สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
School of Social Technology Suranaree University of Technology | |
สถาปนา | 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 |
---|---|
คณบดี | รองศาสตราจารย์ ดร.วีรพงษ์ พลนิกรกิจ |
ที่อยู่ | |
สี | สีฟ้า |
เว็บไซต์ | http://soctech.sut.ac.th/ |
สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นสำนักวิชาที่จัดการเรียนการสอนด้านสังคมศาสตร์ โดยจัดการเรียนการสอนรายวิชาบริการกลาง คือ ศึกษาทั่วไปและภาษาอังกฤษ จัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก มุ่งเน้น “คุณธรรมนำความรู้” ทุกรายวิชาจะกำหนด “คุณธรรมประจำรายวิชา” ไว้เพื่อให้นักศึกษายึดถือ และจัดกิจกรรมการเรียนนำคุณธรรมมาปฏิบัติ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มุ่งมั่นสร้างสรรค์งานวิจัย งานวิชาการ อันเป็นนวัตกรรม เพื่อนำกลับไปใช้ในการเรียนการสอน การบริการวิชาการและการทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมอย่างครบวงจร
ประวัติ
[แก้]พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. 2533 ได้กำหนดให้สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคมเป็นหนึ่งในหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติภารกิจให้ครบทั้ง 5 ประการ คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การปรับแปลงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี การบริการวิชาการแก่สังคม และการทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งสำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม ได้ปฏิบัติครบทั้ง 5 ภารกิจมาตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ซึ่งเป็นปีที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเริ่มเปิดดำเนินการ
คำว่า “เทคโนโลยีสังคมหรือวิทยาศาสตร์สังคม” หมายถึง วิทยาการสมัยใหม่ที่ประยุกต์วิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาประสมประสานใช้ประโยชน์ ดังนั้น วิชาการด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ น่าจะเรียกว่าได้ เทคโนโลยีสังคม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาพื้นฐานทางสังคมให้ดีขึ้น ซึ่งตรงกับแนวคิดในการตั้งสำนักวิชาเทคโนโลยีสังคมของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม เป็นชื่อที่มีความแตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่น โดยมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะใช้ชื่อเรียกแตกต่างกันไป ได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์ หรือ คณะสังคมศาสตร์ เป็นต้น ตามความหมายของพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน คำว่า “เทคโนโลยี” หมายถึง “วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติได้ ประยุกต์ได้” ดังนั้น “เทคโนโลยีสังคม” จึงเป็นศาสตร์ทางสังคมยุคใหม่ถือว่าเป็นวิทยาศาสตร์เพราะว่าใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ แต่นำมาประยุกต์ใช้ในด้านสังคม ซึ่งหมายความว่า “วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางสังคมศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์สังคมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ” หรือเรียกว่า “สังคมศาสตร์ประยุกต์”
ปัจจุบันสำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม เปิดสอนระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก หลักสูตรที่เปิดสอนได้แก่ หลักสูตรวิทยาการสารสนเทศบัณฑิต หลักสูตรการจัดการบัณฑิต หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต หลักสูตรวิทยาการสารสนเทศมหาบัณฑิต หลักสูตรศิลปศาสตร มหาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษศึกษา) หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ภาษาอังกฤษศึกษา) และเปิดสอนหลักสูตรวิทยาการสารสนเทศดุษฎีบัณฑิต ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2553
หลักสูตร
[แก้]สาขาวิชาที่เปิดสอนในสำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม | |||
---|---|---|---|
สาขาวิชา | ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
1. สาขาวิชาอังกฤษ | - |
M.A. (English Lauguage Studies) |
Ph.D. (English Lauguage Studies) |
2. สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ |
B.MGT (Logistics Management) |
M.MGT (Logistics and Supply Chain Management) |
- |
3. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ |
B.IS. (Information Communication) |
M.IS. (Digital Media) |
Doctor of Information Science |