ข้ามไปเนื้อหา

สถาบันการบินพลเรือน

พิกัด: 13°48′03″N 100°33′12″E / 13.800861°N 100.553289°E / 13.800861; 100.553289
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาบันการบินพลเรือน
Civil Aviation Training Center
ตราสัญลักษณ์ของสถาบัน
ชื่อเดิมศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย
ชื่อย่อสบพ. / CATC
คติพจน์ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺ เสสุ
ในหมู่มนุษย์ คนประเสริฐ คือคนที่ฝึกแล้ว
A Trained Person is an Excellent Person
ประเภทรัฐวิสาหกิจ
สถาปนา4 มิถุนายน พ.ศ. 2504; 63 ปีก่อน (2504-06-04)
สังกัดการศึกษากระทรวงคมนาคม
สังกัดวิชาการ
งบประมาณ285,006,500 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
ประธานพลเอก ดิเรก ดีประเสริฐ
ผู้ว่าการภัคณัฏฐ์ มากช่วย
ที่ตั้ง
วิทยาเขตศูนย์ฝึกการบิน

สถาบันการบินพลเรือน (อังกฤษ: Civil Aviation Training Center) เดิมชื่อ "ศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย" เป็นหน่วยงานประเภทรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม และเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยมีหน้าที่ในการอบรมและผลิตบุคลากรด้านการบินทั้งระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศ ตามมาตรฐานระดับสากลที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO) กำหนดไว้ ปัจจุบัน พลเอก ดิเรก ดีประเสริฐ เป็นประธานกรรมการ

โดยตำแหน่งหัวหน้าสถานศึกษาเรียกว่า "ผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน" ในปัจจุบัน ผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน คือ นางสาวภัคณัฏฐ์ มากช่วย รองผู้ว่าการได้แก่ พันจ่าอากาศเอก พันศักดิ์ เนินทราย

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะมีความรู้ความสามารถในการเข้าไปปฏิบัติงานในหน่วยงานด้านการบินทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในตำแหน่งงานต่าง ๆ เช่น นักบิน ช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการในท่าอากาศยาน เป็นต้น

ประวัติ

[แก้]

สถาบันการบินพลเรือนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2504 ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างกองทุนพิเศษสหประชาชาติ (United Nations Special Fund :UNSF) องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO) และรัฐบาลไทย โดยใช้ชื่อว่า ศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย มีองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจการด้านบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้เจริญรุดหน้าทันกับภูมิภาคอื่น ๆ

ในปี พ.ศ. 2509 เมื่อหมดระยะเวลาของโครงการ (5ปี พ.ศ. 2504-2508) รัฐบาลไทยได้รับมอบศูนย์ฝึการบินพลเรือนในประเทศไทยมาดำเนินการในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2509 โดยให้มีฐานะเป็นสถานฝึกอบรมโดยมีกรมการบินพาณิชย์ (สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และ กรมท่าอากาศยาน ในปัจจุบัน) เป็นผู้รับผิดชอบ

ในปี พ.ศ. 2530 รัฐบาลได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมการบินพาณิชย์ใหม่ โดยได้จัดตั้งศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยให้มีฐานะเป็นหน่วยงานระดับกอง ในกรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม

ในปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน แปรสภาพศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย เป็น สถาบันการบินพลเรือน รัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม[2]

ในปี พ.ศ. 2536 สถาบันการบินพลเรือน ได้รับโอนกิจการศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยของกรมการบินพาณิชย์มาดำเนินการ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2536 และได้รับทุนประเดิมตามพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน โดยได้รับจาก บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 100,000,000 บาท บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด จำนวน 25,000,000 บาท และการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) จำนวน 25,000,000 บาท เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 150,000,000 บาท

การจัดหน่วยงาน

[แก้]
Diamond DA40 HS-TVA

สำนักผู้ว่าการ

[แก้]

เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อผู้ว่าการ โดยมีผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการเป็นหัวหน้าหน่วยงาน ประกอบด้วยส่วนงานทั้งสิ้น 7 แผนก ดังต่อไปนี้

  1. แผนกเลขานุการ
  2. แผนกธุรการ
  3. แผนกทรัพยากรบุคคลและสวัสดิการ
  4. แผนกนโยบาลและแผนงาน
  5. แผนกนิติการ
  6. แผนกจัดหา
  7. แผนกอาคารสถานที่

ฝ่ายบริหาร

[แก้]

เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรองผู้ว่าการฝ่ายบริหาร ประกอบด้วยส่วนงานทั้งสิ้น 3 สำนัก ดังนี้

  1. สำนักการเงินการคลัง (Finance Bureau)
    1. แผนกบัญชี
    2. แผนกการเงิน
    3. แผนกงบประมาณ
    4. แผนกพัสดุ
  2. สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศการบิน (Aviation Information Techonlogy Bureau)
    1. แผนกพัฒนาสารสนเทศและเครือข่าย
    2. แผนกผลิตและพัฒนาสือการศึกษา
    3. แผนกบริการโสตทัศนูปกรณ์
  3. สำนักวิจัยและพัฒนาธุรกิจการบิน (Aviation Business Resech and Development Bureau)
    1. แผนกประชาสัมพันธ์
    2. แผนกการตลาด
    3. แผนกวิจัยและพัฒนา

ฝ่ายวิชาการ

[แก้]

เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรองผู้ว่าการฝ่ายวิชาการ มีหน้าที่ทำการฝึก อบรม หลักสูตรภาคพื้นและหลักสูตรฝึกอบรมทุกหลักสูตร โดยแบ่งความรับผิดชอบตามกองวิชาต่าง ๆ ประกอบด้วยส่วนงานทั้งสิ้น 1 สำนัก และ 5 กองวิชา ดังนี้

  1. สำนักวิชาการ (Academic Affairs Bureau) มีรองผู้ว่าการฝ่ายวิชาการเป็นหัวหน้าหน่วยงาน
    1. แผนกมาตรฐานการศึกษา
    2. แผนกบริการการศึกษา
    3. แผนกกิจการนักศึกษา
    4. แผนกทะเบียนและวัดผล
  2. กองวิชาช่างอากาศยาน (Aircraft Maintenance Training Division) มีหน้าที่รับผิดชอบการเรียนการสอนและการฝึกอบรมของหลักสูตรนายช่างภาคพื้นดิน (Aircraft Maintenance Engineer (AMEL) License) เทียบเท่าระดับอนุปริญญาใน 2 สาขาวิชา สาขาวิชาช่างเครื่องบิน วิชาเอกเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ (Aeroplane Mechanic - B1.1, B1.2) และสาขาวิชาช่างเอวิโอนิกส์ (Avionics Mechanic - B2) ซึ่งทั้ง 2 สาขาวิชาจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานระดับอนุปริญญา, ข้อกำหนดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) และองค์การความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป (EASA) ภายใต้มาตราฐาน ICAO โดยมีผู้อำนวยการกองช่างอากาศยานเป็นหัวหน้าหน่วยงาน
  3. กองวิชาอิเล็กทรอนิกส์การบิน (Avionics Division) มีหน้าที่รับผิดชอบการเรียนการสอนและการฝึกอบรมของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์การบิน และหลักสูตรการบำรุงรักษาเครื่องสื่อสารการบิน โดยมีผู้อำนวยการกองวิชาอิเล็กทรอนิกส์การบินเป็นหัวหน้าหน่วยงาน
  4. กองวิชาบริการการบิน (Aeronautical Service Division) มีหน้าที่รับผิดชอบการเรียนการสอนและการฝึกอบรมของหลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการจราจรทางอากาศ โดยมีผู้อำนวยการกองวิชาบริการการบินเป็นหัวหน้าหน่วยงาน
  5. กองวิชาบริหารการบิน (Aviation Management Division) มีหน้าที่รับผิดชอบการเรียนการสอนและการฝึกอบรมของหลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่าอากาศยาน และสาขาวิชาการจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศ โดยมีผู้อำนวยการกองวิชาบริหารการบินเป็นหัวหน้าหน่วยงาน
  6. กองวิชาภาษาอังกฤษเทคนิคการบิน (Aviation Technical English Division) มีหน้าที่รับผิดชอบการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษเทคนิคการบิน และวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้กับหลักสูตรภาคพื้นและหลักสูตรฝึกอบรมทุกหลักสูตร โดยมีผู้อำนวยการกองวิชาภาษาอังกฤษเทคนิคการบินเป็นหัวหน้าหน่วยงาน

ศูนย์ฝึกการบิน

[แก้]

ตั้งอยู่ที่ท่าอากาศยานหัวหิน (ชื่อเดิม สนามบินบ่อฝ้าย) อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อผู้ว่าการ มีหน้าที่ทำการฝึก อบรม หลักสูตรภาคอากาศทุกหลักสูตร โดยมีผู้อำนวยการศูนย์ฝึกการบินเป็นหัวหน้าหน่วยงาน ประกอบด้วยส่วนงานทั้งสิ้น 2 กอง ดังนี้

  1. กองฝึกบิน (Flight Training Division)
    1. แผนกฝึกบินเครื่องบิน
    2. แผนกฝึกบินเฮลิคอปเตอร์
    3. แผนกวิชาภาคพื้น
    4. แผนกฝึกบินจำลอง
    5. แผนกมาตรฐานการบิน
    6. แผนกนิรภัยการบินและภาคพื้น
  2. กองซ่อมบำรุงอากาศยาน (Aircraft Maintenance Division)
    1. แผนกควบคุมมาตรฐานการซ่อม
    2. แผนกซ่อมอากาศยานในลานจอด
    3. สถานีซ่อมบำรุงอากาศยาน

คณะกรรมการและคณะผู้บริหาร

[แก้]

คณะกรรมการสถาบันการบินพลเรือน

[แก้]

คณะกรรมการชุดปัจจุบัน มีทั้งสิ้น 11 ท่าน ดังต่อไปนี้

  • ประธานกรรมการ
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
    • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ : นายเชิดศักดิ์ หิรัญสิริสมบัติ
    • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ : พลอากาศเอก พิธพร กลิ่นเฟื่อง
  • กรรมการผู้แทนส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
    • กรรมการผู้แทนกองทัพอากาศ : พลอากาศเอก วินัย เปล่งวิทยา
    • กรรมการผู้แทนบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด : นายอภินันท์ วรรณางกูร
    • กรรมการผู้แทนบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) : เรืออากาศโท ณรงค์ชัย ถนัดช่างแสง
    • กรรมการผู้แทนกระทรวงคมนาคม : นายสัมพันธ์ พงศ์ไทย
    • กรรมการผู้แทนกระทรวงการคลัง : นางอัจฉราพร เหมาคม
    • กรรมการผู้แทนบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) : เรืออากาศโท อธิศักดิ์ พัดชื่นใจ
    • กรรมการผู้แทนกรมการบินพลเรือน : นายเสรี จิตต์โสภา
  • กรรมการและเลขานุการ (ผู้ว่าการ โดยตำแหน่ง)
    • กรรมการและเลขานุการ : พลเรือตรี ปิยะ อาจมุงคุณ

คณะผู้บริหารสถาบันการบินพลเรือน

[แก้]
  • ผู้บริหารระดับสูง
    • ผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน : นางสาวภัคณัฏฐ์ มากช่วย
    • รองผู้ว่าการฝ่ายวิชาการ : พันจ่าอากาศเอก พันศักดิ์ เนินทราย
  • สำนักผู้ว่าการ
    • ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการ : นาย ฐปนพงศ์ พุทธศิริ
  • ฝ่ายบริหาร
    • รักษาการผู้อำนวยการสำนักการเงินการคลัง : นางสาวภัคณัฐฐ์ มากช่วย
    • ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศการบิน : นางสาวพิไลพร ปูนวิภากุล
    • ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาธุรกิจการบิน : นางสาววรินทร เลี่ยมนาค
  • ฝ่ายวิชาการ
    • ผู้อำนวยการกองวิชาอากาศยานและเครื่องยนต์ : นายวิโรจน์ น้อยวิไล
    • ผู้อำนวยการกองวิชาอิเล็กทรอนิกส์การบิน : ดร. กนก สารสิทธิธรรม
    • ผู้อำนวยการกองวิชาบริการการบิน : นาวาอากาศตรี จินตวัชร์ เพชรเรียง
    • ผู้อำนวยการกองวิชาบริหารการบิน : ดร. วราภรณ์ เต็มแก้ว
    • ผู้อำนวยการกองวิชาภาษาอังกฤษเทคนิคการบิน : ดร. นปภา นคฤทธภพ
  • ศูนย์ฝึกการบิน หัวหิน
    • ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกการบิน : นาวาอากาศโท อภิชาติ วาทะวัฒนะ
    • ผู้อำนวยการกองฝึกบิน : นาวาอากาศเอก ระทิน อินเทวา
    • ผู้อำนวยการกองซ่อมบำรุงอากาศยาน : นาย เจน หน่อท้าว

ทำเนียบผู้อำนวยการและผู้ว่าการ

[แก้]

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน สถาบันการบินพลเรือนมี ผู้อำนวยการ ผู้ว่าการ รักษาการผู้อำนวยการ และ รักษาการผู้ว่าการ มาแล้ว 25 ท่าน ดังรายนามต่อไปนี้

ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1. Mr. R.L. Cole ปี พ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2509 Principal of CATC
2. พลอากาศตรี หม่อมราชวงศ์ สุกษม เกษมสันต์ ปี พ.ศ. 2505 - พ.ศ. 2508 Administrator
3. นาวาอากาศเอก อำนวย สกุลรัตนะ ปี พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2512 รักษาการผู้อำนวยการ
4. ดร.จิตติ วัชรสินธุ์ ปี พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2516 รักษาการผู้อำนวยการ
5. พลอากาศตรี ละเอิบ ปิ่นสุวรรณ์ ปี พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2520
6. นาวาอากาศเอก ประเสริฐ ใจผ่องใส ปี พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2523
7. นายสุวรรณ ทัพพะรังสี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 - 10 กันยายน พ.ศ. 2524
8. นายสุนทร สุตะพาหะ 11 กันยายน พ.ศ. 2524 - 1 มีนาคม พ.ศ. 2525 (ครั้งที่ 1)
4 มกราคม พ.ศ. 2536 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2536 (ครั้งที่ 2)
รักษาการผู้อำนวยการ
รักษาการผู้อำนวยการ
9. นายอาจหาญ กุลละวณิชย์ 1 มีนาคม พ.ศ. 2525 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2530 รักษาการผู้อำนวยการ
10. ดร.ดนัย เลขยานนท์ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2530 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2532 รักษาการผู้อำนวยการ
11. ดร.บำรุง จินดา 1 สิงหาคม พ.ศ. 2532 - 2 กันยายน พ.ศ. 2535 (ครั้งที่ 1) รักษาการผู้อำนวยการ
12. นายสวัสดิ์ สิทธิ์วงศ์ 2 กันยายน พ.ศ. 2535 - 4 มกราคม พ.ศ. 2536 รักษาการผู้อำนวยการ
ผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน
รายนามผู้ว่าการ วาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
11. ดร.บำรุง จินดา 1 เมษายน พ.ศ. 2536 - 30 กันยายน พ.ศ. 2539 (ครั้งที่ 2)
13. พันตรี ประยงค์ สุกใส 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 - 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 รักษาการผู้ว่าการ
14. รองศาสตราจารย์ ดร. องค์การ อินทรัมพรรย์ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
15. รองศาสตราจารย์ ดร. สุธี อักษรกิตต์ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 รักษาการผู้ว่าการ
16. พลอากาศโท ชรัช ปานสุวรรณ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2543 - 30 กันยายน พ.ศ. 2547
17. นายสุพจน์ คัมภีระ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2548 รักษาการผู้ว่าการ
18. เรืออากาศโท ประพนธ์ จิตตะปุตตะ 1 เมษายน พ.ศ. 2548 - 7 เมษายน พ.ศ. 2548 รักษาการผู้ว่าการ
19. นายบุญฤทธิ์ เสาวพฤกษ์ 8 เมษายน พ.ศ. 2548 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
20. พลตำรวจตรี ชูเกียรติ ประทีปะเสน 8 มกราคม พ.ศ. 2551 - 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 รักษาการผู้ว่าการ
21. นายวุฒิชัย สิงหมณี 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 รักษาการผู้ว่าการ
22. พลอากาศตรี ภักดิวรรธน์ วชิรพัลลภ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
23. พลอากาศเอก ไพบูลย์ จันทร์หอม 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 - 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554 รักษาการผู้ว่าการ
24. นาวาอากาศเอก จิรพล เกื้อด้วง 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 10 มกราคม พ.ศ. 2565
25. นางสาวภัคณัฏฐ์ มากช่วย 11 มกราคม พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

หลักสูตร

[แก้]

แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ หลักสูตรภาคพื้น หลักสูตรภาคอากาศ และหลักสูตรฝึกอบรม

หลักสูตรภาคพื้น

[แก้]

แบ่งเป็น 5 หลักสูตร ได้แก่ จากเว็บไซต์ของสถาบันการบินพลเรือน

  1. หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการการบิน
    เป็นหลักสูตร 4 ปี โดยเปิดรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในแผนกวิทย์-คณิต และแผนกศิลป์ นักศึกษาจะเรียนรวมกันเป็นเวลา 2 ปี (ชั้นปีที่ 1 และ 2) และจะทำการเลือกสาขาวิชาเมื่อนักศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 มี 6 วิชาโท ได้แก่
    1. วิชาโทการจราจรทางอากาศ ( Air Traffic Minor : ATM )
    2. วิชาโทการท่าอากาศยาน ( Airport Minor : APM )
    3. วิชาโทการส่งสินค้าทางอากาศ ( Air Cargo Minor : ACM )
    4. วิชาโทโลจิสติกส์การบิน ( Aviation Logistics Minor : ALM )
    5. วิชาโทธุรกิจการบิน ( Airline Business Minor : ABM )
    6. วิชาโทการบำรุงรักษาอากาศยาน ( Aircraft Maintenance Minor : AMM )
  2. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Engineering)
    เป็นหลักสูตร 4 ปี โดยเปิดรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 แผนกวิทย์-คณิต มี 1 สาขาวิชา ได้แก่
    1. สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์การบิน (Program in Aviation Electronics Engineering)
  3. หลักสูตรระดับอนุปริญญา
    เป็นหลักสูตร 2 ปีครึ่ง มี 3 หลักสูตร ได้แก่
    1. หลักสูตรนายช่างภาคพื้นดิน สาขาวิชาช่างเครื่องบิน วิชาเอกเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ (Aircraft Maintenance Engineer License (AMEL) Course: Aeroplane Mechanic - B1.1, B1.2) โดยเปิดรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนกวิทย์-คณิต และ ระดับชั้น ปวช.สาขาช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน เครื่องกล ไฟฟ้ากำลัง หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
    2. หลักสูตรนายช่างภาคพื้นดิน สาขาวิชาช่างเอวิโอนิกส์ (Aircraft Maintenance Engineer (AMEL) License : Avionics Mechanic - B2) โดยเปิดรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนกวิทย์-คณิต และ ระดับชั้น ปวช.สาขาช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน เครื่องกล ไฟฟ้ากำลัง อิเล็กทรอนิกส์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
    3. หลักสูตรอนุปริญญาสาขาวิชาเทคโนโลยีอากาศยาน (อิเล็กทรอนิกส์การบิน) โดยเปิดรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนกวิทย์-คณิต และ ระดับชั้น ปวช.แผนกไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์
  4. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาเตรียมวิศวกรรมการบิน ( Vocational Certificate in Pre-Aeronautical Engineering )
  5. หลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต (ต่อเนื่อง) (Bachelor of Technology in Aviation (Continuing Program) )
    เป็นหลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี มี 2 สาขาวิชา ได้แก่
    1. สาขาวิชาการจัดการท่าอากาศยาน (ต่อเนื่อง) (Program in Airport Management (Continuing Program) )
    2. สาขาวิชาการจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศ (ต่อเนื่อง) (Program in Air Cargo Management (Continuing Program)

หลักสูตรภาคอากาศ

[แก้]

ในปัจจุบันมี 9 หลักสูตร โดยได้รับการับรองจากกรมการบินพลเรือน เลขที่ 03/2555 ได้แก่

  1. Private Pilot License Course (Aeroplane / Helicopter Ground and Flight Training)
  2. Instrument Rating Course (Ground and Flight Training)
  3. Commercial Pilot License Course (Aeroplane / Helicopter Ground and Flight Training)
  4. Multi-Engine Rating Course (Ground and Flight Training)
  5. Instructor Pilot Course (Aeroplane / Helicopter Ground and Flight Training)
  6. Multi-Crew Pilot License Course (Core Skill Flying and Basic Course)
  7. Airline Transport Pilot License (Theory) Course
  8. Robinson R44 Transition Course
  9. Robinson R44 Refresher Course

หลักสูตรฝึกอบรม

[แก้]
  1. Operations Group
    1. Air Traffic Control License & Rating
    2. Air Traffic Controller License & Aerodrome Control Rating
    3. Approach Terminal Control Non-Radar Procedural
    4. Approach Terminal Control Radar
    5. Area Airways Control Non-Radar Procedural
    6. AIS Officer
    7. AIS Cartography
    8. Flight Operations Officer / Flight Dispatcher
    9. Flight Operations Officer Refresher
    10. Aviation Introductory to Flight Operations Officer / Flight Dispatcher
    11. Search & Rescue Administration
    12. CNS/ATM Technologies For Air Traffic Service Manager
    13. Safety Management System
    14. Aviation Security Management
    15. Human Factor For Operational Personnel
    16. Meteorology For Aviation Personnel
    17. Performance Based Navigation
    18. Controller - Pilot Data Link & Communication
    19. Aerodrome Certification
  2. Aircraft Maintenance Group
    1. Helicopter Maintenance Special
    2. Skill Test For Aircraft Maintenance Engineering

เพลงสถาบัน

[แก้]

สถาบันการบินพลเรือนแห่งนี้

เป็นถิ่นที่สร้างสรรค์ผลงานยิ่งใหญ่

สร้างบุคคลากรด้านการบินในประเทศไทย

เพื่อการคมนาคมก้าวไกลพัฒนา

เขียวส้มคือธงเราเรืองรองสดใส

ทั้งปีกธงชาติไทยเชิดชูสง่า

แดนถิ่นสบพ. ร่มเย็นและร่มรื่นนานมา

สถาบันเพื่อการศึกษาภาคเอเชียอาคเนย์

นานาชาติก็มาศึกษาร่วมกันได้

งานเราก้าวไกลทั้งระเบียบวินัยมั่นไม่หันเห

เลิศด้วยจริยธรรมน้ำใจงามทั้งเครื่องแบบเก๋

ขอบเขตฟ้าเหนือคาดคะเนนั้นเราชำนาญ

* ทั้งงานช่างบำรุงซ่อมนั้นมีคุณค่า

เราเพียรศึกษาทุกแขนงวิชาอีกการสื่อสาร

ศึกษาตามหลักสากล

ทั้งจุนเจือเครือจราจรอากาศยาน

นักบินเชี่ยวชาญมีมาตรฐานสากล

พวกเรานักศึกษาทั่วกัน

ยึดมั่นสามัคคีทั่วคน

ศึกษาเพื่อชาติพัฒนามีประโยชน์ท่วมท้น

ทั้งเพื่อตนมีอนาคตไกล

จะขอรักประเทศรักชาติ

ภัคดีมหาราชจอมหทัย

รักษาสัตย์รักสถาบันที่ได้อาศัย

ศึกษามวลวิชาภูมิใจเทิดไว้นิรันด์

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๙๘, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอน 16ก วันที่ 4 มีนาคม 2535 หน้า 52

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°48′03″N 100°33′12″E / 13.800861°N 100.553289°E / 13.800861; 100.553289