มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
![]() ตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ว (สังวาลย์) พระนามย่อ สมเด็จย่า. สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย | |
ชื่อย่อ | มฟล. / MFU [1] |
---|---|
คติพจน์ | สร้างคน สร้างความรู้ สร้างคุณภาพ สร้างคุณธรรม |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ |
สถาปนา | มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 25 กันยายน พ.ศ. 2541 |
งบประมาณ | 1,904,000,000 บาท [2] (ปีการศึกษา 2565) |
อธิการบดี | ผศ.ดร.มัชฌิมา นราดิศร |
นายกสภาฯ | ศ.(พิเศษ)ดร.วันชัย ศิริชนะ |
อาจารย์ | 742 คน [3] (ปีการศึกษา 2565) |
เจ้าหน้าที่ | 2,590 คน [4] (ปีการศึกษา 2565) |
ผู้ศึกษา | 15,388 คน[5] กันยายน พ.ศ. 2565 |
ที่ตั้ง | มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เลขที่ 333 หมู่ที่ 1 ตำบลท่าสุด อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย 57100 โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เลขที่ 365 หมู่ 12 ตำบลนางแล อำเภอเมืองเชียงราย 57100 |
วิทยาเขต | ศูนย์การศึกษา กรุงเทพมหานคร 127 อาคารปัญจภูมิ 2 ชั้น 7 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 |
วารสาร | รอบรั้ว มฟล. |
เพลง ต้นไม้ | สายใยแดงทอง ดอกหอมนวล (ลำดวน) |
สี | แดง ทอง |
มาสคอต | ดิน ดิน (ตัวตุ่น) |
เว็บไซต์ | www.mfu.ac.th |
![]() |
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (อังกฤษ: Mae Fah Luang University; อักษรย่อ: มฟล. – MFU; คำเมือง: ) เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาลตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงราย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2541 ภายหลังการเรียกร้องของชาวจังหวัดเชียงรายที่ต้องการมีมหาวิทยาลัยในท้องถิ่น และเพื่อเป็นการระลึกถึงสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จึงใช้พระราชสมัญญา "แม่ฟ้าหลวง" เป็นชื่อมหาวิทยาลัย
ปัจจุบัน ประกอบด้วยสำนักวิชา 15 สำนักวิชา เป็นมหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนระดับอนุปริญญา 2 หลักสูตร ปริญญาตรี 38 สาขา ปริญญาโท 25 สาขา ปริญญาเอก 15 สาขา โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการเรียนการสอน
หนังสือพิมพ์ไทมส์ในส่วนของ Higher Education Supplement ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีชื่อเสียงระดับโลก ของประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2548 และยังได้รับการลงคะแนนให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สวยที่สุดในประเทศไทย และสวยที่สุดแห่งเอเชีย[6]
ประวัติ[แก้]

ปี 2534 – 2536 ประชาชนชาวเชียงรายได้เรียกร้องให้มีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับสูงขึ้นในจังหวัด มีการระดมความคิดเห็นการจัดการประชุมสัมมนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเชียงรายปี 2536-2545 ขึ้นเป็นฉบับแรก ซึ่งเกิดจากการระดมความคิดเห็นร่วมกันระหว่างภาคราชการ ภาคเอกชนและประชาชน โดยกำหนดทิศทางการพัฒนาไว้ 3 ทิศทางด้วยกัน หนึ่งในสามทิศทางนั้น คือ “การศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์” ซึ่งไม่เฉพาะจังหวัดเชียงรายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประชากรในจังหวัดภาคเหนือตอนบน ตลอดจนประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอีกด้วย
ปี 2537 มีการจัดตั้งคณะกรรมการรณรงค์เพื่อให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดเชียงราย มีการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นในการหารูปแบบและวิธีดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งสรุปได้ในขณะนั้นว่าน่าจะมีหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น เป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยกเลิกสถาบันราชภัฏเชียงรายและจัดตั้งขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย หรือจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นใหม่ เป็นต้น
18 กรกฎาคม 2538 เมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จสวรรคต คณะกรรมการรณรงค์จัดตั้งมหาวิทยาลัยร่วมกับหน่วยราชการจังหวัดเชียงราย ได้ประชุมปรึกษาหารือและเห็นพ้องต้องกันว่า พระองค์มีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงต่อประชาชนเชียงรายที่ทรงใช้เป็นพระตำหนักและ ทรงริเริ่มโครงการพัฒนาดอยตุงขึ้น นำความเจริญมายังจังหวัดเชียงรายและประเทศชาติ เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงและเพื่อสนองพระราชปณิธานของพระองค์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรวมทั้งการพัฒนาคน จึงได้จัดทำโครงการเสนอรัฐบาลให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดเชียงราย
4 มีนาคม 2539 ณรงค์ วงศ์วรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่มุ่งหวังและสนับสนุนที่จะให้มีมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดเชียงราย ได้ประสานงานนำคณะกรรมการรณรงค์จัดตั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น และสื่อมวลชนเข้าพบนายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยเสนอเหตุผลและความจำเป็นที่ขอจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดเชียงรายต่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็ยินดีที่จะสนับสนุนอย่างเต็มที่ หลังจากนั้นได้ไปพบนายบุญชู ตรีทอง ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งปลัดและรองปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เพื่อขอให้สนับสนุนโครงการดังกล่าว
5 มีนาคม 2539 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาที่จังหวัดเชียงรายโดยยุบสถาบันราชภัฏเชียงรายและจัดตั้งขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยก็ได้ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แห่งความจงรักภักดีของรัฐบาลและประชาชนที่มีต่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเพื่อสืบสานพระราชปณิธานของพระองค์ในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในภาคเหนือโดยเฉพาะอย่างยิ่งของจังหวัดเชียงราย
27 เมษายน 2539 ทบวงมหาวิทยาลัยได้ทำการศึกษาที่จะยุบสถาบันราชภัฏเชียงรายเพื่อไปจัดตั้งขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงแล้วสรุปว่ามีความเป็นไปได้ พร้อมทั้งได้ดำเนินการศึกษาเพื่อกำหนดรูปแบบการดำเนินงาน ระบบบริหาร และระบบวิชาการของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงมาตามลำดับ ทบวงมหาวิทยาลัยได้เสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเพื่อยุบสถาบันราชภัฏเชียงรายไปจัดตั้งขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงต่อคณะรัฐมนตรี
20 สิงหาคม 2539 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติในหลักการตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว และให้เสนอคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาตรวจร่าง ต่อมาได้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรเป็นผลทำให้ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ฉบับนี้ไม่ได้รับการพิจารณา
13 กุมภาพันธ์ 2540 คณะกรรมการกลั่นกรองงานฝ่ายสังคมของรัฐบาลที่มีนายสุขวิช รังสิตพลรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น เป็นประธานได้มอบให้ทบวงมหาวิทยาลัยจัดตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ และจัดสรรงบประมาณเพื่อเตรียมการในเบื้องต้น ตั้งแต่ปีงบประมาณ2539 โดยไม่ยุบสถาบันราชภัฏเชียงราย เพราะต้องการให้สถาบันราชภัฏเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาปี2538 จึงจำเป็นต้องคงไว้เป็นสถานศึกษาอีกแห่งหนึ่ง
18 กันยายน 2540 ทบวงมหาวิทยาลัยจึงได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงฉบับใหม่เสนอต่อคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการตามร่างพระราชบัญญัติที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ แล้วส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาตรวจร่างและดำเนินการตามกระบวนการนิติบัญญัติต่อไป และแต่งตั้งให้ รองศาสตราจารย์ วันชัย ศิริชนะ ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดตั้งเพื่อดำเนินการต่าง ๆ ให้เรียบร้อยและเสร็จสิ้นโดยเร็ว พร้อมทั้งให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ เพื่อดำเนินการได้ตามความเหมาะสม สำหรับที่ดินที่ใช้ก่อสร้างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงนั้น คณะกรรมการจังหวัดเชียงรายได้จัดเตรียมไว้ 3 แห่งคือ บริเวณดอยแง่ม อำเภอเมืองเชียงราย บริเวณจอมหมอกแก้ว อำเภอแม่ลาว และบริเวณดอยโตน อำเภอเวียงชัย ซึ่งต่อมานายมนตรี ด่านไพบูลย์ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยและ รองศาสตราจารย์ วันชัย ศิริชนะ ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย คณะกรรมการดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง และทบวงมหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันพิจารณาเลือกพื้นที่บริเวณดอยแง่ม และจอมหมอกแก้ว เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย ในขณะเดียวกันนักศึกษาและประชาชนจังหวัดเชียงรายก็ได้มีการชุมนุมเรียกร้อง ณ บริเวณโรงแรมลิตเติ้ลดั๊ก จังหวัดเชียงราย เพื่อให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงขึ้นโดยเร็วและได้ขอคำยืนยันจากรัฐบาล ซึ่งนายมนตรี ด่านไพบูลย์ และรองศาสตราจารย์ วันชัย ศิริชนะ ได้ให้คำยืนยันว่าจะสามารถเปิดรับนักศึกษาได้ภายใน ปี 2542


29 กรกฎาคม 2540 มีการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดเชียงราย นายสุขวิช รังสิตพลรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีให้มีมติอนุมัติให้ใช้พื้นที่บริเวณดอยแง่ม จำนวน 4,997 ไร่ เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ขณะเดียวกันคณะกรรมการของจังหวัดเชียงรายร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาจังหวัดเชียงราย ได้รณรงค์หาทุนทรัพย์เพื่อเป็นค่าทำถนนเข้ามหาวิทยาลัย และเพื่อชดเชยค่าที่ดินที่มีผู้ครอบครองอยู่ในบริเวณนั้นด้วย
26 มีนาคม 2541 ชาวเชียงรายทุกหมู่เหล่า ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน โดยเฉพาะชาวบ้านตำบลแม่ข้าวต้ม ตำบลนางแล ตำบลท่าสุด นับหมื่นคน ได้ร่วมกันนำมีด พร้า จอบ เสียม และเครื่องจักรมาบุกเบิกทางเข้ามหาวิทยาลัยบริเวณดอยแง่มเป็นปฐมฤกษ์ นอกจากนี้ยังได้ร่วมกันปลูกต้นไม้ในบริเวณมหาวิทยาลัย ในโอกาสวันสำคัญต่าง ๆ หลายครั้ง การเตรียมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยได้คืบหน้าเป็นลำดับ
25 กันยายน 2541 มีการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงขึ้น และรัฐบาลก็ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการเตรียมการในเบื้องต้น ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2539 และในปี 2541 นี้ พระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณไร่ม่อนดินแดง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ประมาณ 700 ไร่ให้มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงอีกแห่งหนึ่งด้วย การจัดสรรงบประมาณเพื่อการก่อสร้างที่ทำการถาวร ณ บริเวณดอยแง่ม อำเภอเมืองเชียงราย ในปีงบประมาณ 2542 เป็นต้นมา
7 มิถุนายน 2542 เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกของมหาวิทยาลัย โดยเปิดรับ 2 สาขา คือ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
3 กุมภาพันธ์ 2547 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชโปรดให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พิธีเปิดศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธร และพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2545 ซึ่งเป็นบัณฑิตรุ่นแรกของมหาวิทยาลัย
6 พฤษภาคม 2547 โครงการก่อสร้างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงที่แล้วเสร็จสมบูรณ์ตามแผนแม่บทกายภาพระยะที่ 1 ตั้งแต่พระราชบัญญัติประกาศใช้ จวบจนปี พ.ศ. 2547 ของการดำเนินภารกิจของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงในด้านการผลิตบัณฑิต ด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]
-
ตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ว.
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย -
ดอกลำดวน
ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย
ตราประจำมหาวิทยาลัย[แก้]
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้มีพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยย่อ ส.ว. ประกอบเป็นตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและเป็นสิริมงคลแก่มหาวิทยาลัย โดยตราสัญลักษณ์ดังกล่าวมีเลข ๘ และเลข ๙ ประกอบอยู่ด้วย โดยมีความหมายถึง เป็นพระราชชนนีของพระมหากษัตริย์ 2 พระองค์ คือ รัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 และได้อัญเชิญฉัตร 7 ชั้นมาเป็นเครื่องหมายประกอบพระเกียรติยศของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีดอกลำดวนและใบไม้ประดับอันแสดงถึงความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยที่จะสนองพระราชปณิธานปลูกป่าและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยไม่หยุดยั้ง
ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]
สีประจำมหาวิทยาลัย[แก้]
- แดง ███ หมายถึง สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
- ทอง ███ หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของมหาวิทยาลัยอย่างไม่มีขอบเขต
เพลงประจำมหาวิทยาลัย[แก้]
|
|
ลายตุงประจำมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง[แก้]
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้นำแถบประดับดอยตุง อันเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะ และความเป็นสิริมงคลอันสูงยิ่งมาประดับไว้ที่แถบครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยในแถบตุงประกอบด้วยลายปราสาท หมายถึง สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
- ลายหนู หมายถึง ปีประสูติของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. 2443
- ลายพญานาค หมายถึง สัตว์ที่ปรากฏในศิลปวัฒนธรรมล้านนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตามตำนานกล่าวถึงว่าเป็นสัตว์ที่พิทักษ์พระพุทธศาสนา
- ลายเสือ หมายถึง ปีก่อตั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งตรงกับปีขาล พ.ศ. 2541
การบริหารงาน[แก้]
นายกสภา[แก้]
นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงมีนายกสภามหาวิทยาลัย ดังรายนามต่อไปนี้
ทำเนียบนายกสภามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง | ||
---|---|---|
รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย | วาระการดำรงตำแหน่ง
| |
1. นายประจวบ ไชยสาส์น |
11 พฤศจิกายน 2541 - 21 มิถุนายน 2543 | |
2. พลตำรวจเอก เภา สารสิน |
22 มิถุนายน 2543 - 21 มิถุนายน 2545 22 มิถุนายน 2545 - 21 มิถุนายน 2547 22 มิถุนายน 2547 - 21 มิถุนายน 2549 22 มิถุนายน 2549 – 27 พฤศจิกายน 2551 28 พฤศจิกายน 2551 – 27 พฤศจิกายน 2553 28 พฤศจิกายน 2553 – 6 มีนาคม 2556 | |
3. พลเอก สำเภา ชูศรี |
26 มิถุนายน 2556 - 7 ตุลาคม 2558 8 ตุลาคม 2558 - 26 กุมภาพันธ์ 2561 27 กุมภาพันธ์ 2561 - 5 มีนาคม 2563 | |
4. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วันชัย ศิริชนะ |
15 มิถุนายน 2563 – ปัจจุบัน[8] |
อธิการบดี[แก้]
นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงมีอธิการบดี ดังรายนามต่อไปนี้
ทำเนียบอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง | ||
รายนามอธิการบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง
| |
---|---|---|
1. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วันชัย ศิริชนะ |
2 ตุลาคม พ.ศ. 2544 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 | |
2. รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.เทอด เทศประทีป |
2 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2554 | |
1. (ครั้งที่ 2) ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วันชัย ศิริชนะ |
1 เมษายน พ.ศ. 2554 - 28 เมษายน พ.ศ. 2562 | |
3. รองศาสตราจารย์ ดร.ชยาพร วัฒนศิริ |
29 เมษายน พ.ศ. 2562 - 28 เมษายน พ.ศ. 2566[9] | |
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัชฌิมา นราดิศร | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2566[10] - ปัจจุบัน |
การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย[แก้]
มหาวิทยาลัยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางในการเรียนการสอน ดังนั้นผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาควรมีความรู้พื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจัดการเรียนการสอนทั้งหมด 15 สำนักวิชา สามารถอำนวยการสอนได้ 38 หลักสูตร 77 สาขาวิชาดังนี้
- ระดับปริญญาตรี 38 สาขา
- ระดับปริญญาโท 25 สาขา
- ระดับปริญญาเอก 15 สาขา
ปัจจุบันประกอบด้วยส่วนงานทางวิชาการ ที่จัดการเรียนการสอนดังนี้
สำนักวิชากลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[แก้]
สำนักวิชากลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ[แก้]
|
สำนักวิชากลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์[แก้]สำนักวิชาระดับบัณฑิตศึกษา[แก้]
|
การก่อตั้งสำนักวิชา[แก้]
หลักสูตรในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก มีหลักสูตรที่เปิดสอนในแต่ละสำนักวิชาทั้งหมด 75 หลักสูตรโดยจะมีการแบ่งหลักสูตรออกเป็น หลักสูตรภาคปกติ หลักสูตรภาคพิเศษ หลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรต่อเนื่อง และหลักสูตรสาขาวิชาร่วม โดยแต่ละสำนักวิชาจะเป็นผู้กำหนดรายวิชาในแต่ละสาขาวิชาที่เปิดสอน
พ.ศ. | สำนักวิชา |
---|---|
2542 |
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ • สำนักวิชาศิลปศาสตร์ • สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ • สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร |
อันดับและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย[แก้]
อันดับมหาวิทยาลัย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อันดับในประเทศ(อันดับนานาชาติ) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สถาบันที่จัด | อันดับ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
URAP (2021-2022) | 13(1,881) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
UI Green Metric (2021) | 7(113) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
U.S. News (2022) | 12(-) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
CWUR (2021-2022) | 10(1,749) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
QS (Asia) (2022) | 12(451-500) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Webometrics (2022) | 19(2,193) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
SIR (2022) | 10(685) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
THE (Asia) (2022) | 2(134) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
THE (World) (2022) | 2(601-800) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
THE (Young) (2022) | 1(151-200) |
การประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัย[แก้]
การประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัยโดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จากการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยตาม "โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย" พ.ศ. 2549 โดยในภาพรวมผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยกลุ่มดัชนีชี้วัดด้านการเรียนการสอน และกลุ่มดัชนีชี้วัดด้านการวิจัย ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้รับการจัดอันดับอยู่ในกลุ่ม ดีมาก ทั้งการเรียนการสอน และการวิจัย[11]
อันดับมหาวิทยาลัย[แก้]
นอกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานในประเทศไทยแล้ว ยังมีหน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีเกณฑ์การจัดอันดับและการให้คะแนนที่แตกต่างกัน ได้แก่
การจัดอันดับโดย University Ranking by Academic Performance[แก้]
อันดับที่จัดโดย University Ranking by Academic Performance หรือ URAP ประจำปี พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 13 ของประเทศไทย และอันดับ 1,881 ของโลก โดยมีพื้นฐานทางด้านวิชาการตรงตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คุณภาพและปริมาณของบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ บทความวิจัย การเผยแพร่ และการอ้างอิง[12]
การจัดอันดับโดย UI Green Metric World University Ranking[แก้]
เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวที่จัดโดยมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ประจำปี พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 7 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 113 ของโลก[13]
การจัดอันดับโดย U.S. News & World Report[แก้]
U.S. News & World Report นิตยสารการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับมากที่สุดของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกล่าสุด “Best Global Universities Rankings 2022” จากการสำรวจมหาวิทยาลัย 60 ประเทศทั่วโลก และมีเกณฑ์จัดอันดับหลายด้าน เช่น ชื่อเสียงการวิจัยในระดับโลก และระดับภูมิภาค สื่อสิ่งพิมพ์ การถูกนำไปอ้างอิง ความร่วมมือระหว่างประเทศ จำนวนบุคลากรระดับปริญญาเอก เป็นต้น โดยในปี พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ถูกจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 12 ของประเทศไทย และอันดับที่ - ของโลก[14]
การจัดอันดับโดย Center for World University Rankings[แก้]
การจัดอันดับโดย Center for World University Rankings หรือ CWUR ที่มีเกณฑ์การจัดอันดับคือ คุณภาพงานวิจัย ศิษย์เก่าที่จบไป คุณภาพการศึกษา คุณภาพของอาจารย์ และสาขาวิชาต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 10 ของประเทศไทย และอยู่ในอันดับที่ 1,749 ของโลก[15]
การจัดอันดับโดย Quacquarelli Symonds[แก้]
แควกเควเรลลี ไซมอนด์ส หรือ QS จัดอันดับมหาวิทยาลัยในสองส่วน คือ การจัดอันดับเป็นระดับโลก (QS World University Rankings) และระดับทวีปเอเชีย(QS University Rankings: Asia) มีระเบียบวิธีจัดอันดับ ดังนี้
QS Asia
- ชื่อเสียงทางวิชาการ (30 เปอร์เซนต์) เป้าหมายของตัวชี้วัดนี้เพื่อจะบอกว่ามหาวิทยาลัยใดมีชื่อเสียงในในระดับนานาชาติ
- การสำรวจผู้จ้างงาน (20 เปอร์เซนต์)
- อัตราส่วนของคณะต่อนักศึกษา (15 เปอร์เซนต์) วัดจากอัตราส่วนของบุคลากรทางการศึกษาต่อจำนวนนักศึกษา และการติดต่อและให้การสนับสนุนของบุคลากรที่มีต่อนักศึกษา
- การอ้างอิงในรายงาน (10 เปอร์เซนต์) และผลงานของสำนักวิชา (10 เปอร์เซนต์) เป็นการรวมทั้งงานที่อ้างอิงใน scopus และการตีพิมพ์ผลงานโดยสำนักวิชานั้น ๆ เอง
- บุคลากรระดับดุษฎีบัณฑิต (5 เปอร์เซนต์)
- สัดส่วนคณะที่เป็นหลักสูตรนานาชาติ (2.5 เปอร์เซนต์) และนักศึกษาต่างชาติ (2.5 เปอร์เซนต์)
- สัดส่วนของรับนักศึกษาและเปลี่ยนที่เข้ามาศึกษา (2.5 เปอร์เซนต์) และการส่งนักศึกษาออกไปแลกเปลี่ยน (2.5 เปอร์เซนต์)
ในปี พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 12 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 451-500 ของเอเชีย[16]
การจัดอันดับโดย Webometrics[แก้]
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของเว็บโอเมตริกซ์ จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก อันดับ Webometrics จะบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ของสถาบัน โดยพิจารณาจากจำนวน Link ที่เชื่อมโยงเข้าสู่เว็บนั้น ๆ จากเว็บภายนอกโดยวัดจากการสืบค้นด้วยSearch Engine และนับจำนวนเอกสารตีพิมพ์ออนไลน์ในกลุ่มของไฟล์ .pdf .ps .ppt และ .doc และจำนวนเอกสารที่มีการอ้างอิง (Citation) แบบออนไลน์ผ่านกูเกิลสกอลาร์ (Google Scholar) โดยการจัดอันดับในปี2022 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 19 ของประเทศไทย และอยู่ในอันดับที่ 2,193 ของโลก[17]
การจัดอันดับโดย SCImago Institutions Ranking[แก้]
อันดับมหาวิทยาลัยโดย SCImago Institutions Ranking หรือ SIR ซึ่งเป็นการจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ซึ่งจะไม่ใด้นับเฉพาะมหาวิทยาลัย แต่จะนับสถาบันเฉพาะทางด้วย เช่น สถาบันเทคโนโลยี ในปี พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 685 ของโลก และเป็นอันดับ 10 ของประเทศไทย[18]
การจัดอันดับโดย The Times Higher Education[แก้]
การจัดอันดับโดย The Times Higher Education 2023 หรือ THE ที่จัดอันดับ มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก มีเกณฑ์การจัดอันดับในด้าน คุณภาพการสอน สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน คุณภาพงานวิจัย ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียงของงานวิจัย การอ้างอิงในงานวิจัย การนำงานวิจัยของสถาบันไปใช้อ้างอิง ความเป็นนานาชาติ และ รายได้ทางอุตสาหกรรม ใน พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ช่วงอันดับที่ 801-1,000 และเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย[19]
การจัดอันดับ Young University Rankings 2022 โดย The Times Higher Education หรือ THE ที่จัดอันดับ มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ซึ่งมีเกณฑ์การพิจารณามหาวิทยาลัยที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปีทั่วโลกจากตัวชี้วัดผลการดำเนินงานใน 5 ด้านได้แก่ การเรียนการสอน (Teaching 30%) การวิจัย (Research 30%) การอ้างอิงผลงานวิชาการ (Citation 30%) รายได้จากอุตสาหกรรม (Industry Income 2.5%) และความเป็นนานาชาติ (International Outlook 7.5%) ใน พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ช่วงอันดับที่ 201-250 และเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย[20]
สถาบันวิจัย[แก้]
สถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มุ่งหวังที่จะพัฒนางานวิจัยให้มีความเข็มแข็ง มีทิศทางที่ชัดเจน และเป็นการผลักดันมหาวิทยาลัยให้ก้าวสู่การแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติต่อไป จึงให้มีการสนับสนุนการรวมกลุ่มของนักวิจัย โดยมีนักวิจัยอาวุโสทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงหรือหัวหน้าทีม เพื่อการผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพหรืองานนวัตกรรมที่มีผลกระทบเชิงสังคมหรือการพัฒนาอุตสาหกรรม ทั้งนี้ การรวมกลุ่มวิจัยนี้จัดแบ่งเป็นระดับ คือ ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศ กลุ่มวิจัย หน่วยวิจัย ดังนี้ [21]
- ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านการวิจัยเชื้อรา
- ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
- ศูนย์นวัตกรรมสมุนไพรครบวงจร
- ศูนย์ความเป็นเลิศการวิจัยด้านโลจิสติกส์และเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
- ศูนย์ความเป็นเลิศการวิจัยสุขภาพชนชาติพันธุ์
- กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีเครื่องสำอางสีเขียว
- กลุ่มวิจัยเครื่องสำอางสมุนไพรและเวชสำอาง
- กลุ่มวิจัยวัสดุเพื่อพลังงานและสิ่งแวดล้อม
- หน่วยวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
- หน่วยวิจัยจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารมนุษย์เพื่อสุขภาพ
- ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่
- สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์
- สถาบันชาและกาแฟ
การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อ[แก้]
ระดับประกาศนียบัตร[แก้]
หลักสูตรระดับประกาศนียบัตร เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาบุคคลให้มีความชำนาญในสาขาวิชาเฉพาะ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนางานในสาขาวิชาชีพ นั้น ๆ การศึกษาระดับประกาศนียบัตรจะต้องศึกษากระบวนวิชาระดับประกาศนียบัตร มีหน่วยกิตรวม ตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
ระดับปริญญาตรี[แก้]
หลักสูตรในระดับปริญญาตรี มีหลักสูตรที่เปิดสอนในแต่ละสำนักวิชาทั้งหมดประมาณ 38 หลักสูตรโดยจะมีการแบ่งหลักสูตรออกเป็น หลักสูตรภาคปกติ และหลักสูตรภาคพิเศษ โดยแต่ละสำนักวิชาจะเป็นผู้กำหนดรายวิชาในแต่ละสาขาที่เปิดสอนเอง
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีในระบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- โครงการพิเศษ
โครงการรับตรงสำนักวิชา โครงการเครือข่ายครูแนะแนว โครงการส่งเสริมเด็กดีมีที่เรียน โครงการรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษเน้นภาษาอังกฤษ โครงการทุนการศึกษาสิงห์ปาร์คเชียงราย โครงการรับผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยและจบจากต่างประเทศหรือเทียบเท่า โครงการรับนักเรียนผู้พิการเข้าศึกษา โครงการพิเศษเพื่อนักเรียนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้
- การสอบคัดเลือกนักเรียนในเขตพัฒนาภาคเหนือ
โดยจะรับคัดเลือกแต่นักเรียนที่เรียนอยู่ในเขตพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ เป็นเวลา 3 ปี
- ระบบ Admission กลาง
โดยผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกต้องผ่านกระบวนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) การทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) และการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (PAT) โดยจะนำผลการทดสอบดังกล่าวมาเลือกคณะและสาขาวิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยได้ตามความต้องการโดยผ่านทางการคัดเลือกของสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.)
ระดับปริญญาโท[แก้]
หลักสูตรระดับปริญญาโท แบ่งเป็น 2 แผน คือ แผน ก และแผน ข ดังนี้
- แผน ก แบบ ก 1 หมายถึง การเรียนที่มีเพียงการทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว มีหน่วยกิตสะสมไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และจะต้องทำกิจกรรมทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ อาจมีการเรียนกระบวนวิชาเพิ่มเติมได้โดยไม่นับหน่วยกิตสะสม
- แผน ก แบบ ก 2 หมายถึง การเรียนที่เป็นลักษณะของการศึกษากระบวนวิชาระดับบัณฑิตศึกษาไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต หน่วยกิตสะสมเป็นไปตามโครงสร้างหลักสูตรของสาขาวิชา
- แผน ข หมายถึง การศึกษากระบวนวิชาระดับบัณฑิตศึกษา และทำการค้นคว้าแบบอิสระไม่น้อยกว่า 3-6 หน่วยกิต
มีการสอบคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ โดยทางมหาวิทยาลัยจะดำเนินการจัดสอบเอง
ระดับปริญญาเอก[แก้]
หลักสูตรระดับปริญญาเอก แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
แบบ 1 เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัย ที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ แยกเป็น แบบ 1.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต แบบ 1.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยม) ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต
แบบ 2 เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูง และก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ และวิชาชีพ และศึกษากระบวนวิชาเพิ่มเติม แยกเป็น แบบ 2.1 สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และศึกษากระบวนวิชาระดับบัณฑิตศึกษาไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต แบบ 2.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และศึกษากระบวนวิชาระดับบัณฑิตศึกษาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
พื้นที่ของมหาวิทยาลัย[แก้]

พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี[แก้]
วัตถุประสงค์ของการจัดสร้างเนื่องจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีพระราชปณิธาณอันแน่วแน่ที่จะ " ปลูกป่า สร้างคน[22] " เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้ด้อยโอกาสรวมทั้งการธำรง ไว้ซึ่งประเพณีและศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามของชิติพันธุ์ต่าง ๆ ในภาคเหนือ และภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนบน รัฐบาลจึงได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงขึ้นในจังหวัดเชียงรายเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความจงรักภักดีของปวงชนชาวไทยที่มีต่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และให้สถาบันแห่งนี้เป็นแหล่งสืบสานพระราชปณิธานของพระองค์ต่อไป
ศูนย์บริการวิชาการ[แก้]
หน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงมีสถานะเทียบเท่าสำนักวิชา มีพันธกิจเพื่อนำองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยไปเผยแพร่ ถ่ายทอดเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่สังคม ชุมชน ผ่านกระบวนการฝึกอบรม สัมมนา ประชุม การบริการต่างๆ โดยศูนย์บริการวิชาการมีผลงานการให้บริการวิชาการทั้งโครงการบริการวิชาการจากสำนักวิชาต่าง ๆ อาทิ โครงการอบรมแปรรูปอาหารเพื่อเสริมอาชีพ โครงการตรวจรักษาโรคเคลื่อนที่ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการทำขนมเบอเกอรี่แก่ผู้ต้องหาหญิงใกล้พ้นโทษ โครงการส่งเสริมการเรียนรู้แก่เยาวชน โครงการศิลปะการพูด เป็นต้น นอกจากนี้ ศูนย์บริการวิชาการยังดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมชุมชนอีกมากมาย อาทิ โครงการพัฒนาครูชนบทในพื้นที่ห่างไกล โครงการพัฒนาห้องสมุดตำรวจตระเวนชายแดน โครงการพัฒนาศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
ศูนย์บริการวิชาการยังเป็นหน่วยงานกลางในการประสานงานด้านการจัดฝึกอบรม ศึกษาดูงาน และพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งภายในและภายนอกจังหวัดเชียงราย อาทิ โครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของข้าราชการชายแดนใต้ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) โครงการพัฒนาศักยภาพของข้าราชการ หลักสูตร ยุทธศาสตร์การทำงานให้มีประสิทธิภาพ เป็นต้น
ปัจจุบัน ศูนย์บริการวิชาการบริหารดำเนินงานภายใต้การนำของอาจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ยอดสุวรรณ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ มีการแบ่งฝ่ายงานออกเป็น 5 ฝ่าย คือ ฝ่ายเลขานุการและธุรการ ฝ่ายบริการวิชาการ ฝ่ายพัฒนาโครงการและการตลาด ฝ่ายส่งเสริมกิจกรรมพิเศษ และฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์
สอบถามรายละเอียดหรือต้องการการบริการวิชาการที่มีคุณภาพ ติดต่อที่ ศูนย์บริการวิชาการ โทรศัพท์ 05391 7897 ต่อ 8030 โทรสาร 05391 6384

ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธร และสถาบันขงจื่อ[แก้]
เมื่อเดือนมีนาคม พุทธศักราช 2542 นายประจวบ ไชยสาส์น รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ศิริชนะ ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เดินทางไปเยี่ยมเยือนและแสวงหาความร่วมมือด้านการศึกษากับรัฐบาลประเทศจีน และมหาวิทยาลัยในประเทศจีน
ในการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นครั้งนี้ คณะรัฐบาลประเทศไทยเสนอให้รัฐบาลประเทศจีนจัดตั้ง ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีน ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ครบรอบ 100 ปี ในปี พุทธศักราช 2543
รัฐบาลจีนได้ให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีน ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยยินดีให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่า และยังสนับสนุนจัดหาอุปกรณ์ในการเรียนการสอนพร้อมหนังสือตำรา เอกสารประกอบการสอนต่าง ๆ เพื่อให้มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงใช้ในการเรียนการสอนภาษาจีนอย่างมีประสิทธิภาพ
ระหว่างวันที่ 7 ถึง 27 สิงหาคม พุทธศักราช 2543 รัฐบาลจีนได้ส่งคณะศึกษา และสำรวจพื้นที่ก่อสร้าง ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนจากสถาบัน China Southwest Architectural Design and Research Institute เพื่อให้มาทำการสำรวจและออกแบบการก่อสร้างอาคารศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีน ซึ่งหัวหน้าคณะที่มาดำเนินการเรื่องนี้ คือนายเฉิน ไค เม่ย (Mr. Chen Kai Mei) และคณะ ได้มาปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง ประมาณ 20 วัน เพื่อสำรวจพื้นที่และออกแบบอาคาร
การก่อสร้าง ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีน ได้ยึดเอาศิลปะและสถาปัตยกรรมแบบ ซูโจว เป็นโครงสร้างของอาคาร โดยมีกำแพงล้อมรอบตัวอาคารทั้งหมดสี่ด้าน ภายในประกอบด้วยสวนหิน และสระบัว ศาลาดูปลา ที่สร้างตามแบบดั้งเดิมของจีน การก่อสร้างศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนแห่งนี้ ได้นำเอาวัสดุการก่อสร้างที่สำคัญบางส่วนมาจากประเทศจีน เช่น ปูนปั้นมังกร หลังคา ครอบเชิงชาย สิงโตคู่ บัวเสา ตลอดจนรูปแบบศิลปะแบบจีน ประตูวงพระจันทร์ หน้าต่างหกเหลี่ยม ประตูและหน้าต่างลวดลายจีน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีน เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พุทธศักราช 2543
พิธีเปิดการก่อสร้างอาคารศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีน เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2544 โดย ฯพณฯ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ร่วมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัย พิธีมอบอาคารศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีน เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พุทธศักราช 2545 โดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นผู้รับมอบจากเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย มหาวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ เมื่อวันที่ 27 มกราคม พุทธศักราช 2546 เพื่อทรงเยี่ยมมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และทอดพระเนตรความก้าวหน้าของศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีน
พระราชทานลายพระหัตถ์พระนามาภิไธยภาษาจีน พระราชทานไว้ให้แก่ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีน นับเป็นสิ่งพระราชทานที่ทรงคุณค่ายิ่ง ในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 48 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานนามศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนว่า “ ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธร ” ตามหนังสือที่ รล 008/2300 ลงวันที่ 24 เมษายน พุทธศักราช 2546 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และประชาชนทั่วไปเป็นล้นพ้นหาที่สุดมิได้
สถาบันขงจื่อแห่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นหน่วยงานสนับสนุนและให้บริการวิชาการด้านภาษาและวัฒนธรรมจีน มีการจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงคำสอน และคุณงามความดีของขงจื่อ นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของจีน รวมถึงการเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา อีกทั้งยังเป็นการสานสัมพันธ์มิตรภาพอันดีงามระหว่างไทยกับจีน มากไปกว่านั้นทางสถาบันได้มีพันธกิจร่วมกับศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาจีนในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องให้กับนักศึกษา และบุคคลทั่วไป ตลอดจนจัดการแข่งขันเกี่ยวกับความรู้ภาษาจีน
ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง[แก้]
เป็นสถานที่จำหน่ายหนังสือและเครื่องแบบนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีสินค้าให้เลือกมากมาย อาทิ ของชำร่วยที่มหาวิทยาลัยจัดทำขึ้นในโอกาสพิเศษต่าง ๆ โปสการ์ดที่เป็นรูปอาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัย เป็นต้น
พื้นที่การศึกษา[แก้]
กลุ่มอาคารของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง แบ่งได้ดังต่อไปนี้[23]
- อาคารเรียนรวม C1 - ห้องเรียน, สำนักงานบัณฑิตศึกษา, หน่วยจัดการสารสนเทศ
- อาคารเรียนรวม C2 - ห้องเรียน
- อาคารเรียนรวม C3 - ห้องเรียน
- อาคาร C4 - (หอประชุมสมเด็จย่า)
- อาคารเรียนรวม C5 - (อาคารพลตำรวจเอกเภา สารสิน) - ห้องเรียน, โรงอาหาร, ร้านกาแฟ
- อาคารปฏิบัติการ S1 - ห้องปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, ห้องปฏิบัติการด้านคอมพิวเตอร์
- อาคารปฏิบัติการ S2 - ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ห้องปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์, ห้องปฏิบัติการด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช, ห้องเครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบขั้นสูง, สถาบันชาและกาแฟ, โรงอาหาร
- อาคารปฏิบัติการ S3 - ห้องปฏิบัติการด้านฟิสิกส์, ห้องปฏิบัติการด้านวิชาวิทยาศาสตร์, ห้องปฏิบัติการด้านชีววิทยา, ห้องปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ, ห้องปฏิบัติการด้านจุลชีววิทยา, ห้องปฏิบัติการด้านอนูชีววิทยา, ห้องปฏิบัติการด้านพันธุศาสตร์, ห้องปฏิบัติการด้านวิชาเคมีต่าง ๆ, ห้องปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง
- อาคารปฏิบัติการ S4 - ห้องปฏิบัติการด้านวิศวกรรมวัสดุ, ห้องปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร, ห้องปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและการบรรจุภัณฑ์, โรงน้ำดื่มลานดาว
- อาคารปฏิบัติการ S5 - ส่วนอาคารสถานที่
- อาคารปฏิบัติการ S6 - ห้องปฏิบัติการด้านเภสัชกรรมแผนไทย, ห้องปฏิบัติการด้านกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา
- อาคารปฏิบัติการ S7A - ห้องเรียน, ห้องปฏิบัติการด้านมัลติมิเดียและการสร้างภาพเคลื่อนไหว, ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านการวิจัยเชื้อรา
- อาคารปฏิบัติการ S7B - ศูนย์การเรียนรู้ภาษาด้วยตนเอง (SALLC), ศูนย์ความเป็นเลิศด้านปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีก่อกำเนิด (AIE)
- อาคารสำนักวิชา E1 - สำนักวิชาจีนวิทยา ชั้น1, สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ชั้น2, สำนักวิชาการจัดการ ชั้น3, สำนักวิชานวัตกรรมสังคม ชั้น4, โรงอาหาร, ตู้เอทีเอ็ม (ธนาคารออมสิน)
- อาคารสำนักวิชา E2 - สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ชั้น1, สำนักวิชานิติศาสตร์ ชั้น2, สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ ชั้น3, โครงการจัดตั้งความร่วมมือทางวิชาการฝรั่งเศส-อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ชั้น 4, ห้องเรียน ชั้น G สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์และนักศึกษาผู้ช่วยพยาบาล, โรงอาหาร, ร้านจำหน่ายเครื่องเขียนและถ่ายเอกสาร, ร้านสะดวกซื้อ 7-11, ตู้เอทีเอ็ม (ธนาคารกรุงไทย)
- อาคารสำนักวิชา E3A - โรงจอดรถชั้น 1, สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร ชั้น 2, สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้น 3, สำนักวิชาการแพทย์บูรณาการ ชั้น 4, สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้น 5
- อาคารสำนักวิชา E3A - ห้องเรียนชั้น 1, สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ชั้น 2-3, ห้องประชุมชั้น 4
- อาคาร E4 (อาคารพลตำรวจสำเภา ชูศรี) - ห้องเรียน, ศูนย์บริการวิชาการ, สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาวิชาการ (Aedo), ร้านนมไทยเดนมาร์ค, อาคารจอดรถ
- อาคาร M3 (อาคารปรีคลินิก) - สำนักวิชาแพทยศาสตร์, ห้องปฏิบัติการสำหรับนักศึกษาแพทยศาสตร์, ห้องปฏิบัติการสำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์, ห้องปฏิบัติการด้านวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ, ห้องเรียน
- กลุ่มอาคาร M-Square ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
- อาคาร E-Park - ชั้น 1 โรงอาหาร, ชั้น 2 ศูนย์หนังสือ M-Store, ร้านกาแฟอเมซอน, ร้านกาแฟคอฟฟี่ปริ้น, ร้านสะดวกซื้อ 7-11, ห้องเรียน, ชั้น 3 ธนาคารออมสิน สาขามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, U-Store สาขามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, เชียงรายเทคโนคอม, บริษัทต่อประกันภัยและพรบ.รถ, สมาคมศิษย์เก่านักศึกษา มฟล., ห้องปฏิบัติการทางด้านสาขาวิชาเทคโนโลยีความงาม, ชั้น 4 Mock Up Room สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน และสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการ (เน้นการบริหารการโรงแรม อาหารและเครื่องดื่ม, ชั้น 5 ส่วนพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และห้องประชุมและสัมมนา
- อาคาร I- Park - ชั้น 1 ไปรษณีย์ไทย และไปรษณีย์มหาวิทยาลัย, ส่วนจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม
- อาคาร L - Park - ตู้เอทีเอ็ม (ธนาคาร กรุงเทพ,กรุงไทย,ไทยพาณิชย์,กสิกรไทย,กรุงศรีอยุธยา), ร้านถ่ายเอกสารและจำหน่ายเครื่องเขียน, ร้าน Singha Park Cafe MFU, ร้านเครื่องสำอาง, ร้านไอศกรีม อาหาร และเครื่องดื่ม, ร้านแว่นตาและตรวจวัดสายตา, ลานประดู่แดง (ลานชั้นบนสุด)
- อาคารกิจกรรมและโรงอาหาร D1 - ชั้น 1 ส่วนพัฒนานักศึกษา, หน่วยให้บริการสนับสนุนนักศึกษาพิเศษ MFU DSS, ฝ่ายทุนการศึกษา กยศ. กรอ., ฝ่ายกิจกรรมนักศึกษา, สำนักงานให้คำปรึกษาและช่วยเหลือนักศึกษา,ธนาคารกรุงเทพ สาขามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, องค์การบริหารองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, ร้านถ่ายเอกสาร/ ร้าน Print รูปภาพ, ร้านมินิมาร์ท, ร้านกาแฟมวลชน, ชั้น 2 โรงอาหาร, ตู้เอทีเอ็ม (ธนาคารกรุงเทพ และกรุงศรีอยุธยา), ชั้น 3 ห้องเรียน
- ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา (ห้องสมุด) - ห้องสมุด, ห้องบริการคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต, ห้องบริการห้องค้นคว้ากลุ่ม, ห้องอบรมคอมพิวเตอร์, ห้องคอมพิวเตอร์พร้อมโปรแกรมฝึกทักษะภาษาอังกฤษ (Ellis), Edutainment Zone บริการเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับชมภาพยนตร์แบบเดี่ยว (ไอแพด), ห้องบริการห้องมัลติมีเดียกลุ่ม
- กลุ่มหอพักหญิงโซน F1-F12, หอพักหญิงสักทอง, หอพักหญิงนานาชาติ, ร้านรับซักอบรีด, ร้านอาหาร, ร้านมินิมาร์ท
- กลุ่มหอพักชายโซน ลำดวน1-ลำดวน7, หอพักมะขามป้อม, โรงแรมวนาเวศน์, เรือนริมน้ำ(จำหน่ายอาหาร), โรงอาหารครัวลำดวน, ร้านกาแฟใต้ต้นไม้, ร้านสะดวกซื้อ 7-11, ร้านรับซักอบรีด, ศูนย์บริการรถไฟฟ้า เจมคาร์ (ต้นทาง)
- อาคารวันชัย ศิริชนะ (AD1) - สำนักงานอธิการบดี, ส่วนประชาสัมพันธ์, ส่วนสารบรรณ อำนวยการและนิติการ, ส่วนนโยบายและแผน, สำนักงานสภามหาวิทยาลัย, หน่วยตรวจสอบภายใน
- อาคารบริการวิชาการ (AS) - ชั้น 1 ส่วนทะเบียนและประมวลผล, ฝ่ายรับนักศึกษา, ส่วนจัดหางานและฝึกงานของนักศึกษา, ชั้น 2 ส่วนบริหารงานวิจัย, ห้องประชุม, ชั้น 3 ศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ, ชั้น 4 ส่วนประกันคุณภาพการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร, ศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
- อาคารบริหารกลาง (AD2) - ส่วนอาคารและสถานที่, ส่วนการเงินและบัญชี, ส่วนพัสดุ, ส่วนการเจ้าหน้าที่
- ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธร - ห้องเรียน, สถาบันขงจื่อ
- อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ (Stadium) Indoor - สนามบาสเกตบอล (Indoor), สนามเปตอง (ด้านหน้า), สนามบาสเกตบอล (ด้านหน้า), สถานที่ซ้อมมวยไทย (ชั้น 2), สถานที่ซ้อมเต้น (ผนังกระจก)
- อาคารศูนย์กีฬาอเนกประสงค์ - ฟิตเนส, สนามวอลเล่ย์บอล, สนามแบดมินตัน (Outdoor และ Indoor), สนามเทนนิส, ห้องเต้น, ห้องเรียนสำหรับนักศึกษาวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ
- สนามกีฬา (Outdoor) - สนามฟุตบอล, สนามลู่วิ่ง
- สระว่ายน้ำ
- พิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง
- สำนักงานโครงการสวนพฤกษศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา - สวนสมุนไพร
- โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง การแพทย์บูรณาการ (ภายในมหาวิทยาลัย)
- สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ (ภายนอกมหาวิทยาลัย) - คลินิกทันตกรรม, ห้องเรียนสำหรับนักศึกษาทันตแพทยศาสตร์, ห้องปฏิบัติการสำหรับนักศึกษาทันตแพทยศาสตร์, ห้องประชุม, ห้องสมุดสำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์
- โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สำนักวิชาแพทยศาสตร์ (ภายนอกมหาวิทยาลัย) -โรงพยาบาลขนาด 400 เตียง (ซึ่งจะขยายเป็น 800 เตียงในอนาคต), ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ในการจัดระบบบริการเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยและญาติ (Smart Hospital), ห้องผ่าตัดมาตรฐาน 20 ห้อง, ศูนย์วินิจฉัยและรักษาทางรังสีวิทยา, ห้องปฏิบัติการทางพยาธิวิทยา และเทคนิคการแพทย์ครบถ้วน, ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านต่าง ๆ
สถานที่สำคัญ[แก้]
- ลานดาว
- เป็นลานอเนกประสงค์กลางแจ้ง แนวคิดจากการวางผังแกนหลัก ซึ่งเป็นแกนเฉลิมพระเกียรติอันเป็นที่ตั้งของส่วนการบริหารและส่วนวิชาการ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับกึ่งกลางของมหาวิทยาลัย โดยมีพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีประดิษฐานอยู่ด้านหน้า รายล้อมด้วยกลุ่มอาคารวิชาการบริหารและวิชาการ ลานดาวมีความสวยงามของภูมิสถาปัตย์และไม้ดอกนานาพันธุ์ที่ปลูกประดับรายล้อมรอบ ๆ ทำให้เป็นจุดพักผ่อนออกกำลังกาย และจัดกิจกรรมต่าง ๆ
- วิหารพระเจ้าล้านทอง
- วิหารพระเจ้าล้านทองเฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ที่อยู่บนเนินเขาด้านข้างมหาวิทยาลัย ทางมหาวิทยาลัยได้จัดสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าล้านทองเฉลิมพระเกียรติฯ ใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนา ในโอกาสสำคัญ รวมทั้งเป็นสถานที่พักใจ ชำระจิตใจให้เข้าถึงธรรม พร้อมทั้งเป็นการอนุรักษ์ศิลปะการก่อสร้างวิหารโล่งแบบล้านนาแล้วยังเป็นสถานที่สวยงามและมีจุดชมวิวทิวทัศน์ของเทือกเขาซึ่งอยู่รอบ ๆ และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชาว มฟล ด้วยเช่นกัน
วิวทิวทัศน์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง - อุโมงค์ต้นไม้
- อุโมงค์ต้นไม้ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง คือบริเวณทางเข้าด้านหน้าของมหาวิทยาลัย เป็นบริเวณที่มีถนนรถวิ่งเข้าออกมหาวิทยาลัยโดยมีเลนจักรยานและเลนวิ่งให้คนมาออกกำลังกายได้ด้วย บรรยากาศสองข้างทางเรียกได้ว่าดีมาก เพราะเขียวไปด้วยต้นไม้สองข้างทางตลอดเส้นทาง แล้วต้นไม้ทั้งสองข้างทางยังโน้มเข้าหากันเป็นเหมือนอุโมงค์เป็นที่มาของชื่ออุโมงค์ต้นไม้ เส้นทางอุโมงค์ต้นไม้นี้ยาวประมาณ 1.5 กิโลเมตร
- อ่างเก็บน้ำมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- อ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของมหาวิทยาลัย ซึ่งอ่างเก็บน้ำนอกจากจะใช้กักเก็บน้ำเพื่อใช้ภายในมหาวิทยาลัยแล้วยังเป็นสถาที่สวยงามและที่พักผ่อนหย่อนใจของชาว มฟล ด้วยเช่นกัน
- หอพักนักศึกษา
- เมื่อได้เข้ามาเป็นนักศึกษาในรั้วของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ส่วนใหญ่คงจะคุ้นเคยกับการอยู่หอพักนักศึกษา เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยมีนโยบายที่ส่งเสริมให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกคน ได้เข้าพักในหอพักนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาต่างสำนักวิชารู้จักกัน และเป็นการฝึกให้นักศึกษาสามารถใช้ชีวิตร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข จำนวนหอพักในมหาวิทยาลัยมีทั้งหมด 18 อาคาร สามารถรองรับนักศึกษาได้กว่า 5,800 คน แบ่งออกเป็นหอพักนักศึกษาชาย 6 อาคารและหอพักนักศึกษาหญิง 12 อาคาร การจัดหอพักให้นักศึกษาโดยมีนโยบายให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกคนต้องอยู่ภายในหอพักของมหาวิทยาลัย เพื่อให้ได้พักอาศัย มีความปลอดภัย ได้รับความสะดวกสบาย ไม่ต้องเดินทางไกล อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาดเรียบร้อยและสวยงามเป็นธรรมชาติ มีความอบอุ่นเหมือนบ้าน เพื่อเปิดโอกาสนักศึกษาได้เรียนรู้และปรับตัวในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น สามารถปกครองและตัดสินใจด้วยตนเอง รวมถึงทำให้นักศึกษามีโอกาสร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ ภายใต้การดูแลของมหาวิทยาลัย โดยแต่ละหอพักจะมีผู้ปกครองหอพักเพื่อให้การดูแลและให้คำปรึกษาหอพักละ 1 คน มีพนักงานรักษาความปลอดภัย มีกล้องวงจรปิดทุกชั้นของอาคาร มีแม่บ้านทำความสะอาดภายในหอพัก และกรณีเจ็บป่วยจะมีเจ้าหน้าที่พยาบาลดูแล และมีบริการรับ-ส่งไปโรงพยาบาลในกรณีฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนั้นทางหอพักก็ได้ให้บริการและสวัสดิการต่าง ๆ ที่จัดให้ เช่น หนังสือพิมพ์ทั้งรายวันและรายสัปดาห์ โทรทัศน์ติด UBC ร้านซัก อบ รีด ร้านค้าสะดวกซื้อ เพื่อบริการแก่นักศึกษาทุกคน ทั้งนี้ นักศึกษาที่มีความประสงค์จะพักในหอพักมหาวิทยาลัยทั้ง 4 ปี ก็สามารถทำได้ โดยยื่นความจำนงที่สำนักงานหอพักนักศึกษาโดยตรง
- M Square
- M-Square อุทยานแห่งการเรียนรู้ โดยประกอบด้วยอาคาร 3 หลัง คือ Education Park หรือ E-Park , Innovation Park หรือ I-Park และ Lifestyle Park หรือ L-Park นอกจากนี้ยังใช้เป็นศูนย์ประชาสัมพันธ์ ในการต้อนรับผู้ที่เข้ามาติดต่อกับมหาวิทยาลัย ทั้งคณะศึกษาดูงานและนักท่องเที่ยว ทั้งนี้การจัดสร้าง M-Square มีเป้าประสงค์ 3 ด้าน คือจัดให้เป็นอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อุทยานบริการวิชาการ และอุทยานแห่งการใช้ชีวิต
- อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : I-Park ตอบโจทย์การถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งกับหน่วยงานภายในและภายนอก มุ่งหวังให้เป็น Coworking Space เปิดพื้นที่ให้บริการกับผู้ที่ต้องการแรงบันดาลใจ คำปรึกษา เทคโนโลยี ตลอดจนความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในการบ่มเพาะวิสาหกิจของมหาวิทยาลัย โดยเป็นที่ทำการของ “สำนักงานจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและพัฒนานวัตกรรม” (MFii) ที่เป็นทั้งแหล่งฝึกอบรมผู้ประกอบการ ศูนย์บริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจ ห้องปฏิบัติการนักศึกษาเอ็มบีเอ ศูนย์เรียนรู้ของนักศึกษาไอที และพร้อมเป็นพันธมิตรกับ Startup ที่ต้องการเติบโตอย่างมืออาชีพ
- อุทยานบริการวิชาการ : E-Park เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัย ประกอบไปด้วยห้องเรียน-ห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย เช่น MOCK-UP TRAINER หรือห้องโดยสารเครื่องบินจำลอง สำหรับฝึกปฏิบัติการนักศึกษาในสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน การจัดการอุตสาหกรรมการบริการ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ทั้งยังเป็นที่ตั้งของ “ศูนย์บริการวิชาการ” ที่เปรียบเป็นสื่อกลางในการสร้างสรรค์สังคมอุดมปัญญา โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัย ออกไปยังทุกภาคส่วนของสังคม โดยร่วมมือกับคณาจารย์ นักวิจัย และเจ้าหน้าที่ อีกทั้งยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ทั้งห้องประชุม-อบรม-สัมมนา เพื่อเปิดให้บริการแก่บุคคล-หน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้งในภาควิชาการและภาคปฏิบัติในแขนงวิชาต่างๆ โดยมีการจัดกิจกรรมต่อเนื่องตลอดปี ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ
- อุทยานแห่งการใช้ชีวิต : L-Park ถือเป็นศูนย์รวมการใช้ชีวิตแห่งใหม่ ที่พร้อมตอบสนองไลฟสไตล์ในรูปแบบต่างๆ ทั้งดื่ม-กิน ช้อปปิง และพักผ่อนหย่อนใจ โดยรวบรวมร้านค้าและสิ่งอำนวยความสะดวกไว้ในที่เดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นที่ทำการของธนาคารต่างๆ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านเสื้อผ้า ร้านสะดวกซื้อ สินค้าแฟชั่น สินค้าไอที และอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งยังเป็นที่ตั้งของศูนย์หนังสือ มฟล. โดยเปิดให้บริการทั้งนักศึกษา บุคลากร และประชาชนโดยรอบ นับเป็นจุดนัดหมายแห่งใหม่ของชาวมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- กาดในมอ
- กาดในมอ หรือ ถนนคนเดินมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นตลาดขายอาหาร เสื้อผ้าและสินค้าเบ็ดเตล็ด ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมของชาว มฟล เป็นอย่างมากซึ่งอยู่คู่มหาวิทยาลัยแห่งนี้มายาวนานหลายยุคสมัย และกาดในมอจะเปิดเฉพาะในพุธเท่านั้น ตั้งแต่ 16.30 - 21.00 น.
- ศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- ศูนย์กีฬากลางมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของมหาวิทยาลัย ซึ่งศูนย์กีฬาแห่งนี้ใช้สนับสนุนให้ชาว มฟล ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง มีสุขภาพจิตที่ดี รวมถึงจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
สนามกีฬากลางมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
กิจกรรมและประเพณี[แก้]
- กิจกรรม How to live and learn
จัดในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมของทุกปี เป็นกิจกรรมที่เตรียมความพร้อมการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย และบางส่วนต้องเข้าเรียนภาษาอังกฤษในหลักสูตรเร่งรัด เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษต่อไป และยังมีกิจกรรมต่าง ๆ อีกมากมายที่นักศึกษารุ่นพี่ได้เตรียมไว้ เพื่อต้อนรับน้องใหม่ อย่างเช่น กิจกรรมน้องใหม่ปลูกป่า น้องใหม่ใส่บาตร กิจกรรมจุดเทียนส่องใจ และกิจกรรมน้องใหม่ขึ้นดอย เป็นต้น ก่อนที่จะเข้าสู่การปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ และเริ่มต้นเข้าเรียนชั้นปี 1 พร้อมกันในวันเปิดภาคการศึกษา
- พิธีติดเข็มตราสัญลักษณ์และถวายสัตย์ปฏิญาณ
พิธีติดเข็มตราสัญลักษณ์และถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจัดในช่วงต้นเดือนกันยายน เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกคนเพื่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยปฏิบัติเป็นธรรมเนียมสืบต่อกันมารุ่นสู่รุ่น จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง
- กิจกรรมพี่น้องร่วมใจชิงธงสำนักวิชา
กิจกรรมพี่น้องร่วมใจชิงธงสำนักวิชา ถือเป็นประเพณีสำคัญที่ มฟล. ได้จัดขึ้นต่อเนื่องมายาวนาน โดยมุ่งหมายให้เป็นส่วนหนึ่งของการต้อนรับนักศึกษาใหม่อย่างสร้างสรรค์ และใช้เพลงมหาวิทยาลัยถ่ายทอดความภาคภูมิใจในการเป็นลูกแม่ฟ้าหลวงจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในแต่ละสำนักวิชาต้องร้องเพลงมหาวิทยาลัยให้ไพเราะพร้อมเพรียงจนสามารถพิชิตใจคณะกรรมการได้ จึงจะได้รับธงประจำสำนักวิชา ถือเป็นบททดสอบความรักและสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่เพียงแต่รุ่นน้อง แต่หมายรวมถึงนักศึกษารุ่นพี่ทั้ง 14 สำนักวิชา ในทุกกิจกรรมของมหาวิทยาลัยล้วนมีจุดมุ่งหมายที่จะแสดงออกถึงความจงรักและภักดี ที่มีต่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า โดยน้อมนำแนวพระราชปณิธานมาปรับใช้ และมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของเหล่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 รวมถึงสร้างความสัมพันธ์อันดีกับนักศึกษารุ่นพี่ อันจะนำไปสู่การใช้ชีวิตอย่างมีความสุขร่วมกันในรั้วมหาวิทยาลัย
- พิธีบายศรีสู่ขวัญและงานเลี้ยงขันโตก
พิธีบายศรีสู่ขวัญและงานเลี้ยงขันโตก ซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมแบบล้านนาในการให้เกียรติแก่แขกผู้มาเยือนหรือบุคคลสำคัญ โดยเป็นพิธีรับขวัญและผูกข้อมือน้องใหม่ โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกคนที่มาร่วมงานบายศรีสู่ขวัญจะใส่ชุดผ้าฝ้ายทั้งชายหญิงอันเป็นเอกลักษณ์ของ มฟล. ซึ่งนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มฟล. จะได้ใส่ชุดพื้นเมืองนี้มามหาวิทยาลัยในทุกวันศุกร์หรือในกิจกรรมพิเศษด้านศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ภายในงานก็จะมีการแสดงดนตรีโฟล์คซองคำเมือง จากวงดนตรีมหาวิทยาลัย MFU Band จากนั้นเข้าสู่พิธีบายศรีสู่ขวัญและพิธีเรียกขวัญ ตามความเชื่อของคนภาคเหนือที่จัดขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลโดยเฉพาะในช่วงยามที่เริ่มต้นในสิ่งใหม่ ๆ เช่นเดียวกับนักศึกษาใหม่ที่เพิ่งก้าวมาสู่รั้วมหาวิทยาลัย ทั้งนี้อธิการบดี ผู้บริหาร และคณาจารย์ได้ผูกข้อไม้ข้อมืออวยชัยให้พรแก่ดาวเดือนจากสำนักวิชาต่า งๆ ที่เป็นตัวแทนนักศึกษาให้โชคดีมีชัยในการเข้ามาศึกษาเล่าเรียนในรั้วแดงทองแห่งนี้ นอกจากนี้ยังมีการแสดงนาฏศิลป์แบบล้านนาเชียงรายให้นักศึกษาที่มาจากทั่วทุกภูมิภาคได้รับชม ซึ่งล้วนเป็นการแสดงที่อ้อนช้อยงดงาม เข้ากันบรรยากาศงานเลี้ยงขันโตกที่ได้ชิมอาหารเหนือขึ้นชื่อ ล้วนทำให้นักศึกษาใหม่ได้สัมผัสสนต์เสน่ห์เมืองเหนือและร่วมสืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของท้องถิ่นล้านนา อันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
- กิจกรรมการแข่งขันกีฬาลำดวนเกมส์
กีฬาภายในของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงที่จัดขึ้นเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาสำนักวิชาต่าง ๆ ซึ่งนอกจากการแข่งขันกีฬาแล้ว ยังมีจุดที่น่าสนใจที่สุดของงานก็คือ การแสดงสแตนเชียร์และผู้นำเชียร์ของสำนักวิชาต่าง ๆ โดยแต่ละสำนักวิชาจะทำการซักซ้อมมาเป็นอย่างดีในการเชียร์
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร[แก้]
Main Auditorium[แก้]
หอประชุมสมเด็จย่า หรืออาคารC4 เป็นห้องประชุมขนาด 2500 ที่นั่ง ใช้เป็นสถานที่รับพระราชทานปริญญาบัตร[24] แก่ผู้สำเร็จการศึกษา การแสดงนิทรรศการต่างๆ และยังใช้เป็นสถานที่ในการจัด In Honor of 175 years US-Thai Friendship[25] อีกด้วย
ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงในระดับบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตเป็นประจำทุกปี โดยพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจะเป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยในแต่ละปีการศึกษา โดยใช้หอประชุมสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เป็นสถานที่พระราชทานปริญญาบัตร
บุคคลที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัย[แก้]
- จารุณี สุขสวัสดิ์ หรือ คุณจารุณี เดส์แน็ช ดารานักแสดง : สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง)[26]
- เทอด เทศประทีป อธิการบดีคนที่ 2 ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- นายแพทย์ วาโย อัศวรุ่งเรือง แพทย์ นักร้อง นักแสดง และนักการเมืองชาวไทย : สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ)
- นันท์สินี นามวงศ์ นักร้อง ศิลปินสังกัดทรู แฟนเทเชีย : สำนักวิชาจีนวิทยา (ศิปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ)
- กรวิชญ์ สูงกิจบูลย์ จูเนียร์ เดอะสตาร์ นักร้อง นักแสดง ศิลปิน สังกัดเอ็กแซ็กท์ : สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและการสร้างภาพเคลื่อนไหว)
- ศุภณัฐ สุดจินดา ตอง MBO นักร้อง นักแสดง ศิลปิน สังกัด GMM GRAMMY : สำนักวิชาการจัดการ (บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว)
- รังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ : สำนักวิชาการจัดการ (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ)
- จิณณ์ณิตา บุดดี มิสไทยแลนด์เวิลด์ 2016 ผ่านเข้ารอบ 20 คนสุดท้าย Miss World 2016 : สำนักวิชาศิลปศาสตร์ (ศิปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ)
- กุลชญา ตันศิริ มิสทรานสตาร์ไทยแลนด์ 2018 มิสทรานสตาร์อินเตอร์เนชันแนล 2018 ที่สเปน และเดอะเฟซไทยแลนด์ ซีซัน 5 : สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง (วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง)
- ยุรนันท์ ภมรมนตรี เป็นอดีตนักแสดง พิธีกรรายการโทรทัศน์ นักร้อง : สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ)
- ชลิดา ตันติพิภพ นางสาวไทย พ.ศ. 2541 : สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ)
- อัฐริญญา อึ้งศิลป์ศรีกุล (อาหลี) นักแสดงสังกัดเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ : สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง (วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง)
- ไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) : สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ การกำหนดรหัสตัวพยัญชนะประจำกระทรวงและเลขที่หนังสือออกของ กระทรวงการอดุมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2564
- ↑ งบประมาณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปีการศึกษา 2565. [1]
- ↑ จำนวนอาจารย์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปีการศึกษา 2565. [2] เก็บถาวร 2022-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ จำนวนบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปีการศึกษา 2565. [3]
- ↑ จำนวนนักศึกษาที่มีสถานภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564. [4] เก็บถาวร 2022-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ข้อมูลวันที่ 1 กันยายน 2565
- ↑ "มฟล.กระหึ่มคว้า ม.สวยที่สุดในประเทศ พร้อมกวาดคะแนนอีก2โหวต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-21. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
- ↑ Melodorum fruticosum Lour.[ลิงก์เสีย]
- ↑ https://www.mfu.ac.th/news/news-detail/detail/News/6931.html
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/107/T_0003.PDF
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (นางสาวมัชฌิมา นราดิศร)
- ↑ "เปิด 50 อันดับมหาวิทยาลัยไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-18. สืบค้นเมื่อ 2021-08-21.
- ↑ URAP 2020-2021 URAP (2020-2021) สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2565
- ↑ http://greenmetric.ui.ac.id/detailranking2019/?univ=mfu.ac.th สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2565
- ↑ https://www.usnews.com/education/best-global-universities/thailand?page=2สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2565
- ↑ CWUR - World University Rankings 2020-21 CWUR - World University Rankings 2020-21 สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2565
- ↑ asian university rankings 2021 rankings asian university rankings 2021 สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2565
- ↑ http://www.webometrics.info/en/Asia/thailand สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2564
- ↑ Scimago Institutions Rankings 2021 Scimago Institutions Rankings 2020 สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2565
- ↑ World University Rankings 2023 | Times Higher Education (THE) สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2566
- ↑ https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/2022/young-university-rankings#!/page/0/length/25/sort_by/rank/sort_order/asc/cols/stats สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2565
- ↑ สถาบันวิจัยและนวัตกรรม มฟล.
- ↑ "พระราชกรณียกิจ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-09. สืบค้นเมื่อ 2008-07-05.
- ↑ "ส่วนงานอาคารและสถาที่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-05. สืบค้นเมื่อ 2008-07-05.
- ↑ "ข่าวประชาสัมพันธ์ เดือนกุมภาพันธ์ 2551". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-14. สืบค้นเมื่อ 2008-07-05.
- ↑ "June 23 English and Thai language Ask America webchat transcript". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-02. สืบค้นเมื่อ 2008-07-05.
- ↑ "เปิ้ล จารุณี"เข้ารับปริญญาป.โท วิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-02. สืบค้นเมื่อ 2008-03-01.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

- มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- สถาบันขงจื๊อมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เก็บถาวร 2008-01-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สถาบันการบริการสุขภาพศึกษา เก็บถาวร 2007-12-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- พิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง
- ชมรมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เก็บถาวร 2008-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Mae Fah Luang University
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 20°02′42″N 99°53′30″E / 20.044889°N 99.891537°E