มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร | |
---|---|
Kamphaengphet Rajabhat University | |
![]() ตราพระราชลัญจกร สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย | |
ชื่อย่อ | มรภ.กพ. / KPRU |
คติพจน์ | ศูนย์รวมแห่งความรู้ และวิทยาการ |
สถาปนา | 29 กันยายน พ.ศ. 2516 (47 ปี) |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
อธิการบดี | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุวิทย์ วงษ์บุญมาก |
นายกสภาฯ | ศาสตราจารย์เกษม จันทร์แก้ว |
ที่ตั้ง | มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร เลขที่ 69 หมู่ 1 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร 62000 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด เลขที่ 222 หมู่ 7 ตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 63110 |
สีประจำสถาบัน | ████ สีแสด สีขาว |
เพลง | ราชภัฏกำแพงเพชร |
เว็บไซต์ | www.kpru.ac.th |
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (อังกฤษ: Kamphaengphet Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตั้งอยู่ที่ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516
ประวัติ[แก้]
สถาบันราชภัฏกำแพงเพชร เป็นสถาบันอุดมศึกษา สังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ (กรมการฝึกหัดครู) กระทรวงศึกษาธิการ ก่อนปี พ.ศ. 2516 กรมการฝึกหัดครูมีแผนการขยายการฝึกหัดครูให้ครอบคลุมทั่วประเทศ กำหนดให้วิทยาลัยครูรับผิดชอบผลิตครูเขตละ 2 จังหวัด ต่อมาในปี พ.ศ 2515 คณะกรรมการจากกระทรวงศึกษาธิการได้ตกลงจัดตั้งวิทยาลัยครูกำแพงเพชร โดยใช้ที่ดิน สาธารณะทุ่งคอกวัวจำนวน 1,000 ไร่ และชื้อที่ดินเพิ่มเติมพื้นที่อีกส่วนหนึ่งราษฎรยกที่ดิน ให้เพื่อสาธารณะจะเชื่อมต่อถึงลำน้ำปิงจำนวน 420 ไร่ ปี 2516 มติคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กรมการฝึกหัดครูจัดตั้งวิทยาลัยครูกำแพงเพชรโดยสถาปนาขึ้นเมื่อ 29 กันยายน พ.ศ. 2516 วิทยาลัยครูกำแพงเพชร ตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านวังยาง หมู่ที่ 1 ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร อยู่ห่างจากถนนพหลโยธิน 8 กิโลเมตรมีเนื้อที่ 421 ไร่ 58 ตารางวา
จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฑ ในปี พ.ศ. 2547[1]
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]
- ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ
- สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทาน “มหาวิทยาลัยราชภัฏ”
- สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งของสถาบันฯ 41 แห่งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
- สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
- สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ก้าวไกลใน 41 สถาบัน
- สีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
- พระพุทธวิธานปัญญาบดี ประกอบด้วย
- พระพุทธ หมายถึง พระพุทธรูปอันเป็นที่เคารพสักกระ
- วิธาน หมายถึง ความรู้
- ปัญญา หมายถึง ความรู้
- บดี หมายถึง ผู้เป็นใหญ่
รวมความหมายคือ "ศูนย์รวมแห่งความรู้ และวิทยาการ"
คณะ[แก้]
- คณะครุศาสตร์
- คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- คณะวิทยาการจัดการ
- คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
- คณะพยาบาลศาสตร์
- คณะสาธารณสุขศาสตร์ (โครงการจัดตั้ง)
- คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์(โครงการจัดตั้ง)
- บัณฑิตวิทยาลัย
สถาบัน/ศูนย์และหน่วยงานในมหาวิทยาลัย[แก้]
|
|
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ศูนย์อุดมศึกษาแม่สอด จังหวัดตาก[แก้]
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ศูนย์อุดมศึกษาแม่สอด หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด เป็นศูนย์ขยายโอกาสการอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ประกาศจัดตั้งขึ้นแห่งแรกตามโครงการขยายโอกาสการอุดมศึกษาสู่ท้องถิ่นตามข้อบังคับ สภาประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรว่าด้วยการขยายโอกาสการอุดมศึกษาสู่ท้องถิ่น พ.ศ. 2544 ศูนย์อุดมศึกษาแม่สอดแห่งนี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ในเนื้อที่จำนวน 600 ไร่ ซึ่งได้รับการอนุมัติจากกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 การขอเข้าใช้ประโยชน์เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์ปฏิบัติการ และวิจัยทางธรรมชาติ โดยวัตถุประสงค์เดิมเพื่อเป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าที่มีสภาพเสื่อม โทรมให้เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ นักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยว ตลอดจน ประชาชนและผู้สนใจสามารถเข้าศึกษาธรรมชาติของป่าอย่างแท้จริงได้รับความรู้ เกิดจิต สำนึก หวงแหน และเห็นความสำคัญในอันที่จะอนุรักษ์ธรรมชาติและป่าไม้ อีกทั้งเป็นศูนย์ ปฏิบัติทางวิชาการระดับอุดมศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาท้องถิ่น พื้นที่ดังกล่าวได้รับการสนับสนุนเพื่อพัฒนาเพียงเล็กน้อย เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจของบ้านเมืองได้รับ งบประมาณเพียงการก่อสร้าง สำนักงานชั่วคราว 1 หลัง ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากอดีตสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก นายอุดร ตันติสุนทร เพื่อก่อ สร้างฝายน้ำล้น ได้รับความอนุเคราะห์จาก หน่วยพัฒนาเคลื่อนที่ 33 อำเภอแม่สอด ในการปรับปรุงพื้นที่บ้างโดยไม่สามารถดำเนิน การให้เป็น ไปตาม วัตถุประสงค์ได้ แต่เนื่องจากนโยบายการขยายการศึกษาขึ้นพื้นฐานตามพระราชบัญญัต ิการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่ให้เยาวชนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพทัดเทียม เป็นเวลา 12 ปี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจึงทำให้ ผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ในท้องถิ่นต้องการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาจำนวนมากขึ้น และได้เกิดข้อเรียกร้องให้สถาบัน ขยาย โอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชน และผู้สำเร็จการศึกษาในอำเภอฝั่งตะวันตก ของจังหวัดตาก เนื่องจากเยาวชนและผู้สำเร็จ การศึกษาในพื้นที่ดังกล่าวมีโอกาสน้อยในการได้รับการศึกษาต่อใน ระดับอุดมศึกษาอันมีสาเหตุมาจากสภาพพื้นที่จังหวัดตากในเขต 5 อำเภอฝั่งตะวันตก ประกอบ ด้วยอำเภอแม่สอด อำเภออุ้มผาง อำเภอพบพระ อำเภอท่าสองยาง อำเภอแม่ระมาดเป็นป่าเขา การคมนาคมไม่สะดวก ขาดปัจจัยในการศึกษาในระยะแรกสถาบันราชภัฏกำแพงเพชรจึงได้ริเริ่ม โครงการจัดตั้งศูนย์ให้การศึกษา ภายนอกสถาบัน โดยจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี อนุปริญญา และปริญญาตรี 2 ปีหลังสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป) ขึ้นใน ปีการศึกษา 2543 ที่ศูนย์ให้ การศึกษานอกสถาบันโรงเรียนสรรพวิทยาคม
กระแสความต้องการให้ขยายโอกาสการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาสำหรับนักเรียน ที่จบการศึกษารระดับมัธยมตอนปลาย (ภาคปกติ) จึงเกิดข้อเรียกร้อง จากประชาชน หน่วยราชการ และองค์การเอกชนในท้องถิ่นให้สถาบันจัดการศึกษาดังกล่าวขึ้น โดยให้เหตุผลว่าเยาวชนที่สำเร็จ การศึกษาระดับมัธยมตอนปลายในท้องถิ่นอำเภอแม่สอด และอีก 4 อำเภอชายแดนฝั่งตะวันตกของ จังหวัดตากถูกปิดกั้นโอกาสการศึกษาด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ วิถีการดำเนินชีวิต และปัญหา การ คมนาคม อีกทั้งการที่ไม่มีสถาบันระดับอุดมศึกษาในท้องถิ่น ทำให้เยาวชนที่ ต้องการศึกษาต่อ จะต้องพลัดพรากจากครอบครัวไปใช้ชีวิตอยู่ตามลำพังในชุมชนเมืองที่มีวิถีที่แตกต่างเป็นสาเหตุ ของปัญหาการปรับตัวอันเป็นปัญหาพฤติกรรมเบี่ยงเบนต่างๆไม่ ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติด ปัญหาโรคเอดส์ ปัญหาอาชญากรรมรวมทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ขึ้น ด้วยเหตุผลดังกล่าว เพื่อเป็นการตอบสนอง ความต้องการการได้รับการศึกษาท้องถิ่น ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนและความร่วมมืออย่างดียิ่งจากผู้ ทรงคุณวุฒิ ในท้องถิ่น หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชน นักธุรกิจ องค์การสื่อสาร มวลชน ของท้องถิ่น ฯลฯ สถาบัน ฯโดยสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ จึงได้แต่งตั้ง คณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง ได้แก่คณะกรรมการพัฒนาศูนย์ บริการทางวิชาการ ศูนย์ปฏิบัติการและวิจัยทางธรรมชาติ อำเภอแม่สอดจังหวัดตาก เพื่อดำเนินการพิจารณาหาแนวทาง เปิดการเรียนการสอน ภาคปกติขึ้น ในระยะแรกได้ก่อสร้างอาคารสำนักงานอธิการบดี 1 หลัง อาคารเรียน 2 หลัง อาคารหอประชุม/โรงอาหาร 1 หลัง อาคารสำนักวิทยบริการ 1 หลัง อาคารที่พักอาจารย์ 2 หลัง ห้องน้ำ/ห้องส้วม 2 หลัง ป้อมยาม 1 หลัง ป้ายสถาบัน จัดภูมิสถาปัตย์และยังได้รับการสนับสนุนจากเทศบาล อำเภอแม่สอดที่ได้จัดงบจัดสรร สร้างสนามกรีฑา จัดสร้างสนามกีฬาให้ที่ศูนย์ของสถาบัน เพื่อประโยชน์ของ ทั้งนักศึกษาและประชาชนในท้องถิ่น จึงถือได้ว่าความสำเร็จใน การจัดตั้งศูนย์อุดมศึกษาแม่สอดแห่งนี้เกิดขึ้นจากการที่ ประชาชน ในท้องถิ่นมีความสมานฉันท์เล็งเห็นความสำคัญของ การศึกษาเป็น สังคมที่มีความร่วมมือร่วมใจอย่างมีจิตวิญญาณ ระหว่างรัฐกับเอกชนจนสามารถผลักดันให้เกิดศูนย์อุดมศึกษา แม่สอด ตามโครงการ ขยายโอกาสการอุดมศึกษาสู่ท้องถิ่น ได้อย่างบรรลุเป้าหมาย