มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
Logo nsru.png
ตราพระราชลัญจกร
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่อย่อมรนว. (NSRU)
คติพจน์การดำเนินชีวิตด้วยปัญญา เป็นชีวิตที่ประเสริฐที่สุด
ประเภทรัฐ
สถาปนา15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (18 ปี)
อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไชยรัตน์ ปราณี
นายกสภามหาวิทยาลัยสมเชาว์ เกษประทุม[1]
ที่ตั้ง
เว็บไซต์www.nsru.ac.th
ดูบทความหลักที่: มหาวิทยาลัยราชภัฏ

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (อังกฤษ: Nakhon Sawan Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เปิดทำการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตร ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

ประวัติ[แก้]

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2465 โดยมีชื่อเดิมว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูมูลกสิกรรม" ประจำมณฑลนครสวรรค์ โดยรับนักเรียนที่จบชั้นประถมปีที่ 4 มาเรียน 2 ปี ตามหลักสูตรกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) นักเรียนที่จบแล้วจะได้รับวุฒิครูมูล โดยมีนายสวัสดิ์ กัณหเนตร เป็นครูใหญ่ ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "ขุณกัณหเนตรศึกษากร"

ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการยุบไปรวมกับโรงเรียนฝึกหัดครูมูลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2477 ได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนประถมวิสามัญเกษตรกรรม ปี พ.ศ. 2498 จัดตั้งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูนครสวรรค์

ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 ได้ยกฐานะเป็น "วิทยาลัยครูนครสวรรค์" พร้อมกับเปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา และประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง และต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ได้ให้วิทยาลัยครูนครสวรรค์เปิดสอนได้จนถึงระดับปริญญาตรี ตาม พรบ.วิทยาลัยครู พ.ศ. 2518

ต่อมาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ได้รับพระราชทานนาม "ราชภัฎ" จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และได้รับการยกฐานะเป็น "สถาบันราชภัฏนครสวรรค์" มีการเปิดสอนจนถึงระดับปริญญาโท

และในปี พ.ศ. 2547 ได้ยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์" และเปิดสอนในระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก

คณะ[แก้]

คณะครุศาสตร์

  • หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.5 ปี) เปิดสอน 8 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

2.สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป

3.สาขาวิชาคณิตศาสตร์

4.สาขาวิชาอังกฤษ

5.สาขาวิชาภาษาไทย

6.สาขาวิชาสังคมศึกษา

7.สาขาวิชาพลศึกษา

8.สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการศึกษา

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.4 ปี) เปิดสอน 11 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

2.สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

3.สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย

4.สาขาวิชาคณิตศาสตร์

5.สาขาวิชาเคมี

6.สาขาวิชาชีววิทยา

7.สาขาวิชาฟิสิกส์

8.สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

9.สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

10.สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (แขนงวิชาสาธารณสุขชุมชน)

11.สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (แขนงวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย)

  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.4 ปี) เปิดสอน 1 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.4 ปี) เปิดสอน 6 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

2.สาขาวิชาภาษาไทย

3.สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน

4.สาชาวิชาประวัติศาสตร์

5.สาขาวิชาภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนา

6.สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ)

  • หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.4 ปี) เปิดสอน 2 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิชาดนตรี

2.สาขาวิชาศิลปกรรม

  • หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.4 ปี) เปิดสอน 3 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิชาการเมืองการปกครอง

2.สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น

3.สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

  • หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.4 ปี) เปิดสอน 1 สาขาวิชา คือ

1.นิติศาสตร์

  • หลักสูตรสำหรับชาวต่างประเทศ 外国人课程

คณะวิทยาการจัดการ

  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.4 ปี) เปิดสอน 2 วิชาเอก คือ

1.วิชาเอกการท่องเที่ยว

2.วิชาเอกการโรงแรม

  • หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.4 ปี) เปิดสอน 2 วิชาเอก คือ

1.วิชาเอกการประชาสัมพันธ์

2.วิชาเอกการสื่อสารมวลชน

  • หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.4 ปี) เปิดสอน 1 สาขาวิชา คือ

1.เศรษฐศาสตร์การเงิน

  • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.4 ปี) เปิดสอน 3 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิชาการตลาด

2.สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์

3.สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

  • หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.4 ปี) เปิดสอน 1 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิชาบัญชี

คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.4 ปี) เปิดสอน 4 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช)

2.สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์)

3.สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (แขนงวิชาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ)

4.สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

  • หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.4 ปี) เปิดสอน 2 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิชาการออกแบบ (แขนงวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์)

2.สาขาวิชาการออกแบบ (แขนงวิชาการออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก)

  • หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.4 ปี) เปิดสอน 2 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม (แขนงวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม)

2.สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม (แขนงวิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม)

  • หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.4 ปี) เปิดสอน 1 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

  • หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.2 ปี) ต่อเนื่อง เปิดสอน 1 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.4 ปี) เปิดสอน 3 สาขาวิชา คือ

1.สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต

2.สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน

3.สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม

บัณฑิตวิทยาลัย[แก้]

บัณฑิตวิทยาลัย ได้จัดการศึกษาที่สูงกว่าปริญญาตรี คือ ปริญญาเอก ปริญญาโท ประกาศนียบัตรบัณฑิต และ รวมทั้งสิ้น 4 สาขา

  • หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
  1. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
  1. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  2. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต

  1. สาขาวิชาชีพครู

พื้นที่การศึกษา[แก้]

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ตั้งอยู่เลขที่ 398 หมู่ 9 ถนนสวรรค์วิถี ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีเนื้อที่ประมาณ 108 ไร่ 3 งาน 52 ตารางวา นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ยังมีศูนย์การศึกษาอีก 3 ศูนย์ ได้แก่

  • ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ มีเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ โดยศูนย์ดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างอาคารต่างๆ หลายอาคาร ตามแผนแม่บทของมหาวิทยาลัยระยะเวลา 20 ปี เพื่อเตรียมการเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ
  • ศูนย์การศึกษาตำบลเขาแรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งปัจจุบันได้จัดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีการเกษตร มีเนื้อที่ประมาณ 63 ไร่ 3 งาน 64 ตารางวา
  • ศูนย์การศึกษาตำบลหนองกรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีเนื้อที่ประมาณ 16 ไร่ มหาวิทยาลัยได้ใช้พื้นที่นี้เพื่อดำเนินการเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริ

สำนัก/สถาบัน[แก้]

  • สำนักงานอธิการบดี
  • สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
  • สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
  • สถาบันวิจัยและพัฒนา

หน่วยงานอื่นๆ[แก้]

  • โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • สำนักงานสภามหาวิทยาลัย
  • ศูนย์พยาบาลและส่งเสริมสุขภาพ
  • ศูนย์ภาษา
  • ศูนย์วิทยาศาสตร์
  • ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ วิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
  • โรงแรมต้นน้ำ
  • หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์[แก้]

  • นายสมเชาว์ เกษประทุม ตำแหน่ง นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • ดร.ผดุงชาติ สุวรรณวงศ์ ตำแหน่ง อุปนายกสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญญัติ ชำนาญกิจ ตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
  • นายอดุลย์ ศรีประทักษ์ ตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย
  • อาจารย์นันทภัค ธนาอภินนท์ ตำแหน่ง ประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกษม ศรีเดิมมา ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • นางจินตนา เสรีภาพ ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • รองศาสตราจารย์จรินทร์ เทศวานิช ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • ศาสตราจารย์ ดร.รัตนะ บัวสนธ์ ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรีชา สนธิรักษ์ ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • นายเสรี ชิโนดม ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร ไชยะ ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • ศาสตราจารย์ ดร.สมยศ พลับเที่ยง ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • นายสมหมาย ลักขณานุรักษ์ ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • ดร.สว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จงดี ศรีนพรัตน์วัฒน ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากผู้บริหาร
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยรัตน์ ปราณี ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากผู้บริหาร
  • นางปราณี เนรมิตร ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากผู้บริหาร
  • ผศ.ว่าที่ร้อยตรีอภิเดช  มงคลปัญญา ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากผู้บริหาร
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ทวี ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุชาติ จันทร์ดอกไม้ กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำ
  • นางณัฏฐิรา กาญจนศิลป์ ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำ
  • นายชม ปานตา ตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำ
  • นายประยุทธ สุระเสนา ตำแหน่ง เลขานุการสภามหาวิทยาลัย

ทำเนียบผู้บริหาร[แก้]

  • พ.ศ. 2465 - พ.ศ. 2467 ขุนกัณหเนตรศึกษากร ตำแหน่ง ครูใหญ่
  • พ.ศ. 2467 - พ.ศ. 2468 ขุนชิตพิทยากรรม ตำแหน่ง ครูใหญ่
  • พ.ศ. 2468 - พ.ศ. 2475 นายเกษม พุ่มพวง ตำแหน่ง ครูใหญ่
  • พ.ศ. 2477 - พ.ศ. 2486 นายจรูญ สุวรรณมาศ ตำแหน่ง ครูใหญ่
  • พ.ศ. 2486 - พ.ศ. 2494 นายศิริ อาจละกะ ตำแหน่ง ครูใหญ่
  • พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2498 นายศิริ ศุขกิจ ตำแหน่ง ครูใหญ่
  • พ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2503 นายพร้อม ปริงทอง ตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่
  • พ.ศ. 2503 - พ.ศ. 2508 นายเติม จันทะชุม ตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่
  • พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2518 นายประธาน จันทรเจริญ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ
  • พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2521 ดร.วิเชียร แสนโสภณ ตำแหน่ง อธิการ
  • พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2530 ดร.หอม คลายานนท์ ตำแหน่ง อธิการ
  • พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2536 รองศาสตราจารย์ วิทยา รุ่งอดุลพิศาล ตำแหน่ง อธิการ
  • พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2538 รองศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง ภูมิภัทราคม ตำแหน่ง อธิการ
  • พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2541 รองศาสตราจารย์ สุพล บุญทรง ตำแหน่ง อธิการบดี
  • พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2556 รองศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง ภูมิภัทราคม ตำแหน่ง อธิการบดี
  • พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2562 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญญัติ ชำนาญกิจ ตำแหน่ง อธิการบดี
  • พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2563 ศาสตราจารย์ ดร.สมยศ พลับเที่ยง ตำแหน่ง รักษาราชการแทนอธิการบดี
  • พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยรัตน์ ปราณี ตำแหน่ง อธิการบดี

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]