้เส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 117 ถึงสี่แยกโพธิ์ไทรงามใช้ถนนโพธิ์ไทรงาม- บางมูลนาก ระยะทางจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 280 กม. การเดินทางโดยรถโยสารสาธารณะสามารถเดินทางจากจังหวัดเพชรบูณณ์ หรือนครสวรรค์โดยใช้รถโดยสารปรับอากาศ สาย นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ซึ่งมีรอบการเดินรถประมาณวันละ 5 เที่ยว การเดินทางโดยรถไฟ สามารถเดินทาง จากสถานีกรุงเทพ ลงที่สถานี บางมูลนาก และต่อรถจักรยานยนต์ รับจ้าง การเดินทางโดยรถร่วมบขส.ประเภท ไม่เกิน 13 ที่นั่ง เดินทางจาก สถานีขนส่งสายเหนือ หมอชิต 2 โดยรถของบริษัท โพทะเลทัวร์ และ อมรทัวร์ จะมีบริการส่งตรงถึงวิทยาลัย แม่ข่ายโพทะเล

สาขาวิชาที่เปิดสอน[แก้]

ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)[แก้]

ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)[แก้]

อนุปริญญา[แก้]

หลักสูตรระยะสั้น[แก้]

วิทยาลัยชุมชนพิจิตร เปิดสอนหลักสูตรระยะสั้นหลายหลักสูตร อาทิ คอมพิวเตอร์เบื้องต้น การใช้งานอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ฯลฯ โดยคิดค่าใช้จ่ายชั่วโมงละ 1-5 บาท (แล้วแต่รายวิชา)

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชน : ประกาศจัดตั้งวิทยาลัยชุมชน "นำร่อง"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-05-23.
  2. http://www.pcc.ac.th/pccweb/historypcc.html
  3. "ประวัติการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชน : ประกาศจัดตั้งวิทยาลัยชุมชน "นำร่อง"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-05-23.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]