โรงพยาบาลบุรีรัมย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลบุรีรัมย์
Buri Ram Hospital
แผนที่
ประเภทรัฐ (โรงพยาบาลศูนย์)
ที่ตั้ง10/1 ถนนหน้าสถานีรถไฟ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้ง2494
ผู้อำนวยการนายแพทย์ภูวดล กิตติวัฒนาสาร
จำนวนเตียง900 เตียง [1]
บุคลากร2,598 คน
เว็บไซต์https://brh.moph.go.th

โรงพยาบาลบุรีรัมย์ เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ประวัติ[แก้]

โรงพยาบาลบุรีรัมย์ เริ่มก่อสร้างด้วยเงินงบประมาณแผ่นดินเมื่อปี พ.ศ. 2494 จำนวนเงิน 600,000 บาท เป็นเรือนคนไข้ขนาด 25 เตียง 1 หลัง โดยเริ่มเปิดบริการตรวจรักษาพยาบาลผู้ป่วยเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2496 ได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลศูนย์ เมื่อวันที่ 29 เมษายน2540 ต่อมาได้ปรับขยายบริการจาก 522 เตียง เป็น 590 เตียง และได้รับการปรับระดับศักยภาพ ของหน่วยบริการสุขภาพ เขตสุขภาพที่ 9 ตามมติที่ประชุม อ.ก.พ. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2561 จาก 590 เตียง เป็น 900 เตียง ในปัจจุบัน มีอัตรากำลังรวม ทั้งสิ้น 2,598 คน เป็นข้าราชการ 1,304 คน พนักงานราชการ 43 คน พนักงานกระทรวงสาธารณสุข 811 คน ลูกจ้างประจำ 62 คน ลูกจ้างชั่วคราว 102 คน ลูกจ้างรายคาบ 276 คน
       โรงพยาบาลบุรีรัมย์มีนายแพทย์ผู้อำนวยการตั้งแต่คนแรกถึงปัจจุบัน จำนวน 16 คน มีรายนามดังนี้

  1. นายแพทย์ปุ่น ปิยะศิลป์ พ.ศ. 2496 - 2497
  2. นายแพทย์นิรันด์ ประภาสวัสดิ์ พ.ศ. 2498 - 2499
  3. นายแพทย์สุจินต์ ผลากรกุล พ.ศ. 2499 - 2502
  4. นายแพทย์ประทีป หุตางกูร (รักษาการแทน) พ.ศ. 2502 - 2505
  5. นายแพทย์สุจินต์ ผลากรกุล พ.ศ. 2506 - 2513
  6. นายแพทย์อาลัย นากะพันธ์ พ.ศ. 2513 - 2537
  7. นายแพทย์อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ พ.ศ. 2537 - 2538
  8. นายแพทย์ปราโมทย์ สุจินพรัหม พ.ศ. 2538 – 2544
  9. นายแพทย์เฉลิมชัย เหล่าพูลสุข พ.ศ. 2544 – 2545
  10. นายแพทย์อนุศักดิ์ ตั้งไพบูลย์ พ.ศ. 2545 - 2548
  11. นายแพทย์บรรเจิด จงเจริญกมล พ.ศ. 2548 – 2550
  12. นายแพทย์พิเชฐ อังศุวัชรากร พ.ศ. 2550 - 2552
  13. นายแพทย์ชลิต ทองประยูร พ.ศ. 2552 - 2556
  14. นายแพทย์จรัญ ทองทับ  พ.ศ. 2556 - 2561
  15. นายแพทย์สมชัย อัศวสุดสาคร พ.ศ. 2561 - 2563
  16. นายแพทย์ภูวดล กิตติวัฒนาสาร พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลบุรีรัมย์[แก้]

อาคารศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลบุรีรัมย์

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลบุรีรัมย์ เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก สังกัดโรงพยาบาลบุรีรัมย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์กับสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยก่อตั้งเมื่อปี พุทธศักราช 2549 ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ประวัติ[แก้]

ตามความตกลงความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้ลงนามความร่วมมือในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ของสำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2549 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา โดยให้โรงพยาบาลบุรีรัมย์และโรงพยาบาลสุรินทร์เป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์กับสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

เพื่อดำเนินการผลิตแพทย์ตามแผนการลงทุนเสริมสร้างสาธารณสุขแห่งชาติ (พ.ศ. 2549-2552) เป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐด้านสาธารณสุข ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบอนุมัติในหลักการเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 โดยสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมีแผนการรับนักศึกษาแพทย์ปีละ 48 คน จนถึงปี พ.ศ. 2553 ในปี พ.ศ. 2554 ปีละ 60 คน และในปี พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา ปีละ 80 คน

เพื่อให้การดำเนินงานโครงการร่วมผลิตแพทย์ของโรงพยาบาลบุรีรัมย์เป็นไปด้วยความคล่องตัว จึงเห็นสมควรจัดตั้งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลบุรีรัมย์ เพื่อเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์กับสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี รองรับการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิกของนักศึกษาแพทย์ ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

ปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ใน 1 หลักสูตร คือ

ปริญญาตรี
สถาบันอุดมศึกษา
  • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

ระยะเวลาในการศึกษา[แก้]

ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้

ระดับชั้น
สถานที่ศึกษา
  • ระดับชั้นเตรียมแพทยศาสตร์และชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 1 - 3)
  • ระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6)

-

นอกจากนี้ยังเป็นสถาบันสมทบของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต[แก้]

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลบุรีรัมย์ รับสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โดยวิธีรับตรงผ่านทางสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตามประกาศรับตรงประจำปีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]