ข้ามไปเนื้อหา

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
Tourism Authority of Thailand
ตราสัญลักษณ์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ตราแคมเปญ มหัศจรรย์ประเทศไทย
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง5 พฤษภาคม พ.ศ. 2522; 45 ปีก่อน (2522-05-05)
ก่อนหน้า
ประเภทรัฐวิสาหกิจ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่1600 ถนนเพชรบุรี แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
บุคลากร1,012 คน (พ.ศ. 2566)[1]
งบประมาณต่อปี6,161,586,000 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์, ผู้ว่าการ
  • ภัทรอนงค์ ณ เชียงใหม่, รองผู้ว่าการ
  • ศิริปกรณ์ เชี่ยวสมุทร, รองผู้ว่าการ
  • อภิชัย ฉัตรเฉลิมกิจ, รองผู้ว่าการ
  • ธีระศิลป์ เทเพนทร์, รองผู้ว่าการ
  • จิระวดี คุณทรัพย์, รองผู้ว่าการ
  • นิธี สีแพร, รองผู้ว่าการ
  • บัญญัติ กาฬสุวรรณ, รองผู้ว่าการ
  • กิตติพงษ์ ประพัฒน์ทอง, รองผู้ว่าการ
ต้นสังกัดหน่วยงานกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
เว็บไซต์เว็บไซต์ของการ
เชิงอรรถ
ข้อมูลรัฐวิสาหกิจ
ชื่อย่อททท. / TAT
ผู้ก่อตั้งรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
วัตถุประสงค์เพื่อให้การส่งเสริมและดำเนินกิจการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
ที่ตั้ง
ที่ตั้ง
พื้นที่ให้บริการ
ประเทศไทยและต่างประเทศ
ผลิตภัณฑ์
บริการ
ประธานกรรมการ
นัทรียา ทวีวงศ์
คณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
หน่วยงานในกํากับ
รายได้
5,836,980,000 บาท
(พ.ศ. 2566)[1]
การเบิกจ่าย6,157,119,000 บาท
(พ.ศ. 2566)[1]
รายจ่าย7,308,090,000 บาท
(พ.ศ. 2566)[1]
การให้ทุน6,932,200,000 บาท
(พ.ศ. 2566)[1]
เงินบริจาค58,680,000 บาท
(พ.ศ. 2566)[1]
รางวัลThailand Social Aeards 2023 สาขากลุ่มหน่วยงานรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ (พ.ศ. 2566)

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อังกฤษ: Tourism Authority of Thailand, ชื่อย่อ: ททท., TAT) เป็นรัฐวิสาหกิจของประเทศไทยภายใต้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีหน้าที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย และปกป้องสิ่งแวดล้อม[3] ปัจจุบันผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คือ ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ซึ่งดำรงตำแหน่งต่อจาก ยุทธศักดิ์ สุภสร โดยมติเห็นชอบของคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2566[4]

ประวัติ

[แก้]

ยุคองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

[แก้]
องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
Tourist Organization of Thailand
ชื่อย่ออ.ส.ท. / TOT
ก่อนหน้าสำนักงานท่องเที่ยว กรมประชาสัมพันธ์
ถัดไปการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ก่อตั้ง29 กรกฎาคม พ.ศ. 2502; 65 ปีก่อน (2502-07-29)
ผู้ก่อตั้งรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ก่อตั้งที่สนามเสือป่า ถนนศรีอยุธยา อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร
ล่มสลาย5 พฤษภาคม พ.ศ. 2522; 45 ปีก่อน (2522-05-05)
สํานักงานใหญ่อาคาร 2 ถนนราชดำเนินนอก แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
พื้นที่ให้บริการ
ประเทศไทย
ผลิตภัณฑ์อนุสาร อ.ส.ท.
บริการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
คณะกรรมการองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
องค์กรแม่
สำนักนายกรัฐมนตรี
งบประมาณ
70,255,700 บาท
(พ.ศ. 2522)[5]
การให้ทุน200,000,000 บาท
(พ.ศ. 2516)[6]
ชื่อในอดีต
องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว[7]

องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว พ.ศ. ๒๕๐๒[8] เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 เป็นองค์การของรัฐในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีโดยมีวัตถุประสงค์ของการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือ

เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้เป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจของชาติ และเผยแพร่ประเทศไทยในด้าน วัฒนธรรม ศิลปกรรม ประเพณี นาฏศิลป์ การกีฬา และกิจการอย่างอื่นอันจะเป็นการชักจูงหรือเป็นที่สนใจแก่นักท่องเที่ยว

สถานที่ทำการขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวในระยะแรกได้อาศัยอาคารกรมประชาสัมพันธ์เป็นสำนักงานชั่วคราว ต่อมาจึงได้ย้ายไปยังสนามเสือป่า ถนนศรีอยุธยา ซึ่งเคยเป็นอาคารของกรมการศาสนา โดยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ไปเปิดอาคารเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2503 และได้ย้ายไปอาคาร 2 ถนนราชดำเนินกลาง ในปี พ.ศ. 2505[9]

โดยผู้อำนวยการส่งเสริมการท่องเที่ยวคนแรกคือ พลเอก เฉลิมชัย จารุวัสตร์

องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแต่เดิมนั้นมีหน้าที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้ขยายตัวอย่างกว้างขวางรวดเร็ว จำเป็นต้องมีการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของ อ.ส.ท. ให้มีขอบเขตการปฏิบัติงานกว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งในด้านการพัฒนา อนุรักษ์ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว และการส่งเสริมเผยแพร่ และได้แก้ไขกฎหมายการจัดตั้งอีก 7 ครั้ง จึงได้มีการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบธุรกิจการท่องเที่ยว เพื่อให้หน่วยงานการท่องเที่ยวของรัฐ มีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบในการพัฒนาส่งเสริมเผยแพร่ และดำเนินกิจการ เพื่อเป็นการริเริ่มให้มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนคุ้มครองให้ความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวด้วย

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งทำหน้าที่รัฐสภาในการประชุมครั้งที่ 41 วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2522 ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไม่ผ่านการพิจารณา ส่วนพระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ผ่านการพิจารณา จึงทำให้องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เปลี่ยนชื่อเป็น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย[10]

ยุคการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

[แก้]

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 โดยยกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในสมัยรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ โดยวัตถุประสงค์ของการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ

เพื่อจัดตั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยแทนองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว และให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมและดำเนินกิจการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวได้กว้างขวางยิ่งขึ้น


ปัจจุบันการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ยังคงทำงานส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษ โดยกำหนดวิสัยทัศน์ที่มุ่งสู่การเป็นผู้นำในการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมอย่างยั่งยืน และยังคงความสำคัญกับการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน และการส่งเสริมเอกลักษณ์ความสง่างามของความเป็นไทย เพื่อให้เกิดดุลยภาพทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม[1]

ที่ตั้งและสำนักงานสาขา

[แก้]

สำนักงานใหญ่ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยตั้งอยู่เลขที่ 1600 ถนนเพชรบุรี แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยยังมีสำนักงานสาขาตามจังหวัดต่าง ๆ และสำนักงานสาขาในต่างประเทศอีกเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันสาขาในประเทศไทยแบ่งหน่วยงานรับผิดชอบดังนี้

สำนักงานในภาคเหนือ

[แก้]

สำนักงานในภาคกลาง

[แก้]

สำนักงานในภาคใต้

[แก้]

สำนักงานในต่างประเทศ

[แก้]

สำนักงานในอเมริกาเหนือ

[แก้]

อนุสาร อ.ส.ท.

[แก้]

อนุสาร อ.ส.ท. เป็นนิตยสารท่องเที่ยวขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อ.ส.ท.) (ปัจจุบันเป็นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) ออกวางตลาดเป็นปฐมฤกษ์ ในฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2503 โดยคำว่าอนุสาร หมายถึงสารฉบับเล็ก มียอดพิมพ์ครั้งแรก 50,000 ฉบับ เนื้อหานำเสนอเรื่องราวของแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย ทั้งในด้านธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และแม้ว่าองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ท.ท.ท.) ในปี พ.ศ. 2522 อนุสาร อ.ส.ท.ก็ยังใช้ชื่อเดิมมาจนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2551 มียอดพิมพ์สูงถึง 100,000 ฉบับต่อเดือนนับเป็นนิตยสารท่องเที่ยวที่อายุยืนนานที่สุด และมียอดจำหน่ายสูงสุดของประเทศไทย[11]

รางวัล

[แก้]
ปี รางวัล สาขา ผล
2566 Thailand Social Awards 2023[12] Best Brand Performance on Social Media กลุ่มหน่วยงานรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ชนะ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 รายงานประจำปี 2566 ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๙๗, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  3. Five ways Thailand is taking responsible tourism seriously
  4. "การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ไฟเขียวแต่งตั้ง ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ เป็นผู้ว่าฯ ททท. คนใหม่". www.thairath.co.th. 2023-05-26.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๒, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๐๕ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๖๑, ๓๐ กันยายน ๒๕๒๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๖, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๖๘ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๔ มิถุนายน ๒๕๑๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๖, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๙๘ ก ฉบับพิเศษ ๖, ๔ ตุลาคม ๒๕๐๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว พ.ศ. ๒๕๐๒, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๗๔ ก หน้า ๒๗๓, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๐๒
  9. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เปิดสำนักงาน อ.ส.ท.
  10. ประวัติความเป็นมา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
  11. "อนุสาร อ.ส.ท.", gaming.youtube.com, april 8, 2017
  12. "ประกาศผล Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 แบรนด์และผู้ทรงอิทธิพลบนโลกโซเชียลยกทัพร่วมงานคับคั่ง". ไทยรัฐ. 2023-02-24. สืบค้นเมื่อ 2023-02-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]