ข้ามไปเนื้อหา

วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้
ชื่อย่อวทต. / SCT
คติพจน์ความรู้ คู่ คุณธรรม
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
สถาปนา27 ธันวาคม พ.ศ. 2542 (24 ปี)
นายกสภาฯดร.อุทัย ดุลยเกษม
อธิการบดีศาสตราจารย์ ดร.นิตย์ศรี แสงเดือน
ผู้ศึกษา1,006 คน (2566)[1]
ที่ตั้ง
124/1 ถนนทุ่งสง-ห้วยยอด ตำบลที่วัง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80110
สี██ น้ำเงิน
เว็บไซต์www.sct.ac.th

วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ (อังกฤษ: Southern College of Technology) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่จัดการเรียนการสอนทางด้านการจัดการ และเทคโนโลยี ตั้งอยู่ที่ 124/1 ถนนทุ่งสง-ห้วยยอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 403) ตำบลที่วัง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประวัติ

[แก้]

แต่เดิมวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ จัดการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มาเป็นเวลานาน ในชื่อ โรงเรียนเทคโนโลยีศึกษาภาคใต้ (S-Tech) ส่วนในระดับเตรียมอนุบาล อนุบาล และประถมศึกษา ในชื่อ โรงเรียนตันติวัตร คุณเอกกร ตันติอุโฆกุล ในฐานะประธานกรรมการบริษัท เทคโนโลยีภาคใต้ จำกัด จึงได้เสนอจัดตั้ง วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้

วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ ได้รับอนุมัติการจัดตั้งจากทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2542[2] และได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการรับนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2544 โดยเปิดสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต หลักสูตร 4 ปีและต่อเนื่อง ภาคปกติ และภาคสมทบ 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการจัดการและสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

ปีการศึกษา 2545 ได้รับอนุญาตให้เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตอีก 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการตลาด แลพสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม

ปีการศึกษา 2546 ได้รับการรับรองมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอก สำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ได้รับอนุญาตให้เปิดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต หลักสูตร 4 ปีภาคปกติและภาคสมทบ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์พัฒนาชุมชน

ปีการศึกษา 2547 ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต หลักสูตร 4 ปี และต่อเนื่องสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และหลักสูตรศิลปะศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว

ปีการศึกษา 2548 วิทยาลัยได้ปรับโครงสร้างการบริหารงานใหม่ตามข้อบังคับวิทยาลัย ว่าด้วยการแบ่งส่วนงาน พ.ศ. 2548 ประกอบด้วยสำนักวิชา ศูนย์/สถาบัน และสำนักงาน บริหารโดยอธิการบดี คณบดีสำนักวิชา ผู้อำนวยการศูนย์/สถาบัน และหัวหน้าสำนักงาน โดยมีสภาวิทยาลัยเป็นผู้บริหารสูงสุด

ในปีการศึกษาเดียวกันนี้ วิทยาลัยได้มีการปรับปรุงหลักสูตรต่างๆ ที่ครบรอบการดำเนินการ ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2548 จำนวน 8 หลักสูตร ทั้งหลักสูตร 4 ปีและ 2 ปีต่อเนื่อง คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ จำนวน 4 หลักสูตร สาขาการจัดการท่องเที่ยวและบริการ จำนวน 1 หลักสูตร หลักสูตรบัญชีบัณฑิต จำนวน 2 หลักสูตร และหลักสูตรเศรษศาสตรบัณฑิต จำนวน 1 หลักสูตร เพื่อใช้ในปีการศึกษา 2549

ปีการศึกษา 2549 ได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รอบที่สอง

ปีการศึกษา 2550 วิทยาลัยได้รับอนุญาตให้เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต หลักสูตร 4 ปี สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

ปีการศึกษา 2551 วิทยาลัยได้รับอนุญาตให้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท[3] และประกาศนียบัตรบัณฑิต หลักสูตร 1 ปี สาขาวิชาชีพครูและหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (M.B.A.)

ปีการศึกษา 2552 วิทยาลัยได้ปรับโครงสร้างการบริหารตามข้อบังคับวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ ว่าด้วยการแบ่งส่วนงาน พ.ศ. 2552 ประกอบ คณะ ศูนย์ สำนักและสำนักงาน โดยมีอธิการบดีเป็นผู้บริหารสูงสุด รองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการศูนย์/สำนักงาน และหัวหน้าสำนักงาน

ปีการศึกษา 2567 - 2570 วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ เป็นผู้สนับสนุนการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ "บัตรเครดิตร่วมวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ - กสิกรไทย", "บัตรเครดิต CardX วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้" เพื่อขยายฐานลูกค้าอย่างเป็นทางการ

หลักสูตรที่เปิดสอน

[แก้]

หลักสูตรระดับปริญญาตรี

[แก้]
คณะศึกษาศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.)
    • สาขาวิชารัฐศาสตร์
คณะวิทยาการจัดการ
  • หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.)
    • สาขาวิชาการบัญชี
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)
    • สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจ
      • กลุ่มวิชาเอกนวัตกรรมการจัดการธุรกิจ
      • กลุ่มวิชาเอกนวัตกรรมการจัดการสถานพยาบาล
      • กลุ่มวิชาเอกนวัตกรรมการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
    • สาขาวิชาการจัดการโรงแรมเพื่อการท่องเที่ยว
คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยี
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ส.บ.)
    • สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน

หลักสูตรระดับปริญญาโท

[แก้]
คณะศึกษาศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.)
    • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต

[แก้]
คณะศึกษาศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (วิชาชีพครู)
    • สาขาวิชาวิชาชีพครู ป.บัณฑิต

ศูนย์การศึกษา

[แก้]

นอกเหนือจากที่วิทยาลัยเองแล้วยังมีศูนย์การศึกษาแห่งอื่นอีกดังนี้

  • ศูนย์ประสานงานวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ นครศรีธรรมราช (หลังโรบินสัน-โอเชียน)
  • ศูนย์ประสานงานวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ วิทยาลัยเทคนิคยะลา จ.ยะลา
  • ศูนย์ประสานงานวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ โรงเรียนเทคโนโลยีภาคใต้ (เอส.เทค)ทุ่งใหญ่ อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช

บริการสนับสนุนการศึกษา

[แก้]
  • ทุนการศึกษา
  • กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา
  • ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา
  • แหล่งเรียนรู้
  • ห้องเรียนปรับอากาศ
  • ระบบอินเทอร์เน็ตไร้สาย (WIFI) โดยรอบวิทยาลัย
  • ห้องบริการคอมพิวเตอร์
  • หอพักสำหรับนักศึกษา
  • การประกันอุบัติเหตุ

งานวิจัย

[แก้]
  • การพัฒนาการจัดการกระบวนการผลิตสุรากลั่นจากน้ำตาลโตนด
  • การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานแนะแนวนำเข้า
  • ชุมโจรแห่งลุ่มทะเลสาบสงขลา พ.ศ. 2437 – 2465
  • ประเพณี 2 ศาสนา : สายใยแห่งความสัมพันธ์ของคนไทยพุทธ – ไทยมุสลิม ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
  • ศักยภาพผลิตภัณฑ์และแนวทางการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนทางด้านเกาะและทะเล และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว 3 ทะเล
  • การสำรวจข้อมูลหมอพื้นบ้าน กรณีศึกษาอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • การศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตแอลกอฮอล์
  • สถานการณ์และแนวทางส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้นอกเวลาเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้

บริการวิชาการ

[แก้]
  • สหกิจศึกษา
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการศึกษา
  1. บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย
  2. ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
  3. บริการงานห้องสมุด
  • ศูนย์บ่มเพาะ IT
  1. ฝ่ายบ่มเพาะนักศึกษา
  2. ฝ่ายจัดหลักสูตรและฝึกอบรม
  3. ศูนย์ทดสอบความรู้ทางคอมพิวเตอร์
  • คลินิกบัญชี
  • ศูนย์ภาษา
  • ห้องปฏิบัติการท่องเที่ยวและโรงแรม
  1. ห้องปฏิบัติการทัวร์จำลอง
  2. ห้องปฏิบัติการที่พัก
  3. ห้องปฏิบัติการอาหารและเครื่องดื่ม
  4. ห้องปฏิบัติการสปา
  • ห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์
  • คลื่นวิทยุเพื่อการศึกษา 95.0 MHz นครศรีธรรมราช

ชมรมนักศึกษา

[แก้]
  • ด้านวิชาการ ประกอบด้วย ชมรม IT Genius ชมรมติวเตอร์ ชมรมนักศึกษาทุน ชมรมภาษาต่างประเทศ
  • ด้านกีฬานันทนาการ ประกอบด้วย ชมรมกีฬาสัมพันธ์ SCT. ชมรมแอโรบิค ชมรม To be Nunber ONE
  • ด้านบำเพ็ญประโยชน์และพัฒนา ประกอบด้วย ชมรมอาสาพัฒนาชนบท ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ชมรม กยศ.
  • ด้านศิลปวัฒนธรรม ประกอบด้วย ชมรมพระพุทธศาสนา ชมรมมุสลิมสัมพันธ์ ชมรมคหกรรม ชมรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม

โรงเรียนในเครือ

[แก้]

การเข้าศึกษา

[แก้]
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
  • การสอบคัดเลือกนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในด้านต่างๆ ตามประกาศของวิทยาลัยในปีนั้นๆ
  • การสอบคัดเลือกนักเรียนผ่านระบบรับตรงของวิทยาลัย
  • การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบคัดเลือกรวม (Central University Admissions System: CUAS)

การเดินทาง

[แก้]
  • เดินทางจากกรุงเทพมหานครสามารถเดินทางได้ 3 วิธี ด้วยกันคือ
  • เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว จาก กรุงเทพมหานครนั้น เมื่อผ่าน ทางหลวงหมายเลข 9 (ถนนวงแหวนรอบนอก) แล้วจะมีถนนจำนวน3เส้นที่สามารถ เดินทางลงมาภาคใต้จำนวน3เส้นทาง คือ
  • ทางหลวงหมายเลข 338 (บรมราชชนนี) จะไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) จ.นครปฐม
  • ทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) ผ่าน จ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และจะไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) ที่ อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี
  • ทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) ผ่าน จ.นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร เมือถึง สีแยกปฐมพร อ. เมือง จ.ชุมพรให้เปลี่ยนเส้นทางใช้ทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านจังหวัดสุราษฏร์ธานี เข้าสู่ นครศรีธรรมราช และเข้าสู่ อ. ทุ่งสง จ. นครศรีธรรมราช ถึงสี่แยกตรัง บนหลวงหมายเลข 43 ตรงมาอีก 3 กม. ก็จะถึงวอทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้
  • เดินทางโดยรถไฟ มีรถทุกขบวนที่เดินทางมาภาคใต้ โดยลงที่สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง แล้ว ใช้รถโดยสารท้องถิ่นเดินทางมาวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ คือ รถโดยประจำทางทุ่งสง-กะปาง
  • เดินทางเครื่องบิน สามารถเดินทางจาก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปลงสนามบิน3ที่ ด้วยกันคือ
  • ท่าอากาศยานกระบี่ เก็บถาวร 2010-05-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน แล้วต่อรถตู้โดยสาร กระบี่-ทุ่งสง และต่อด้วยรถประจำทางท้องถิ่น ได้แก่ รถโดยประจำทางทุ่งสง-กะปาง รถโดยสารประจำทาง ทุ่งสง-ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร
  • สนามบินสุราษฎร์ธานี และใช้รถโดยสารประจำทางสายระนอง-หาดใหญ่ หรือ รถโดยสารประจำทางสายชุมพร-หาดใหญ่ ลงตลาดอำเภอทุ่งสง และต่อด้วยรถประจำทางท้องถิ่น ได้แก่ รถโดยประจำทางทุ่งสง-กะปาง รถโดยสารประจำทาง ทุ่งสง-ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร
  • สนามบินนครศรีธรรมราช แล้วใช้รถประจำทางสาย นครศรีธรรมราช-ทุ่งสง หรือรถตู้นครศรีธรรมราช-ทุ่งสง และต่อด้วยรถประจำทางท้องถิ่น ได้แก่ รถโดยประจำทางทุ่งสง-กะปาง รถโดยสารประจำทาง ทุ่งสง-ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร

อ้างอิง

[แก้]
  1. สถิติอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  2. ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง การจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้)
  3. "สรุปมติการประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ครั้งที่ 5/2551 เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2551" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-24. สืบค้นเมื่อ 2010-12-26.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]