มหาวิทยาลัยนครพนม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยนครพนม
ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยนครพนม
ตราพระธาตุพนม
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่อเดิมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม
ชื่อย่อมนพ. / NPU
คติพจน์พัฒนาตน ตื่นรู้ รับใช้สังคม
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา2 กันยายน พ.ศ. 2548; 18 ปีก่อน (2548-09-02)
นายกสภาฯกระแส ชนะวงศ์
อธิการบดีศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ (รักษาการ)
ผู้ศึกษา10,090 คน [1]
ที่ตั้ง
มหาวิทยาลัยนครพนม
103 หมู่ 3 ตำบลขามเฒ่า อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 48000
สำหรับเขตพื้นที่อื่น ดูในบทความ
เพลงมาร์ชมหาวิทยาลัยนครพนม
สี██ สีเหลืองทอง
ฉายามอนคร / มอพระธาตุ
เครือข่ายASAIHL
มาสคอต
กันเกรา
เว็บไซต์www.npu.ac.th

มหาวิทยาลัยนครพนม (อังกฤษ: Nakhon Phanom University; อักษรย่อ: มนพ. – NPU) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐลำดับที่ 78 ในประเทศไทย ตั้งอยู่ในจังหวัดนครพนม ที่เกิดจากการหลอมรวมสถานศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2548 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่122 ตอนที่ 75 ก เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2548 จึงมีผลให้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม ได้รับการยกฐานะเป็น “มหาวิทยาลัยนครพนม” ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2548 โดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัตินั้นให้รวม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาเขตนครพนม, วิทยาลัยเทคนิคนครพนม, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครพนม, วิทยาลัยการอาชีพธาตุพนม, วิทยาลัยการอาชีพนาหว้าและวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม มาจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยนครพนม และให้มหาวิทยาลัยนครพนม เป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการตามกฎหมาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

มหาวิทยาลัยนครพนมดำเนินภารกิจภายใต้ภารกิจเดิมของสถานศึกษาที่นำมาหลอมรวม จัดการศึกษาทั้งในระดับหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส) หลักสูตรปริญญา ภายใต้ภาระกิจการหลอมรวมสถานศึกษาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งแตกต่างจากสถาบันอุดมศึกษาเดิมที่จัดตั้งสถาบันขึ้นมาใหม่

ประวัติ[แก้]

มหาวิทยาลัยนครพนม จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2548 โดยการหลอมรวมสถาบันการศึกษาในจังหวัดนครพนม เข้าด้วยกัน อันได้แก่

เป็น "มหาวิทยาลัยนครพนม" ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2548[2] นับเป็นมหาวิทยาลัยรัฐแห่งที่ 78 ของประเทศไทย

แนวคิดของการก่อตั้งมหาวิทยาลัย[แก้]

สืบเนื่องจากการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่อย่างไม่เป็นทางการที่จังหวัดนราธิวาส เมื่อ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2545 ฯพณฯ พตท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เสนอว่าควรมีการพิจารณาหาระบบและแนวทางให้สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งมีการเชื่อมโยงกับชุมชนในระดับรากหญ้า โดยมิใช่เป็นการจัดตั้งวิทยาเขตของสถาบัน และมีการก่อสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่ที่เป็นการเน้นในแง่วัตถุ โดยเห็นว่าสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีอาคารและสถานที่ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างจำนวนมากตามจังหวัดต่าง ๆ แต่ยังขาดการบริหารจัดการที่ดีในการใช้ประโยชน์จากอาคารสถานที่เหล่านี้อย่างเต็มที่ ที่ประชุมจึงได้มีมติมอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีขณะนั้น คือ ศาสตราจารย์นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ ในฐานะที่กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจและพิจารณาทบทวน โดยมีนโยบายว่าหัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาอยู่ที่วิธีการเรียนการสอนและวิธีการจัดการ ต้องเร่งสร้างความตระหนักในเรื่องประสิทธิภาพการบริหารจัดการเป็นสำคัญ โดยเน้นการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด และนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพโดยไม่ต้องลงทุนก่อสร้างอาคารเรียนที่มีราคาแพง   

การจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาจังหวัดนครพนม นอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสแก่ประชาชนในจังหวัดให้ได้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นแล้ว ยังเป็นจุดเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอินโดจีนทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม อันจะส่งผลต่อการเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ของประเทศต่อไป ซึ่งในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2545 สถาบันอุดมศึกษาจังหวัดนครพนมได้ใช้หลักการหลอมรวมสถาบันอุดมศึกษาที่มีอยู่ เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และให้แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนครพนม ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เพื่อดำเนินการยกร่างโครงการจัดทำแผนแม่บทและร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนมเสนอที่ประชุมจึงได้ให้ความเห็นชอบโครงการนำร่องจัดตั้งมหาวิทยาลัยนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนมจึงเป็นมหาวิทยาลัยที่เกิดจากการหลอมรวมสถานศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2548 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 122 ตอนที่ 75 ก เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2548 และมีผลให้มหาวิทยาลัยนครพนมได้รับการยกฐานะเป็น “มหาวิทยาลัยนครพนม” ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2548 โดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัตินั้นให้รวม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาเขตนครพนม วิทยาลัยเทคนิคนครพนม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครพนม วิทยาลัยการอาชีพธาตุพนม วิทยาลัยการอาชีพนาหว้า และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มาจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยนครพนม และให้มหาวิทยาลัยนครพนมเป็นนิติบุคคล และเป็นส่วนราชการตามกฎหมาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ     

มหาวิทยาลัยนครพนมดำเนินภารกิจภายใต้ภารกิจเดิมของสถานศึกษาที่นำมาหลอมรวม จัดการศึกษา  ทั้งในระดับหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส) หลักสูตรปริญญา ภายใต้ภาระกิจการหลอมรวมสถานศึกษาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งแตกต่างจาก สถาบันอุดมศึกษาเดิมที่จัดตั้งสถาบันขึ้นมาใหม่

คณะและวิทยาลัย[แก้]

มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยนครพนม เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับเตรียมอุดมศึกษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษาทั้งปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยนครพนม มีหน่วยงานในการจัดการเรียนการสอนทั้งหมด 7 คณะ 6 วิทยาลัย 1 โรงเรียน ดังต่อไปนี้

คณะ[แก้]

วิทยาลัย[แก้]

โรงเรียนสาธิต[แก้]

  • โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยนครพนม พนมพิทยพัฒน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

ทำเนียบนายกสภามหาวิทยาลัย[แก้]

ทำเนียบนายกสภา มหาวิทยาลัยนครพนม
รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตรจารย์ นายแพทย์ กระแส  ชนะวงศ์ พ.ศ. 2548
2. พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ 15 มีนาคม 2549 - 29 กันยายน 2551
3. พลตำรวจเอกสนอง วัฒนวรางกูร 30 กันยายน 2551 - 29 เมษายน 2553
4. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. ภาวิช ทองโรจน์ 30 เมษายน 2553 - 11 พฤศจิกายน 2561
12 พฤศจิกายน 2557 - 5 เมษายน 2562
5. ศาสตราจารย์ ดร.สุนทร บุญญาธิการ 6 เมษายน 2562 - 30 เมษายน 2563
6. สุเมธ  แย้มนุ่น

ประธานคณะบุคคลปฏิบัติหน้าที่แทนนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการ

1 พฤษภาคม 2563 – 11 กันยายน 2564
7. ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ กระแส  ชนะวงศ์ 12 กันยายน 2564[3] - ปัจจุบัน

หมายเหตุ 1. คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย และผู้รักษาการแทนนายกสภามหาวิทยาลัย เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น

ทำเนียบอธิการบดี[แก้]

ทำเนียบอธิการบดี มหาวิทยาลัยนครพนม
รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.ภาวิช  ทองโรจน์ 2 กันยายน 2548 - 30 มิถุนายน 2550 (รักษาราชการแทน)

ตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2548 (มาตรา 59)

2. รองศาสตราจารย์ สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ 1 กรกฎาคม 2550 - 26 สิงหาคม 2550 (รักษาราชการแทน)
27 สิงหาคม พ.ศ. 2550 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 (วาระที่ 1) [4]
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (วาระที่ 2)[5]
3. ผู้ช่วยศาสตราจาร์ ดร. ทัศนา ประสานตรี 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557 (รักษาราชการแทน)
4. ดร.ไพฑูรย์ พลสนะ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557 - 7 มกราคม พ.ศ. 2558 (รักษาราชการแทน)
9 มกราคม พ.ศ. 2558 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (รักษาราชการแทน)
5. ดร.พรหมสวัสดิ์ ทิพย์คงคา 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 - 30 เมษายน พ.ศ. 2559 (รักษาราชการแทน)
6. รองศาสตราจารย์ ดร.ประวิต เอราวรรณ์ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 - 7 มกราคม พ.ศ. 2560 (รักษาราชการแทน)
8 มกราคม พ.ศ. 2560 - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จินดา งามสุทธิ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 - 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 [6] (รักษาราชการแทน)
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สังคม ภูมิพันธุ์ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 - 11 มีนาคม พ.ศ. 2561 (รักษาราชการแทน) [6]
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พัฒนพงษ์ วันจันทึก 12 มีนาคม พ.ศ. 2561 - 9 มกราคม พ.ศ. 2563 (รักษาราชการแทน)
10. ศาสตราจารย์ ดร.อภิรัฐ  ศิริธราธิวัตร 10 มกราคม 63 - 15 มกราคม 2563 (รักษาราชการแทน)
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จรูญ ถาวรจักร์ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 - 22 พฤศจิกายน 2563 (รักษาราชการแทน)
12. รองศาสตราจารย์ ดร. กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 - 9 เมษายน พ.ศ. 2564 (รักษาราชการแทน)
13. ผู้ช่วยศาสตราจาร์ ดร. ทัศนา ประสานตรี 10 เมษายน พ.ศ. 2564 - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2564 (รักษาราชการแทน)
14. ดร.พรหมสวัสดิ์ ทิพย์คงคา 7 ตุลาคม พ.ศ. 2564 - 15 มีนาคม 2566 (รักษาราชการแทน)
15. นายสมยศ สีแสนซุย 15 มีนาคม 2566 - ปัจจุบัน (รักษาราชการแทน)

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี รักษาการแทนอธิการบดี และผู้รักษาการแทนอธิการบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น

หน่วยงาน[แก้]

หน่วยงานสนับสนุนต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยนครพนม แบ่งออกเป็น[7][8]

สำนัก/สถาบัน/ศูนย์[แก้]

  • สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม
  • สำนักวิทยบริการ
  • สถาบันวิจัยและพัฒนา
  • สำนักงานสภามหาวิทยาลัยนครพนม
  • ศูนย์ศึกษาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยนครพนม
  • ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยนครพนม

พื้นที่มหาวิทยาลัย[แก้]

มหาวิทยาลัยนครพนม ประกอบด้วย 7เขตพื้นที่การศึกษา

  • เขตพื้นที่ดิจิทัล (330 ถนนอภิบาลบัญชา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 48000)
    • อาคารเทคโนโลยีดิจิทัล
    • สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยนครพนม
  • เขตพื้นที่อำเภอธาตุพนม (457 หมู่ 3 ถนนพนมพนารักษ์ ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม 48110)

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร[แก้]

ไฟล์:มหาวิทยาลัยนครพนม.png
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราโชวาทแด่บัณฑิต มหาบัณฑิตในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ในกิจการของมหาวิทยาลัยนครพนม และพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต และมหาบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยนครพนม ณ อาคารศรีโคตรบูรณ์ วิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ในช่วงเดือนธันวาคมเป็นประจำทุกปี

อ้างอิง[แก้]

  1. จำนวนนักศึกษาปีการศึกษา 2560
  2. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2548ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอน 75ก วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2548
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/220/T_0027.PDF
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม, เล่ม 124 ตอนพิเศษ 86 ง, หน้า 9, วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม, เล่ม 128 ตอนพิเศษ 149 ง, หน้า 8, วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554
  6. 6.0 6.1 รายงานการประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยนครพนม, ครั้งที่ 6/2560, 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
  7. กฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยนครพนม กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๕๕
  8. กฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยนครพนม กระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 17°24′29.11″N 104°46′25.18″E / 17.4080861°N 104.7736611°E / 17.4080861; 104.7736611