มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
![]() ตราพระนาม จ.ภ. สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย | |
ชื่อย่อ | มวล. / WU |
---|---|
คติพจน์ | เป็นองค์กรธรรมรัฐ เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นหลักในถิ่น เป็นเลิศสู่สากล (Gateway to Achivement) |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ |
สถาปนา | 29 มีนาคม พ.ศ. 2535 |
อธิการบดี | ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ |
นายกสภา | นายธีระชัย เชมนะสิริ |
ที่ตั้ง | มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 222 ถนนมหาวิทยาลัย หมู่ที่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 ศูนย์วิทยบริการ จ.สุราษฎร์ธานี 979/42-46 อาคารเอสเอ็มทาวเวอร์ ชั้น 19 ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 |
สี | แสด-ม่วง |
เว็บไซต์ | www.wu.ac.th |
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (อังกฤษ: Walailak University; อักษรย่อ: มวล. – WU[1]) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐ จัดตั้งตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2535[2] มีรูปแบบเป็น “มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล” โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) พระราชทานชื่ออันเป็นสร้อยพระนามในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ (Comprehensive University) ที่จัดการเรียนการสอนครอบคลุมทั้งด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยได้พัฒนาสภาพแวดล้อมให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัย (Residential University) ที่มีระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการแบบครบวงจร รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ และได้รับการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยสีเขียวโลก ปี 2021 จากจำนวน 959 มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมทั่วโลก ผลปรากฏว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับการจัดอันดับ เป็นอันดับ 1 "มหาวิทยาลัยสีเขียว" ของภาคใต้[3]
ประวัติ[แก้]
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล เกิดขึ้นจากชาวนครศรีธรรมราชเริ่มรณรงค์เรียกร้องให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ. 2510 กระทั่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2531 ให้จัดตั้งวิทยาลัยนครศรีธรรมราช สังกัดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศในอนาคต ซึงต่อมาเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2534 คณะรัฐมนตรีได้ยกเลิกมติเดิม และอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัยจึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญพระนามสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เป็นชื่อมหาวิทยาลัย ว่า “มหาวิทยาลัยจุฬาภรณ์”
ต่อมาเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามว่า “มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” อันเป็นสร้อยพระนามในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2535 ทางมหาวิทยาลัยจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2536 สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานพระอนุญาตให้อัญเชิญอักษรพระนาม “จ.ภ.” เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย และเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2536 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งสำนักงานอธิการบดี และหน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2539 รัฐบาลโดยมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการอุทยานการศึกษาเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ต่อมาวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2539 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) พระราชทานชื่อ “อุทยานการศึกษาเฉลิมพระเกียรติ” และเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2539 สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จพระดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ณ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เข้าดำเนินงาน ณ ที่ตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และเปิดการเรียนการสอนวันแรกในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
สัญลักษณ์[แก้]
ตราประจำมหาวิทยาลัย[แก้]
เป็นตราสัญลักษณ์ที่อัญเชิญตราพระนามย่อ “จภ” ภายใต้จุลมงกุฎซึ่งเป็นตราพระนามในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ประดิษฐานที่กึ่งกลาง อักษร “จ” เป็นสีแสด และอักขระ “ภ” เป็นสีขาว มีพื้นสีม่วงรองรับและมีแพรแถบพื้นสีขาวขอบสีทองรองรับอยู่เบื้องล่างพร้อมอักษรสีม่วง คำว่า “มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” ประดับอยู่ภายในแพรแถบ โดยสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานพระอนุญาตให้อัญเชิญตราพระนามของพระองค์มาเป็นตรามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2536
สีประจำมหาวิทยาลัย[แก้]
██ “สีแสด” เป็นสีประจำวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
██ “สีม่วง” เป็นสีประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นสีประจำพระรัตนธัชมุนี เจ้าอาวาสวัดท่าโพธิ์ และผู้อำนวยการการจัดการศึกษามณฑลนครศรีธรรมราชและมณฑลปัตตานี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โดยชาวนครศรีธรรมราชนับถือและยกย่องว่าเป็นผู้จัดการศึกษาสมัยใหม่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ “ต้นประดู่” (Pterocarpus indicus) ส่วนมากพบในป่าเบญจพรรณทางภาคใต้ เป็นต้นไม้ที่นิยมปลูกให้ร่มเงาในเมืองนครศรีธรรมราช เคยปลูกบริเวณศาลาหน้าจวนเจ้าเมือง ซึ่งรู้จักกันในนาม “ศาลาประดู่หก”
อัตลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]
อัตลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย คือ “บัณฑิตมีความรู้คู่การปฏิบัติ อุตสาหะสู้งาน เก่งด้านศิลปศาสตร์และเทคโนโลยี มีคุณธรรม” (Walailak graduates have practical intelligence, adversary quotient, liberal arts perspective and technology competence, all integrated with high moral.)
“ความรู้คู่การปฏิบัติ” (Practical Intelligence) หมายถึง ความสามารถในการนำความรู้ที่เป็นเชิงทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“อุตสาหะสู้งาน” (Adversary quotient) หมายถึง ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ในทุกสถานการณ์ที่บัณฑิตต้องเผชิญไม่ว่าจะเป็น อุปสรรคที่เกิดขึ้นในชีวิตส่วนตัว หรือในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความอุตสาหะสู้งานเป็นคุณลักษณะที่จะนำพาบัณฑิตไปสู่ความสำเร็จได้ทั้งในฐานะที่เป็นผู้นำและสมาชิกกลุ่ม
“เก่งด้านศิลปศาสตร์” (Liberal arts perspective) หมายถึง การเห็นคุณค่าของมนุษย์ การมีจิตใจอ่อนโยน มีความรอบรู้ในเรื่องที่เกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ มีความเข้าใจผู้อื่น มีทักษะการสื่อสาร เข้าใจและยอมรับในสังคมที่มีความหลากหลาย และมีทักษะในการทำงานเป็นทีม
“เก่งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” (Science and technology competence) หมายถึง ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าใจและรู้ทันพัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโลกสมัยใหม่
“มีคุณธรรม” (all integrated with moral) หมายถึง ความสามารถทุกด้านที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นจะต้องมีการบูรณาการร่วมกับคุณธรรมและศีลธรรมอันดีงาม บันฑิตจึงจะเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์ เป็นศึกษิต แห่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เอกลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]
เอกลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย คือ “อุทยานการศึกษาแห่งอาเซียน” (Education Park of ASEAN)
“อุทยานการศึกษา” (Education Park) หมายถึง แหล่งรวมขององค์ความรู้ที่ผู้แสวงหาความรู้ทุกคนสามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้ได้ตามอัธยาศัย โดยเข้าร่วมกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดให้
“แห่งประชาคมอาเซียน” (of ASEAN) หมายถึง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ถือเป็นมหาวิทยาลัยของประเทศไทย ซึ่งสามารถเป็นมหาวิทยาลัยของอาเซียนได้ด้วย องค์ความรู้ใดที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีสามารถใช้เป็นประโยชน์ได้กับทั้งสังคมไทยและประชาคมอาเซียน ในอนาคตมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์คงจะได้สร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เพิ่มขึ้น และเป็นการดำเนินแนวทางตามยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
นายกสภามหาวิทยาลัย[แก้]
ทำเนียบนายกสภา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | ||||
---|---|---|---|---|
ลำดับ | รายนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ | |
1. | ศ.ดร.เกษม สุวรรณกุล | 8 เมษายน พ.ศ. 2535 | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2536 | |
2. | นายสุเทพ อัตถากร | 21 มิถุนายน พ.ศ. 2536 | 7 เมษายน พ.ศ. 2537 | |
ศ.ดร.เกษม สุวรรณกุล | 18 กันยายน พ.ศ. 2537 | 26 มีนาคม พ.ศ. 2541 | ||
27 มีนาคม พ.ศ. 2541 | 4 มกราคม พ.ศ. 2545 | |||
3. | ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา | 5 มกราคม พ.ศ. 2545 | 4 มกราคม พ.ศ. 2548 | [4] |
5 มกราคม พ.ศ. 2548 | 27 มกราคม พ.ศ. 2551 | [5] | ||
4. | ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน | 28 มกราคม พ.ศ. 2551 | 27 มกราคม พ.ศ. 2554 | [6] |
28 มกราคม พ.ศ. 2554 | 12 มกราคม พ.ศ. 2558 | [7] | ||
13 มกราคม พ.ศ. 2558 | 12 มกราคม พ.ศ. 2561 | [8] | ||
13 มกราคม พ.ศ. 2561 | 12 มกราคม พ.ศ. 2564 | [9] | ||
13 มกราคม พ.ศ. 2564 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 | [10] | ||
5. | นายธีระชัย เชมนะสิริ | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | ปัจจุบัน | [11] |
อธิการบดี[แก้]
ทำเนียบอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | ||||
---|---|---|---|---|
ลำดับ | รายนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ | |
1. | ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน | 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 | รักษาการ |
2. | รศ.ดร.พูลพงษ์ บุญพราหมณ์ | 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 | 18 เมษายน พ.ศ. 2542 | รักษาการ |
3. | ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช | 19 เมษายน พ.ศ. 2542 | 22 สิงหาคม พ.ศ. 2542 | รักษาการ |
4. | ศ.ดร.นักสิทธ์ คูวัฒนาชัย | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2542 | 30 กันยายน พ.ศ. 2545 | [12] |
5. | ดร.สุพัทธ์ พู่ผกา | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 | 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 | [13] |
6. | รศ.ดร.ไทย ทิพย์สุวรรณกุล | 1 มกราคม พ.ศ. 2550 | 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 | รักษาการ |
28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 | 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 | [14] | ||
7. | ดร.กีร์รัตน์ สงวนไทร | 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554 | รักษาการ |
16 ธันวาคม พ.ศ. 2554 | 8 มกราคม พ.ศ. 2558 | [15] | ||
8. | ดร.สุเมธ แย้มนุ่น | 9 มกราคม พ.ศ. 2558 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559 | รักษาการ |
9. | ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560 | รักษาการ |
10 ธันวาคม พ.ศ. 2560 | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | [16] | ||
10 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | ปัจจุบัน | รักษาการ |
สำนักวิชาการศึกษา[แก้]
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ[แก้]
กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[แก้]
กลุ่มสังคมศาสตร์[แก้]
กลุ่มหลักสูตรนานาชาติ[แก้]
|
ระดับบัณฑิตศึกษา[แก้]สถาบัน[แก้]สถาบันสมทบ[แก้]อื่น ๆ[แก้]
|
การก่อตั้งสำนักวิชา[แก้]
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | ||
---|---|---|
ปีการศึกษา | สำนักวิชา | หมายเหตุ |
2535 |
|
|
2549 |
|
|
2550 |
|
|
2551 |
|
|
2559 |
|
|
2560 |
|
|
2561 |
|
|
2562 |
|
|
2565 |
|
โรงพยาบาล[แก้]
โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | |||||
---|---|---|---|---|---|
โรงพยาบาล | ก่อตั้ง | ผู้อำนวยการ | หมายเหตุ | ||
โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (Walailak University Hospital) |
24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 | นพ.จรัส จันทร์ตระกูล | 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 | WUH |
นพ.ธีระพันธ์ สงนุ้ย | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561 | 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 | |||
รศ.ดร.จรัญ บุญกาญจน์ | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562 | 30 กันยายน พ.ศ. 2562 | |||
นพ.ลิขิต มาตระกูล | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 | 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 | |||
ผศ.ดร.นพ.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว | 1 มีนาคม พ.ศ. 2565 | 26 ตุลาคม พ.ศ. 2565 | |||
รศ.ดร.สุวิทย์ วุฒิสุทธิเมธาวี | 27 ตุลาคม พ.ศ. 2565 | ปัจจุบัน | |||
โรงพยาบาลสงฆ์ศรีธรรมราชา (Srithammaracha Priest Hospital) |
กำลังดำเนินการ | ||||
ศูนย์สุขภาพช่องปากขั้นสูง วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (Center for Advanced Oral Health, ICD, WU) |
กำลังดำเนินการ | ผศ.ทพ.การุญ เลี่ยวศรีสุข | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 | 11 ตุลาคม พ.ศ. 2563 | |
ศ.ทพ.ณัฐเมศร์ วงศ์สิริฉัตร | 12 ตุลาคม พ.ศ. 2563 | ปัจจุบัน | |||
โรงพยาบาลทันตกรรม 2 (WU Dental Hospital) |
กำลังดำเนินการ | ||||
โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยประยุกต์ (Applied Thai Traditional Medicine Hospital, ATMH) |
15 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | ผศ.ดร.กิ่งกาญจน์ บรรลือพืช | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | 31 ตุลาคม พ.ศ. 2565 | |
ผศ.คมกริช เอี้ยวสกุล | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 | ปัจจุบัน | |||
โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (Walailak University Animal Hospital) โรงพยาบาลสัตว์เล็ก วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
29 มีนาคม พ.ศ. 2561 | ศ.น.สพ.ดร.อภินันท์ สุประเสริฐ | 29 มีนาคม พ.ศ. 2561 | 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 | WUAH |
น.สพ.รัฐพันธ์ พัฒนรังสรรค์ | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 | 3 มิถุนายน พ.ศ. 2562 | |||
น.สพ.อิทธิเดช วิเชียรรัตน์ | 4 มิถุนายน พ.ศ. 2562 | 13 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | |||
ผศ.สพ.ญ.จุรีย์รัตน์ สำเร็จประสงค์ | 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | ปัจจุบัน |
หอพัก[แก้]
หอพักนักศึกษาสังกัดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | ||
---|---|---|
หอพักนักศึกษา | ที่อยู่ | หมายเหตุ |
หอพักลักษณานิเวศ 1 | 222/1 หมู่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 | |
หอพักลักษณานิเวศ 2 | 222/2 หมู่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 | |
หอพักลักษณานิเวศ 3 | 222/3 หมู่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 | |
หอพักลักษณานิเวศ 4 | 222/4 หมู่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 | |
หอพักลักษณานิเวศ 5 | 222/5 หมู่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 | |
หอพักลักษณานิเวศ 7 | 222/7 หมู่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 | |
หอพักลักษณานิเวศ 10 | 222/10 หมู่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 | |
หอพักลักษณานิเวศ 11 | 222/11 หมู่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 | |
หอพักลักษณานิเวศ 13 | 222/13 หมู่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 | |
หอพักลักษณานิเวศ 14 | 222/12 หมู่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 | |
หอพักลักษณานิเวศ 16 | 222/6 หมู่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 | |
หอพักลักษณานิเวศ 17 | 222/9 หมู่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 | |
หอพักลักษณานิเวศ 18 | 222/8 หมู่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 | |
หอพัก WU Residence A1 | ||
หอพัก WU Residence A2 | ||
หอพัก WU Residence B1 | ||
หอพัก WU Residence B2 |
พื้นที่มหาวิทยาลัย[แก้]
พื้นที่นครศรีธรรมราช[แก้]
ที่ตั้ง : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เลขที่ 222 ถนนมหาวิทยาลัย หมู่ที่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160
อาณาเขต[แก้]
- หมู่ที่ 2 ตำบลโพธิ์ทอง
- หมู่ที่ 2, 3, 6, 8 และหมู่ที่ 10 ตำบลไทยบุรี
- หมู่ที่ 1, 5, 6 และหมู่ที่ 9 ตำบลหัวตะพาน
กลุ่มอาคาร[แก้]
- เขตการศึกษา ได้แก่ อาคารบริหาร อาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา อาคารคอมพิวเตอร์ อาคารวิจัยและพัฒนา อาคารกายวิภาคศาสตร์ อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม อาคารสถาปัตยกรรมและการออกแบบ อาคารไทยบุรี อาคารวิชาการ 1-8 อาคารเรียนรวม 1-7 และอาคารเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1-8
- เขตที่พักอาศัย
- เขตหอพักนักศึกษา ได้แก่ อาคารลักษณานิเวศ 1-15 อาคารโรงอาหาร 1-4 อาคารกิจกรรม และศูนย์อาหารกลางคืน
- เขตที่พักอาศัยบุคลากร ได้แก่ อาคารบ้านพักรับรอง อาคารวลัยนิวาส 1-10 และอาคารสโมสรบุคลากร
- เขตอื่นๆ ได้แก่ ฟาร์มมหาวิทยาลัย กลุ่มอาคารศูนย์การแพทย์ และกลุ่มอาคารศูนย์กีฬาและสุขภาพ
ระบบจราจร[แก้]
ระบบถนนและจราจรของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้มีการออกแบบอย่างเป็นระบบ มหาวิทยาลัยได้ประกาศกำหนดชื่อถนนของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ดังนี้
- ถนนมหาวิทยาลัย เป็นถนนทางเข้ามหาวิทยาลัยสายหลักแยกจากถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 ตอนเลี่ยงเมืองท่าศาลา ช่วงสุราษฎร์ธานีทางทิศเหนือ ประมาณ 110 กิโลเมตร ช่วงนครศรีธรรมราชทางทิศใต้ประมาณ 28 กิโลเมตร เข้าสู่มหาวิทยาลัยทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่สองข้างทางได้จัดไว้เป็นที่ร่มรื่นให้ผู้ที่เข้ามาติดต่อได้ชื่นชมกับทัศนียภาพที่ดีในการเดินทางเข้าสู่เขตการศึกษา
- ถนนวิทยมรรคา เป็นถนนวงแหวนรอบใน มีความยาวทั้งสิ้น 3,154 เมตร เป็นถนนที่ใช้สัญจรภายในเขตการศึกษาทั้งหมดของมหาวิทยาลัย โดยจะผ่านกลุ่มอาคารต่าง ๆ ได้แก่ อาคารเรียนรวม อาคารเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาคารวิชาการ อาคารบริหาร เป็นต้น
- ถนนวลัยลักษณา เป็นถนนวงแหวนรอบนอก มีความยาวทั้งสิ้น 5,965 เมตร เป็นถนนที่ใช้สัญจรเชื่อมต่อระหว่างเขตการศึกษาและกลุ่มหอพักนักศึกษา และบ้านพักบุคลากรตลอดจนสถานที่ต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย และยังช่วยระบายความแออัดจากการจราจรจากถนนวงแหวนรอบใน
- ถนนสายอื่น ๆ ได้แก่ ถนนลักษณามรรคา ถนนวลัยชลเขต ถนนวลัยมรรคา ถนนวลัยตุมปัง ถนนวลัยพัฒนา และถนนวลัยวิทยา 1-4
ระบบขนส่ง[แก้]
ระบบขนส่งของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้มีการนำรถไฟฟ้ามาใช้เป็นระบบขนส่งภายในมหาวิทยาลัย เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยในการมุ่งสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) โดยมีเส้นทางการเดินรถไฟฟ้า ดังนี้
- สายสีเขียว ได้แก่ อาคารเรียนรวม 1, 3–อาคารสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ–โรงอาหารกิจกรรม–หอพักลักษณานิเวศ 1, 2, 3, 11, 13, 14–อาคารไทยบุรี–อาคารเรียนรวม 5, 7
- สายสีแดง ได้แก่ หอพักลักษณานิเวศ 16, 17, 18–หอพักลักษณานิเวศ 4, 5, 7, 10–โรงอาหารกิจกรรม–อาคารสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ–อาคารเรียนรวม 1, 3
- สายสีน้ำเงิน ได้แก่ อาคารไทยบุรี–อาคารเรียนรวม 5, 7–อาคารศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา–อาคารวิชาการ 1–อาคารวิชาการ 5–อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม–อาคารเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี–อาคารสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ–อาคารเรียนรวม 1, 3–อาคารไทยบุรี
- สายสีฟ้า ได้แก่ อาคารศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา–อาคารเรียนรวม 5, 7–อาคารไทยบุรี–หอพักลักษณานิเวศ 1, 2, 3, 11, 13, 14–โรงอาหารกิจกรรม–อาคารสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ–อาคารเรียนรวม 1, 3–อาคารสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ–อาคารเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- สายสีเทา ได้แก่ โรงอาหารกิจกรรม–อาคารไทยบุรี–อาคารบริหาร–สวนวลัยลักษณ์–โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์–โรงแรมคุ้มสวัสดิ์–หน้ามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- สายสีเหลือง ได้แก่ อาคารไทยบุรี–หอพักลักษณานิเวศ 1, 2, 3, 11, 13, 14–ศูนย์อาหารกลางคืน–โรงอาหารกิจกรรม–หอพักลักษณานิเวศ 4, 5, 7, 10–หอพักลักษณานิเวศ 16, 17, 18–สนามกีฬามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
พื้นที่สุราษฎร์ธานี[แก้]
ที่ตั้ง : ศูนย์วิทยบริการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เลขที่ 91/1 อาคารพีซีทาวเวอร์ ชั้น 8-9 หมู่ที่ 1 ถนนกาญจนวิถี ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
พื้นที่กรุงเทพมหานคร[แก้]
- ที่ตั้ง : หน่วยประสานงานกรุงเทพมหานคร เลขที่ 979/42-46 อาคารเอสเอ็มทาวเวอร์ ชั้น 19 ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
- ที่ตั้ง : วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์นานาชาติ เลขที่ 87 อาคารวิทยาคาร 3 ถนนระนอง 2 แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
- ที่ตั้ง : ศูนย์สุขภาพช่องปากขั้นสูง เลขที่ 73 อาคารวิทยาคาร 1 ถนนพระรามที่ 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
กิจกรรมมหาวิทยาลัย[แก้]
WU Games[แก้]
- ██ สีแดง : สูรย์ส่องหล้า ประกอบด้วย สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยนานาชาติ
- ██ สีเหลือง : จันทราฉายแสง ประกอบด้วย สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ และสำนักวิชาเภสัชศาสตร์
- ██ สีน้ำเงิน : นภากาศสำแดง ประกอบด้วย สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์นานาชาติ วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครรราชกุมารี
- ██ สีเขียว : ไพรแผลงจำรูญ ประกอบด้วย สำนักวิชาการจัดการ และสำนักวิชาการบัญชีและการเงิน
- ██ สีชมพู : นภศูรย์ศิริชัย ประกอบด้วย สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ และสำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์
- ██ สีขาว : กฤษนัยเศวตศิลา ประกอบด้วย สำนักวิชานิติศาสตร์ สำนักวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
หน่วยงานภายใน[แก้]
สถาบันพี่น้อง[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ เปิดผลประเมินประกันคุณภาพการศึกษา ปี‘63 "ม.วลัยลักษณ์" อยู่ในระดับดีมาก
- ↑ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยลักษณ์ พ.ศ. 2535
- ↑ ม.วลัยลักษณ์ ขึ้นอันดับ 1 ‘มหาวิทยาลัยสีเขียว’ ของภาคใต้ 2 ปีซ้อน
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายจรัส สุวรรณเวลา)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายจรัส สุวรรณเวลา)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายวิจิตร ศรีสอ้าน)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายวิจิตร ศรีสอ้าน)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายวิจิตร ศรีสอ้าน)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายวิจิตร ศรีสอ้าน)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายวิจิตร ศรีสอ้าน)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายธีระชัย เชมนะสิริ)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายนักสิทธิ์ คูวัฒนาชัย)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายสุพัทธ์ พู่ผกา)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายไทย ทิพย์สุวรรณกุล)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายกีร์รัตน์ สงวนไทร)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- โรงพยาบาลสัตว์เล็ก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยลักษณ์ พ.ศ. 2535
พิกัดภูมิศาสตร์: 8°38′32″N 99°54′40″E / 8.642194°N 99.911167°E