โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง111 ถนนมหาวิทยาลัย ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ไทย
หน่วยงาน
ประเภทโรงพยาบาลเพื่อการเรียนการสอน
สังกัดสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
บริการสุขภาพ
แผนกฉุกเฉินมี
จำนวนเตียง514 เตียง [1]
ประวัติ
ชื่อเดิมศูนย์ปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุข
เปิดให้บริการ25 ตุลาคม พ.ศ. 2553 (13 ปี)[2]
ลิงก์
เว็บไซต์smc.sut.ac.th

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (อังกฤษ: Suranaree University of Technology Hospital) เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อรักษานักศึกษา บุคลากร คณาจารย์ในมหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไป และเพื่อผลิตบุคลากรทางการแพทย์ ได้เปลี่ยนชื่อจาก "ศูนย์ปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุข" มาเป็น โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เมื่อเดือนสิงหาคม 2557

ประวัติ[แก้]

ในอดีตภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวเท่านั้น คือ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงมีการผลักดันการจัดตั้งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีขึ้น เป็นแห่งที่ 2 ของภูมิภาค โดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2538 จัดตั้งสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มีวงเงินในการดำเนินการ 4,000 ล้านบาท แต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 จึงชลอโครงการไป ต่อมามีการดำเนินการต่อ และเปิดบริการส่วนแรกคือ อาคารศูนย์วิจัย/ศูนย์บริการทางการแพทย์ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2553 และดำเนินการสร้างต่อไปเรื่อยจนเสร็จทุกระยะ

ระยะที่ 1 คือ การก่อสร้างอาคารรักษาผู้ป่วย เป็นศูนย์ปฏิบัติการทางการแพทย์ 24 ชั่วโมง เปิดรับผู้ป่วยนอก รักษาโรคทั่วไป แพทย์เฉพาะทาง วันละ 3 ชั่วโมง อาคารรังสีวินิฉัย ทันตกรรม ผ่าตัด และอาคารผู้ป่วยใน 120 เตียง ซึ่งได้เปิดให้บริการแล้วบางส่วน

ระยะที่ 2 คือ การก่อสร้างอาคารรองรับคนไข้ได้ประมาณ 200-300 เตียง อาคารศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ มีห้องผ่าตัดขนาดเล็ก มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้บริการได้เต็มวัน

ระยะที่ 3 คือ บริการเต็มรูปแบบ เช่น การผ่าตัด การเปลี่ยนไขกระดูก ปลูกไต ฯลฯ รองรับคนไข้ได้กว่า 500 เตียง[3]

อาคารและสิ่งก่อสร้าง[แก้]

  • อาคารศูนย์วิจัย/ศูนย์บริการทางการแพทย์ 24 ชั่วโมง
  • อาคารศูนย์รังสีวินิจฉัย
  • อาคารรัตนเวชพัฒน์ (อาคารโรงพยาบาล ผู้ป่วยใน 120 เตียง)
  • ศูนย์สุขภาพช่องปาก (คลินิกทันตกรรม)
  • อาคารศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ (ผู้ป่วยใน 400 เตียง ผู้ป่วยฉุกเฉิน 88 เตียง)
  • อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ (โครงการ)
  • อาคารหอพักนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก (โครงการ)
  • อาคารวิเคราะห์และบำบัดโรค (โครงการ)
  • อาคารหอพักผู้ป่วยในสามัญ (โครงการ)
  • อาคารหอพักผู้ป่วยในเฉพาะทาง (โครงการ)
  • อาคารหอพักแพทย์ประจำบ้าน (โครงการ)
  • อาคารตรวจรักษาผู้ป่วยนอก (โครงการ)

อ้างอิง[แก้]