มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Suan Sunandha Rajabhat University | |
ชื่อเดิม | สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา |
---|---|
ชื่อย่อ | มร.สส. / SSRU |
คติพจน์ | ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
สถาปนา | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 |
สังกัดการศึกษา | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
สังกัดวิชาการ | คณะวิชา 15 |
งบประมาณ | 843,492,000 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
นายกสภาฯ | รองศาสตราจารย์ ฤๅเดช เกิดวิชัย |
อธิการบดี | รองศาสตราจารย์ ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ |
อาจารย์ | 712 คน (พ.ศ. 2556) |
บุคลากรทั้งหมด | 1,530 คน (พ.ศ. 2556) |
ผู้ศึกษา | 32,851 คน (พ.ศ. 2566)[2] |
ที่ตั้ง |
|
วิทยาเขต | วิทยาเขต |
ต้นไม้ | แก้วเจ้าจอม |
สี | สีน้ำเงิน สีชมพู |
ฉายา | สวนนัน / ลูกพระนาง |
มาสคอต | ประตูสุนันทาทวาร / กำแพงแดง / เนินพระนาง |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (อังกฤษ: Suan Sunandha Rajabhat University; อักษรย่อ: มร.สส. – SSRU) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ[3] ตั้งอยู่ในพื้นที่สวนสุนันทา อันเคยเป็นเขตพระราชฐานของพระราชวังดุสิตในรัชกาลที่ 5 มาก่อน นักเรียนและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาทุกคนจะใช้คำแทนตัวเองว่า "ลูกพระนาง" ซึ่งพระนางในที่นี้หมายถึงสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีรากฐานมาจากการสถาปนา "โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย" เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) ต่อมาจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็น "วิทยาลัยครูสวนสุนันทา" ในปี พ.ศ. 2518 ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 เปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "สถาบันราชภัฏ" เป็นชื่อสถาบันการศึกษาในสังกัดกรมการฝึกหัดครูกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งยังได้พระราชทานตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏ ทำให้วิทยาลัยครูสวนสุนันทามีชื่อเป็น "สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา" โดยอัตโนมัติ แต่ยังไม่เป็นทางการ เนื่องจากยังไม่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏในราชกิจจานุเบกษา และเมื่อได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูสวนสุนันทาจึงมีสถานะเป็น "สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา" อย่างเป็นทางการ
ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ยังผลให้สถาบันราชภัฏสวนสุนันทายกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา" นับแต่นั้นเป็นต้นมา
ประวัติมหาวิทยาลัย
[แก้]เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ได้ทรงพระราชดำริว่าสถานที่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในคับแคบ ไม่เหมาะสมจะเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน จึงโปรดให้สร้างพระตำหนักและตึกในบริเวณสวนสุนันทาขึ้นอีกหลายหลัง แล้วโปรดให้เป็นที่ประทับของพระมเหสี เจ้าจอมมารดา เจ้าจอมและพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 32 ตำหนัก รวมทั้งอาคารที่พักของบรรดาข้าราชบริพาร โดยมีสมเด็จพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา ได้เสด็จมาประทับ ณ ตำหนักสายสุทธานพดล (ตึก 27) ตั้งแต่ พ.ศ. 2467 ถึง พ.ศ. 2472 (สิ้นพระชนม์ ณ ตำหนักที่ประทับสวนสุนันทา) เนื่องจากในสมัยนั้นบรรดาขุนนาง ข้าราชการ ผู้มีบรรดาศักดิ์นิยมนำบุตรี และหลานของตนมาถวายตัวต่อสมเด็จพระวิมาดาเธอฯ เป็นจำนวนมาก สมเด็จพระวิมาดาเธอฯ จึงทรงให้สร้าง "โรงเรียนนิภาคาร" ขึ้นภายในสวนสุนันทา สอนตามหลักสูตรการศึกษาในสมัยนั้น รวมทั้งอบรมจริยา มารยาท การฝีมือ ให้เป็นกุลสตรี
ครั้นถึงปี พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ ในสวนสุนันทาหวั่นเกรงภัยจากการเมือง จึงได้ทะยอยกันออกไปจากสวนสุนันทาจนหมดสิ้น บางพระองค์ได้เสด็จออกไปอยู่หัวเมืองและหลายพระองค์เสด็จลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ โรงเรียนนิภาคารจึงเลิกดำเนินการไปโดยปริยาย นับแต่นั้นมาสวนสุนันทาที่เคยงดงามก็ถูกทอดทิ้ง ขาดการดูแลเอาใจใส่ ตำหนักต่าง ๆ ชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมาก พื้นที่ภายในรกร้างว่างเปล่า ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เห็นว่าสวนสุนันทาถูกทอดทิ้งรกร้างอยู่มิได้ทำประโยชน์ จึงเห็นสมควรให้นายกรัฐมนตรีได้ใช้ประโยชน์ เป็นที่อยู่อาศัยของรัฐมนตรีและผู้แทนราษฎร แต่สภาผู้แทนราษฎรขอเพียงพื้นที่ภายนอกกำแพงติดถนนสามเสนสร้างเป็นบ้านพักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น คณะรัฐมนตรีจึงลงมติเห็นสมควรว่า ควรใช้สถานที่นี้ให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและมอบให้กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) ดำเนินการจัดตั้งให้เป็นสถานศึกษาของชาติ และสถานที่ศึกษานี้ให้ชื่อโดยคงชื่อเดิมของสถานที่เพื่อเป็นอนุสรณ์โดยขนานนามว่า "โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย" เริ่มเปิดการศึกษามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 เป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบันดั่งคำขวัญมหาวิทยาลัยที่ว่า จากพระราชอุทยานสู่สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยเอตทัคคะที่มีอัตลักษณ์
สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
[แก้]สัญลักษณ์
[แก้]- ตราพระราชลัญจกร: ตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- ตรา "ส มงกุฎ": ตราประจำพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี
ปรัชญา
[แก้]- ปรัชญา: ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม
อัตลักษณ์และเอกลักษณ์
[แก้]- อัตลักษณ์: เป็นนักปฏิบัติ ถนัดวิชาการ เชี่ยวชาญการสื่อสาร ชำนาญการคิด มีจิตสาธารณะ
- เอกลักษณ์: เน้นความเป็นวัง ปลุกฝังองค์ความรู้ ยึดมั่นคุณธรรมให้เชิดชู เป็นองค์การเรียนรู้สู่สากล
เพลงประจำมหาวิทยาลัย
[แก้]- ร่มโพธิ์ทอง
- มาร์ชสวนสุนันทา
สีประจำมหาวิทยาลัย
[แก้]- สีน้ำเงิน หมายถึง สีประจำองค์พระมหากษัตริย์
- สีชมพู หมายถึง สีประจำวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สีของตรามหาวิทยาลัยราชภัฏ
[แก้]- สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
- น้ำเงิน พระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิดและพระราชทานนาม "มหาวิทยาลัยราชภัฏ"
- สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางปัญญา
- สีส้ม แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมท้องถิ่น
- สีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
[แก้]ต้นแก้วเจ้าจอม เหตุที่ชื่อ "แก้วเจ้าจอม" เพราะเป็นไม้ของเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 ในครั้งรัชสมัยรัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริสร้างสวนสุนันทาขึ้นเป็นที่ระลึกถึงพระมเหสี คือ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ปัจจุบันต้นกำเนิดต้นนี้มีอายุมากกว่า 100 ปี และมีอยู่ต้นเดียวในประเทศไทย เป็นต้นไม้หายาก ตามประวัติศาสตร์ระบุว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงได้พันธุ์มาเมื่อคราวเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย มาปลูกไว้ในวังสวนสุนันทา ปัจจุบันคือ "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา" ต้นแก้วเจ้าจอม มีลักษณะใบประกอบ 2 คู่ ได้ถูกจัดลำดับเป็นพันธุ์พืชอนุรักษ์ในบัญชี 2 ภายใต้พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2525
โครงการ สถานีโทรทัศน์ SSRU TV Online
[แก้]สถาบันสร้างสรรค์และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (สสสร.), Institute of Lifelong Learning Promotion and Creative เป็นสถาบันย่อยของมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์และพันธกิจของมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อการแข่งขันและสนองตอบความต้องการของสังคม เป็นการผลักดันให้มหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับในฐานะ "มหาวิทยาลัยชั้นนำ" ได้มีโครงการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เผยแพร่ภาพและเสียงผ่านระบบ Internet Protocol Television ในชื่อช่อง "SSRU TV Online" (Online ในที่นี่หมายถึง TV Streaming) ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงการดำเนินการผลิตรายการและเตรียมความพร้อมในการออกอากาศ โดยได้ทดลองออกอากาศแล้วผ่านเว็บไซต์ SSRU TV Online เก็บถาวร 2014-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
การจัดการศึกษา
[แก้]มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดทำการเรียนการสอนอย่างครอบคลุม ซึ่งการจัดการศึกษามีอยู่ในหลายระดับการศึกษา ได้แก่
- ระดับก่อนวัยเรียน ศูนย์พัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยฯ (เตรียมอนุบาล อายุ 1 เดือน – อนุบาล 3 อายุ 6 ขวบ)
- ระดับประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตประถมฯ (ชั้น ป. 1 – ป. 6)
- ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมัธยมฯ (ชั้น ม. 1 – ม. 6)
- ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี – ปริญญาเอก) เก็บถาวร 2016-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
การศึกษา
[แก้]
กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ[แก้]กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[แก้]
กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์[แก้]
วิทยาเขต / ศูนย์การศึกษา[แก้]
โครงการจัดตั้งในอนาคต[แก้]
|
คณะผู้บริหาร
[แก้]อธิการบดี รองอธิการบดี และผู้ช่วยอธิการบดี | |||
---|---|---|---|
รายนาม | ตำแหน่ง | ||
1. รองศาสตราจารย์ ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ | อธิการบดี | ||
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คมสัน โสมนวัตร | รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร | ||
3. รองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา น้อยจันทร์ | รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ | ||
4. รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา เมฆขำ | รองอธิการบดีฝ่ายแผนงานและประกันคุณภาพ | ||
5. รองศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต ผังนิรันดร์ | รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนา | ||
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจตน์สฤษฏิ์ อังศุกาญจนกุล | รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา | ||
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.แก่นเพชร ศรานนทวัฒน์ | รองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตนครปฐม | ||
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สิริอร จำปาทอง | ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ | ||
9. อาจารย์ ดร.ดวงพร แสงทอง | ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ | ||
10. รองศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี เทียนทองดี | ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ | ||
11. อาจารย์ ดร.ธุวธิดา สุวรรณรัตน์ | ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา |
ทำเนียบผู้บริหารในอดีต – ปัจจุบัน
[แก้]รายนามผู้บริหาร ในอดีต - ปัจจุบัน | |||
รายนามผู้บริหาร | ตำแหน่ง | สถานะสถานศึกษา | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|---|
1. อาจารย์ นิลรัตน์ บรรณสิทธิ์วรสาสน์ | ครูใหญ่ | โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย | (พ.ศ. 2480 – 2486) |
2. อาจารย์ มล.ประชุมพร ไกรฤกษ์ | ครูใหญ่ | โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย | (พ.ศ. 2486 – 2491) |
3. อาจารย์ คุณหญิงกรองแก้ว ปทุมานนท์ | อาจารย์ใหญ่ | โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย | (พ.ศ. 2491 – 2498 และ พ.ศ. 2500 – 2516) |
4. อาจารย์ ผจงวาด วายวานนท์ | อาจารย์ใหญ่ | โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย | (พ.ศ. 2498 – 2500 ) |
5. อาจารย์ ประเยาว์ ศักดิ์ศรี | ผู้อำนวยการ | วิทยาลัยครูสวนสุนันทา | (พ.ศ. 2516 – 2519) |
6. ศาสตราจารย์ สมจิต ธนสุกาญจน์ | ผู้อำนวยการ | วิทยาลัยครูสวนสุนันทา | (พ.ศ. 2519 – 2524) |
7. อาจารย์ จำเริญ เสกธีระ | ผู้อำนวยการ | วิทยาลัยครูสวนสุนันทา | (พ.ศ. 2524 – 2526) |
8. อาจารย์ กลาย กระจายวงศ์ | ผู้อำนวยการ | วิทยาลัยครูสวนสุนันทา | (พ.ศ. 2526 – 2534) |
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พล กำปังสุ์ | ผู้อำนวยการ (อธิการบดีโดยตำแหน่ง) | วิทยาลัยครูสวนสุนันทา/สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา | (พ.ศ. 2534 – 2535 ; วิทยาลัยครูสวนสุนันทา) (พ.ศ. 2535 – 2537 ; สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา) |
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรางศรี พณิชยกุล | อธิการบดี | สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา | (พ.ศ. 2537 – 2542) |
11.รองศาสตราจารย์ ดร.ดิลก บุญเรืองรอด | อธิการบดี | สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา/มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา | (พ.ศ. 2542 – พ.ศ. 2547) |
12. รองศาสตราจารย์ ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช | อธิการบดี | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2547 – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2551[4] 30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555 [5] |
13. รองศาสตราจารย์ ดร.ฤๅเดช เกิดวิชัย | อธิการบดี | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา | 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555 – 3 มีนาคม 2563[6] |
14.รองศาสตราจารย์ ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ | อธิการบดี | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา | 3 มีนาคม พ.ศ. 2563 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2563[7] (รักษาราชการแทนอธิการบดี) 6 ธันวาคม พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน[8] |
รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย ในอดีต - ปัจจุบัน | ||
รายนามนายกสภา | สถานะสถานศึกษา | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1. นายบรรหาร ศิลปอาชา | สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา | สิ้นสุดดำรงตำแหน่งราวปี 2548 |
2. นายกร ทัพพะรังสี | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา | พ.ศ. 2548 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 |
3. รองศาสตราจารย์ ดร.ฤๅเดช เกิดวิชัย | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา | 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน |
มาตรฐาน ISO ที่มหาวิทยาลัยได้รับ
[แก้]มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งแรกที่ได้รับรอง ISO 9001 และ ISO 14000 (สิ่งแวดล้อม) [ต้องการอ้างอิง]
- ISO 14000:2004 ด้านสิ่งแวดล้อม
- ISO 9001:2008 สำนักงานอธิการบดี
- ISO 9001:2008 สำนักทรัพย์สินและรายได้
- ISO 9001:2008 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ISO 9001:2008 กองบริการการศึกษา
- ISO 9001:2008 กองนโยบายและแผน
- ISO 9001:2008 กองพัฒนานักศึกษา
- ISO 9001:2008 บัณฑิตวิทยาลัย
- ISO 9001:2008 คณะวิทยาการจัดการ
- ISO 9001:2008 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ISO 9001:2008 คณะเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
- ISO 9001:2008 คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
- ISO 9001:2008 คณะศิลปกรรมศาสตร์
- ISO 9001:2008 สถาบันวิจัยและพัฒนา
ปี พ.ศ. 2555 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้รับรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ Public Sector Management Quality Award (PMQA) จาก ก.พ.ร.
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของโลก
[แก้]- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้รับการจัดอันดับว่าเป็นโรงเรียนที่ดีที่สุด 100 อันดับแรกวัดจากคะแนนโอเน็ต[ต้องการอ้างอิง]
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้รับการจัดอันดับว่าเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏอันดับที่ 1 ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ด้านทางวิชาการที่มีการเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต อ้างอิงจาก Ranking Web of Universities
การเดินทาง
[แก้]การเดินทางมาสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา(กรุงเทพฯ) สามารถเดินทางมาได้ด้วยกันหลายเส้นทาง ดังนี้
เส้นถนนสามเสน
[แก้](เกียกกาย ศรีย่าน วชิรพยาบาล สวนสุนันทา เทเวศร์ สนามหลวง)
สายรถเมล์ที่ผ่าน : 3 (อู่กำแพงเพชร – หมอชิต 2 – คลองสาน), 9 (กัลปพฤกษ์ – สถานีรถไฟสามเสน), 16 (อู่กำแพงเพชร – หมอชิต 2 – สุรวงศ์), 30 (นนทบุรี – สายใต้เก่า), 32 (ปากเกร็ด – วัดโพธิ์), 33 (ปทุมธานี – สนามหลวง), 49 (วงกลมสถานีกลางบางซื่อ – หัวลำโพง), 64 (นนทบุรี – สนามหลวง), 65 (วัดปากน้ำ (นนทบุรี) – สนามหลวง), 110 (พระราม 6 – เทเวศร์), 505 (ปากเกร็ด – สวนลุมพินี), 524 (สายใต้ใหม่ – หลักสี่)
เส้นถนนราชวิถี
[แก้](สะพานซังฮี้ สวนสุนันทา เขาดิน สวนจิตรลดา อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ)
สายรถเมล์ที่ผ่านคือ : 18 (ท่าอิฐ – อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ), 28 (สายใต้ใหม่ – มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม), 56 (วงกลมสะพานกรุงธน – บางลำพู), 108 (เดอะมอลล์ท่าพระ – อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ), 515 (เซ็นทรัลศาลายา – อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ), 539 (อ้อมน้อย – อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ)
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) : สถานีสิรินธร
เรือด่วนเจ้าพระยา : ท่าสะพานกรุงธน (ซังฮี้)
เส้นถนนนครราชสีมา
[แก้](ที่ทำการพรรคชาติไทย การเรือน สวนสุนันทา หลังสวนอัมพร ครุสภา)
สายรถเมล์ที่ผ่าน : 12 (ห้วยขวาง – เศรษฐการ), 56 (วงกลมสะพานกรุงธน – บางลำพู)
เส้นแยกเทเวศร์
[แก้](ลงแยกเทเวศร์ เดินขึ้นมาทางทิศเหนือ หอสมุดแห่งชาติ สวนสุนันทา)
สายรถเมล์ที่ผ่าน : 23 (สำโรง – เทเวศร์), 43 (โรงเรียนศึกษานารีวิทยา 2 – เทเวศร์), 72 (ท่าเรือคลองเตย – เทเวศร์), 516 (อู่บัวทองเคหะ – เทเวศร์)
เรือด่วนเจ้าพระยา : ท่าเทเวศร์
บุคคลสำคัญที่มีชื่อเสียง
[แก้]- รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
- ทวีพร พริ้งจำรัส (Miss Grand Thailand 2023)
- ปภัสรา ชุตานุพงษ์ (เตชะไพบูลย์)
- น้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์
- ภัคจีรา วรรณสุทธิ์ (โอ๋) นักแสดง, พิธีกร
- ญดา โชติชูตระกูล
- ศิริมาศ ชื่นวิทยา (นักร้องนำ วง Pink)
- อินทิรา ยืนยง (นักร้องนำ วงบูโดกัน)
- อนุสรา จันทรังษี นักแสดง
- ศักดิ์สิทธิ์ เชื้อกลาง นักแต่งเพลง และ ศิลปินเพื่อชีวิต
- ติ๊ก ชีโร่
- วินัย ไกรบุตร
- จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์
- สมชาย เข็มกลัด
- เขตต์ ฐานทัพ
- เกรียงไกร อังคุณชัย
- เมธี อรุณ (นักร้องนำ วงลาบานูน)
- สรารัตน์ หรุ่มเรืองวงศ์ รองนางสาวไทยอันดับหนึ่ง ปี พ.ศ. 2529, รองมิสเอเชียแปซิฟิคอันดับสอง ปี ค.ศ. 1986, นักแสดง
- วัชราวลี ทั้งวงจบจากเอกดนตรี สวนสุนันทา เจ้าของนิยามเพลงรักแนวบวก มีเพลงดังอาทิ ลูกอม, ร่มสีเทา, jeep
- วีระชัย ดวงพลา หรือที่รู้จักกันในนาม เดอะดวง จบสาขา ออกแบบนิเทศศลป์ นักวาดการ์ตูนชาวไทย มีผลงานเป็นที่รู้จักอยู่มากมาย โดยเฉพาะเรื่อง "เรื่องมีอยู่ว่า" ที่สร้างชื่อเสียงให้เขา โดยเป็นเรื่องที่ทำให้เขาได้รับรางวัลรองชนะเลิศ (Silver Award) จากเวทีประกวดรางวัลการ์ตูนนานาชาติ ครั้งที่ 4 ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2554
- พิจักขณา วงศารัตนศิลป์ (น้ำตาล) นักแสดงสังกัดช่อง 3 นิเทศศาสตร์ ย้ายไปศึกษาที่ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- นลินทิพย์ สกุลอ่องอำไพ (บัว) นักแสดงสังกัดช่อง 3 นิเทศศาสตร์
- จิรดาภา อินทจักร (ปูเป้) อดีตสมาชิกวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต (BNK48) รุ่นที่ 1
- บริบูรณ์ จันทร์เรือง
- นัตยา ทองเสน (เพลงขวัญ The Face) นางแบบ, นักแสดง
- จินตหรา พูนลาภ นักร้อง
- ชัญญาภัค นุ่มประสพ (นิว) อดีตสมาชิกวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต (BNK48) รุ่นที่ 2
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๓๐, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ GUR ม.สวนสุนันทา 2559
- ↑ สวนสุนันทา กับการเปลี่ยนแปลงสู่มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2547/D/113/011.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา นายช่วงโชติ พันธุเวช (วาระแรก)
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/028/20.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา นายช่วงโชติ พันธุเวช (วาระที่สอง)
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/E/187/34.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (นายฤๅเดช เกิดวิชัย)
- ↑ https://ssru.ac.th/news-detail.php?id=310 รศ.ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ รักษาราชการตำแหน่งอธิการบดีสวนสุนันทา มีผล 3 มี.ค. 63
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/288/T_0017.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (นางสาวชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- หน้าที่ใช้กล่องข้อมูลมหาวิทยาลัยที่มีพารามิเตอร์ฉายา
- มหาวิทยาลัยราชภัฏ
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- สถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดอุดรธานี
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดนครปฐม
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดสมุทรสงคราม
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดระนอง
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดสุพรรณบุรี
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงราย
- สถานที่ที่ตั้งชื่อตามพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ไทย