มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
Dhurakij Pundit University | |
ชื่อย่อ | มธบ./DPU |
---|---|
คติพจน์ | บัณฑิตต้องถึงพร้อมทั้งคุณธรรมและคุณวุฒิ |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาเอกชน |
สถาปนา | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2511[1] |
นายกสภาฯ | ดร.อรัญ ธรรมโน |
อธิการบดี | ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ |
ผู้ศึกษา | 13,165 คน (2565)[2] |
ที่ตั้ง | |
สี | ม่วง-ฟ้า |
เว็บไซต์ | www.dpu.ac.th |
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 1 ใน 5 แห่งแรกในประเทศไทยถูกสถาปนาขึ้นพร้อมกับ วิทยาลัยเกริก วิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาลัยไทยสุริยะ และวิทยาลัยพัฒนา ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2511[3] ปัจจุบัน เปิดการเรียนการสอนใน 6 คณะ 6 วิทยาลัย
ประวัติ
[แก้]มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 ภายใต้เจตนารมณ์ของ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ และอาจารย์สนั่น เกตุทัต โดยใช้ชื่อสถาบัน "ธุรกิจบัณฑิตย์" ตั้งอยู่ริมคลองประปา ถนนพระราม 6 สามเสน ในยุคเริ่มต้น ต่อมาจึงเปลี่ยนสถานภาพเป็นวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในปี พ.ศ. 2513 และเลื่อนฐานะเป็น "มหาวิทยาลัย" ในปี พ.ศ. 2527
เมื่อมีการพัฒนามากขึ้น และมีการขยายตัวของระบบการศึกษาในประเทศ มหาวิทยาลัยจึงย้ายสถานที่ตั้งมาอยู่ริมคลองประปา ถนนประชาชื่น บนเนื้อที่ 130 ไร่ เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการทางการเรียนการสอน สิ่งอำนวยความสะดวกในรูปแบบที่เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อนักศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับรอง ISO 9001 : 2008 ทั้งระบบ ทุกคณะวิชา ทุกหน่วยงาน ในองค์กร มหาวิทยาลัยถือเป็นมหาวิทยาลัยที่มีสภาวะแวดล้อมสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของสถานศึกษาในประเทศไทย ภายใต้ปรัชญาการดำเนินงานที่ว่า "นักธุรกิจเป็นผู้สร้างชาติ" โดยมี ดร.อรัญ ธรรมโน เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย และ ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ เป็นอธิการบดี
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
[แก้]ชื่อมหาวิทยาลัย
[แก้]"ธุรกิจบัณฑิตย์" หมายถึง ความรอบรู้ทางด้านธุรกิจ
ตราสัญลักษณ์
[แก้]- ดวงตรา : เป็นรูปพระสิทธิธาดาประทับนั่งบนแท่น มีวงกลมล้อมรอบ 2 ชั้น ขอบของวงกลมนอกประดับด้วยกลีบบัวซ้อนกัน 32 กลีบ ระหว่างวงกลมนอกกับวงกลมในมีนพรัตน์ หรือดวงแก้ว 9 ดวง วางอยู่ห่างกันเป็นช่วงเท่า ๆ กัน
- ความหมายของดวงตรา : พระสิทธิธาดา เป็นปางหนึ่งของพระคเณศ เทพเจ้าแห่งความสำเร็จและปัญญา
แบบที่ใช้ในปัจจุบัน
[แก้]โดยตราสัญลักษณ์ใหม่นั้นได้มีการปรับเปลี่ยนในปี 2555 โดยใช้ตัวอักษรตัวย่อ "DPU" และมีสัญลักษณ์ลูกโลกอยู่ที่ปลายด้านบนของตัว U ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญลักษณ์ Infinity (∞) ซึ่งหมายถึงการเรียนรู้ที่ไม่ที่สิ้นสุด พร้อมกับสโลแกนใหม่ที่ว่า Progressive University หรือมหาวิทยาลัยแห่งอนาคตที่มุ่งสร้างโอกาส และสร้างอนาคตให้กับนักศึกษาทุกคน
- DPU : เป็นชื่อย่อภาษาอังกฤษ จากคำว่า Dhurakij Pundit University ใช้สีม่วงเป็นหลักซึ่งเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย
สีประจำมหาวิทยาลัย
[แก้]ม่วง-ฟ้า หมายถึง การปฏิบัติทางธุรกิจ
คติธรรม
[แก้]- "กมฺมนฺเตน วิสุชฺฌติ" หมายถึง คนบริสุทธิ์ได้ด้วยการงาน
- "ธมฺโมหเว รกฺขติ ธมฺมจารึ" หมายถึง ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
หลักสูตรการศึกษา
[แก้]ภาคภาษาไทย
[แก้]
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
---|---|---|
หลักสูตรภาษาไทย วิทยาลัยบริหารธุรกิจเชิงนวัตกรรมและการบัญชี
วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์
หลักสูตรภาคค่ำ
|
หลักสูตรภาษาไทย
|
หลักสูตรปริญญาเอก
(ขึ้นตรงกับคณะนิติศาสตร์)
|
วิทยาลัยนานาชาติ
[แก้]ดำเนินการสอนโดยคณาจารย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชานั้นในระดับนานาชาติ
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
---|---|---|
DPUICInternational Programs
|
Marketing Communications
with concentration in IMC
Double Degree with the University of Newcastle, Australia
|
|
วิทยาลัยนานาชาติจีน
[แก้]วิทยาลัยนานาชาติจีน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดดำเนินการในปีการศึกษา 2553 เป็นวิทยาลัยนานาชาติจีนที่เกิดขึ้นจากการเข้าร่วมทุน เพื่อทำการศึกษาร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศจีนคือมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคุนหมิงกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ วิทยาลัยนานาชาติจีน เปิดโอกาสให้ทั้งนักศึกษาไทย นักศึกษาจากประเทศจีน และนักศึกษาจากนานาชาติ เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ระดับปริญญาตรีในหลักสูตรนานาชาติโดยใช้ภาษาจีนเป็นสื่อการสอน โดยวิทยาลัยนานาชาติจีน ทำหน้าที่ในการสร้างและพัฒนาความร่วมมือด้านต่าง ๆ ระหว่างมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์กับสถาบันเครือข่ายในประเทศจีน
ระดับปริญญาตรี |
---|
มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตคุณภาพที่สามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติงานจริงในด้านการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ การติดต่อเจรจากับคู่ค้าในตลาดต่างประเทศ มีทักษะความรู้ความสามารถในการนำข้อมูลทางธุรกิจเพื่อการวิเคราะห์และตัดสินใจ สามารถดำเนินกลยุทธ์การทำธุรกิจระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านการบัญชี ด้านการบริหารการจัดการ ด้านโลจิสติกส์ ด้านการนำเข้าการส่งออกสินค้าและบริการ ด้านสภาพแวดล้อมของตลาดทั้งระดับภูมิภาคในอาเซียนและระดับนานาชาติ ด้านพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อส่งเสริมศักยภาพความเข้มแข็ง จัดให้มีการฝึกงานและปฏิบัติงานจริงกับบริษัทชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ
มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตคุณภาพ สามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติงานจริงในด้านการจัดการการบริการและการท่องเที่ยว มีทักษะและความรู้ในการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยด้านโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการจัดการการบริการและการท่องเที่ยว สามารถดำเนินกลยุทธ์ด้านตลาดธุรกิจการบริการและการท่องเที่ยว เชื่อมโยงกับธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพความเข้มแข็ง จัดให้มีการฝึกงานและปฏิบัติจริงกับธุรกิจชั้นนำด้านการบริการและการท่องเที่ยว
หลักสูตรความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคุนหมิง หลักสูตรของมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคุนหมิง ปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี สาขาวิชาภาษาจีนสำหรับชาวต่างชาติ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนภาษาจีนที่ไม่มีพื้นฐานความรู้ภาษาจีนมาก่อน โดยปีที่ 1-2 เรียนที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ปีที่ 3-4 ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคุนหมิง เมืองคุนหมิง ประเทศจีน |
หน่วยงาน
[แก้]
|
|
สถาบัน/ศูนย์และหน่วยงานในมหาวิทยาลัย
[แก้]
|
|
สมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
[แก้]สมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524 โดยการรวมตัวของนักศึกษาจากทุกคณะ ภายใต้การสนับสนุนของ ท่านอดีตอธิการบดี ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ที่ ต้องการให้องค์กรนี้เป็นศูนย์รวมของศิษย์เก่า ไม่ว่าจะเป็นยุคของสถาบัน หรือวิทยาลัย เพื่อร่วมกันทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งในคณะก่อตั้งดังกล่าว ได้รับแนวทางมาปฏิบัติ และมีการยื่นจดทะเบียนขอจัดตั้งเป็น “สมาคมนักศึกษาเก่าวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์” อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2524 โดยมี คุณธารา รัตนพิภพ (ศิษย์เก่าคณะเศรษฐศาสตร์) เป็นนายกสมาคมคนแรก (พ.ศ. 2524 - 2526) มีเงินทุนในการดำเนินงานของสมาคมฯ จำนวน 50,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่เกิดขึ้นจากรายได้ในการฉลองปริญญาบัตร ที่สำเร็จการศึกษา โดยมีที่ทำการของสมาคมฯ อยู่ที่ 73 ถนนพระรามที่ 6 เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2538 ในสมัยที่ท่าน ศาสตราจารย์ไพฑูรย์ พงศะบุตร ดำรงตำแหน่งอธิการบดี ได้มีการยื่นขอเปลี่ยนแปลงชื่อและข้อบังคับสมาคมฯ ใหม่เป็น “สมาคมนักศึกษาเก่า มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์” เพื่อให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานะภาพของมหาวิทยาลัย ซึ่งคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ในแต่ละยุคได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เรื่อยมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับความกรุณาอย่างยิ่งจากท่านผู้บริหารมหาวิทยาลัย ในการอนุญาตให้ใช้สถานที่บริเวณชั้นล่างของอาคารสำนักอธิการบดี เป็นสถานที่ตั้งและทำงานของสมาคมฯ
ปัจจุบันสมาคมฯ มีสมาชิก ประมาณ 25,000 คน และจะยังคงมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี จากบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาออกไป รับใช้สังคม และสมาคมฯ มีนโยบายที่ต้องการจะขยายส่วนงานของศิษย์เก่าและสมาชิกออกไปในภาคต่าง ๆ เพื่อ ประสานความดีงามและเป็นประโยชน์ให้กับสังคมต่อไป[4]
คุณภาพของมหาวิทยาลัย
[แก้]ในด้านคุณภาพ
[แก้]รางวัลการประกันคุณภาพการศึกษา ประเภทดีเลิศ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้รับรางวัลระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา ประเภทดีเลิศ ประจำปี 2551-2552 จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งเดียวของประเทศที่ได้รับรางวัลประเภทดีเลิศในปีนี้ ทั้งนี้มีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลประเภทดีเลิศในครั้งนี้ด้วย
มหาวิทยาลัยผ่านการประเมินหลักสองครั้งในปีนี้ (2552-2553)
- การประเมินตามมาตรฐาน สกอ. (ซึ่งประกอบด้วยผู้ประเมินจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของรัฐ คือ นิด้า จุฬา และธรรมศาสตร์) ได้ผลการประเมินในระดับดี โดยผู้ประเมินได้ระบุจุดเด่นของมหาวิทยาลัยในเรื่องนวัตกรรมและการดูแลนักศึกษาที่ดี
การประเมินและยกระดับระบบบริหารคุณภาพจากมาตรฐาน ISO 9001:2000 เป็น ISO 9001:2008 โดยรับการประเมินจาก Bureau Veritas Certification (ซึ่งเป็นบริษัทระดับท็อปเท็นในบรรดาบริษัทผู้ตรวจ และมีอายุกว่า 180 ปี) ปรากฏว่าผ่านโดยได้รับการรับรองว่าได้บริหารจัดการตามระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:2008 ทำให้ มธบ. ยังคงเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกและแห่งเดียวที่ได้การรับรองคุณภาพที่มีมาตรฐานและกระบวนการประเมินระดับสากลนี้ครบทุกหน่วยงานและทุกระบบงาน
งานอื่นในความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัย
[แก้]ได้แก่ งานวิจัย งานบริการวิชาการ และงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
- งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมนั้น ได้คะแนนเต็มหรือเกือบเต็มในการประเมินทุกครั้ง
- งานวิจัย และงานบริการวิชาการนั้น ควรจะประเมินร่วมกัน ถ้านับตามปริมาณโครงการ ผลงานวิจัยที่ทำใน 3 ปีหลังแยกเป็นงานที่ได้รับทุนจากภายนอกและภายในมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย กล่าวคือ
ปี พศ. | ทุนภายนอก | ทุนภายใน | รวม |
---|---|---|---|
2549 | 19 โครงการ | 41 โครงการ | 60 โครงการ |
2550 | 29 โครงการ | 51 โครงการ | 80 โครงการ |
2551 | 16 โครงการ | 48 โครงการ | 59 โครงการ |
ผลการประกวดและการแข่งขันระดับชาติของนักศึกษา
[แก้]ในรอบปีที่ผ่านมา นักศึกษาของ มธบ. ชนะได้รับรางวัลต่างๆ ประมาณ 50 รายการ จำนวนนักศึกษาที่ได้รับรางวัลประมาณ 150 คน (เท่ากับ 1 เปอร์เซ็นต์ของนักศึกษาทั้งหมดโดยประมาณ) ทั้งนี้รับเฉพาะการประกวดและการแข่งขันที่เกี่ยวกับวิชาการและสังคมเท่านั้น ไม่นับรางวัลทางการกีฬา
ผลการได้งานทำของบัณฑิต
[แก้]จากการสำรวจครั้งสุดท้ายในพิธีประสาทปริญญาครั้งที่แล้ว ปรากฏว่าบัณฑิตแทบทุกคณะวิชาได้งานทำภายในเวลา 6 เดือนในระดับ 70 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ดีกว่าในปีก่อนหน้านั้น ส่วนผลการประเมินบัณฑิตของ มธบ. โดยนายจ้าง (ผู้จบการศึกษา 2546 – 2549 สำรวจปี 2551) จากคะแนนเต็ม 5 ผลเป็นดังนี้
- อุปนิสัย ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความขยัน อดทน ความยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม 4.31 ระดับดีมาก
- ทักษะในการทำงาน ทำงานได้ด้วยตนเอง รับผิดชอบ ขยันอดทน สามารถบริหารจัดการ สนใจเรียนรู้ ฯลฯ 4.14 ระดับดี
- ความรู้ วิชาการ ความรอบรู้ ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ วิเคราะห์วิจัย 3.9 ระดับดี
เป้าหมายและอนาคตของมหาวิทยาลัย
[แก้]เป้าหมายในอนาคตอันสั้น มธบ. ควรจะพัฒนาตนเองเพื่อก้าวขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการจัดการเรียนการสอนดีที่สุด (Best teaching university) และเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่คุ้มค่าที่สุด (Best value-for-money private university)
ศิษย์เก่าดีเด่น และศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
[แก้]- ผู้นำทางศาสนา
- พระครูปลัดสุวัฒนสัจจคุณ ดร. (ธีรวิทย์ ฉนฺทวิชฺโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร รองเลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จบปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
- พระบรมวงศานุวงศ์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
- วงการบันเทิง
- จิรกิตติ์ สุวรรณภาพ - นักแสดง, พิธีกร จบระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสารมวลชน
- ภูสมิง หน่อสวรรค์ - นักร้อง, นักดนตรี จบระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ (ปัจจุบันคือวิทยาลัย CIBA)
- ไอริณ ศรีแกล้ว - นักแสดง จบระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ (ปัจจุบันคือวิทยาลัย CIBA) เอกการตลาด
- รวิชญ์ เทิดวงส์ - นักแสดง, อาจารย์ประจำภาควิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก คณะศิลปกรรมศาสตร์
- ทัฬห์ อมรบุณยกร - อดีตนักแสดง, นายแบบ จบระดับปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ
- อริศรา วงษ์ชาลี นักแสดงหญิง จบระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ปัจจุบันคือวิทยาลัย CITE)
- ชวลิต ศรีมั่นคงธรรม - นักจัดรายการวิทยุ, นักแสดง, แร็ปเปอร์ จบระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเอกการท่องเที่ยวและการโรงแรม
- นภคปภา นาคประสิทธิ์ - นักแสดง จบระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ (ปัจจุบันคือวิทยาลัย CIBA) สาขาธุรกิจต่างประเทศ
- กัลย์กมล จิรชัยศักดิ์เดชา - นักแสดง อดีตนักร้องวง3G จบระดับปริญญาตรี คณะศิลปกรรมศาสตร์
- อมีนา พินิจ - นักแสดง จบระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ (ปัจจุบันคือวิทยาลัย CIBA) เอกบริหารงานสำนักงาน และปริญญาโท คณะนิเทศศาสตร์
- พชร แก้วเพชร - นักแสดง จบระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ (ปัจจุบันคือวิทยาลัย CIBA)
- ศุภณัฐ เฉลิมชัยเจริญกิจ - สุดยอดนักล่าฝัน จากรายการ ทรู อะคาเดมี แฟนเทเชีย ปี 2
- นรารักษ์ ใจบำรุง - นักร้องหญิงชาวไทย
- ภูษณะ บัวงาม - นักแสดง จบระดับปริญญาตรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ เอกการแสดง
- คณิน ชอบประดิถ - นักแสดง จบระดับปริญญาตรีจากคณะบริหารธุรกิจ (ปัจจุบันคือวิทยาลัย CIBA)
- นวพร จันทร์สุข (เค้ก) - อดีตสมาชิกรุ่นที่2 กลุ่มไอดอลหญิง BNK48
- ปิยพล ม่วงมี (จีโน่) - เน็ตไอดอลยูทูป The Snack
- พลอยปภัส อิสระพงศ์พร (ครีมมี่) - นักแสดง จบระดับปริญญาตรี วิทยาลัย CIBA สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ ภาคภาษาอังกฤษ
- กีฬา
- ร้อยตำรวจโท เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง - อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย ในตำแหน่งกองหน้า อดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนฟุตบอลทีมชาติไทย จบระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการ
- พลวัฒน์ วังฆะฮาด - อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย
- ปฏิภาณ เพชรพูล - อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย ในตำแหน่งกองหลัง จบระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ
- ณฤมล ขานอัน - อดีตนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ปัจจุบันเป็นพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- คารีน่า เคร้าเซอ - นักกีฬาวอลเลย์บอลสายเลือดไทย-เยอรมัน จบระดับปริญญาตรี คณะรัฐประศาสนศาสตร์
- จุฑารัตน์ มูลตรีพิลา - นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย จบระดับปริญญาตรี คณะรัฐประศาสนศาสตร์
- ณิชนันทวรรณ ชาทุม - นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงชาวไทย จบระดับปริญญาตรี คณะรัฐประศาสนศาสตร์
- การเมือง
- ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม - อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ใน รัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ และอดีตผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เป็นผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- สนั่น เกตุทัต - อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และอดีตปลัดกระทรวงการคลัง เป็นบุคคลจากคณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ - อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พ.ศ. 2555 - 2557)
- ประชา ประสพดี - นักการเมืองสังกัดพรรคเพื่อไทย เป็นบุคคลจากคณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- มนตรี ปาน้อยนนท์ - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จบระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด
- บุคคลากรทางการศึกษา
- ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ - อดีตผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- สิปปนนท์ เกตุทัต - อดีตอาจารย์ตรี-รองศาสตราจารย์ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ฉัตรทิพย์ นาถสุภา - อดีตอาจารย์อาจารย์ประจำในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งแต่ พ.ศ. 2505 - พ.ศ. 2544 รวมเวลาราชการได้เกือบ 40 ปี
- รองศาสตราจารย์ ดร.ทองอินทร์ วงศ์โสธร - เป็นอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นบุคคลจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- ดร.ยุทธ์ ชัยประวิตร - เป็นอาจารย์พิเศษในระดับปริญญาโทคณะวิศวกรรมศาสตร์
- ศาสตราจารย์พิเศษ คณิต ณ นคร - เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[9] กรรมการสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อุปนายกสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่นายกสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในปี พ.ศ. 2556 บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ - อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- ทหาร ตำรวจ กองอาสารักษาดินแดน
- พลเอก จารุภัทร เรืองสุวรรณ - อดีตนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ และกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- นายกองตรี ภัทรดิฐ สิงหเสนี ประจำกองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน จบระดับปริญญาตรี คณะรัฐประศาสนศาสตร์
- พลอากาศโท วชิระ เริงฤทธิ์ - อดีตเจ้ากรมการข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย จบระดับปริญญาเอก สาขาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์
- องค์กรอิสระ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
- รัฐวิสาหกิจ องค์การ และองค์การมหาชน
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
- ข้าราชการพลเรือน
- ธาริต เพ็งดิษฐ์ - อดีตคณะกรรมการสำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน, อดีตคณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และ อดีตอัยการจังหวัดประจำกรม สำนักงานคณะกรรมการอัยการ เป็นบุคคลจากคณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- พฤทธิพงศ์ ศรีมาจันทร์ - ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย ฝ่ายกฎหมายและคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย
- ธานินทร์ เลาหเพียงศักดิ์ - ผู้พิพากษาสมทบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
- ธงทอง ทองเต็ม - ผู้จัดการสำนักงานฝึกอบรมสถาบันที่ปรึกษาพัฒนาองค์การ (สพอ.), ผู้จัดการทั่วไป ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ศพม.)
- ประพัทธ์โชต ธนวรศาสตร์ - ผู้อำนวยการบริหาร หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
- นายศราวุธ ธรรมแสง รองปลัดเทศบาลนครนนทบุรี จบระดับปริญญาโท คณะรัฐประศาสนศาสตร์
- ผู้ประกาศข่าว
- พุทธอภิวรรณ องค์พระบารมี - ผู้ประกาศข่าวช่อง 8
- ภาคภูมิ พันธุ์สถิตย์ - ผู้ประกาศข่าวช่องไทยรัฐทีวี
- สารวัตร กิจพานิช - ผู้ประกาศข่าวช่อง 8 และ ประธานนักเรียนทุนของ DPU จบระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจคณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาวิทยุ-โทรทัศน์
- พิธีกร
- หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ - อดีตพิธีกร, นักโภชนาการ, นักร้องเพลงลูกกรุง เป็นผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- นักธุรกิจ
- ปรียานุช นันทโชติ - ผู้จัดการฝ่ายการเงิน บริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด (มหาชน)
- ก่อเกียรติ พาณิชยารมณ์ - ประธานกรรมการธุรกิจโฆษณา และโปรโมเตอร์จัดมวยโลก
- ชยันต์ จันทวงศาทร - ผู้อำนวยการฝ่ายผลิต บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)
- กร พุ่มดอกมะลิ - ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและส่งเสริมการขาย ที่บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
- วรวิทย์ นิลเวช - เจ้าของบริษัท อินฟินิตี้ ทัวร์ แพลนเนอร์ จำกัด ดำเนินธุรกิจทัวร์ทั้งภายในและต่างประเทศ
- สุเมธ สุเมธาอักษร - เจ้าของบริษัทไทยรสทิพย์ จำกัด ดำเนินธุรกิจแปรรูปอาหารจำพวกเครื่องปรุงรสโดยจัดจำหน่ายทั้งภายในและส่งออกต่างประเทศ
ข้อมูลทั่วไป
[แก้]ธรรมเนียมประเพณีและข้อควรปฏิบัติภายในสถาบัน
[แก้]ระเบียบนักศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มีระเบียบว่าด้วยเรื่องการแต่งกายของนักศึกษา แต่ในปัจจุบันระเบียบดังกล่าวไม่จำเป็นต้องปฏิบัติอย่างเคร่ง เนื่องด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป
กิจกรรมนักศึกษา
[แก้]กิจกรรมนักศึกษา โดย สำนักกิจการนักศึกษา และ สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ประจำปีการศึกษานั้นๆ
- พิธีไหว้ครู เป็นการไหว้ครูประจำปี และการจัดประกวดทำพานของแต่ละวิทยาลัย/คณะ ที่จะถูกจัดขึ้นในช่วงเดือน สิงหาคม-กันยายน
- การประกวด Miss DPU Smart Queen (ดาวเทียม) เป็นกิจกรรมการประกวดค้นหาสาวประเภท 2 ที่มีความสามารถและหน้าตาที่โดดเด่น จากทุกวิทยาลัย/คณะ เพื่อจะเป็น Miss DPU Smart Queen ประจำปีการศึกษานั้นๆ ถูกจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2560 จะถูกจัดขึ้นในช่วงเดือน สิงหาคม-กันยายน
- วิสาสะ เป็นประเพณีรับน้องใหญ่ คอนเสิร์ตและการบายศรีสู่ขวัญน้องใหม่ ที่จะถูกจัดขึ้นในช่วงเดือน กันยายน-ตุลาคม
- การประกวด ดาวเดือน เป็นการประกวดเพื่อจะค้นหาน้องใหม่ที่มีความสามารถและหน้าตา จากตัวแทนทุกวิทยาลัย/คณะ เพื่อเข้าร่วมประกวดในครั้งนี้ และจะเป็นดาวเดือน ของมหาวิทยาลัยปีจำปีการศึกษานั้นๆ จะถูกจัดขึ้น ณ ห้องประชุมใหญ่ ซึ่งธีมจะไม่ซ้ำกันในแต่ละปี จะถูกจัดขึ้นในช่วงเดือน กันยายน-ตุลาคม พร้อมๆกับวิสาสะ
- การประกวด นางนพมาศ/ประเพณีลอยกระทง เป็นการจัดประกวดหานางนพมาศ ประจำปีการศึกษานั้นๆ จากทุกวิทยาลัย/คณะ และมีการจัดงานลอยกระทงขึ้นภายในมหาวิทยาลัย จะถูกจัดขึ้นในวันลอยกระทง
- มหกรรมกีฬา DPU GAMES เป็นมหกรรมกีฬา ที่ถูกจัดขึ้นในระหว่างเดือน มกราคม-มีนาคม การแข่งขันกีฬาในทุกประเภท รวมถึงการประกวดกองเชียร์ และ เชียร์ลีดเดอร์ ในวัน พิธีเปิด-ปิด ซึ่งจัดในวันเดียวกัน และธีมจะไม่ซ้ำกันของทุก ๆ ปี
- การประกวดนักศึกษา นพรัตน์ทองคำ เพื่อเฟ้นหานักศึกษาที่พร้อมด้วยคุณสมบัติของการเป็นนักศึกษาที่ดีและมีผลการเรียนดี ผู้ชนะเลิศจะได้รับรางวัลนักศึกษานพรัตน์ทองคำ พร้อมโล่ สายสะพาย ช่อดอกไม้ และเกียรติบัตร นอกจากนี้ยังมีการสัมภาษณ์ผู้เข้าประกวดทั้งหมด โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้เข้าประกวดได้ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมโครงการจิตอาสา, กิจกรรมค่ายนพรัตน์ ฯลฯ ตลอดระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการ
- การประกวดนางสงกรานต์ เป็นการจัดประกวดหานางสงกรานต์ ประจำปีการศึกษานั้นๆ จากทุกวิทยาลัย/คณะ จะถูกจัดขึ้นวันสุดท้ายของการเรียนก่อนหยุดวันสงกรานต์
- เลือกตั้งสโมสรนักศึกษา และประธานวิทยาลัย/คณะ เป็นการเลือกตั้งสโมสรนักศึกษา และประธานวิทยาลัย/คณะ ที่จะมาดูแลกิจกรรมของนักศึกษาในปีการศึกษาถัดไป โดยคูหาเลือกตั้งเป็นแบบเครื่องลงคะแนนอิเลคทรอนิกส์ โดย สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดขึ้นบริเวณอาคารเฉลิมพระเกียรติ จะถูกจัดขึ้นในช่วงสิ้นเดือน เมษายน
- พิธีมอบรางวัลเกียรติยศสโมสรนักศึกษา และประธานวิทยาลัย/คณะ/ชมรม โดยเป็นการมอบโล่เกียรติยศ และ เกียรติบัตร ให้กับ สโมสรนักศึกษา และประธานวิทยาลัย/คณะ/ชมรม ในปีการศึกษาก่อนหน้านั้น จะถูกจัดขึ้นในช่วงเดือน พฤษภาคม
ระบบการบริการนักศึกษาและบุคลากร
[แก้]ระบบ DPU LSS ระบบ DPU LSS (DPU Learning Support System) คือ ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน ในรูปแบบโฮมเพจส่วนตัวของอาจารย์ เป็นระบบที่ช่วยเพิ่มช่องทาง การติดต่อสื่อสารระหว่างอาจารย์ และนักศึกษา ช่วยลดช่องว่างระหว่างกัน ให้อาจารย์สามารถ ส่งข้อมูลข่าวสารที่สำคัญเกี่ยวกับวิชาเรียนให้นักศึกษาได้อย่างทั่วถึง และนักศึกษาสามารถติดตามข่าวสาร ของวิชาเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา ระบบ DPU LSS ประกอบด้วย ข้อมูลอาจารย์ ประกาศ บทความวิชาการ เอกสารประกอบการสอน การส่งงาน กระดานสนทนา ตารางสอน ชั่วโมงให้คำปรึกษา นอกจากนี้ยังสามารถส่งข้อความถึงอาจารย์ได้โดยตรง
ระบบSLCM - Student Life Cycle Management (SAP) เป็นระบบงานที่ครอบคลุมการบริหารจัดการ เพื่อใช้ในการจัดการฐานข้อมูลนักศึกษา ตั้งแต่ “รับสมัคร” จนถึง “รับปริญญา” รวมถึง “ข้อมูลศิษย์เก่า" อันประกอบไปด้วยระบบงานหลักๆ ทั้งหมด 15 ระบบ ได้แก่
- การรับสมัครนักศึกษา
- การขึ้นทะเบียนนักศึกษา
- การจัดตารางเรียน
- การเทียบโอนรายวิชา
- การลงทะเบียนนักศึกษา
- การจัดสอบ
- การให้เกรดและประเมินผล
- การเลื่อนชั้นปี
- การสำเร็จการศึกษา
- ระบบข้อมูลสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ผู้สอน และคณะ
- ระบบข้อมูลสำหรับนักศึกษา
- ศิษย์เก่า
- ปฏิทินการศึกษา
- โครงสร้างหลักสูตร
- ข้อมูลประวัตินักศึกษา
การเดินทาง
[แก้]การเดินทางด้วยรถโดยสารฯ
*รถโดยสารประจำทาง ขสมก. 24, 66, 70, 1076
- รถโดยสารประจำทางขนาดเล็กสีฟ้า สายสามัคคี-เดอะมอลล์งามวงศ์วาน (วงกลม)
- รถโดยสารประจำทางขนาดเล็กสีแดง สายพงษ์เพชร-ท่าทราย
- รถตู้ สายอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นั่งจากท่ารถบริเวณด้านหน้าโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
- รัตนาธิเบศร์,บางบัวทอง รถโดยสารฯ สาย 134 --> เดอะมอลล์งามวงศ์วาน --> รถโดยสารประจำทางขนาดเล็กสีฟ้า
- ลาดพร้าว,บางกะปิ รถโดยสารประจำทางฯ สาย 545 --> ตลาดพงษ์เพชร --> รถโดยสารประจำทางขนาดเล็กสีแดง
- ลำลูกกา,บางเขน รถโดยสารประจำทางฯ สาย 114, 522 -- > ตลาดพงษ์เพชร --> รถโดยสารประจำทางขนาดเล็กสีแดง
- ศรีย่าน,บางโพ,เกียกกาย รถโดยสารประจำทางฯ สาย 66
- อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ,จตุจักร รถโดยสารประจำทางฯ สาย 24, 63 สำหรับผู้ที่นั่งสาย 63 --> ตลาดพงษ์เพชร --> รถโดยสารประจำทางขนาดเล็กสีแดง
- GrabCar หรือ GrabBike
การเดินทางด้วยรถไฟฟ้า
- รถไฟฟ้า บีทีเอส ลงสถานีหมอชิต --> รถโดยสารฯ สาย 63 --> ตลาดพงษ์เพชร --> รถโดยสารประจำทางขนาดเล็กสีแดง
- รถไฟฟ้ามหานคร ลงสถานีบางซื่อ --> ต่อรถโดยสารฯ สาย 70(สายประชานิเวศน์3)
- รถไฟฟ้ามหานคร ลงสถานีจัตุจักร --> ต่อรถโดยสารฯ สาย 63 --> ตลาดพงษ์เพชร --> รถโดยสารประจำทางขนาดเล็กสีแดง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษาก่อตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ สถิติอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- ↑ สถาบันอุดมศึกษา เก็บถาวร 2011-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเว็บไซต์ สกอ.
- ↑ "สมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-17. สืบค้นเมื่อ 2009-03-17.