มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | |
---|---|
Lampang Rajabhat University | |
![]() ตราพระราชลัญจกร สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย | |
ชื่อย่อ | มรภ.ลป / LPRU |
คติพจน์ | วิริเยน ทุกขมจเจติ (ล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร) |
สถาปนา | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2514 (49 ปี) |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
อธิการบดี | รศ.ดร.กิตติศักดิ์ สมุทธารักษ์[1] |
นายกสภาฯ | ดร.สุชาติ เมืองแก้ว |
ที่ตั้ง | 119 หมู่ 9 ถนนลำปาง-แม่ทะ ตำบลชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง 52100 โทร 054-237399 |
สีประจำสถาบัน | ████ สีเลือดหมู สีเขียว |
เพลง | ราชภัฏลำปาง |
เว็บไซต์ | www.lpru.ac.th |
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง (อังกฤษ: Lampang Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางมีชื่อเดิมว่า "วิทยาลัยครูลำปาง" ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2514 ตั้งอยู่เลขที่ 119 ถนนลำปาง-แม่ทะ บ้านหนองหัวหงอก หมู่ที่ 9 ตำบลชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง 52100
ประวัติ[แก้]
วิทยาลัยครูลำปางเริ่มเปิดการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2515 ในระดับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) ใน พ.ศ. 2516 เริ่มเปิดสอนในระดับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง(ป.กศ.สูง)มีการประกาศใช้"พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518" ส่งผลให้วิทยาลัยครูสามารถเปิดสอน ในระดับปริญญาตรีได้ในปี พ.ศ. 2519 วิทยาลัยครูลำปาง จึงได้เปิดสอนในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการศึกษาต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้ "พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527" กฎหมายกำหนดให้วิทยาลัยครูสามารถผลิตบัณฑิตสาขาวิชาชีพอื่นนอกเหนือจากสาขาวิชาการศึกษาใน ปี พ.ศ. 2529
ดังนั้นวิทยาลัยครูลำปางจึงได้เปิดสอนในระดับปริญญาตรีสาขาศิลปศาสตร์ และสาขาวิทยาศาสตร์ขณะที่สถาบันราชภัฏลำปางยังใช้ชื่อวิทยาลัยครูลำปางอยู่นั้นได้มีการประสาน การดำเนินงาน ร่วมกับวิทยาลัยครูอื่น ๆ โดยรวมกัน เป็นกลุ่มวิทยาลัยครู วิทยาลัยครูลำปางซึ่งตั้งอยู่ในกลุ่มภาคเหนือตอนบน ได้ร่วมกับวิทยาลัยครูเชียงใหม่ วิทยาลัยครูเชียงราย และวิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ เป็นกลุ่มวิทยาลัยครูภาคเหนือตอนบนได้พัฒนาเป็น"สหวิทยาลัยล้านนา"ตามข้อบังคับของสภาการฝึกหัดครูว่าด้วยกลุ่มวิทยาลัยครู พ.ศ. 2528 และวิทยาลัยครูลำปางได้รับเลือกให้เป็นที่ตั้งสำนักงานคณะกรรมการสหวิทยาลัยล้านนา เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานนามวิทยาลัยครูใหม่ว่า "สถาบันราชภัฏ"วิทยาลัยครูลำปางจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สถาบันราชภัฏลำปาง" ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 เป็นต้นมาหลังจากมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏพ.ศ. 2538 ส่งผลให้สถาบันเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน และสามารถเปิดสอนในระดับสูงกว่าระดับปริญญาตรในปี พ.ศ. 2542สถาบันราชภัฏลำปางได้เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา ในหลักสูตรปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและในปี พ.ศ. 2543ได้เปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู(ป.บัณฑิต) จนถึงปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2547ได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา สาขาหลักสูตร และการสอน สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา ปี พ.ศ. 2548 เปิดสาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการทั่วไป) (MBA)และปี พศ. 2549 เปิดสาขาวัดประเมินและวิจัยทางการศึกษา และ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตด้านการจัดการศึกษาร่วมกับสถาบันอื่นนั้น ในปีพ.ศ. 2536 ได้รับวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดลำปางเข้าร่วมโครงการสมทบในสถาบันราชภัฏลำปางพ.ศ. 2534-2539 ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตรเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาการเมืองการปกครองสำหรับนักบริหารใน พ.ศ. 2543ร่วมมือกับวิทยาลัยเทคนิคลำพูนเปิดโครงการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) ณ วิทยาลัยเทคนิคลำพูน
วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ได้มีการประกาศใช้ "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547" ทำให้สถาบันราชภัฏลำปาง ปรับเปลี่ยนฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง" (Lampang Rajabhat University) ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตในสาขาวิชาการศึกษา สาขาวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ และสาขาวิชาการบัญชี
- คณะครุศาสตร์
- คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร
- คณะวิทยาการจัดการ
- คณะวิทยาศาสตร์
- คณะเทคโนโลยีการเกษตร
มีส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ทำหน้าที่สนับสนุนการจัดการศึกษา อีก 4 ส่วนราชการ ได้แก่ สำนักงานอธิการบดี สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม และสถาบันวิจัยและพัฒนา
สัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏ[แก้]
- สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทาน “สถาบันราชภัฏ”
- สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งของสถาบันฯ 41 แห่งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
- สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
- สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ก้าวไกลใน 41 สถาบัน
- สีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
สีประจำมหาวิทยาลัย[แก้]
สีประจำมหาวิทยาลัย สีแดงเลือดหมู และสีเขียว หมายถึง ความกล้าหาญที่จะใช้ความคิดสติ ปัญญา และความงอกงามแห่งปัญญา
คติธรรมประจำมหาวิทยาลัย[แก้]
วิริเยน ทุกขมจเจติ หมายถึง ล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร
พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย[แก้]
พระพุทธพิทยาจารย์ ประดิษฐาน เป็นพระประธานบริเวณสวนสามสอ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]
ดอกกาสะลอง (ดอกปีบ)
คณะ[แก้]
- คณะครุศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์
- คณะวิทยาการจัดการ
- คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
- คณะเทคโนโลยีการเกษตร
- คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
- คณะสาธารณสุขศาสตร์ (โครงการจัดตั้ง)
- คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ (โครงการจัดตั้ง)
สำนัก/สถาบัน/หน่วยงานในมหาวิทยาลัย[แก้]
- สำนักงานอธิการบดี
- สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
- โครงการจัดตั้งสถาบันภาษา
- สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
- สถาบันวิจัยและพัฒนา
บุคคลที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง[แก้]
- นางสาว จูหลิง ปงกันมูล (ศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) อดีตข้าราชการครู
- พุทธชาติ ยศแก้วอุด (แคท รัตกาล) นักร้อง
- ปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล