ข้ามไปเนื้อหา

มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต RBAC
ชื่อย่อมรบ. / RBAC
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
สถาปนา18 ธันวาคม พ.ศ. 2540 (26 ปี)
นายกสภาฯรองศาสตราจารย์ สุนีย์ สินธุเดชะ
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ ดร.ประเวช รัตนเพียร
ผู้ศึกษา6,145 คน (2566)[1]
ที่ตั้ง
306 ซอยลาดพร้าว 107 ถนนลาดพร้าว
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
สี   สีน้ำเงิน-ทอง
เว็บไซต์www.rbac.ac.th

มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต (อังกฤษ: Rattana Bundit University; อักษรย่อ: มรบ. – RBAC) เดิมชื่อ วิทยาลัยรัตนบัณฑิต ก่อตั้งขึ้นโดยประชุม รัตนเพียร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2540[2]

ประวัติ

[แก้]

มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2540 และเริ่มดำเนินการเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2542 ในนามของวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2546 ทบวงมหาวิทยาลัย ได้อนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง และในปีเดียวกันก็ได้ให้ความเห็นชอบในการรวมกิจการเข้ากับวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ส่งผลให้ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น ในการพัฒนาด้านจัดการศึกษา สู่ระดับมาตรฐานสากล ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิตจัดการศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทั้งได้ผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาจากหน่วยงานประเมินของภาครัฐ

ท่านอาจารย์ทั้งสอง ได้เริ่มก่อตั้งโรงเรียนดุสิตพณิชยการ ในปี พ.ศ. 2505 ในย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โรงเรียนพณิชยการสีลม ในปี พ.ศ. 2508 บนถนนสีลม โรงเรียนรัตนพณิชยการ ในปี พ.ศ. 2523 ที่ถนนลาดพร้าว ซอย 107 โรงเรียนนันทนวรวิทย์ ในปี พ.ศ. 2532 และโรงเรียนดุสิตพณิชยการนนทบุรี ในปี พ.ศ. 2537 ดังนั้นในวันที่ 18 ธันวาคม 2540 การได้รับอนุญาตจัดวิทยาลัยรัตนบัณฑิต จากทบวงมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ในวันที่ 24 มิถุนายน 2546 ทบวงมหาวิทยาลัย ได้อนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต และให้ความเห็นชอบในการรวมกิจการเข้ากับวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ส่งผลให้มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต เป็นสถาบันการศึกษาที่มีความมั่นคงเป็นปึกแผ่นใน การจัดการศึกษาให้ได้ระดับมาตรฐานสากล จึงเป็นความ ภาคภูมิใจของผู้ก่อตั้ง ผู้บริหาร และคณาจารย์ อย่างสูงสุดในการมีโอกาสจัดการศึกษา อย่างครบถ้วนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับอุดมศึกษา

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

[แก้]
ตราสัญลักษณ์ครั้งยังเป็นวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
ตราประจำมหาวิทยาลัย
เป็นรูปโล่ ซึ่งภายในโล่ห์นั้น แบ่งออกเป็น 4 ส่วน สะท้อนถึงภารกิจ 4 ด้านของมหาวิทยาลัย อันได้แก่
  • รูปต้นไม้ หมายถึง ความเจริญงอกงามที่ยั่งยืน ทั้งตัวบัณฑิต สถาบัน และสังคม ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติสุข
  • รูปเรือสำเภา หมายถึง การวิจัย อันจะนำมาซึ่งองค์ความรู้ใหม่
  • รูปตะเกียง หมายถึง การจุดประกายส่องสว่างในการให้บริการแก่สังคม
  • รูปหนังสือ หมายถึง การสอน การให้ความรู้ อบรมบ่มเพาะในสรรพวิทยาการสาขาต่าง ๆ แก่นิสิต เพื่อพัฒนาตนเองสู่ความเป็นเลิศ

ภายใต้รูปโล่จะเป็นฐานรองรับ ซึ่งมีอักษร RATTANA BUNDIT UNIVERSITY

สีประจำมหาวิทยาลัย
ได้แก่ น้ำเงิน - ทอง
คำขวัญ
ได้แก่ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต มหาวิทยาลัยในใจคุณ
สโลแกน
ได้แก่ อาร์แบคอาจไกลบ้าน แต่ลูกไม่เคยไกลแม่

คณะต่างๆ ที่เปิดสอน (ปริญญาตรี)

[แก้]

คณะการจัดการธุรกิจและการเงิน

[แก้]
  • สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการธุรกิจ
  • สาขาวิชาการจัดการองค์กรธุรกิจสมัยใหม่
  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเกมและอีสปอร์ต

คณะอุตสาหกรรมบริการ

[แก้]
  • สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  • สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมด้านกีฬาและสุขภาพ
  • สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ
  • สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและอีเว้นท์
  • สาขาวิชาธุรกิจการบิน
  • สาขาวิชาศิลปะการประกอบอาหารและการจัดการภัตตาคาร
  • สาขาวิชาการจัดการระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัย
คณะบัญชี
  • ภาควิชาการบัญชี (Accounting)
คณะวิเทศธุรกิจ
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ (Business English)
  • สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ (Business Chinese)

คณะอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

[แก้]
  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์การดนตรีและศิลปะการแสดง
คณะศึกษาศาสตรบัณฑิต
  • ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา (COMPUTER EDUCATION)
  • ภาควิชาพลศึกษา (PHYSICAL EDUCATION)
  • ภาควิชาภาษาอังกฤษ (ENGLISH )

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

[แก้]
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ (Computer of Engineering)
คณะนิติศาสตร์และการปกครอง
  • ภาควิชานิติศาสตร์ (Law)
  • ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ (PUBLIC ADMINISTRATION)

คณะการสื่อสารดิจิทัล

[แก้]
  • สาขาวิชาสื่อวิทยุและโทรทัศน์ดิจิทัล
  • สาขาวิชาการออกแบบสื่อดิจิทัล
หลักสูตรนานาชาติ
  • Bachlor Degree of Adminitration Business International
  • Bachlor Degree of Information Technology Management
บัณฑิตวิทยาลัย (ปริญญาโท) [3]
  • หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต Master of Public Administration Program
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต Master of Business Administration Program
โครงการปริญญาดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก)
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา Doctor of Philosophy Program in Educational Administration
  • บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ Doctor of Business Administration Program in Management

บุคคลจากมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิตที่มีชื่อเสียง

[แก้]
ด้านวงการบันเทิง
  • มณีรัตน์ คำอ้วน - เป็นนักแสดงชาวไทยเชื้อสายบังกลาเทศ สำเร็จการศึกษาปริญญาโทคณะ
  • เจเน็ต เขียว - เป็นนักแสดงชาวไทย สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจ
  • ฐกฤต ตวันพงค์ - เป็นนักแสดงชาวไทย สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการจัดการ
  • ดอกอ้อ ทุ่งทอง - เป็นนักร้องลูกทุ่ง-หมอลำซิ่งหญิงชาวไทย สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด
  • พงศธร ศรีจันทร์ - เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งชายชาวไทย สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาเอกการจัดการ
  • แพรวา พัชรี - เป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาเอกการจัดการ
  • วรรณษา ทองวิเศษ - เป็นนักแสดงสาวชาวไทย สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจ สาขาเอกการตลาด
  • สุพรรณิการ์ จำเริญชัย - เป็นมิสแกรนด์อุดรธานี 2020 มีชื่อเสียงจากละคร กลิ่นกาสะลอง ทางช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2562 ในบทบาท สแตนอินซ้องปีบ (2467), ผีกาสะลอง (2550) สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีคณะอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ดนตรีและการแสดง
  • วรัญญา เพชรหมื่นไว -​นางงามมิตรภาพ นางสาวไทย พ.ศ.2553, ผู้เข้าประกวด Miss Thailand Univers 2010, ธิดาผ้าหมี่ขิด จังหวัดอุดรธานี พ.ศ.2554, ธิดาสับปะรดหวานบ้านคา อ.บ้านคา จ.ราชบุรี พ.ศ.2553 - สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจการตลาด 2553
ด้านกีฬา
ด้านการเมือง
ด้านบุคคลากรทางการศึกษา
ด้านวงการทหาร
ด้านวงการตำรวจ

อ้างอิง

[แก้]
  1. สถิติอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  2. สถาบันอุดมศึกษา เก็บถาวร 2011-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเว็บไซต์ สกอ.
  3. http://www.rbac.ac.th/av/

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]